โลกในมุมมองของ Value Investor    18 มกราคม 2568 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในช่วงเร็ว ๆ  นี้  เกือบทุกสัปดาห์จะมีหุ้นที่บ่อยครั้งถูกคิดว่าเป็น  “หุ้นดี” หรือ “หุ้นสุดยอดแห่งยุคสมัย” เกิดอาการ  “คอร์เนอร์แตก” นั่นคือ  ราคาหุ้นตกลงมาอย่างแรงโดยที่ไม่ได้มีเหตุการณ์ร้ายแรงหรือผิดปกติกับตัวบริษัท  และหลังจากนั้นอีกหลายวัน  ราคาหุ้นก็ยังคงตกลงมาต่อเนื่อง  จนบางทีราคาตกลงไปเกินครึ่งก่อนที่ทางตลาดหลักทรัพย์และ/หรือบริษัทจะแถลงว่าเกิดอะไรขึ้น? ส่วนใหญ่แล้ว  คำตอบก็คือ  ไม่มีอะไร!  บริษัทยังดำเนินการตามปกติ  ผลประกอบการก็ปกติ  บางทีจะบอกว่าดีขึ้นด้วยซ้ำ   เหตุการณ์หุ้นตกส่วนใหญ่เป็นเรื่องของการขายหุ้นที่อาจจะถูกบังคับขายหรือ Force Sale โดยสถาบันการเงินที่รับจำนำหุ้นไว้จำนวนมากที่ต้องการเงินคืนและคนจำนำ  ซึ่งบางครั้งก็คือผู้บริหารหรือเจ้าของบริษัท  ไม่มีเงินสดที่จะไปใช้คืนเงินที่กู้มามากมาย และเงินที่กู้มาก็เพื่อที่จะไป “ไล่” ซื้อหุ้นจำนวนมากจนทำให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นสูงลิ่ว   ซึ่งก็เป็นกระบวนการที่เรียกว่าการ  “Corner หุ้น” ซึ่งทำให้หุ้นมีราคาหรือมูลค่าสูงเกินความเป็นจริงไปมาก  และทำให้คนทำมีความมั่งคั่งสูงเกินความเป็นจริงไปมาก  และก็เป็นอยู่อย่างนั้นมา  บางทีหลายปี  มองในเชิงเศรษฐศาสตร์ก็อาจจะอธิบายได้ว่า  ราคาหุ้นปกตินั้นถูกกำหนดโดยความต้องการซื้อหุ้นและปริมาณหุ้นที่คนต้องการขายที่เรียกว่า “หุ้น Free Float”  ซึ่งโดยปกติแล้ว  ราคาของหุ้นก็จะอยู่ที่การประเมินหรือคาดการณ์ตามพื้นฐานของกิจการเฉพาะอย่างยิ่งก็คือกำไรของบริษัทและมุมมองในอนาคตว่าจะเติบโตไปแค่ไหนอย่างไร พูดง่าย ๆ  ราคาหุ้นปกติจะขึ้นอยู่กับความต้องการซื้อของคนที่ลงทุนที่เน้นพื้นฐานของกิจการ  และ  เช่นเดียวกับคนที่ต้องการขายหุ้นที่ประเมินมูลค่าพื้นฐานเช่นเดียวกัน  เมื่อคนสองฝ่ายเจอกันในปริมาณหุ้นที่เท่ากัน  ราคาจึงตกลงกันและเกิดเป็น  “ราคาตลาด” ที่เหมาะสม  เช่น  ถ้าเป็นสถาบันการเงินระดับปานกลาง ...

