โลกในมุมมองของ Value Investor 30 มี.ค. 68 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมามีเหตุการณ์เล็ก ๆ  ที่น่าสนใจเกิดขึ้นในตลาดหุ้นที่กำลัง “เหี่ยวเฉา” ลงเรื่อย ๆ  นั่นก็คือ  หุ้นแบ้งค์ขนาดใหญ่ตัวหนึ่งประกาศจ่ายปันผลเพิ่มเป็นกรณีพิเศษนอกเหนือจากปันผลปกติประจำปีจำนวน 2.5 บาทต่อหุ้น หลังจากประกาศ  ราคาหุ้นในตลาดก็ปรับตัวขึ้น 3.5 บาทในวันแรก  และหลังจากวันนั้นหุ้นก็ยังปรับตัวขึ้นไปอีก 4 วันที่ 3.5  1.5  3 และ 3.5 บาท ตามลำดับ  รวมแล้วหุ้นขึ้นไป 5 วัน  คิดเป็นราคาที่เพิ่มขึ้น 15 บาท หรือขึ้นไปจากปันผลที่ประกาศถึง 6 เท่า โดยที่ดัชนีตลาดหุ้นไม่ได้มีการเคลื่อนไหวอะไรผิดปกติ หุ้นอีกตัวหนึ่งที่เงียบเหงามานานมากและราคาก็ไหลลงไปเรื่อย ๆ  ทั้ง ๆ  ที่กิจการก็ดำเนินงานไปตามปกติ  มีกำไรดีและมีความแข็งแกร่งช่วงหนึ่งอยู่ในระดับ “ซุปเปอร์สต็อก” ของหุ้นขายสินค้าและอุปกรณ์ปรับปรุงบ้าน  แต่เนื่องจากอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์อาจจะอยู่ในช่วงตกต่ำยาวนาน  รายได้และกำไรของบริษัทจึงเพิ่มขึ้นน้อย  ราคาหุ้นจึงแทบจะนิ่งตามภาวะตลาด แต่แล้วบริษัทก็ประกาศว่าจะซื้อหุ้นคืนคิดเป็นเงินประมาณ 7,000 ล้านบาท หรือประมาณ 6-7% ของหุ้นทั้งหมดที่จดทะเบียนในตลาด  และทันทีที่ประกาศ  หุ้นก็ปรับตัวขึ้น 9%...
โลกในมุมมองของ Value Investor   22 มี.ค. 68 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร สัปดาห์ก่อนผมเขียนบทความเรื่อง  “ตลาดหุ้นอเมริกากำลังเข้าสู่ทศวรรษที่หายไป?” ก็ได้รับคำถามจากนักลงทุนที่น่าจะลงทุนในตลาดเวียดนามว่า  “แล้วตลาดหุ้นเวียดนามจะเป็นอย่างไร”  เพราะเวียดนามอาจจะอยู่ในรายชื่อของประเทศที่จะถูกอเมริกาขี้นภาษีสินค้านำเข้า เช่นเดียวกับอีกหลายประเทศที่ได้เปรียบดุลการค้าสหรัฐมาก  ตลาดหุ้นเวียดนามจะมีปัญหามากไหมหลังจากการประกาศรายชื่อรอบต่อมาของประเทศที่จะถูกขึ้น “บัญชีดำ” ในอีกไม่กี่วันที่จะถึงนี้? คำตอบเบื้องต้นของผมก็คือ  ผมไม่รู้  ผมรู้แต่ว่าเมื่อจีนถูกปรับขึ้นภาษีรอบแรกที่ประมาณ 10%  ตลาดหุ้นจีนดูเหมือนว่าจะไม่ได้ตอบสนองอะไร  เพราะเรื่องนี้ทุกคนก็รู้อยู่แล้วว่าจะต้องถูกเล่นงาน  ตลาดหุ้นรับรู้ข่าวนี้มาหลายเดือนแล้วเพียงแต่ไม่รู้ว่าจะถูกปรับขึ้นขนาดไหน  ถ้าปรับขี้นไม่ได้มากกว่าที่คาด  ตลาดหุ้นก็จะไม่ตกลงมา  ดังนั้น  กรณีของเวียดนาม  เราก็คงจะต้องดูกันต่อไปว่าตลาดจะขึ้นหรือลงในช่วงเวลาสั้น ๆ  หลังการประกาศ สิ่งที่น่าสนใจสำหรับผมก็คือ  ในระยะยาว  การค้าขายระหว่างเวียดนามกับอเมริกาและประเทศอื่นจะดีขึ้นหรือแย่ลง  เหตุผลก็เพราะว่าเวียดนามนั้นอาศัยการส่งออกสินค้าเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจของตนเองมาก  และที่ GDP ของเวียดนามโตเอา ๆ  ในช่วงอย่างน้อย 