หน้าแรก บล็อก
🌟 10 หุ้นเด็ดจาก Special Guest VVI4 เดือน ผ่านไปมาดูกัน 🌟 เทียบผลตอบแทนหุ้น 10 ตัว ที่ Special guest วีไอLive วันที่ 6 พ.ย. 66 ในกลุ่ม VVI Membership บอกว่าน่าสนใจ เน้นดู Macro + VN Consumer + FDI + ผู้บริหาร ( หุ้นที่เลือกตามภาพ Post นี้ ) จากวันนั้น - วันนี้ (15 มี.ค.67) 4 เดือนเฉลี่ยหุ้น 10 ตัว ที่วีไอเลือก แซงทั้ง Index และ ETF! หุ้นที่พี่วีไอเลือก +28.9%เทียบ Diamond ETF +24.2%VN30 ETF +15.5%VN Index +17.4% ส่วนตัวแอดว่าหากมีเวลาการลงทุนแบบผสมผสาน = เลือกหุ้นเอง...
– การลงทุนมีความเสี่ยง โดยเฉพาะการลงทุนในต่างประเทศที่เราอาจต้องใช้เวลาการศึกษาข้อมูลที่มากกว่า จะดีกว่าไหมหากเราจะได้ศึกษาเรียนรู้การลงทุนจากนักลงทุนที่มีประสบการณ์ ในหุ้น เวียดนาม อเมริกา จีน ทั้งผ่านทางเว็บไซต์ และ facebook group สมัครวันนี้รับพร้อมสิทธิ์พิเศษ ดังนี้ 1 รับชมย้อนหลัง สัมมนา super stock เวียดนาม อเมริกา จีน ยาวกว่า 15 ชั่วโมง จากมากมายหลายกูรูผู้รู้เรื่องการลงทุน 2 เข้าร่วมกิจกรรม คนละตัว นำเสนอหุ้นคนละตัว เรียนรู้ไปด้วยกัน 3 ชมย้อนหลัง Live ที่ผ่านมาแต่ ต้นปี 2565  วิเคราะห์หุ้นรายตัว  ตลอดจนคุยกับกูรูไทย เพื่อนนักลงทุนที่มากประสบการณ์และโบรกเกอร์เวียดนาม 4 พูดคุย ถามตอบในไลฟ์สด ประเด็นที่น่าสนใจที่เราจัดเป็นประจำทุกเดือนทุกเดือน 5 รับรางวัล และสิทธิ์พิเศษอื่นๆ เป็นประจำตามวาระและโอกาสที่เหมาะสม 6 สิทธิ์พิเศษร่วมสัมมนากับเราทั้งในประเทศและต่างประเทศ super early bird ในราคาสมาชิกส่วนลด 10-20 % ก่อนใคร Tour learn earn more...