Sudden Death

0
โลกในมุมมองของ Value Investor        11 มกราคม 68 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร สัปดาห์ที่แล้ว  หุ้นตัวหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ตกลงมาถึง “ฟลอร์” ที่ 30% เป็นเวลา 3 วันติดต่อกัน  และวันที่ 4 ก็ยังตกต่อจนราคาลดลงถึงกว่า 70%  มูลค่าตลาดหรือ Market Cap.ของหุ้นลดลงจากระดับหมื่นล้านบาทเหลือเพียงประมาณ 3 พันล้านบาทในเวลาเพียง 3-4 วัน  อาการแบบนี้ผมอยากจะเรียกว่า  “Sudden Death” หรือ  “การตายที่เกิดขึ้นทันทีหรือภายในไม่กี่นาทีจากสาเหตุอะไรก็ตามที่ไม่ได้เกิดจากความรุนแรง” เพราะบริษัทหรือหุ้นที่กล่าวถึงนั้น  ไม่ได้มีการเปลี่ยนแปลงอะไรเลย  ไม่มีข่าวที่กระทบทางด้านลบกับการดำเนินงานโดยตรงแม้ว่าตลาดหุ้นในช่วงนั้นอาจจะตกลงมาประมาณ 2-3% จากความกังวลในระดับโลกที่เข้ามากระทบกับตลาดไทย  แต่ผลกระทบกับตัวบริษัทมีน้อยมาก  อย่างไรก็ตาม  คำชี้แจงของบริษัทหลังจากหุ้นตกลงมาแล้วก็คือ  ผู้บริหารถูกบังคับขายหุ้นที่นำไปจำนำไว้กับสถาบันการเงินจำนวนมาก  ดังนั้น  สาเหตุที่หุ้นตกลงมาหนักมากระดับ  “ตาย” ทันทีก็คือการที่หุ้นที่ถูกบังคับขายนั้น  “ไม่มีคนรับ”  ราคาหุ้นจึงตกลงมาแบบไม่มี “พื้น” ปริมาณการซื้อ-ขายหุ้นในช่วงที่หุ้นตกลงมาถึงฟลอร์ 3 วันติดต่อกันนั้นมีเพียง 36 ล้านหุ้น  คิดเป็นเม็ดเงินเพียง 113 ล้านบาท  ในขณะที่เงินกู้ที่ใช้หุ้นจำนำและจะต้องขายหุ้นเพื่อเอาไปคืนเงินกู้นั้น  ว่ากันว่าอาจจะเป็นหลัก “พันล้านบาท” ดังนั้น ...
โลกในมุมมองของ Value Investor         4 มกราคม 2568 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ปี 2025 และอาจจะปีต่อ ๆ ไปอีกหลายปี  ตลาดหุ้นไทยอาจจะเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมที่นักลงทุนคุ้นเคยมานาน  อาจจะเป็นสิบ ๆ ปีขึ้นไป  การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนั้น  จะกลายเป็นสิ่งใหม่ที่จะอยู่อย่างเดิมต่อไปอีกหลายปี  กลายเป็นเรื่องปกติ  หรือที่เราเรียกว่าเป็น  “New Normal” การเปลี่ยนแปลงที่สำคัญทั้งหลายที่จะเกิดขึ้นนั้นจะมาจาก  “การเปลี่ยนแปลงหลัก” ของเศรษฐกิจไทย  จากเศรษฐกิจโตเร็ว  เป็นเศรษฐกิจโตช้า  ซึ่งเป็นผลจากสังคมไทยที่แก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว  คนเกิดใหม่น้อย  ในขณะที่คนตายมากขึ้นเรื่อย ๆ  เช่นเดียวกับคนสูงอายุที่เพิ่มขึ้นเร็วกว่าคนอายุน้อยมาก  เพราะภายในอีกไม่กี่ปี  แต่ละปีจะมีคนสูงอายุที่จะ “เกษียณ” ปีละเป็นล้านคน  ในขณะที่เด็กที่เติบโตถึงวัยทำงานใหม่มีแค่ 6-700,000 คนเป็นต้น  จำนวนคนทำงานที่ลดลงในแต่ละปีนั้น  จะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ยากมาก  ถ้าไม่ติดลบก็อาจจะดีมากแล้ว  ดังนั้นเศรษฐกิจไทยในระยะยาวจะเติบโตไปได้อย่างไร?  และถ้าเศรษฐกิจเหงาลงเรื่อย ๆ   ตลาดหุ้นจะโตไปได้อย่างไร? New Normal แรกที่เกิดขึ้นชัดมากโดยเฉพาะในช่วงปลายปี 2024 ก็คือ  ปริมาณการซื้อ-ขายหุ้นต่อวันในตลาดหลักทรัพย์ลดลงหนักมากและอยู่ในระดับ 30,000 ล้านบาทบวกลบ  จริงอยู่  ในวันที่ตลาดหุ้นบวก  “แรง”...
