เลือกลงทุน – เวียดนาม The Series ตอน จะโต(จะรวย)ไปกับเวียดนามได้อย่างไร? ตอนที่ 1

? ช่วงหยุดยาวสิ้นปีเป็นช่วงที่ดีในการสงบจิตสงบใจดูว่าปีหน้าเราจะปรับและจัดพอร์ตการลงทุนสำหรับปีหน้าอย่างไรดี โดยหลายๆคนคงเหมือนแอดที่อ่านหรือได้ยินข่าวอยู่ทุกวี่วัน(จนอิจฉา)ว่าเวียดนามยังโตได้อีกในปีแห่ง COVID (แม้คิดเป็น % แล้วดูเบาๆ) หรือ จะมีการย้ายฐานการผลิตครั้งใหญ่จากจีนและแน่นอนคนที่ได้รับประโยชน์สูงมากๆก็ยังเป็นเวียดนามดูได้จากเม็ดเงิน FDI ที่ถาโถมไหลเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี…

? แล้วเราจะสามารถได้ประโยชน์จากการเติบโตนี้อย่างไร? บทความนี้จะไม่กล่าวถึง ทำไมต้องเวียดนามและทำไมต้องตอนนี้ (Why Vietnam? Why now?) แต่จะเน้นถึง รูปแบบการลงทุน ที่เราๆท่านๆคนทั่วๆไปที่ไม่ต้องมีพอร์ตใหญ่โตมโหฬาร ก็สามารถมีส่วนร่วมเติบโตไปกับเวียดนาม ประเทศสุดท้ายที่ใช้ตะเกียบที่ยังไม่รวย ตามที่ ดร.นิเวศน์ เคยกล่าวไว้

?เรามาเริ่มกันจากการแบ่ง “รูปแบบการลงทุน” เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและการเลือกลงทุนให้เหมาะกับวิถีชีวิตของแต่ละคน โดยทางแอดขอแบ่ง รูปแบบง่ายๆออกเป็น 2 มุมมอง คือ

1. การลงทุนแบบ Active vs. Passive:

  • Active: การลงทุนที่เราหรือผู้จัดการกองทุนมีส่วนร่วมตัดสินใจในการทำผลตอบแทนให้ชนะดัชนี ของตลาด ซึ่งใช้เป็น benchmark ในการวัดผลการดำเนินงาน
  • Passive: การลงทุนที่เราหรือผู้จัดการกองทุน “ไม่มี” ส่วนร่วมในการตัดสินใจแต่จะทำผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีให้มากที่สุด

2. การลงทุนที่ เราลงทุนเอง vs. ลงทุนผ่านกองทุน:

  • ซึ่งจะแตกเป็น 2 แบบ (ดูตารางประกอบ) คือ เราต้องทำการโอนเงินเป็นเงินด่องก่อนทำการซื้อขาย vs. ไม่ต้องโอนเงิน(ลงทุนเป็นเงินบาทผ่านผู้ให้บริการในไทยซึ่งจะไปจัดการเรื่องโอนเงินเอง)
เราลงทุนเอง vs. ลงทุนผ่านกองทุน

โดยแอดขอสรุปคร่าวๆดังภาพประกอบโพส

? โดยแอดจะขอลงรายละเอียดทางเลือกแต่ละตัวโดยยึด มุมมองที่ 2 (ดูตารางประกอบ) และตอนนี้จะขอเริ่มด้วย “ลงทุนด้วยตัวเอง” ก่อน

ลงทุนเอง Vs. ลงผ่านกองทุน

? การลงทุนด้วยตนเอง (การลงทุนหุ้นรายตัว) ทางเราต้องมีการโอนเงินไทยบาทเปลี่ยนเป็นเงินเวียดนามด่องก่อน จึงจะสามารถทำการซื้อขายหุ้นแต่ละตัวในตลาดหลักทรัพย์เวียดนามได้ โดยสามารถเลือกทำได้ 2 วิธี คือเปิดบัญชีประเภท offshore กับโบรคเกอร์ไทยที่ให้บริการลงทุนต่างประเทศในประเทศเวียดนาม (ไม่ใช่ทุกโบรคเกอร์ที่จะให้บริการประเทศเวียดนาม) โดยสิ่งที่ต้องคำนึงถึงคือ

ค่าธรรมเนียมต่างๆ: ค่าโอนเงิน, อัตราแลกเปลี่ยน, ค่าcom ขั้นต่ำ, ค่ารักษาบัญชี

รูปแบบการส่งคำสั่ง: ส่งผ่านเจ้าหน้าที่และส่งด้วยตัวเอง บางที่ทำได้ทั้งสองอย่างและบางที่ทำได้แค่ส่งผ่านเจ้าหน้าที่เท่านั้น

1. การ support ต่างๆ: เช่น บทวิเคราะห์, การให้ความรู้สัมมนา เป็นต้น

เปิดบัญชีกับโบรคเกอร์สัญชาติเวียดนามและทำการโอนเงินไทยบาทตรงไปที่โบรคเกอร์เลย โดยการโอนเงินจะต้องทำการขออนุญาตจากทางธนาคารแห่งประเทศไทยก่อน ซึ่ง”ง่ายขึ้นมาก” เมื่อเทียบกับอดีต (อ่าน comment เรื่องการแชร์ประสบการณ์การโอนเงินจากแอดมิน Vietnam Value Investor)

2. การเปิดบัญชีครั้งแรกอาจจะต้องไปทำที่ประเทศเวียดนาม เพื่อเปิดบัญชีกับทางโบรคเกอร์ท้องถิ่นและเปิดบัญชีธนาคารเวียดนามเพื่อรับเงินโอน

?ขอจบตอนนี้เท่านี้ก่อน ตอนหน้าเราจะมาลงรายละเอียด “การลงทุนผ่านกองทุน” ซึ่งน่าจะเหมาะกับผู้อ่านจำนวนมากที่อาจจะไม่ถนัด หรือไม่มีเวลาในการติดตามการลงทุนแต่อยากได้ประโยชน์จากการเติบโตของประเทศเวียดนาม ประเทศแห่งโอกาสนี้


การโอนเงินออกเอง (อย่างถูกต้องตามกฎธนาคารแห่งประเทศไทย): มาดูประสบการณ์ตรงในการโอนเงินไปที่โบรคเกอร์เวียดนามจาก Page Vietnam Value Investor ตาม link: https://www.vietnamvi.com/2020/02/08/transfer/


Credit: Vietopia จากเพจ ชีวิตเลือกได้-The Life Chosen https://www.facebook.com/TheLifeChosen

 
#ชีวิตเลือกได้ #TheLifeChosen #เลือกลงทุน