ลงทุนในหุ้นตลอดชีวิต
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ดอกเบี้ยหรือผลตอบแทนทบต้นนั้น ไอน์สไตน์(อีกแระ) บอกว่าเป็น “สิ่งมหัศจรรย์อันดับ 8 ของโลก” เพราะเมื่อเงินทองหรือหุ้นให้ผลตอบแทนเป็นบวกในปีนี้ ถ้าเราเอาผลตอบแทนที่ได้ไปทบกับเงินต้นในตอนต้นปี ปีหน้าเงินต้นก็จะเพิ่มขึ้น เช่น ถ้าผลตอบแทนเท่ากับ 10% ต่อปี เงินต้นของปีต่อไปก็กลายเป็น 110 บาทจากเดิม 100 บาท และถ้าเราได้ผลตอบแทนปีที่สองอีก 10% จากเงินต้น 110...
นักลงทุนไทยสนหุ้นกลุ่มไหนในหุ้นเวียดนาม
มุมมองหุ้นเวียดนามจาก Vietnam Emerging Forum 2019
สัปดาห์ที่แล้วแอดมินได้ไปร่วมงาน Vietnam Emerging Forum 2019 ที่โรงแรม Le Meridien Saigon ประเทศเวียดนามซึ่งเป็นการสัมมนาเฉพาะกลุ่มที่ต้องได้รับเชิญจาก HSC เท่านั้น โดยมีเป้าหมายเพื่อเชื่อมบริษัทชั้นนำของเวียดนาม (ส่วนใหญ่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์) กว่า 60 บริษัท กับนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศเกือบ 500 คน...
กลับไปทำงานประจำ
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หลาย ๆ ปีก่อนในช่วงที่ตลาดหุ้นยังปรับตัวขึ้นเป็น “กระทิง” ต่อเนื่องยาวนานนั้น เรามักพบนักลงทุนโดยเฉพาะที่ยังหนุ่มแน่นอายุไม่มากเช่น 30-40 ปีหลาย ๆ คนลาออกจากงานประจำและหันมาลงทุนเต็มตัว บางคนมีเงินก้อนหนึ่งอาจจะแค่ 2-3 ล้านบาทซึ่งเขา “คิด” ว่าสามารถทำเงินแต่ละเดือนจากการเล่นหุ้นได้ 40,000-50,000 บาท ซึ่งมากพอที่จะ “เลี้ยงชีพ” ได้ ดังนั้นเขาจึงลาออกจากงานประจำเงินเดือนน้อยนิดและน่าเบื่อเพื่อเน้นเล่นหุ้นที่จะ “ได้กำไรดีขึ้น”...
ประสบการณ์จากเวียดนามเมือง “ติดปีก” ตอนที่ 1 โดย BLS Global Investing
ผมเพิ่งกลับจากการศึกษาดูงานที่นครโฮจิมินห์ หรือชื่อเดิมว่า ไซง่อน ซึ่งเป็นเมืองใหญ่ที่สุดของประเทศเวียดนาม สิ่งที่ผมได้เห็นกับตาเป็นเครื่องยืนยันบทความตามหน้าสื่อต่างๆ ไม่ว่าทั้งไทยและเทศที่ว่าเศรษฐกิจเวียดนามน่าจะโตได้ 6-7% ต่อปี ไปอย่างน้อยอีก 10 ปี และสิ่งที่ไทยเคยใช้เวลากว่า 20 ปี ในการพัฒนาประเทศมาจนถึงปัจจุบัน เวียดนามอาจทำได้โดยใช้เวลาไม่ถึง 10 ปี นักธุรกิจไทยที่ผมได้พบที่เวียดนามต่างพูดเป็นเสียงเดียวกันว่า…วันนี้ถ้าให้เขากลับไทย มีร้องไห้แน่นอน…ลองมาดูกันครับว่า เวียดนามมีดีอะไร ? เหล่านักธุรกิจถึงได้ติดใจกันขนาดนี้ ?
…เวียดนามมีประชากรกว่า...
ลงทุนในยุคเศรษฐกิจโตช้า
โลกในมุมมองของ Value Investor 1 มิถุนายน 62
ลงทุนในยุคเศรษฐกิจโตช้า
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
มองย้อนหลังไปประมาณ 6 ปี ในช่วงกลางปี 2556 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่ที่ประมาณ 1,600 จุด แทบจะไม่ต่างจากดัชนีวันนี้ที่ประมาณ 1,620 จุด นี่คือช่วงเวลา 6 ปีที่น่าจะพูดได้ว่าตลาดหุ้นเป็น Sideway คือราคาหุ้นโดยรวมไม่ได้ปรับตัวขึ้นหรือลดลงเป็นเรื่องเป็นราวเป็นระยะเวลายาวนาน สำหรับนักลงทุนที่มักจะมองภาพเล็กในหุ้นรายตัวหรืออาจจะเป็นกลุ่มและเป็นนักลงทุนระยะยาวก็จะเห็นว่าหุ้นตัวหลัก...