10 ปีที่ผ่านมานั้นก็เพราะเวียดนามมีความสามารถในการผลิตสินค้าหรือบริการที่แข่งขันได้  มีต้นทุนที่ต่ำกว่าคู่แข่งในขณะที่คุณภาพไม่แพ้คนอื่น  และทั้งหมดนั้นเป็นเพราะศักยภาพของคนเวียดนามที่สูงและมีกำลังแรงงานที่เพิ่มขึ้นและจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอีกอย่างน้อย 10 ปีข้างหน้า ความเห็นของผมก็คือ  ถ้าไม่นับเรื่องของสงครามการค้าและ  “ระเบียบโลกใหม่” ที่หลายคนพูดว่าโลกกำลังเปลี่ยนไปจากเดิมที่เป็น Globalized คือเปิดกว้างและไม่มีกำแพงขวางกั้นกิจกรรมทางเศรษฐกิจ  กลายเป็นโลกที่ปิดตัวลงไปมากด้วยการตั้งกำแพงภาษีที่ทรัมป์กำลังทำ  เวียดนามก็จะต้องเจริญเติบโตต่อไปอย่างรวดเร็วแบบ “ไม่มีอะไรมาขวางได้”   อย่างที่เคยเกิดขึ้นกับประเทศอุตสาหกรรมใหม่คือ ใต้หวัน  เกาหลี  ฮ่องกง และสิงคโปร์เมื่อซัก 5-60 ปีก่อน  และเกิดขึ้นกับมาเลเซีย ...
โลกในมุมมองของ Value Investor  15 มี.ค. 68 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ตั้งแต่ประธานาธิบดีทรัมป์เข้ารับตำแหน่ง  การเมือง  เศรษฐกิจและตลาดหุ้นอเมริกาดูเหมือนว่าจะปั่นป่วนไม่น้อย  ทิศทางของอเมริกานั้น  ดูเหมือนว่าจะเปลี่ยนแปลงไปมาก  ซึ่งนั่นก็ทำให้หลายคนไม่แน่ใจว่าตลาดหุ้นอเมริกาในระยะยาวจะไปทางไหน  หุ้นจะขึ้นหรือลง  น่าลงทุนหรือไม่  ผมลองศึกษาข้อมูลที่เป็นประวัติศาสตร์โดยอิงกับเหตุการณ์สำคัญและดัชนี S&P 500 ซึ่งถือว่าเป็นตัวแทนที่ดีที่สุด  โดยการมองย้อนหลังไปประมาณ 75 ปีซึ่งเป็นยุคที่อเมริกา “เปิดประเทศ” และกลายเป็นผู้นำที่โดดเด่นของโลกในทุกด้าน  ทั้งการทหาร  เศรษฐกิจ  การค้าและการเงินของโลก เริ่มในปี 1949 ซึ่งเป็นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จบลงโดยที่อเมริกาซึ่งเป็นฝ่ายผู้ชนะสงครามได้กลายเป็นผู้นำของประเทศ “โลกเสรี” อย่างเด็ดขาดและมีพละกำลังทางเศรษฐกิจที่เข้มแข็งมากเพราะไม่ได้รับผลกระทบจากสงครามโดยตรง  อเมริกาได้เข้าไปช่วยประเทศโดยเฉพาะในยุโรปตะวันตกให้ฟื้นตัวจากสงครามโดยโครงการ  “Marshall Plan” ที่ใช้เงินมหาศาล ด้วยความคิดที่ว่า  ถ้าไม่ช่วย  ประเทศเหล่านั้นก็จะมีปัญหาทางเศรษฐกิจรุนแรง  ซึ่งจะทำให้ประชาชนเดือดร้อนและโกรธแค้นและในที่สุดอาจจะเปลี่ยนแปลงประเทศให้กลายเป็นคอมมิวนิสต์ตามอย่างโซเวียต  สรุปก็คือ  อเมริกาที่เคย “อยู่เฉย ๆ  และไม่ยุ่งกับใคร” ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2   กลายเป็นอเมริกาที่เข้าไป “ยุ่ง” หรือช่วยประเทศอื่น ๆ  ทั่วโลกโดยเฉพาะในฝ่ายของโลกเสรี  เหตุผลก็เพื่อที่จะต่อต้านคอมมิวนิสต์  โลกเข้าสู่ช่วง “สงครามเย็น” ที่ไม่รบกันด้วยอาวุธ  แต่รบกันด้วยเศรษฐกิจ  การค้าและอุดมการณ์ของแต่ละฝ่าย “โลกเสรี” เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจมาก ...