โลกในมุมมองของ Value Investor 28 ธ.ค. 67 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร พอถึงสิ้นปี  ก็เป็นเรื่องปกติที่จะต้องมีการประเมินผลตอบแทนการลงทุนของตลาดหุ้นและปรากฎการณ์สำคัญต่าง ๆ  ที่เกิดขึ้นระหว่างปีเพื่อที่จะเก็บไว้เป็นบทเรียนของปีต่อไปและอนาคต ปี 2024 หรือ 2567 ที่กำลังจะผ่านไปในอีกเพียง 1 วันทำการนั้น  ดัชนีตลาดหุ้นปิดที่ 1,402 จุด จากสิ้นปีที่แล้วที่ 1,416 จุด เท่ากับว่าติดลบประมาณ 1% หรือพูดง่าย ๆ  ว่า  “เสมอตัว” และเป็นอีกปีหนึ่งที่ “สูญหายไป” หลังจากที่ปี 2566 ตลาดหุ้นไทยก็ติดลบไปประมาณ 15%  และทั้งสองปีก็เป็นปีที่ตลาดหุ้นไทยเกือบจะ  “แย่ที่สุดในโลก” เพราะตลาดหุ้นทั่วโลกต่างก็ทำผลตอบแทนที่ดีกันทั่วหน้าในระดับ “เลขสองหลัก” และนั่นก็ทำให้ตลาดหุ้นไทยเป็น  “Lost Decade” หรือ “ทศวรรษที่หายไป” คือเป็นตลาดหุ้นที่ไม่ให้ผลตอบแทนเลยในช่วง 1 ทศวรรษที่ผ่านมา  “อย่างเป็นทางการ”  เพราะดัชนีตลาดหุ้นไทยเมื่อสิ้นปี 2014 อยู่ที่ 1,498 จุด สูงกว่าดัชนีในวันนี้ทั้งที่ผ่านมาแล้ว 10 ปีเต็ม ปี 2024 นั้น  มองในภาพใหญ่ก็คือ  เศรษฐกิจไม่ได้ฟื้นตัวต่อจากปี...
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร โลกในมุมมองของ Value Investor    7 ธันวาคม 2567 สังคมไทยในปัจจุบันนั้นคนค่อนข้างจะเน้นเรื่องการมีเงินสูงมาก  คนคิดว่าถ้ามีเงิน  เขาคงมีความสุขมาก  ยิ่งมีเงินมากเท่าใด  ความสุขก็คงมีมากขึ้นเท่านั้น  เขาคิดว่าเงินซื้อความสุขได้  แต่นี่เป็นเรื่องจริงหรือไม่?   ผมจะตอบในฐานะของคนที่เคยแทบจะไม่มีเงินเลยเป็นเวลาหลายสิบปีตั้งแต่เกิด   และต่อมาก็มีเงินมากพอที่จะใช้ซื้อความสุขได้แทบทุกอย่างที่สามารถซื้อได้ด้วยเงิน แต่ก่อนที่จะพูดถึงว่าเงินสามารถซื้อความสุขได้หรือไม่นั้น  เราจำเป็นต้องนิยามเสียก่อนว่าอะไรคือความสุข?  เพราะความสุขนั้น  ไม่มีตัวตน  มันคือความรู้สึกของคนแต่ละคน  ผมยังจำได้ว่าท่านพุทธทาสภิกขุ  พระนักปราชญ์ที่มีชื่อเสียงมากสมัยที่ผมบวชเมื่อประมาณ 50 มาแล้วเคยบอกว่า  ความสุขก็คืออารมณ์ความรู้สึกที่เราอยากให้เป็นอยู่อย่างนั้น  ส่วนความทุกข์ก็คือสิ่งที่เราอยากจะหนีไปให้พ้น  ซึ่งผมก็รู้สึกว่าเป็นคำนิยามที่ง่ายดี  ตรงไปตรงมา  ไม่ต้องถกเถียงว่าเป็นความสุขหรือความทุกข์แบบไหนหรือของใคร ถึงยุคสมัยนี้ที่มีความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์สูงมาก  เราก็รู้ว่าความสุขนั้นมีหลายแบบ  แต่ละแบบจะมีความรู้สึกหรืออารมณ์ที่แตกต่างกัน  และสามารถ “วัดได้” ด้วยปริมาณของฮอร์โมนที่เกิดขึ้นในร่างกายเวลาที่เรา  “มีความสุข”  ความสุขแบบแรกก็คือความสุขแบบ Serotonin  ซึ่งเป็น  “ความสุขทางร่างกาย” เป็นหลัก  ตัวอย่างความสุขแบบนี้ก็อาจจะเป็นเรื่องของการมีความสุขเมื่อได้กินอาหารอร่อย   นอนหลับพอเพียง  การมีอารมณ์ที่ดีเมื่ออยู่ในบรรยากาศที่ดี  การที่ไม่เจ็บไข้ได้ป่วย  การปราศจากความเครียดและความกังวล  เหล่านี้เราก็จะ “มีความสุข” ซึ่งร่างกายก็จะผลิตฮอร์โมนเซอโรโทนินและทำให้เรารู้สึก “สบายและมีความสุข” ประเด็นก็คือ  การที่จะมีความสุขแบบเซอโรโทนินนั้น  เราสามารถจะใช้เงินซื้อหรือไม่  คำตอบก็คือ  ถ้าจนมากจนไม่สามารถที่จะซื้ออาหารที่มีคุณภาพดี  หรือเวลาเจ็บป่วยไม่สามารถใช้บริการการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพเพียงพอ  ความสุขก็คงจะหายไปมาก  และความทุกข์ที่เกิดขึ้นนั้นก็คงทำลายความสุขส่วนนี้ไปมาก   ...
โลกในมุมมองของ Value Investor  30 พฤศจิกายน 67 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ช่วงเร็ว ๆ นี้ดูเหมือนว่าจะมีกรณีการ “โกง” ครั้งใหญ่ ๆ  ระดับ “พันหรือหมื่นล้านบาท”เกิดขึ้นมากในสังคม  และคนที่โกงก็ดูเหมือนว่าจะเป็นคนที่มีชื่อเสียงและมีเงินมาก  บางคนในระดับ “ซุปตาร์” หรือ “มหาเศรษฐี” นอกจากนั้น  ก็เป็นทั้งคน “รุ่นใหม่” และ “รุ่นเก่า”   เกิดอะไรขึ้น?  และจะแก้ไขกันอย่างไร? ก่อนที่จะตอบคำถามนั้น  มาทบทวนกันว่าทำไมคนจึงโกงเสียก่อน  คำตอบของผมก็คือ  คนนั้นมี “ยีนโกง” กันทุกคน  เพราะคนที่ไม่โกงเลยตั้งแต่สมัยหมื่นปีแสนปีนั้น  ตายหรือสูญพันธุ์กันไปหมดแล้ว  มนุษย์ที่เหลือรอดอยู่นั้นจะต้องมี “ยีนโกง” กันทุกคนถึงจะเอาตัวรอดได้   และนี่ก็เหมือนกับยีนอื่น ๆ  ที่ติดอยู่กับตัวมนุษย์มาตั้งแต่ดึกดำบรรพ์เช่น  “ยีนโลภ” “ยีนโกรธ” “ยีนหลง” และที่สำคัญที่สุดก็คือ  “ยีนเห็นแก่ตัว” ที่เป็น “ยีนแม่ของทุกยีน”  ที่กล่าวถึง แน่นอนว่าคนก็ยังมียีนที่  “ไม่เห็นแก่ตัว” อยู่ด้วย  แม้ว่ามันจะน้อยกว่า  เช่นเดียวกับยีนที่ “ไม่โกง” และอื่น ๆ  ที่จะกระตุ้นให้คนเราทำและแสดงออกให้เพื่อนมนุษย์เห็น  เพราะว่าเราเป็น “สัตว์สังคม”...