โลกในมุมมองของ Value Investor       11 มีนาคม 2566 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วันที่ 11 มีนาคม 2566 ผมได้ไปพูดให้กับนักลงทุนในงานสังสรรค์ประจำปีของสมาคมไทย VI ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 300 คน  โดยหัวข้อที่จะพูดนั้นเป็นการตอบคำถามที่ผู้เข้าร่วมส่งมาล่วงหน้าและรวบรวมตอบโดยพิธีกรบนเวที  คำถามหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจและคนจำนวนไม่น้อยน่าจะอยากรู้ก็คือ  ถ้าผมย้อนอายุลงมาเป็นหนุ่มอีกครั้งหนึ่งในวันนี้  ผมจะใช้กลยุทธ์การลงทุนอย่างไร? ก่อนที่จะตอบคำถามนี้  ผมอยากจะเล่าให้ฟังถึงบรรยากาศและคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาร่วมงานสัมมนาสังสรรค์ประจำปีที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกหลังโควิด-19 สงบ  ซึ่งก็พบว่าคนเข้าร่วมมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ  คนส่วนใหญ่มากเป็นคนที่มีอายุประมาณน่าจะ 30 ปีบวกลบ  ซึ่งเป็นวัยที่ทำงานมาได้ระยะหนึ่งและสนใจเรื่องของการลงทุนมาก  พวกเขาน่าจะมีการศึกษาสูงอย่างน้อยปริญญาตรีและปริญญาโท  มีอาชีพการงานที่มีเงินเดือนดี  และมีจำนวนคนเข้าร่วมเป็นผู้หญิงมากขึ้นมาก  คนสูงอายุระดับ 40-50 ปีขึ้นไปอย่างที่ผมเคยพบในยุคซัก 4-5 ปีก่อนที่ชอบเข้าร่วมฟังการสัมมนาฟรีมีน้อยมาก พูดง่าย ๆ  นี่คือกลุ่มของ  “อีลิท” รุ่นใหม่ที่เอาจริงเอาจังกับการลงทุนและอยากรวยจากตลาดหุ้น  เหมือนกับ “เซียนหุ้น” รุ่นก่อนจำนวนไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จอย่าง “มหัศจรรย์” ซึ่งรวมถึงผมด้วย  และนั่นก็คงเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเขาจึงถามคำถามนี้  เขาอยากรู้ว่าผมที่ประสบความสำเร็จในยุคที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยกำลังรุ่งเรืองจนถึงประมาณอย่างน้อย 10 ปีก่อนจะทำอย่างเดิมหรือใช้กลยุทธ์แบบเดิมไหม?  และเพราะอะไร?  คำตอบของผมก็คือ  ประเทศไทย  เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย  น่าจะผ่านจุดที่รุ่งเรืองมากมาแล้ว  สถานการณ์ขณะนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปโดยที่เหตุผลสำคัญก็คือ  โครงสร้างประชากรไทยที่คนแก่ตัวลงมาก  คนสูงอายุเกษียณจากงานที่มีรายได้สูงมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  เพราะคนกลุ่มนี้มีจำนวนเป็นล้านคนต่อปี...
โลกในมุมมองของ Value Investor     7 มกราคม 2565 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร หนทางการลงทุนที่ทำให้ผม  “เปลี่ยนชีวิต” ในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมาก็คือ  การลงทุนในหุ้น “Super Stock” ประมาณ 6-7 ตัว ย้อนหลังไปประมาณ 15- 20 ปี และถือไว้ยาวนานโดยที่ไม่ค่อยได้ทำอะไรกับมัน  บางตัวผมก็ยังถืออยู่จนถึงทุกวันนี้   Super Stock โดยนิยามของผมก็คือหุ้นที่เติบโตเร็วมาก  ภายในเวลา 10 ปี โตขึ้นอย่างน้อยเป็น 10 เท่าตัว หรือให้ผลตอบแทนทบต้นปีละประมาณ 26% ขึ้นไป  และนี่ไม่ใช่หุ้นเก็งกำไรตัวเล็ก ๆ ที่อาจจะมีราคากระโดดขึ้นไปได้เพราะเหตุผลบางอย่าง  แต่เป็นหุ้นของธุรกิจหลัก ๆ  ขนาดใหญ่ระดับประเทศที่เราสามารถลงทุนด้วยเม็ดเงินจำนวนมากได้อย่างสบายใจและก็สามารถขายหุ้นได้โดยที่ไม่ได้กระทบกับราคาของหุ้นในขณะนั้นเลย หุ้น Super