โลกในมุมมองของ Value Investor       8 มิถุนายน 2567 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผมเพิ่งกลับจากการเดินทางไปเยือนเมืองโฮจิมิน 2 วัน หลังจากที่ไปครั้งสุดท้ายเมื่อปลายปี 2560 หรือประมาณ 6-7 ปีที่ผ่านมา  ซึ่งก็ต้องถือว่าเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมากที่ผมไม่ได้ “สัมผัส” กับ “บรรยากาศ” ของประเทศเวียดนามที่ผมมั่นใจว่ากำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วเห็นได้จากตัวเลขทางเศรษฐกิจและข่าวสารต่าง ๆ  ที่ออกมาตลอดเวลาไม่ต้องพูดถึงราคาและดัชนีตลาดหุ้นที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างโดดเด่นในช่วงที่ผ่านมาโดยเฉพาะ 2-3 ปีหลังนี้ การไป “เห็นกับตา” และได้เยี่ยมเยียนร้านค้า  บ้านเมือง  และธุรกิจ  รวมถึงการได้คุยกับ “คนเวียดนาม” ที่หลากหลายนั้น  จะ Confirm หรือยืนยันว่าสิ่งที่ผมคิดในเรื่องต่าง ๆ  ของเวียดนามนั้นเป็นจริงหรือไม่  และอนาคตจะเป็นอย่างไรต่อไปด้วยความเชื่อมั่นที่สูง  ทั้งหมดนั้นจะช่วยให้ผมสามารถ “ลงทุนระยะยาว” ในธุรกิจและบริษัทที่จะเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ได้อย่างมั่นใจและสบายใจขึ้น รายการแรกที่ผมทำเมื่อเดินทางถึงที่พักทันทีก็คือการให้สัมภาษณ์สำนักข่าวชื่อดังของเวียดนามถึงเรื่องของการลงทุนของผมในเวียดนามและมุมมองต่าง ๆ  เกี่ยวกับตลาดหุ้นและบริษัทจดทะเบียน  ความรู้สึกก็คือ  ขณะนี้การลงทุนในตลาดหุ้นเป็นกิจกรรมที่คนเวียดนามสนใจมาก  ว่าที่จริงจำนวนนักลงทุนส่วนบุคคลในเวียดนามนั้นเกินกว่า 7 ล้านคนและน่าจะมากกว่าตัวเลขของตลาดหุ้นไทยแล้ว  ปริมาณการซื้อขายของนักลงทุนรายย่อยต่อวันในช่วงเร็ว ๆ  นี้ผมคิดว่าน่าจะมากกว่าตลาดหุ้นไทยแล้วถ้าดูจากตัวเลขว่าปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันของไทยประกอบไปด้วยการเทรดของต่างชาติเป็นหลักในขณะที่ตลาดหุ้นเวียดนามนั้น  เป็นนักลงทุนส่วนบุคคลน่าจะระดับ 80-90% ขึ้นไป นั่นก็ทำให้ผมคิดว่า  เมื่อถึงวันที่ตลาดหุ้นเวียดนามได้รับการปรับขึ้นเป็น “Emerging...
โลกในมุมมองของ Value Investor  25 พฤษภาคม 67 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร หลังจากข้อมูลการเติบโตทางเศรษฐกิจในไตรมาส 1 ปี 2567 ของประเทศต่าง ๆ โดยเฉพาะประเทศหลัก ๆ ในกลุ่มอาเซียนถูกประกาศออกมาเมื่อ 4-5 วันที่ผ่านมา  รัฐบาลและนักวิชาการไทยต่างก็รู้สึกตกใจและผิดหวังกับตัวเลขการเติบโตของ GDP ไทยที่ 1.5% และต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้  โดยเฉพาะเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านที่เติบโตสูงกว่ามาก  นอกจากนั้น  ตัวเลขนี้ก็เป็นตัวเลขที่ต่ำกว่าการเติบโตในปีก่อนทั้งปีที่ 1.9% ด้วย  ในขณะที่ตัวเลขของประเทศอื่น ๆ  นั้นดูเหมือนว่ากำลังฟื้นตัวและการเติบโตอยู่ในเกณฑ์ที่สูงกว่ามาก  และก็สูงใกล้เคียงกับช่วงปีก่อน การเติบโตของ GDP เวียดนามนั้น  แม้ว่าจะลดลงจากระดับ 6% ปีที่แล้ว  ก็บวก 5.7% ในไตรมาส 1 ปีนี้  และเป็นระดับที่  “สูงที่สุด” ในอาเซียนเท่า ๆ กับฟิลิปปินส์   ส่วนอินโดนีเซียนั้นเติบโตรองลงมาที่ 5.1%  มาเลเซีย 4.2% และสิงคโปร์ก็ยังโต 2.7% ซึ่งก็เป็นตัวเลขที่ไม่เลวเมื่อคำนึงถึงว่าสิงคโปร์นั้นเป็นประเทศพัฒนาแล้วและมีรายได้ต่อหัวสูงเกือบที่สุดในโลกอยู่แล้ว   โดยที่ไทยอยู่ในอันดับสุดท้าย  ซึ่งก็เป็นอันดับที่ไทยได้มาหลายปีที่ผ่านมา ตัวเลขการเติบโตของสหรัฐซึ่งเป็นตัวแทนของ “เศรษฐกิจโลก” และเป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกที่สำคัญที่สุดก็เติบโตถึง...