โลกในมุมมองของ Value Investor   23 พ.ย. 67 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร มองย้อนหลังกลับไปในตลาดหุ้นไทยถึงปีประมาณ  2544-2545 ซึ่งเป็นปีที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยเริ่มฟื้นตัวเต็มที่หลังวิกฤติ “ต้มยำกุ้ง” ปี 2540   และเป็นปีที่แนวคิดการลงทุนแบบ “Value Investing”  เริ่มได้รับการยอมรับในหมู่ “นักลงทุนรุ่นใหม่”  อย่างกว้างขวาง  มาจนถึงวันนี้  ก็ต้องยอมรับว่า  นักลงทุน VI ของไทยประสบความสำเร็จสูงมาก  จำนวนไม่น้อยทำผลตอบแทนการลงทุนปีละหลายสิบเปอร์เซ็นต์แบบทบต้นและทำให้รวยเป็นเศรษฐีหรือมหาเศรษฐีและเป็นที่ยอมรับว่าเป็น  “เซียน VI” ในวันนี้ ความสามารถในการเลือกหุ้นโดยใช้หลักการแบบ VI ดูเหมือนว่าจะเป็น “ปัจจัยหลัก” หรือปัจจัยประการเดียวที่ทำให้ VI ประสบความสำเร็จ  หรืออย่างน้อยก็เป็นสิ่งที่ “เซียน VI” พูดถึงเวลาคุยหรือให้สัมภาษณ์พิธีกรหรือผู้สื่อข่าวเมื่อถูกถามว่าอะไรคือ “สูตรแห่งความสำเร็จ” ของการเป็น VI   แทบจะไม่มีใครพูดถึงสภาวะของตลาดหุ้นหรือแม้แต่การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจว่ามันเอื้ออำนวยต่อการลงทุนหรือไม่  คนสนใจแต่เฉพาะตัวหุ้นหรือกิจการที่กำลังเติบโตและเอาชนะคู่แข่งที่บริหารงานด้วยแนวทางการทำธุรกิจแบบเดิม ๆ ที่กำลังค่อย ๆ  ล้มหายตายจากอานิสงค์ส่วนหนึ่งจากภาวะวิกฤติการเงินในปี 2540 ในช่วงเวลานั้น  ดูเหมือนว่าจะเป็นเรื่องง่ายมากที่จะเลือกซื้อหุ้น  “VI” ซักตัวหนึ่ง  ที่ราคาหุ้น “เริ่มขยับ”  และเริ่มเป็นที่กล่าวขวัญถึงใน “หมู่นักลงทุน VI” ที่เริ่มรวมตัวกัน...
โลกในมุมมองของ Value Investor  16 พฤศจิกายน 67 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร การวิเคราะห์แบบหา “ผู้ชนะ” ในอุตสาหกรรมที่ “กำลังเติบโต” ซึ่งเป็นหลักการสำคัญอย่างหนึ่งของ VI โดยเฉพาะที่เน้นการลงทุนระยะยาวนั้น  ในธุรกิจที่เกี่ยวกับ “สินค้าผู้บริโภค” มักจะมีความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องในหมู่นักวิเคราะห์จำนวนมาก ประการแรกก็คือ  บริษัทที่กำลังวิเคราะห์นั้น  อยู่ใน “ธุรกิจ” อะไรกันแน่และใครคือ “คู่แข่งขัน” โดยตรง  ประเภทที่  “ซัดกันหมัดต่อหมัด” ผู้ชนะได้ตลาดเพิ่มและผู้แพ้มีลูกค้าหรือมีรายได้น้อยลง ตัวอย่างเช่น  หุ้น A เป็นผู้นำโดดเด่นมานานในธุรกิจภัตตาคารอาหารสุกี้หม้อไฟ  มีร้านส่วนใหญ่ในห้างหรูสมัยใหม่  ลูกค้าหลักเป็นคนเดินห้างที่มีฐานะทางเศรษฐกิจระดับประมาณ  B+ ขึ้นไป  ในเวลาต่อมา  หุ้น ก. เปิดภัตตาคารสุกี้หม้อไฟเช่นเดียวกัน  แต่มีร้านส่วนใหญ่นอกห้างหรู  ลูกค้าหลักมีอายุน้อยกว่าและมีฐานะทางเศรษฐกิจประมาณ C+ หรือ B-   เวลาผ่านไป  ยอดขายของภัตตาคารของ A ค่อย ๆ ลดลง  ในทางตรงกันข้าม  ภัตตาคารของ ก. เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและกลายเป็นผู้นำรายหนึ่งของภัตตาคารสุกี้หม้อไฟ  และด้วยอัตราเร่งของร้านและรายได้ที่เพิ่มขึ้น  นักวิเคราะห์หลายคนก็เริ่มคิดว่าบริษัท ก. จะกลายเป็นผู้นำอันดับหนึ่งแทน A ที่ดูเหมือนว่า “กำลังแพ้” ในธุรกิจ...
✨🔥 สัมมนาออนไลน์เจาะลึกหุ้นเวียดนาม – จีน 🇻🇳🇨🇳(ตามคำเรียกร้อง! หลัง On-site เต็มไวเกินคาดใน 1 สัปดาห์) LITTLE VS BIG DRAGON: FOCUS เน้นๆ หุ้นเวียดนาม-จีน (Online)🗓️ 15 ธ.ค. 2567🕘 9.00-17.00 น. 🌟 Exclusive ปีละครั้ง! เจาะลึกหุ้นรายตัวในเวียดนาม-จีน พร้อมเทคนิคการลงทุนโดยกูรูชั้นนำ อาทิ: ดร.นิเวศน์, คุณเอก ธาราบดี, คุณบอล ภาคภูมิ, คุณมี่ ทิวา, คุณเจ๊กกี้ สุธน และอีกมากมาย 💥 เนื้อหา: หุ้นเวียดนาม 70% หุ้นจีน 30% 🔴 สะดวกสุดๆ Online ดู Live สดได้ทุกที่ ถาม-ตอบ Real-time 🔴 Special session: Live เจาะลึกหุ้นเวียดนามก่อนสัมมนา (Q&A สด 1 ธ.ค. 19.30-21.30 น....
โลกในมุมมองของ Value Investor   9 พฤศจิกายน 67 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ช่วงเร็ว ๆ  นี้  ในสังคมไทยเกิดปรากฏการณ์หลายกรณีที่อยู่ดี ๆ  คนที่เคยมีอำนาจ  มีบทบาท  และเป็นที่ยอมรับในสังคมว่าเป็น  คนเก่ง  คนดี  คนที่มีความสามารถ  คนที่ต่อสู้เพื่อช่วยเหลือคนอื่นที่อาจจะถูกทำร้าย  ถูกทำลาย  ถูกหลอกลวงให้เสียหาย  ก็กลับกลายเป็นคนที่ถูกสังคมตราหน้าว่าเป็นคนไม่ดีที่หลอกลวง  ทำร้ายคนอื่นด้วยอำนาจหรือความสามารถที่ตนมี  และกำลังถูกกล่าวโทษโดยคนที่ก่อนหน้านั้น  อาจจะเป็นคนที่ตกทุกข์ได้ยากและต้องการความช่วยเหลือในฐานะ  “เหยื่อ” ของ  “นักล่า”  ปรากฎการณ์ที่ “นักล่า” ซึ่งก็คือคนที่เก่งกว่า  มีพลังอำนาจมากกว่า  เข้าไปล่า  “เหยื่อ” นั้น  ผมนำมาประยุกต์ใช้กับกิจกรรมของมนุษย์ทุกอย่างตั้งแต่เรื่องของสงครามไปจนถึงการเงินที่ฝ่ายนักล่าจะเป็นผู้ที่ “บุก” เข้าไปต่อสู้แข่งขันเพื่อเอาชนะ “เหยื่อ” ที่อ่อนแอกว่า  แล้วก็กวาดทรัพยากรหรือทรัพย์สมบัติของเหยื่อมาเป็นของตนเอง นักล่าจำนวนไม่น้อย  เคยประสบความสำเร็จมาอย่างใหญ่หลวงจนเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางและก็เป็นที่น่าหวาดกลัวสำหรับเหยื่อ  รวมถึงเป็นที่น่าเกรงขามในหมู่นักล่าอื่น ๆ  ที่อาจจะอิจฉาและพร้อมที่จะเข้ามา “ทำลาย” บารมีนั้นถ้ามีโอกาส  และนั่นก็คือวันที่ “นักล่า”กลายเป็น “เหยื่อ” เสียเองอย่างไม่ทันตั้งตัว ตัวอย่างของสงครามก็คือในศึกสตาลินกราดที่กองทัพเยอรมันบุกโซเวียตรัสเซียในสงครามโลกครั้งที่ 2 หลังจากที่ประสบความสำเร็จอย่างใหญ่หลวงที่สามารถยึดยุโรปตะวันตกได้แทบทั้งหมดในระยะเวลาอันสั้น  และเหยื่อรายต่อไปก็คือรัสเซีย  ซึ่งก็คือ “นักล่าระดับรอง” รายหนึ่งที่บุกยึดโปแลนด์ร่วมกับเยอรมันมาก่อนหน้าแล้ว เยอรมันบุกถึงสตาลินกราดและได้เข้าล้อมเมืองไว้ 3 ด้าน ...

MOST POPULAR