Stock นั้น  มักจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากหุ้นทั่วไปก็คือ  มันมักจะอยู่ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่กำลังเป็น  “เมกาเทรนด์” คือมีการเติบโตที่รวดเร็วและมักจะยาวนานจนโตขึ้นจากจุดเดิมเป็นหลายเท่า  ดังนั้น  จึงเป็นผู้ผลิตหรือให้บริการสินค้าที่มักจะถูกใช้โดยคนที่อายุน้อยกว่าหรือคนที่กำลังร่ำรวยขึ้นที่จะมีเงินเพิ่มและใช้ผลิตภัณฑ์มากขึ้น  นั่นคือเงื่อนไขประการแรก  ข้อที่สองก็คือ  บริษัทหรือหุ้นนั้นจะต้องเป็น  “ผู้ชนะ” มีส่วนแบ่งทางตลาดสูงกว่าคู่แข่งและโตไปเรื่อย ๆ ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 26 ก.ย. 63 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในฐานะที่เป็นนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยและเวียตนาม  ผมเองได้ติดตามดูผลงานของตลาดทั้งสองแห่ง  ทั้งทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ  ดัชนีตลาดหุ้น  และตัวหุ้นที่จดทะเบียนในตลาด  และก็แน่นอนว่า  ก็เปรียบเทียบผลงานพอร์ตหุ้นทั้งสองของผมว่าพอร์ตไหนมีผลตอบแทนดีกว่ากันและมองด้วยว่าอนาคตพอร์ตไหนน่าจะมีโอกาสเติบโตมากกว่าด้วย  ในการเปรียบเทียบนั้น  ผมจะดูดัชนีหุ้นของทั้งสองแห่งเป็นหลัก ตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินของเวียตนามเพิ่งจะเปิดเมื่อปี 2000 ปี  และเนื่องจากเป็นตลาดเปิดใหม่  การ “เก็งกำไร” จึงน่าจะรุนแรงมาก  ดัชนีตลาดวิ่งจาก 100 จุด ขึ้นไปถึงจุดสูงสุดที่ประมาณ 1,140 จุดหรือ 11 เท่าภายใน 7 ปีและนั่นเกิดขึ้นตอนต้นปี 2007  ซึ่งก็ถือเป็น “ฟองสบู่ลูกแรก”  ของเวียตนาม  ในช่วงเวลาเดียวกัน  ดัชนีตลาดหุ้นของไทยเอง  ก็ปรับตัวขึ้นสูงสุด  จากประมาณ 200 จุด  ซึ่งเป็นดัชนีต่ำสุดหลังวิกฤติปี 2540 หรือปี 1997 กลายเป็นประมาณ 910 จุดในช่วงปลายปี 2007 เหมือนกัน  จากปี 2007 ซึ่งเป็นปีที่ดัชนีตลาดหุ้นทั้งไทยและเวียตนามปรับตัวขึ้นเป็นจุดสูงสุดหลังวิกฤติปี 1997  ดัชนีตลาดหุ้นทั้งสองแห่งก็ประสบกับวิกฤติปี 2008 หรือวิกฤติซับไพร์มที่เกิดขึ้นในอีกประมาณ 10 ปีต่อมาหลังวิกฤติ...
💊 มุ่งสู่อนาคตการดูแลสุขภาพ:▪️ FPT Retail (FRT) กำลังเปลี่ยนโฉมเป็นบริษัทด้านการดูแลสุขภาพ▪️ ครอบคลุม: ป้องกัน (ศูนย์ฉีดวัคซีน Long Chau ปัจจุบันมี 50 แห่ง)วินิจฉัย รักษา (ร้านขายยา Long Chau >1600 แห่งสิ้นปีคาด 1900 แห่ง)ฟื้นฟูสมรรถภาพ การดูแลที่บ้าน (Long Chau247) และการประกัน▪️ ตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำในระบบนิเวศด้านสุขภาพ —————💊 กลยุทธ์หลัก:▪️ ใช้ประโยชน์จากฐานลูกค้าขนาดใหญ่ของ FPT Retail (Long Chau)▪️ นำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ▪️ ขายหุ้น 10% ให้กับหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์(อัตราส่วนเงินทุนต่อสินทรัพย์รวม 13% ในปี 2566 นั้นไม่ดีนัก จำเป็นต้องระดมเงินทุนเพื่อช่วยให้มีโครงสร้างทางการเงินที่ดีขึ้น ลดแรงกดดันด้านหนี้ และมีเงินมากขึ้นสำหรับการลงทุนระยะยาว) ▪️ ปิดร้านค้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นไปที่ช่องทางออนไลน์▪️ ขยายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน▪️ สนับสนุนบริการ Long Chau 247 —————💊 ผลประกอบการไตรมาส 1/2567:▪️ รายได้เพิ่มขึ้น 17% ขับเคลื่อนโดย FPT...