โลกในมุมมองของ Value Investor   8 มีนาคม 2568 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร สำหรับนักลงทุนแนว VI รวมถึงผมเองนั้น  นอกเหนือจากความรู้เรื่อง  “จิตวิทยา” การลงทุนหรือจิตวิทยาสังคมอื่น ๆ  ที่ได้ศึกษาร่ำเรียนมานั้น  ถึงวันนี้คงต้อง “อัพเดท” ความรู้ใหม่อีกข้อหนึ่งที่ผมคิดว่าสำคัญและจะสำคัญขึ้นเรื่อย ๆ  ในโลกที่ข้อมูลข่าวสารกระจายไปรวดเร็วทั่วโลกผ่านเครือข่ายสื่อสังคมดิจิทัลซึ่งสามารถ “สร้างกระแส” หรือกระตุ้นความรู้สึกหรือความคิดของคนให้รุนแรงขึ้นมากจนทำให้เกิดการตัดสินใจทำอะไรบางอย่างที่อาจจะกระทบกับการลงทุนของเราทั้งในทางที่ดีและร้าย  แต่ในบทความนี้ผมจะพูดในทางที่ร้ายเป็นหลัก  เพราะผลกระทบมันแรงเนื่องจากคนจะตอบสนองกับเรื่องที่ร้ายมากกว่าดี ประเด็นที่จะพูดก็คือเรื่องของ  “Hate Speech” หรือคำพูดที่โจมตี  ใส่ร้าย  คนอื่นหรือกลุ่มคนอื่นในประเด็นสารพัดทั้งทางร่ายกาย  จิตใจ  ความคิด  เชื้อชาติ  ไม่ว่าสิ่งที่พูดหรือเขียนในสื่อนั้นจะจริงหรือถูกต้องหรือไม่  หรือเป็นการพูดที่อคติหรือเป็นเรื่องของการอิจฉาริษยาหรือไม่  โดยในเวอร์ชั่นของไทยซึ่งเรารู้จักกันดีก็คือ  ปรากฎการณ์ที่เรียกว่า  “ทัวร์ลง” นั่นก็คือ  มีคอมเม้นต์จำนวนมากมายที่ด่าว่าคนบางคนที่พวกเขา  “เกลียด”  ไม่เห็นชอบกับสิ่งที่เจ้าตัวทำหรือแสดงความคิดเห็น  บ่อยครั้งพวกเขาก็จะเรียกร้องให้  “แอนตี้” กิจกรรมหรือกิจการที่เจ้าตัวทำอยู่ ในกรณีที่รุนแรง  ผลกระทบกับเจ้าตัวก็จะหนักจนแทบ “หายนะ”  ตัวอย่างเช่น  หากเจ้าตัวเป็น “ดารา” ที่ต้องอาศัยลูกค้าที่เป็น  “คนดู” จำนวนมาก  คนจำนวนหนึ่งซึ่งบางทีก็อาจ จะมากที่ “เกลียด” เขาก็จะไม่ดูและเลิกดู  ผู้สร้างภาพยนต์ก็กลัวว่าหนังจะไม่ได้รับการยอมรับเพราะมีดาราคนนั้นก็จะเลิกจ้าง  บริษัทที่ต้องการโฆษณาก็จะไม่จ้างดาราที่ถูกคนจำนวนมากแอนตี้แม้ว่าเจ้าตัวจะมีความสามารถและเหมาะสมกับงาน  แต่บังเอิญไปทำให้คนเกลียดและแสดงออกผ่านสื่อสังคมที่กระจายออกไปอย่างกว้างขวาง ตัวอย่างของธุรกิจหรือบริษัทเองนั้น  ในกรณีของไทยก็มีปรากฎการณ์...