ขอปิดรับ! ❌ทริปสัมมนาหุ้นเวียดนาม 2024ทั้ง Ho Chi Minh City และ Danang ค่ะ ขอบคุณผู้สมัครทริปสัมมนา VVI ไปเวียดนามทุกท่านขอบคุณ Dragon Capital สำหรับการช่วยประสานงานในทริป ขอบคุณ Special Guest ในทริป HCMCดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากรดร.ก้องเกียรติ โอภาสวงการP’ เอก ธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์P’ มี่ ทิวา ชินธาดาพงศ์P’ หลิน วีระพงษ์ ธัมP’ วัฒน์ วัฒนา หุ่นทรงธรรมP’ แจ๊ค วิศวกร ปันยารชุนP’ เจ๊กกี้ สุธน สิงหสิทธางกูร ที่สละเวลามาร่วม ทริปสัมมนาที่โฮจิมินห์กับเรา สำหรับ ทริปดานัง Stocks on the Beachที่ 7 ปี มี 1 ครั้ง รับรองว่าสนุกไปพร้อมกับสาระด้วยแน่นอนค่ะ หลังจากนี้ แอดมินจะสรุป Agenda พร้อม Live เตรียมตัวเดินทางสำหรับผู้ร่วมทริป รายละเอียดจะแจ้งให้ทราบทาง Line กลุ่มต่อไปขอบคุณทุกท่านมากค่ะ...
โลกในมุมมองของ Value Investor       18 พ.ค. 67 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในปี 1996-2001 เป็นเวลาประมาณ 5 ปี เป็นช่วง “เวลาทอง” และ “จุดจบ” ของกองทุน “Tiger Funds” หรือ “กองทุนเสือ” ที่ก่อตั้งและบริหารโดย Julian Robertson นักลงทุนเฮดจ์ฟันด์แนว VI กลุ่มแรก ๆ  ที่จัดตั้งและบริหารเงินทุนโดยใช้หลักการแบบ “VI” อย่างเข้มข้น  อย่างไรก็ตาม  เนื่องจากสถานการณ์และความผิดพลาดรุนแรงและการที่อาจจะไม่ได้คำนึงถึงความเสี่ยงเพียงพอ  จึงทำให้กองทุน “ล่มสลาย” ในที่สุด อย่างไรก็ตาม  หลังจากการล่มสลายของกองทุนไทเกอร์  ลูกน้องและผู้ช่วยของโรเบิร์ทสันหลาย ๆ คนก็ออกมาก่อตั้งกองทุนที่ถูกเรียกว่า “Tiger Cub” หรือกองทุน  “ลูกเสือ” ซึ่งก็คงเน้นการลงทุนแนว VI แบบเข้มข้นเหมือนเดิม  เพราะนั่นคือสัญลักษณ์ที่สร้างชื่อเสียงให้กับไทเกอร์ฟันด์มานานก่อนที่จะปิดตัวลง  คนที่ออกมาตั้งกองทุนลูกเสือก็คงมีชื่อเสียงว่าเป็น  “เซียน VI” ในสายตาของคนทั่วไปหรือลูกค้า Bill Hwang ชาวเกาหลีที่อพยพมาอยู่ในอเมริกาและน่าจะเป็นลูกน้องและผู้บริหารที่โดดเด่นของโรเบิร์ตสัน  ได้ออกมาจัดตั้งบริษัทจัดการลงทุนชื่อ  “Tiger Asia...