จุดเริ่มต้นตลาดหุ้นไทย: เริ่มลงทุนหุ้นไทย ปี 2552 โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เป็นแรงบันดาลใจลงทุนระยะยาว เน้นหุ้นปันผล คัดเลือกหุ้นกลุ่มค้าปลีก โรงพยาบาล สนามบินประสบความสำเร็จจากการลงทุนหุ้นไทยช่วงหลังวิกฤติซับไพรม์ การลงทุนในหุ้นเวียดนาม: เริ่มศึกษาตลาดหุ้นเวียดนาม หลังฟังรายการของ ดร.นิเวศน์ปี 2558 ตัดสินใจบินไปโฮจิมินห์ เพื่อลงทุนหุ้น อุปสรรค: ข้อมูล บทวิจัย เป็นภาษาเวียดนาม เข้าถึงยากนักลงทุนรายย่อยเวียดนาม 85% ใช้ปัจจัยเทคนิค ลงทุนระยะสั้นตลาดผันผวน มากกว่าตลาดหุ้นไทย ข้อดี: ตลาดหุ้นเวียดนามมีศักยภาพสูง เติบโตเร็วมูลค่าหุ้นหลายตัวน่าสนใจกลยุทธ์:หลีกเลี่ยงการเทรดดิ้ง เน้นลงทุนระยะยาวกระจายความเสี่ยง เลือกหุ้นหลากหลายกลุ่มพิจารณาธุรกิจที่มีโอกาสเติบโต คำแนะนำสำหรับนักลงทุน: กระจายความเสี่ยง:ลงทุนหุ้นเวียดนามมากกว่า 5 ตัวพิจารณาลงทุน ETF / DR เช่น VN30ETF Diamond ETFและกองทุนรวม (SSF / RMF) ที่ลงทุนหุ้นเวียดนามเพื่อรับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเลือกหุ้น:หุ้นที่เคยเป็น Super Stock ในไทยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีหุ้นที่ราคาตกลงจากข่าวหรือความกลัว ข้อควรระวัง: ตลาดหุ้นเวียดนามมีความผันผวนสูง อ่านบทความเต็ม: https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/499-tsi-vietnam-stocks-investment-experience
โลกในมุมมองของ Value Investor 30 มี.ค. 67 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วันที่ศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 ปริมาณการซื้อขายหุ้นของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยลดลงมาเหลือเพียง 26,472 ล้านบาท  ซึ่งเป็นตัวเลขที่ผมไม่เห็นมานานมาก  น่าจะเป็นหลาย ๆ  ปี  และนั่นเป็นตัวเลขที่ “น่าตกใจ” แม้ว่าเราเพิ่งจะเพิ่มเวลาการซื้อขายหุ้นอีกวันละครึ่งชั่วโมงเมื่อไม่กี่วันมานี้  เพราะปริมาณการซื้อขายหุ้นของตลาดหุ้นไทยเมื่อไม่กี่ปีก่อนบางวันเคยขึ้นไปสูงถึงวันละแสนล้านบาท  และถ้านับจากต้นปีนี้  ปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันเฉลี่ยก็ยังอยู่ที่ประมาณ 40,000 ล้านบาทเศษ ตรงกันข้าม  ปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันของตลาดหุ้นเวียดนามตั้งแต่ต้นปีนั้นสูงถึงประมาณ 30,000 ล้านบาทไปแล้ว  และเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 20% จากตัวเลขก่อนหน้านั้น  ในขณะนี้  ตลาดหุ้นเวียดนามมีปริมาณการซื้อขายเป็นอันดับสองในอาเซียนรองจากประเทศไทยแล้ว  และถ้าแนวโน้มยังเป็นแบบนี้ต่อไปอีกซักระยะหนึ่ง  ผมคิดว่าตลาดหุ้นเวียดนามจะกลายเป็นอันดับหนึ่งในเร็ววัน  ซึ่งก็สอดคล้องกับตัวเลขนักลงทุนส่วนบุคคลรายย่อยของเวียดนามที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาตลอด  และขณะนี้น่าจะมากกว่านักลงทุนรายย่อยไทยไปแล้วที่ประมาณ 7.5 ล้านราย ปีที่แล้ว  ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย “ย่ำแย่ที่สุด” และติดลบไปประมาณ 15.2%  ในขณะที่ตลาดหุ้นเวียดนาม “ดีที่สุด” บวกไปประมาณ 12.2%  และตั้งแต่ต้นปีนี้เพียงประมาณ 3 เดือน  ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามก็ ดีที่สุด “อันดับ 2 ของโลก” บวกไปแล้วประมาณ 13.6% ในขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังติดลบประมาณ...
หุ้น MSN - Masan Group บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม #หุ้นเวียดนาม #รู้หุ้นเวียดนามกับคนเวียดนาม VVI Membership 🇻🇳 https://class.vietnamvi.com/ https://www.youtube.com/embed/q1rFTf0D25k
VP Bank แบงค์ใหญ่ ขวัญใจรายย่อย โดดเด่นเรื่อง Consumer Finance #หุ้นเวียดนาม#รู้หุ้นเวียดนามกับคนเวียดนาม VVI Membership 🇻🇳 https://class.vietnamvi.com/ https://youtu.be/Ck-raipi_dE?si=GnEqr212-KRnT-Ss
2 ทริป 2 สไตล์ : ตะลุยเวียดนามพร้อมอัพเดทความรู้ด้านการลงทุน (Promotion Early bird 1-20 เม.ย. นี้ เท่านั้น) 🔸 โฮจิมินห์ซิตี้ 2-4 มิ.ย. 2024Tour Learn Earn Moreเข้มข้นเรื่องหุ้น ณ เมืองเศรษฐกิจสำคัญที่สุดของเวียดนาม@Sheraton Saigon Hotel โรงแรม 5 ดาวกลางเมือง(เริ่มต้นที่ 16,900 บาท) 🔸 ดานัง 7-9 มิ.