ธีมการเลือกหุ้นลงทุนระยะยาวในเวียดนาม
ทั้งๆ ที่ตัวเลข GDP FDI การส่งออกเวียดนามเติบโตดี
แต่ผลประกอบการตลาดหุ้นโฮจิมินห์ไตรมาส 1/62 ปรับตัวลดลง 1%
เพื่อนๆ ทายสิคะว่ากลุ่มไหนที่กำไรหด และกลุ่มไหนที่กำไรเพิ่ม?
เฉลย
กลุ่มกำไรหด ได้แก่
อสังหาริมทรัพย์ ไฟแนนซ์สินค้าอุตสาหกรรมทรัพยากรธรรมชาติมีเดียการแพทย์
กลุ่มกำไรเพิ่ม ได้แก่
ค้าปลีกเทคโนโลยีพลังงานยานยนต์ อาหารเครื่องดื่ม
ปัญหาสงครามการค้าอาจส่งผลในระยะสั้น แต่ระยะยาวจะทำให้เวียดนามได้รับประโยชน์จากข้อพิพาท เนื่องจาก FDI จำนวนมากจะไหลมายังเวียดนามอีก
แล้วเราควรลงทุนหุ้นกลุ่มไหน? มาดูธีมการเลือกหุ้นลงทุนระยะยาวในเวียดนามจาก...
5 เหตุผลที่คุณควรสนใจ ลงทุนหุ้นเวียดนาม ตอนนี้
10 ปีที่ผ่านมาเวียดนามพัฒนาประเทศมาอย่างรวดเร็วใครๆๆก็รู้ แต่รู้ไหมว่า ทำไมคุณควรสนใจ ลงทุนหุ้นเวียดนาม แต่ตอนนี้ เรามาดู 5 เหตุผลที่คุณควรสนใจ ลงทุนหุ้นเวียดนาม
เหตุผลที่ 1 : ถูก-----แอดมินได้เริ่ม ลงทุนหุ้นเวียดนาม มา 3 ปีกว่า หากถามว่าผลตอบแทนการลงทุนดีไหม? ก็ต้องบอกว่าหากนำผลตอบแทนทบต้น 3 ปีแล้วดีกว่าเมืองไทย เพราะได้เริ่มลงทุนในปีที่...
บทเรียนเมื่อฟองสบู่หุ้นแตก
บทเรียนเมื่อฟองสบู่หุ้นแตก ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร หลังการประกาศผลประกอบการไตรมาศ 1 ปี 2562 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ หุ้นขนาดเล็ก-กลางหลายตัวที่เป็นหรือเคยเป็นหุ้น “ยอดนิยม” ได้ตกลงมาแรงทั้ง ๆ ที่บางตัวได้ตกลงมามากแล้วในช่วง 1-2 ปีก่อนหน้านี้ อาการที่หุ้นตกลงมาหนักมากอย่างรวดเร็วและมักจะเกิน 50% ของจุดสูงสุดนั้น ในแวดวงของนักลงทุนเราเรียกว่า “ฟองสบู่หุ้นแตก” ซึ่งก็มักจะสร้างความเสียหายให้กับคนที่ถือหุ้นตัวนั้นมาก บางครั้งกลายเป็นหายนะซึ่งเปลี่ยนชีวิตการลงทุนของเขาไปอย่างไม่คาดคิด...
อวสานของหุ้นโรงงาน
อวสานของหุ้นโรงงาน
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ธุรกิจโรงงานที่ผลิตสินค้าที่เป็นชิ้นส่วนหรือสินค้าสำเร็จรูปให้คนอื่นเพื่อนำไปประกอบเป็นสินค้าขั้นสุดท้ายหรือนำไปขายในยี่ห้อของคนจ้างที่เรียกว่าเป็น OEM (Original Equipment Manufacturing) นั้น ต้องถือว่าเป็นเครื่องจักรสำคัญของการพัฒนาอุตสาหกรรมของไทยมากว่า 30 ปี เริ่มจากการที่ญี่ปุ่นต้อง “ย้ายฐานการผลิต” มายังประเทศไทยเนื่องจากต้นทุนการผลิตสินค้าในญี่ปุ่นสูงขึ้นมากอานิสงค์จากค่าเงินเยนที่ถูกบีบให้สูงขึ้นอย่างกระทันหันจากข้อตกลง Plaza Accord ในปี 1985 ที่ทำให้ค่าเงินเยนแข็งขึ้นถึง 50% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐ...