การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ของเวียดนามยังคงฟื้นตัวได้

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ถือเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนการเติบโตที่สำคัญที่สุดของประเทศเวียดนาม และเวียดนามยังเป็นหนึ่งในประเทศที่ได้รับประโยชน์มากกว่าประเทศอื่นๆ จากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอีกด้วย  อย่างไรก็ตาม ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ 2 ประการต่อการไหลเข้าของ FDI ในอนาคตของเวียดนาม ซึ่งเป็นที่สนใจสำหรับนักธุรกิจท้องถิ่นและผู้กำหนดนโยบายของรัฐบาล ได้แก่:

1) เวียดนามอาจสูญเสียความสามารถในการแข่งขันในฐานะ จุดหมายปลายทางของการลงทุน FDI เมื่อเทียบกับอินเดีย มาเลเซีย และ/หรือ อินโดนีเซีย

2) โครงการกำหนดอัตราภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก จะลดความน่าดึงดูดใจของเวียดนามในฐานะแหล่งลงทุน FDI ปลายทาง เนื่องจากนักลงทุนจะถูกโดยจำกัดสิทธิประโยชน์ทางภาษี

การเยือนอินเดียของ Tim Cook ในเดือนเมษายนทำให้เกิดข่าวคราวมากมายเกี่ยวกับความตั้งใจของ Apple และผู้ลงทุนรายอื่นๆ เกี่ยวกับการสร้างโรงงานใหม่ในประเทศ อย่างไรก็ตามผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ที่ผลิตในโรงงานเหล่านั้นจะถูกขายไปยังตลาดอินเดีย  กล่าวอีกนัยหนึ่งคือ การลงทุนใหม่ๆ ไปยังอินเดียไม่ได้ถูกกระตุ้นโดยกลยุทธ์การลงทุน “จีน + 1” ที่ผลักดันให้ FDI ไหลเข้าเวียดนามในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในตั้งแต่เริ่มสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน

ผู้สังเกตการณ์บางคนยังตั้งข้อสังเกตว่า โครงการ FDI ที่ไหลเข้าสู่มาเลเซียและอินโดนีเซียพุ่งสูงขึ้นในช่วงสองปีที่ผ่านมา ในขณะที่ FDI ที่ยอดลงทะเบียน FDI ของเวียดนามนั้นค่อนข้างทรงตัว อย่างไรก็ตาม ดังที่เราจะอธิบายเพิ่มเติมด้านล่าง การลงทุนในมาเลเซียและอินโดนีเซียส่วนใหญ่มุ่งไปที่การผลิตสินค้าที่เวียดนามไม่ได้ผลิต รวมถึงแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV)

สุดท้ายแล้ว นับตั้งแต่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ-จีน ที่ปะทุขึ้นในปี 2018 เวียดนามได้ดึงดูดส่วนแบ่ง FDI มากกว่าที่ควร ดังนั้นจึงเป็นธรรมชาติที่คู่แข่งระดับภูมิภาคของเวียดนามกำลังไล่ตามหลังเวียดนามในช่วงที่ปีที่ผ่านมา. 

แต่เราเชื่อว่ามีแนวโน้มว่าเวียดนามจะยังคงเป็นผู้ได้รับผลประโยชน์ที่ใหญ่ที่สุดจากการลงทุนที่ได้รับแรงจูงใจจาก “จีน + 1” ในอีกหลายปีข้างหน้าด้วยเหตุผลดังนี้

เวียดนามเป็นจุดหมายปลายทางที่บริษัทข้ามชาติเลือกสำหรับจีน + 1” 

สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ กับจีนเกิดขึ้นในปี 2018 และนับจากนั้นจนถึงปี 2022 ส่วนแบ่งการส่งออกของจีนไปยังสหรัฐฯ ลดลงประมาณ 13% จาก 69% เป็น 56% ของการส่งออกทั้งหมดจากประเทศพัฒนาน้อย (LDC) ในเอเชีย (รวมถึงอินเดีย) ไปยังสหรัฐอเมริกา 

ซึ่งเวียดนามดูดซับส่วนแบ่งการตลาดการส่งออกที่ลดลงของจีนได้ประมาณครึ่งหนึ่ง โดยสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการส่งออกไปยังสหรัฐฯ จาก 6% ในปี 2018 เป็น 13% ในปี 2022

เวียดนามเป็นผู้ได้ประโยชน์รายใหญ่ที่สุดจากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน โดยมีจุดแข็งหลัก 3 ประการ:

ประการแรก ค่าจ้างโรงงานในเวียดนามน้อยกว่าค่าจ้างในจีนกว่าครึ่งหนึ่ง ในขณะที่คุณภาพของแรงงานสามารถเทียบได้กับของจีนตามการสำรวจของเจโทรและบริษัทอื่นๆ

ประการที่สอง เวียดนามมีความใกล้ชิดทางภูมิศาสตร์กับห่วงโซ่อุปทานในเอเชีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง

และประการสุดท้าย เวียดนามได้รับประโยชน์จากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า “Friendshoring” หรือ นโยบายหรือกลยุทธ์ทางการค้าที่เลือกทำธุรกรรมทางธุรกิจเฉพาะกับประเทศที่เป็นมิตรทางการเมืองเท่านั้น 

นักลงทุนสหรัฐมองว่าสินค้าที่ถูกผลิตและส่งออกจากเวียดนามมีความเสี่ยงน้อยที่สุดที่จะเรียกเก็บภาษีศุลกากรที่สูงลิ่วซึ่งความเชื่อมั่นนี้ ถูกทำให้เข้มแข็งมากขึ้นจากการเยือนประเทศเวียดนามของรัฐมนตรีต่างประเทศสหรัฐฯ แอนโทนี บลินเกน ตลอดจนคณะผู้แทนของบริษัทชั้นนำของสหรัฐฯ ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ในปีที่ผ่านมา

อินเดียยังไม่ได้เป็นภัยคุกคามต่อการไหลเข้าของ FDI ของเวียดนาม 

การประกาศแผนการของ Apple ในเดือนเมษายนที่จะขยายการผลิต iPhone ในอินเดียทำให้เกิดข่าวมากมาย แต่ก็การขยายครั้งนี้ก็สอดคล้องกับบริษัทข้ามชาติอื่นๆ ที่เข้าลงทุนในอินเดียเพื่อผลิตสินค้าเพื่อขายให้กับผู้บริโภคชาวอินเดียเป็นหลัก  ซึ่งแตกต่างจากการลงทุนของบริษัทเหล่านี้ในเวียดนาม ที่เหตุปัจจัยหลักคือเพื่อผลิตและส่งออกสินค้าไปทั่วโลก

เวียดนามกำลังดำเนินการตามสิ่งที่เรียกว่า “โมเดลการพัฒนาเอเชียตะวันออกซึ่งเป็นแนวทางเดียวกับที่เศรษฐกิจ “เสือแห่งเอเชีย”เคยใช้  เป็นกลยุทธ์การเติบโตทางเศรษฐกิจนี้มุ่งเน้นไปที่การผลิตสินค้าที่ส่งออกไปยังสหรัฐอเมริกาและอื่นๆ   สินค้าเกือบทั้งหมดที่ผลิตในเวียดนามจะถูกส่งออก โดยเฉพาะไปยังสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม (คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าหนึ่งในสี่ของการส่งออกของเวียดนาม)

ในทางตรงกันข้าม อินเดียกำลังดำเนินกลยุทธ์การเติบโตที่เน้นภายในประเทศมากกว่า ดังนั้นบริษัทข้ามชาติที่ลงทุนในอินเดียจึงแสวงหาผลกำไรจากชนชั้นกลางที่เติบโตอย่างรวดเร็วแทนที่จะเป็นฐานการผลิตเพื่อส่งออก ตัวอย่างเช่น ยอดขาย iPhone ของ Apple ในอินเดียในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่าน เพิ่มจาก 1.8 ล้านเครื่องในปี 2018 สู่ 7 ล้านเครื่องในปี 2022  ดังนั้น Apple จึงทุ่มเงินไปที่อินเดียเพื่อเพิ่มกำลังการผลิต iPhone ในประเทศของตน ซึ่งไม่ทันกับความต้องการในประเทศ จากโทรศัพท์ 7 ล้านเครื่องที่บริษัทจำหน่ายในอินเดียเมื่อปีที่แล้ว มีเพียง 6.5 ล้านเครื่องเท่านั้น

ที่ผลิตในประเทศ โดยมีการนำเข้าส่วนเหลือ เหลือเพื่อตอบสนองความต้องการของตลาดในอินเดีย แสดงให้เห็นว่าเหตุใดแรงจูงใจในทันทีของ Apple ในการลงทุนในอินเดียคือการตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นในท้องถิ่น

อุปสรรคในการส่งออกการผลิตในอินเดีย

ประเด็นสำคัญสองประการที่ขัดขวางไม่ให้บริษัทข้ามชาติลงทุนเชิงรุกในอินเดียเพื่อผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกคือ: ปัญหาเกี่ยวกับแรงงาน (รวมถึงความสามารถอ่านออกเขียนได้) และกฎหมายแรงงานที่เข้มงวดของอินเดีย ตัวอย่างเช่น โรงงานในอินเดียที่มีพนักงานมากกว่า 100 คนต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐบาลก่อนที่จะเลิกจ้างพนักงาน และโครงการ “Make in India” ของอินเดียซึ่งเปิดตัวในปี 2015 เพื่อดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากภาคการผลิต (ส่วนหนึ่งมาจากแรงจูงใจด้านภาษี) ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางว่าล้มเหลว เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างชาติ ส่วนหนึ่งก็ด้วยเหตุผลเหล่านี้ พลวัตเหล่านี้อาจเปลี่ยนแปลงได้ในอนาคต เนื่องจาก Apple และบริษัทอื่นๆ กดดันให้อินเดียปรับปรุงความน่าดึงดูดใจในฐานะจุดหมายปลายทาง FDI เนื่องจากพวกเขาต้องการกระจายการผลิตออกจากจีนด้วยเหตุผลทางภูมิรัฐศาสตร์และอื่นๆ

ปีที่แล้ว “ความง่ายในการทำธุรกิจ” ของเวียดนามในการจัดอันดับ Economist Intelligence Unit (EIU) ของประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพิ่มขึ้น 12 อันดับ ซึ่งเป็นการเพิ่มขึ้นที่มากที่สุดในบรรดา 82 ประเทศที่ EIU ประเมิน 

อันดับของอินเดียก็เพิ่มขึ้น 6 อันดับเช่นกัน ในทางกลับกัน จีนตกลงไป 11 อันดับ และตอนนี้ประเทศจีนอยู่ในอันดับที่ต่ำกว่าทั้งเวียดนามและอินเดีย

เราไม่เห็น ภัยของอินเดีย ต่อการไหลเข้าของ FDI ของเวียดนาม และยังคงเชื่อว่า FDI มีแนวโน้มที่จะยังคงเป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนการเติบโตของเวียดนามในอีกหลายปีข้างหน้า กระแสของการประกาศ FDI ใหม่ๆ ในอินเดียไม่ควรถูกมองว่าเป็นการดึงการลงทุนไปจากเวียดนาม

มาเลเซียและอินโดนีเซีย: ได้รับประโยชน์จาก EVs และ Cloud Computing

การลงทุนจากต่างประเทศตามแผนในมาเลเซียและอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นในอัตราเกือบ 65% และอัตรา 30% (CAGR) ตามลำดับในช่วงสองปีที่ผ่านมา ในขณะที่ FDI จดทะเบียนของเวียดนามค่อนข้างทรงตัว และลดลงในช่วงสี่เดือนแรกของปีนี้ ผู้สังเกตการณ์บางคนตีความว่าบริษัทข้ามชาติอาจตั้งโรงงานในมาเลเซียและอินโดนีเซียแทนที่จะเป็นในเวียดนาม แต่ทั้งสองประเทศต่างได้รับประโยชน์จากการลงทุนที่เพิ่มขึ้นในการผลิตแบตเตอรี่รถยนต์ไฟฟ้า (EV) และมาเลเซียก็ดึงดูดการลงทุนจำนวนมากใน โครงการศูนย์ข้อมูล (data center) ที่ได้รับประโยชน์จากการประมวลผลแบบคลาวด์

ตัวอย่างเช่น Tesla, BYD และ Hyundai กำลังลงทุนในการผลิตแบตเตอรี่ EV ในอินโดนีเซีย และ Samsung กำลังลงทุนในมาเลเซีย 

ในอินโดนีเซีย การลงทุนอันเกี่ยวข้องกับ EV เกิดจากการที่ประเทศมีแร่ “โลหะสีเขียว” อยู่มากมาย รวมถึงกลยุทธ์ของประเทศในการส่งเสริมการลงทุนในอุตสาหกรรมสินค้าโภคภัณฑ์ขั้นปลาย (เช่น อินโดนีเซียห้ามส่งออกนิกเกิลที่ยังไม่ผ่านกระบวนการแปรรูป เมื่อปีที่แล้ว เป็นต้น) 

ด้านมาเลเซีย กำลังได้รับประโยชน์จากการลงทุนในศูนย์ข้อมูลและการลงทุนที่เกี่ยวข้องกับคลาวด์คอมพิวติ้ง ซึ่งเติบโตขึ้น 4,000% ในปีที่แล้ว โดยได้แรงหนุนจากการลงทุนโดย Amazon Web Services, ระบบ Byte Dance และ Bridge Data Centres

สำหรับเวียดนามนั้น ความสามารถของประเทศยังไม่ขยายไปสู่ธุรกิจที่มีมูลค่าเพิ่มสูง เช่น ศูนย์ข้อมูลและการประมวลผลแบบคลาวด์ และยังคงมุ่งเน้นที่การประกอบชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์สำหรับผู้บริโภคและอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อื่นๆ แต่ต้องอย่าลืมว่าการไต่ขึ้นสู่ห่วงโซ่มูลค่าเทคโนโลยีขั้นสูงของมาเลเซียนั้น ก็เริ่มจากการประกอบผลิตภัณฑ์อิเล็กทรอนิกส์ ดังนั้นความสำเร็จของมาเลเซียจึงสามารถมองได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้ว่าเวียดนามมีแนวโน้มที่จะอยู่จุดไหนในอนาคต

ภาษีขั้นต่ำขององค์กรทั่วโลกจะไม่ส่งผลกระทบต่อการไหลเข้าของ FDI ของเวียดนาม

บริษัทที่ลงทุน FDI ในเวียดนามมักจะได้รับการลดหย่อนภาษีซึ่งอาจรวมถึงอัตราภาษี 0% ในช่วงปีแรกของการดำเนินงานในเวียดนาม และค่อยๆ เพิ่มขึ้นเป็น 20% ตามเพดานอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลของเวียดนามตลอดระยะเวลา 10 ปี

ในปี 2021 กว่า 100 ประเทศ (รวมถึงเวียดนาม) เห็นชอบกับข้อเสนอของ OECD สำหรับภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก (Global Corporate Minimum Tax) ซึ่งจะกำหนดอัตราภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำ 15% สำหรับรายได้สำหรับบริษัทที่มีรายได้รวมมากกว่า 850 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เริ่มตั้งแต่ปี 2023 แต่การดำเนินการตามข้อตกลงนี้ล่าช้าออกไปเป็นปี 2024 และยังไม่ชัดเจนว่าสหรัฐฯ จีน และอินเดียจะเข้าร่วมในโครงการหรือไม่

เวียดนามกำลังเตรียมการนำระบบ ภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก มาใช้ในปีหน้าและมีรายงานว่าบริษัทประมาณ 70 แห่งในเวียดนามอาจต้องเจอกับอัตราภาษีที่สูงขึ้นหากมีการบังคับใช้ มีรายงานว่าประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆในภูมิภาค กำลังศึกษาทางเลือกซึ่งจะชดเชยภาระภาษีที่สูงขึ้นของบริษัทได้อย่างมีประสิทธิภาพโดยการอุดหนุนต้นทุนการผลิตของบริษัทเหล่านั้นบางส่วน เช่น , เงินอุดหนุนค่าไฟ, ค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างโรงงานใหม่, บ้านพักคนงาน เป็นต้น

แต่สำคัญยิ่งกว่า อัตราภาษีที่ต่ำ คือ เสถียรภาพทางการเมือง ความสะดวกในการทำธุรกิจ แรงงาน (คุณภาพและค่าจ้าง) และโครงสร้างพื้นฐาน ในการตัดสินใจของบริษัทว่าจะตั้งโรงงานแห่งใหม่ที่ใด 

โดยสรุป การเรียกเก็บอัตราภาษีนิติบุคคลขั้นต่ำทั่วโลก ใหม่ไม่น่าจะเป็นอุปสรรคต่อการไหลเข้าของ FDI ของเวียดนาม เนื่องจากข้อเท็จจริงที่ว่าแรงจูงใจทางภาษีไม่ใช่สิ่งดึงดูดหลักสำหรับการตั้งโรงงานในเวียดนาม และดูเหมือนว่าแนวทางแก้ไขนั้นน่าจะเป็นไปได้  เมื่อใดที่โครงการถูกนำไปใช้จริง

บทสรุป

FDI เป็นหนึ่งในตัวขับเคลื่อนการเติบโตทางเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดของเวียดนามในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา เวียดนามมีประสิทธิภาพเหนือกว่าประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาคอย่างมากในการดึงดูด FDI นับตั้งแต่สงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีนอุบัติขึ้น แต่ก็มีข้อกังวลอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับความได้เปรียบในการแข่งขันของเวียดนาม ท่ามกลางความสนใจที่เพิ่มขึ้นในอินเดียจากบริษัทต่าง ๆ เช่น Apple 

เราไม่กังวลว่าอินเดียจะส่งผลกระทบต่อการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศที่อาจหลั่งไหลเข้าสู่เวียดนามด้วยเหตุผลหลายประการ  แต่เหตุผลหลังเป็นเพราะ องค์กรที่เข้าไปลงทุนในอินเดีย มีจุดมุ่งหมาย คือการผลิตสำหรับตลาดท้องถิ่นที่เติบโตอย่างรวดเร็วในขณะที่เวียดนามถูกมองว่าเป็นฐาน เพื่อการผลิตเพื่อการส่งออก อีกทั้ง อินเดียไม่ได้เป็นตัวเลือกที่น่าสนใจในบริบทของกลยุทธ์การลงทุน “จีน + 1” ในขณะที่เวียดนามเป็นตัวเลือกที่บริษัทส่วนใหญ่ต้องการ

ในขณะเดียวกัน ระบอบภาษีใหม่น่าจะมีผลกระทบเพียงเล็กน้อยต่อ FDI ในเวียดนาม เราเชื่อว่ารัฐบาลจะหาทางแก้ไขปัญหาและบรรเทาภาระทางภาษีและค่าใช้จ่ายของบริษัทที่เข้ามาลงทุนได้

ด้วยเหตุผลเหล่านี้และเหตุผลอื่นๆ เราเชื่อมั่นอย่างเต็มที่ว่าเวียดนามจะยังคงเป็นจุดหมายปลายทางหลักสำหรับ FDI โดยเฉพาะจากบริษัทข้ามชาติที่ต้องการผลิตเพื่อการส่งออกและแสวงหาทางเลือกและ/หรือฐานการผลิตเพิ่มเติมในอนาคตอันใกล้

สมัครสัมมนาออนไลน์ รวมพลคนลงทุนหุ้นเวียดนาม คลิ๊กhttps://forms.gle/s7c8eue4WNyrRpaC8

VVI Membership ดูรายละเอียดและสมัครได้ที่https://class.vietnamvi.com/

หรือ ติดตามเราได้ที่

– Line :@vietnamvi คลิกhttps://lin.ee/Jy9n680

– website: https://www.vietnamvi.com

– facebook: https://www.facebook.com/vvinvestor

– Youtube:http://youtube.com/c/vietnamvi

– E-mail:http://info@administrator