ย. 2024Stocks on the beachดูเศรษฐกิจ-พฤติกรรมคนเมืองรอง ณ เมืองท่องเที่ยวสำคัญที่สุดเวียดนาม@Peninsula Danang Hotel & Mercure Danang French Village Bana Hills โรงแรม 5 ดาว ริมทะเล (เริ่มต้นที่ 17,900 บาท) ✅ เจาะลึก ตรงจุด ด้วยประสบการณ์ 9 ปี ของ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 23 มีนาคม 67 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เวลาไปงานชุมนุม  งานเลี้ยงหรืองานพิธีต่าง ๆ  ที่ประกอบไปด้วยเพื่อนที่อยู่หรือเคยอยู่ในสถาบันเดียวกัน  หรือเป็นเพื่อนร่วมอุดมการณ์เดียวกัน  หรือเป็นเพื่อนในวงสังคมเดียวกัน  หรืออยู่ในหมู่คนที่มีความสนใจหรือเป็นแฟนคลับอะไรบางอย่างเหมือนกัน  เรามักอยากจะได้ฟังหรือได้ร้องเพลงที่เราชอบที่ทำให้เรามีความสามัคคีเป็นหนึ่งเดียวกัน  มีความสุข  มีพลัง  มีความหวังและมองโลกในแง่ดี  เพลงนั้นหรือเพลงเหล่านั้นก็คือเพลงที่มีความหมายและคนที่อยู่ในกลุ่มก็คิดและเชื่อแบบเดียวกัน  ลองมาไล่ดูอย่างคร่าว ๆ  ว่ามีงานชุมนุมอะไรบ้างที่มักจะมีการร้องเพลงและเพลงอะไรบ้างที่เป็นที่นิยมกันกว้างขวางต่อเนื่องยาวนาน เริ่มตั้งแต่งานเลี้ยงศิษย์เก่าโรงเรียนและวิทยาลัยซึ่งก็เป็นมาตรฐานที่ทำเหมือนกันหมด  นอกจากเพลงประจำสถาบันแล้ว  แต่ละแห่งก็อาจจะมีเพิ่มเพลง “ยอดนิยม” ที่มักจะมีและร้องกันเป็นประจำ  อย่างของผมก็คือเพลง  “ปราสาทแดง” ที่พูดถึงตึกสีแดงเก่าแก่ทรง “วินด์เซอร์” ที่ทุกคนรู้สึกว่าเป็นสัญลักษณ์ของคณะ  ทำเพลงและขับร้องโดยวงดนตรีสุนทราภรณ์ที่เด่นดังที่สุดสมัย 50 ปีก่อน ตั้งแต่เด็ก  ผมถูกสอนให้ร้องเพลง  “สามัคคีชุมนุม” เวลาฝึกลูกเสือตั้งแต่ชั้นประถม  ซึ่งก็เป็นเพลงเวอร์ชั่นภาษาไทยของ “โอลด์แลงไซน์” เพลงเก่าอายุกว่าสองร้อยปีที่เล่นหรือร้องกันทั้งโลกจนถึงวันนี้  เพลงนี้เป็นเพลงที่มักจะร้องกันวันสิ้นปีของฝรั่ง  เป็นวันที่รำลึกถึงวันเก่า ๆ เพื่อนเก่า ๆ ที่ไม่ได้เจอกันนาน  เป็นเพลงแห่ง “มิตรภาพ” และการทำความดี อย่างเช่นคนทั้งโลกมาร่วมกันทำสิ่งที่ดี ๆ การช่วยคนอดหยากหิวโหย  หรือช่วยกันรักษ์โลกอะไรแบบนั้นก็จะเปิดหรือร้องเพลง “Auld Lang Syne” นอกจากนั้น  งานจบการศึกษาและรับปริญญาของสถาบันการศึกษาก็มักจะเปิดเพลงนี้  เช่นเดียวกับงานศพที่จะเป็นการรำลึกถึงเวลายาวนานที่ผ่านไปของเพื่อนและคนที่ตายอะไรแบบนั้น  และก็ต้องถือว่าเพลงนี้น่าจะเป็นเพลงยอดนิยมตลอดกาลเพลงหนึ่ง เพลงการชุมนุมที่มีการเปิดหรือร้องกันหลาย ๆ...
โลกในมุมมองของ Value Investor  17 มีนาคม 67 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ตั้งแต่เป็นนักลงทุนเต็มตัวแบบ VI หลังวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540  ผมก็ใช้พอร์ตลงทุนแทบจะ “แบบเดียว” มานานมากแทบจะเกือบ 20 ปี  นั่นก็คือ  ลงทุนเฉพาะในหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  โดยจะเป็นการลงทุนเกือบ 100% แทบจะตลอดเวลา  วิธีการลงทุนก็คือการเลือกหุ้นเป็นรายตัวแบบ “VI” พอร์ตเป็นแบบ “Focus” หรือเน้นการถือหุ้นน้อยตัว  โดยที่หุ้นตัวใหญ่ ๆ  จะมีแค่ 6-7 ตัว ซึ่งคิดรวมกันเป็นประมาณ 75% ของพอร์ต  ที่เหลือซึ่งก็มีไม่เกิน 10 ก็จะเป็นหุ้นตัวเล็กที่ไม่มีนัยสำคัญกับผลการดำเนินงานของพอร์ตลงทุน  อย่างไรก็ตาม  เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงบ้าง  หุ้นตัวที่ใหญ่ที่สุดของพอร์ตก็จะไม่เกิน 50% ของพอร์ตในระยะยาวเกิน 4-5 เดือน  โดยทั่วไปแล้ว  ตัวใหญ่ที่สุดก็มักจะไม่เกิน 30-40% และหุ้นตัวใหญ่อันดับ 2 ก็มักจะใหญ่ไม่เกินครึ่งหนึ่งของตัวแรก แนวทางการจัดพอร์ตแบบนั้น  ได้ผลดีมากมาจนถึงประมาณเมื่อ 5-6 ปีที่แล้วที่ตลาดหุ้นไทย  และเฉพาะอย่างยิ่งหุ้น VI ที่เป็นแนว “ซุปเปอร์สต็อก” เริ่มทำผลงานตกต่ำลงมากและอนาคตก็ดูไม่สดใสตามภาวะเศรษฐกิจของไทยที่ถดถอยลงเพราะโรคโควิด-19 และการที่คนไทยแก่ตัวลงมาก  ซึ่งส่งผลให้หุ้นของบริษัทที่แข็งแกร่งและโดดเด่น ...
โลกในมุมมองของ Value Investor       9 มีนาคม 2567 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เมื่อตลาดหุ้นปิดในวันศุกร์ที่ 8 มีนาคม 2567 ผมนั่งดูดัชนีตลาดหุ้นไทย  ปริมาณการซื้อขายหุ้นและหุ้นที่มีปริมาณการซื้อขายสูงสุด 10 ตัวแรก—ตามปกติ  ผมก็ฉุกคิดขึ้นมาว่ามีอะไรบางอย่างที่น่าจะเปลี่ยนแปลงไปมากสำหรับตลาดหุ้นไทยในช่วงหลาย ๆ ปีที่ผ่านมาโดยที่เราอาจจะไม่รู้ตัวหรือไม่ตระหนัก  และผมก็เริ่มที่จะคิดว่านี่คือสถานการณ์ที่  นักลงทุนหรือถ้าจะเรียกว่านักเก็งกำไรน่าจะถูกต้องกว่า  “กำลังหมดหวังและหมดกำลังใจ” กับตลาดหุ้นไทยอย่างรุนแรงและได้แสดงออกผ่านตัวเลขและข้อมูลหลาย ๆ  อย่างดังต่อไปนี้ แม้ว่าดัชนีตลาดหุ้นในวันที่ 8 มีนาคม 2567 จะปรับตัวขึ้นแรงประมาณ 1% เป็น 1,386 จุด แต่ปริมาณการซื้อขายหุ้นทั้งวันอยู่ที่ประมาณ 40,000 ล้านบาทเศษ และนั่นก็เป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปมากจากอดีตเมื่อซัก 3-4 ปีก่อน ที่ถ้าดัชนีขึ้นแรงขนาดนั้น  ปริมาณการซื้อขายหุ้นก็มักจะขึ้นไปแตะระดับ  “แสนล้านบาท” เพราะแรงเก็งกำไรที่เข้ามาเล่นหรือซื้อขายหุ้นโดยเฉพาะจากนักลงทุนส่วนบุคคลทั้งรายย่อยและ “รายใหญ่” ที่ซื้อขายหุ้นต่อวันเป็นระดับร้อยหรือหลายร้อยบาทในเวลาเพียง 1 วัน แต่ในวันที่ 8 นั้น  ดูเหมือนว่าคนที่เข้าไปซื้อหุ้นส่วนใหญ่คือนักลงทุนต่างชาติที่ในช่วงหลัง ๆ  กลายเป็นผู้เล่นหลักในตลาดหุ้นไทย  ที่มีปริมาณการซื้อขายหุ้นรวมมากกว่า 50% ของตลาด  และในวันที่ 8 นั้น ...

MOST POPULAR