โลกในมุมมองของ Value Investor 11 พฤษภาคม 2567 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ตั้งแต่ต้นปี 2567 ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวขึ้นไปประมาณ 10% แล้วนับถึงวันที่ 10 พฤษภาคม นับเป็นการฟื้นตัวต่อเนื่องจากปี 2566 ที่ดัชนีปรับตัวขึ้นไปประมาณ 12% โดยเหตุผลของการปรับตัวขึ้นของตลาดหุ้นนั้นมาจากการฟื้นตัวของการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่เริ่มฟื้นตัวมาตั้งแต่ปี 2566 หลังจากสถานการณ์วิกฤติโควิด 19 “จบลง” ตัวเลขการนำเข้าและส่งออกที่เคยซบเซาเพราะภาวะเศรษฐกิจโลกที่ไม่เอื้ออำนวยนั้น  เดือนเมษายนที่ผ่านมาเติบโตขึ้น 19.9% และ 10.6% ตามลำดับ ซึ่งทำให้ประเทศได้เปรียบดุลการค้าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 8.6 พันล้านเหรียญสหรัฐ  ตัวเลขการบริโภคของประชาชนคือการค้าปลีกเพิ่มขึ้น 9%   รายได้จากการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น 58%  และ 4 เดือนที่ผ่านมานั้นแซงช่วงก่อนโควิดไปแล้ว   การลงทุนทางตรงของต่างชาติตั้งแต่ต้นปีเพิ่มขึ้น 7.4%  แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของเศรษฐกิจที่จะเติบโตต่อไปอย่างมั่นคง  เช่นเดียวกับค่าเงินด่องที่อ่อนค่าลงน้อยกว่าหลาย ๆ  ประเทศรวมถึงไทยนับตั้งแต่ต้นปี ดูเหมือนว่าเวียดนามกำลัง “ตั้งหลัก” ได้  และกำลัง “ฟื้นตัว” จากภาวะวิกฤติเนื่องจากโควิด 19 ซึ่งช่วงหนึ่งดัชนีหุ้นตกลงมาอย่างรุนแรงประมาณ 45% จนเหลือประมาณ 650 จุด เมื่อประมาณ...
โลกในมุมมองของ Value Investor          27 เมษายน 67 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เดือนเมษายนปีหน้าจะเป็นปีที่ตลาดหุ้นไทยมีอายุครบ 50 ปี หรือเป็นเวลา 5 ทศวรรษของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  แต่ก่อนจะถึงเวลานั้น  ผมก็อยากจะตรวจสอบหรือทบทวนว่าในแต่ละทศวรรษที่ผ่านมาตลาดหุ้นไทยมีวิวัฒนาการและผลงานเด่น ๆ  อย่างไรบ้าง  พอจะกำหนดเป็นภาพใหญ่ ๆ ได้ไหมว่าแต่ละยุคควรจะเรียกว่าอย่างไร เริ่มเปิดตลาดหุ้นไทยในช่วงเดือนเมษายน 2518 ซึ่งเป็นเวลาที่เศรษฐกิจไทยกำลังเติบโตจากเศรษฐกิจที่ยังเล็กมากและยังเป็นประเทศที่อิงกับการเกษตรเป็นหลัก  อย่างไรก็ตาม  ด้วยภูมิรัฐศาสตร์ที่โลกแบ่งเป็น 2 ขั้ว  คือฝ่ายโลกเสรีนำโดยสหรัฐอเมริกาและคอมมิวนิสต์ซึ่งนำโดยสหภาพโซเวียตรัสเซีย  ที่มีการต่อสู้และทำสงครามเย็นแย่งชิงประเทศต่าง