โลกในมุมมองของ Value Investor         1 มีนาคม 2568 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ครบ 2 เดือนของปี 2568 ดัชนีตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 1204 จุดหรือตกลงไปประมาณ 14% ซึ่งก็เป็นตลาดหุ้นที่ “แย่ที่สุดในโลก” นับจากต้นปี  ราคาของหุ้นจำนวนมาก  รวมถึงหุ้นขนาดใหญ่ที่สุดของตลาดตกลงมาแรงมาก  บางตัวระดับหายนะแบบ  “คอร์เนอร์แตก”   การตกลงมาของหุ้นนั้น  ดูเหมือนจะไม่เลือกว่าเป็นหุ้นแบบไหน  และบางทีก็ไม่รู้ว่ามาจากสาเหตุใดชัดเจน  ตัวอย่างเช่น  เรื่องของผลประกอบการซึ่งแน่นอนว่ามีผลต่อการขึ้นหรือลงของราคาหุ้น  หุ้นที่ผลประกอบการตกต่ำลงมากนั้น  ราคาก็มักจะ “ถล่ม” ทันที  แต่หุ้นบางตัวที่มีผลประกอบการที่ดี  บางทีดีมากจนน่าประทับใจ  แต่หุ้นก็ยังตกลงไปอย่างไม่น่าเชื่อเมื่อมีการประกาศผลประกอบการ นั่นเป็น “ความจริงที่โหดร้าย” สำหรับนักลงทุนที่ลงทุนโดยอิงกับพื้นฐานของกิจการรวมถึงเหล่า VI ที่ประเมินและคาดการณ์ผลการดำเนินการของบริษัท  และมักจะจดจ้องกับการประกาศผลการดำเนินงานของบริษัททุกไตรมาศ  ถ้าประกาศออกมาดีตอนปิดตลาด  ปกติพวกเขาก็จะมีความสุขและนอนหลับสบายทั้งคืนและบางทีก็ฝันว่า  “พรุ่งนี้หุ้นจะขึ้นไปกี่เปอร์เซ็นต์หนอ?”   แต่เมื่อตลาดเปิด  สิ่งที่พบกลับกลายเป็นว่าราคาหุ้นร่วงลงไปแรง  ทั้ง ๆ  ที่ 2 เดือนที่ผ่านมาราคาหุ้นก็ทยอยตกลงมาเรื่อย ๆ  อยู่แล้ว  บางทีการประกาศผลประกอบการที่ดีอาจจะทำให้มีคนสนใจเข้ามาไล่ราคากันมาก   และนั่นอาจจะเป็นโอกาสที่คนที่ “จ้องขายหุ้น” ตัวนั้นมาอย่างต่อเนื่อง ...