ๆ  ในโลกมาเป็นฝ่ายของตนเอง  ประเทศไทยซึ่งเป็นฝ่ายโลกเสรีก็ได้รับความช่วยเหลือจากอเมริกาทางด้านเศรษฐกิจและเป็นฐานในการต่อสู้กับระบอบคอมมิวนิสต์ที่กำลังทำสงครามกันในประเทศเวียตนาม หนึ่งทศวรรษก่อนปี 2518 เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตสูงมาก  อานิสงค์ส่วนหนึ่งจากการช่วยเหลือจากอเมริกาที่ต้องการพัฒนาเศรษฐกิจไทยให้พ้นจากความยากจนที่มักเป็นบ่อเกิดให้คนสนใจในลัทธิสังคมนิยมหรือคอมมิวนิสต์  อีกส่วนหนึ่งที่สำคัญก็คือการใช้จ่ายทางทหารของสหรัฐในประเทศไทยที่เป็นฐานทัพอากาศที่สำคัญของอเมริกาในการรบกับคอมมิวนิสต์ในเวียตนาม  เศรษฐกิจไทยมีการเติบโตอย่างรวดเร็วมากในช่วง 10 ปี ตั้งแต่ปี 2508 ถึง 2518 GDP โตเฉลี่ยถึงปีละประมาณ 7.8% และเริ่มมีการพัฒนาประเทศจากเกษตรกรรมเป็นอุตสาหกรรมที่ต้องการ “ตลาดทุน” มาสนับสนุน  และนั่นก็คือการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์เพื่อการลงทุนอย่างเป็นทางการ ตลาดหลักทรัพย์เริ่มเปิดการซื้อขายหุ้นด้วยดัชนีที่ถูกกำหนดไว้ที่ 100 จุด ในวันสิ้นเดือนเมษายน 2518 ซึ่งบังเอิญตรงกับวันที่ไซ่ง่อน เมืองหลวงของประเทศเวียตนามใต้หรือเมืองโฮจิมินซิตี้ในปัจจุบัน “แตก”...
💊 มุ่งสู่อนาคตการดูแลสุขภาพ:▪️ FPT Retail (FRT) กำลังเปลี่ยนโฉมเป็นบริษัทด้านการดูแลสุขภาพ▪️ ครอบคลุม: ป้องกัน (ศูนย์ฉีดวัคซีน Long Chau ปัจจุบันมี 50 แห่ง)วินิจฉัย รักษา (ร้านขายยา Long Chau >1600 แห่งสิ้นปีคาด 1900 แห่ง)ฟื้นฟูสมรรถภาพ การดูแลที่บ้าน (Long Chau247) และการประกัน▪️ ตั้งเป้าที่จะเป็นผู้นำในระบบนิเวศด้านสุขภาพ —————💊 กลยุทธ์หลัก:▪️ ใช้ประโยชน์จากฐานลูกค้าขนาดใหญ่ของ FPT Retail (Long Chau)▪️ นำเทคโนโลยี AI มาใช้เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุน ▪️ ขายหุ้น 10% ให้กับหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์(อัตราส่วนเงินทุนต่อสินทรัพย์รวม 13% ในปี 2566 นั้นไม่ดีนัก จำเป็นต้องระดมเงินทุนเพื่อช่วยให้มีโครงสร้างทางการเงินที่ดีขึ้น ลดแรงกดดันด้านหนี้ และมีเงินมากขึ้นสำหรับการลงทุนระยะยาว) ▪️ ปิดร้านค้าที่ไม่มีประสิทธิภาพ และมุ่งเน้นไปที่ช่องทางออนไลน์▪️ ขยายธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้าน▪️ สนับสนุนบริการ Long Chau 247 —————💊 ผลประกอบการไตรมาส 1/2567:▪️ รายได้เพิ่มขึ้น 17% ขับเคลื่อนโดย FPT...
จุดเริ่มต้นตลาดหุ้นไทย: เริ่มลงทุนหุ้นไทย ปี 2552 โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เป็นแรงบันดาลใจลงทุนระยะยาว เน้นหุ้นปันผล คัดเลือกหุ้นกลุ่มค้าปลีก โรงพยาบาล สนามบินประสบความสำเร็จจากการลงทุนหุ้นไทยช่วงหลังวิกฤติซับไพรม์ การลงทุนในหุ้นเวียดนาม: เริ่มศึกษาตลาดหุ้นเวียดนาม หลังฟังรายการของ ดร.นิเวศน์ปี 2558 ตัดสินใจบินไปโฮจิมินห์ เพื่อลงทุนหุ้น อุปสรรค: ข้อมูล บทวิจัย เป็นภาษาเวียดนาม เข้าถึงยากนักลงทุนรายย่อยเวียดนาม 85% ใช้ปัจจัยเทคนิค ลงทุนระยะสั้นตลาดผันผวน มากกว่าตลาดหุ้นไทย ข้อดี: ตลาดหุ้นเวียดนามมีศักยภาพสูง เติบโตเร็วมูลค่าหุ้นหลายตัวน่าสนใจกลยุทธ์:หลีกเลี่ยงการเทรดดิ้ง เน้นลงทุนระยะยาวกระจายความเสี่ยง เลือกหุ้นหลากหลายกลุ่มพิจารณาธุรกิจที่มีโอกาสเติบโต คำแนะนำสำหรับนักลงทุน: กระจายความเสี่ยง:ลงทุนหุ้นเวียดนามมากกว่า 5 ตัวพิจารณาลงทุน ETF / DR เช่น VN30ETF Diamond ETFและกองทุนรวม (SSF / RMF) ที่ลงทุนหุ้นเวียดนามเพื่อรับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเลือกหุ้น:หุ้นที่เคยเป็น Super Stock ในไทยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีหุ้นที่ราคาตกลงจากข่าวหรือความกลัว ข้อควรระวัง: ตลาดหุ้นเวียดนามมีความผันผวนสูง อ่านบทความเต็ม: https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/499-tsi-vietnam-stocks-investment-experience
โลกในมุมมองของ Value Investor 30 มี.ค. 67 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วันที่ศุกร์ที่ 29 มีนาคม 2567 ปริมาณการซื้อขายหุ้นของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยลดลงมาเหลือเพียง 26,472 ล้านบาท  ซึ่งเป็นตัวเลขที่ผมไม่เห็นมานานมาก  น่าจะเป็นหลาย ๆ  ปี  และนั่นเป็นตัวเลขที่ “น่าตกใจ” แม้ว่าเราเพิ่งจะเพิ่มเวลาการซื้อขายหุ้นอีกวันละครึ่งชั่วโมงเมื่อไม่กี่วันมานี้  เพราะปริมาณการซื้อขายหุ้นของตลาดหุ้นไทยเมื่อไม่กี่ปีก่อนบางวันเคยขึ้นไปสูงถึงวันละแสนล้านบาท  และถ้านับจากต้นปีนี้  ปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันเฉลี่ยก็ยังอยู่ที่ประมาณ 40,000 ล้านบาทเศษ ตรงกันข้าม  ปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันของตลาดหุ้นเวียดนามตั้งแต่ต้นปีนั้นสูงถึงประมาณ 30,000 ล้านบาทไปแล้ว  และเป็นการเพิ่มขึ้นกว่า 20% จากตัวเลขก่อนหน้านั้น  ในขณะนี้  ตลาดหุ้นเวียดนามมีปริมาณการซื้อขายเป็นอันดับสองในอาเซียนรองจากประเทศไทยแล้ว  และถ้าแนวโน้มยังเป็นแบบนี้ต่อไปอีกซักระยะหนึ่ง  ผมคิดว่าตลาดหุ้นเวียดนามจะกลายเป็นอันดับหนึ่งในเร็ววัน  ซึ่งก็สอดคล้องกับตัวเลขนักลงทุนส่วนบุคคลรายย่อยของเวียดนามที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมาตลอด  และขณะนี้น่าจะมากกว่านักลงทุนรายย่อยไทยไปแล้วที่ประมาณ 7.5 ล้านราย ปีที่แล้ว  ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทย “ย่ำแย่ที่สุด” และติดลบไปประมาณ 15.2%  ในขณะที่ตลาดหุ้นเวียดนาม “ดีที่สุด” บวกไปประมาณ 12.2%  และตั้งแต่ต้นปีนี้เพียงประมาณ 3 เดือน  ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามก็ ดีที่สุด “อันดับ 2 ของโลก” บวกไปแล้วประมาณ 13.6% ในขณะที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยยังติดลบประมาณ...
หุ้น MSN - Masan Group บริษัทสินค้าอุปโภคบริโภคที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนาม #หุ้นเวียดนาม #รู้หุ้นเวียดนามกับคนเวียดนาม VVI Membership 🇻🇳 https://class.vietnamvi.com/ https://www.youtube.com/embed/q1rFTf0D25k

MOST POPULAR