โลกในมุมมองของ Value Investor     22 กุมภาพันธ์ 2568 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร การต่อสู้หรือแข่งขันระหว่างสหรัฐอเมริกากับจีนใน “สงครามเย็น” ยุคใหม่ดูเหมือนว่ากำลังรุนแรงขึ้นในทุกด้าน  ตั้งแต่การเมืองระหว่างประเทศไปจนถึงเทคโนโลยีซึ่งเป็นเครื่องวัดว่าใครจะเป็น “ผู้ชนะ”  และดัชนีชี้วัดตัวหนึ่งที่สำคัญมากในโลกยุคใหม่ก็คือ  ดัชนีตลาดหลักทรัพย์หรือราคาหุ้นที่เป็นตัวนำของประเทศ  ซึ่งนาทีนี้ก็คือ  “หุ้นเท็ค” ขนาดใหญ่ ก่อนหน้านี้ซัก 1-2 ปี ดูเหมือนว่าอเมริกาจะนำไปมาก  อานิสงค์จากเทคโนโลยี AI ซึ่งนำโดยหุ้น NVIDIA ตามด้วย TESLA หุ้นรถยนต์ไฟฟ้าที่สามารถขับเคลื่อนได้ด้วยตนเอง  อย่างไรก็ตาม  การปรากฏขึ้นของ DEEPSEEK ซึ่งสามารถสร้าง AI  ได้ดีใกล้เคียงกับ CHAT GPT ของอเมริกาได้ด้วยต้นทุนเพียงเสี้ยวเดียวเมื่อประมาณ 2-3 เดือนก่อนก็ทำให้ภาพเปลี่ยนแปลงไปมาก   และดูเหมือนว่าการแข่งขันจะใกล้เคียงกันขึ้นมาก  หลายคนคิดว่าจีนกำลังจะเอาชนะอเมริกาได้ในเวลาอีกไม่นาน และสัญญาณอีกอย่างหนึ่งก็คือ  ดัชนีตลาดหุ้นโดยเฉพาะหุ้นเท็คขนาดใหญ่ของจีน  ที่เคยเงียบเหงาและไม่ไปไหนมานานก็เริ่มขยับและวิ่งขึ้นมาอย่างแรงและเหนือกว่าหุ้นอเมริกาไปแล้วในช่วงประมาณ 1 ปี ที่ผ่านมา  ดัชนีฮั่งเส็งของฮ่องกงปรับตัวขึ้นไปถึงประมาณ 40% และจากต้นปีนี้ก็ปรับตัวขึ้นไปแล้วประมาณ 20%  ไม่ต้องพูดถึงหุ้นไฮเท็คที่ปรับตัวขึ้นไปสูงยิ่งกว่า  โดยเฉพาะในช่วงเร็ว ๆ  นี้ที่ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงพบและจับมือกับแจ็คหม่าซึ่งเป็นการส่งสัญญาณว่ารัฐบาลจีนเริ่มเปลี่ยนนโยบายเป็นการสนับสนุนหุ้นเท็คขนาดใหญ่แทนที่จะ “จัดการ” กับบริษัทยักษ์เหล่านั้นอย่างในอดีต การวิ่งของหุ้นไฮเท็คจีนอย่างแรงนั้น  เป็นอาการเดียวกับหุ้นไฮเท็คยักษ์ในตลาดสหรัฐ ...
โลกในมุมมองของ Value Investor    15 กุมภาพันธ์ 2568 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร สัปดาห์ที่แล้ว “หุ้นยักษ์” ตัวหนึ่งซึ่งเคยเป็น “เสาหลัก” สำคัญของตลาดหุ้นมีราคาตกลงมาประมาณ 14% หลังจากประกาศงบรายไตรมาสที่แสดงว่าบริษัทมีรายได้เพิ่มขึ้นเป็นเลข 2 หลัก  และกำไรก็เพิ่มขึ้นมากกว่ารายได้และเป็นเลข 2 หลักเช่นเดียวกันเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า  อย่างไรก็ตาม  ตัวเลขทั้งสองนั้นต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้พอสมควรและดูเหมือนว่า “อนาคต”ของบริษัทอาจจะเติบโตไม่ได้ดีเท่ากับที่นักวิเคราะห์และนักลงทุนเคยประเมินหรือคาดการณ์ไว้ ราคาหุ้นที่ตกลงมานั้น  ทำให้ค่า PE ที่ “สูงลิ่ว” ในระดับ 40 เท่า  ซึ่งเป็นระดับที่น่าจะสูงเกินไปอานิสงค์จากการที่หุ้นน่าจะ “ถูกคอร์เนอร์” มานานเพราะปริมาณหุ้น Free Float ที่อยู่ในมือของนักลงทุนมีน้อยมาก  และทำให้หุ้นเคยมีค่า PE สูงถึงเกือบ 100 เท่า  ตกลงมาเหลือประมาณ 34 เท่า ซึ่งก็ยังไม่ได้ต่ำนักเมื่อเทียบกับธุรกิจเดียวกันของบริษัทที่อยู่ในตลาดหุ้นต่างประเทศอื่น ๆ   การที่หุ้นตกลงมาสิบกว่าเปอร์เซ็นต์ในวันเดียวโดยที่ไม่ได้มีเหตุการณ์ร้ายแรงครั้งนี้  ถ้าจะเรียกว่า “คอร์เนอร์แตก”  ก็อาจจะยังไม่ชัดร้อยเปอร์เซ็นต์   อย่างไรก็ตาม  ถ้ามองย้อนหลังไป 3-4 ปี  หุ้นก็ถือว่าลดลงมามากในระดับ 40% ขึ้นไป  ตรงกับอาการคอร์เนอร์แตกได้  นั่นก็คือ ...
โลกในมุมมองของ Value Investor       8 กุมภาพันธ์ 2568 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เมื่อวันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ 68 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ปรับตัวขึ้น 20 จุด และถือว่าเป็นการดีดตัวขึ้นแรงหลังจากที่ตกลงมาตั้งแต่ต้นปีถึงเกือบ 10% และเป็นตลาดหุ้นที่  “เลวร้ายที่สุดในโลก” อย่างไรก็ตาม  ในวันนั้น  หุ้น “ขนาดกลาง” ขนาด Market Cap. ระดับประมาณ 10,000 ล้านบาทตัวหนึ่งซึ่งอยู่ในหมวดอาหารและเครื่องดื่มเกิดอาการ   “Corner แตก” คือราคาหุ้นตกลงมาถึงฟลอร์ 30% มูลค่าหายไปประมาณ 3,000 ล้านบาท  หุ้นมีการซื้อขายเปลี่ยนมือกว่า 100 ล้านหุ้น คิดเป็นเม็ดเงินกว่า 1,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นประมาณ 17% ของหุ้นทั้งหมดของบริษัท เหตุผลที่เห็นได้ชัดน่าจะมาจากการประกาศงบการเงินที่แสดงให้เห็นว่ากำไรของบริษัทนั้น  “ต่ำกว่าคาดมาก”  แม้ว่ารายได้จะยังคงเติบโต  ธุรกิจมีการขยายตัวและขยายสาขา—อย่างต่อเนื่อง  ตั้งแต่อดีตที่ขยายตัวมาตลอด  เพราะร้านของบริษัทนั้น  มีความโดดเด่นและอยู่ใน “เมกาเทรนด์” ของคนที่รักสุขภาพ  เป็นสินค้า “ไฮเอนด์” ที่มี “ราคาแพงแต่คนกินแน่น”...
โลกในมุมมองของ Value Investor    1 กุมภาพันธ์ 2568 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผลตอบแทนการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์เดือนแรกของปี 2025 อยู่ที่ - 6.1% และเป็นการตกลงมาอย่างต่อเนื่องจากปลายปีที่แล้ว  ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ  หุ้นที่ตกลงมานั้นเกิดขึ้นในแทบทุกกลุ่มอุตสาหกรรมและแทบทุกกลุ่มหุ้น เช่น หุ้น “เก็งกำไร”  หุ้น “ปั่น”  หุ้น “VI” และหุ้น “ปันผล”  ไม่ต้องพูดถึงหุ้น “เติบโต” หรือหุ้น “คอร์เนอร์” ที่เคยเป็น  “ดารา” ที่มีราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปมากในช่วงก่อนและทำให้ราคาหุ้นแพงมากที่มีค่า PE สูงกว่าปกติมากที่  “คอร์เนอร์แตก” ราคาหุ้นตกลงมามากทั้ง ๆ ที่ไม่ได้มีเหตุการณ์อะไรรุนแรงเกิดขึ้นกับบริษัท การตกลงมาของหุ้นรอบนี้ดูเหมือนว่าจะยังไม่จบ  บางทีอาจจะเพิ่งเริ่มต้น  เพราะเหตุผลที่ทำให้หุ้นตกนั้นยังคงอยู่ “ครบถ้วน” ไม่ว่าจะเป็น 1) การเติบโตของ GDP ที่ดูเหมือนว่าจะไม่ดีขึ้นในปีนี้  2) อัตราดอกเบี้ยที่  “คงจะไม่ลด” และก็จะยังรบกวนไม่ให้หุ้นขึ้นไปได้ทั้งในระดับโลกและของไทย 3) กำไรของบริษัทจดทะเบียนที่น่าจะไม่ดีขึ้นเพราะความต้องการสินค้าในประเทศที่ยังอ่อนแออานิสงค์จากภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ดี  การใช้จ่ายรายการใหญ่เช่น  การซื้ออสังหาริมทรัพย์และรถยนต์ยังไม่ฟื้นตัว  และ  4) หุ้นโดยรวมมีราคาแพงวัดจากค่า PE ที่สูงถึง 18...
โลกในมุมมองของ Value Investor       25 มกราคม 2568 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ตลาดหุ้นไทยนั้น  เป็น “แหล่งที่อยู่” ของเศรษฐีไทยมาน่าจะไม่น้อยกว่า 20 ปีแล้ว  ความหมายก็คือ  คนรวยในประเทศไทยนั้น  ตั้งแต่อย่างน้อยก็ 20 ปีมาแล้ว  ส่วนใหญ่ก็จะเป็นผู้ที่มีหุ้นอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ในจำนวนและปริมาณที่คิดเป็นเงินแล้ว  “มาก”  เมื่อเทียบกับทรัพย์สินอย่างอื่น  เช่น  อสังหาริมทรัพย์  ทอง  พันธบัตร  หุ้นกู้  หรือเงินสด  พูดง่าย ๆ  ก็คือ  ถ้าจะบอกว่าใครรวยแค่ไหนจริง ๆ  ก็จะต้องไปดูว่าเขาถือหุ้นอะไรในตลาดจำนวนเท่าไร  มากกว่าจะบอกว่าเขาทำธุรกิจอะไรหรือเป็นเจ้าของที่ดินที่ไหนและรวยแค่ไหนโดยที่ไม่มีหลักฐานชัดเจนว่าทรัพย์สินเหล่านั้นมีค่าเท่าไรและสามารถแปลงเป็นเงินสดได้ไหม โชคดีที่ว่าข้อมูลการถือหุ้นของบุคคลธรรมดาที่ถือหุ้นอย่างน้อย 0.5% ของบริษัทจดทะเบียนนั้น  ตลาดหลักทรัพย์ได้เปิดเผยให้เป็นข้อมูลสาธารณะที่ทุกคนเข้าไปดูได้  แม้ว่าจะปรับข้อมูลให้ทันสมัยเพียงประมาณปีละหน  เราก็พอที่จะประมาณได้คร่าว ๆ  ว่าใครมีความมั่งคั่งจากการถือหุ้นคิดเป็นเงินอย่างน้อยเท่าไร  กี่ร้อยหรือกี่พันล้านบาทสำหรับคนที่เข้าข่ายว่าเป็น  “เศรษฐี” หุ้น  และข้อมูลนี้  โชคดีอีกที่มีวารสารการเงินธนาคารได้จัดทำและเผยแพร่บทวิจัยทุกปีมานานน่าจะเกือบ 20 ปีแล้ว  ซึ่งนี่ก็จะเป็นแหล่งข้อมูลที่ผมนำมาวิเคราะห์ต่อในบทความนี้ ผมจะเริ่มวิเคราะห์ข้อมูล “เศรษฐีหุ้นไทย” ตั้งแต่ประมาณสิ้นปี 2008 ซึ่งเป็นปีที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยตกลงมาเป็น “วิกฤต” ตามวิกฤตซับไพร์มในอเมริกา  ดัชนีหุ้นไทยตกลงมาประมาณ 50%...

MOST POPULAR