Vietnam Update

0
Vietnam Update >>สรุปไตรมาสแรก ภาครวมเศรษฐกิจเวียดนามยังดี บริโภคแจ่ม (+7.09% YoY) ค้าปลีกสวย (+9% YoY) ท่องเที่ยวโต (+7% YoY) นำโดยนักท่องเที่ยวเกาหลีใต้ (+24.1%) >> HT1 ปูนใหญ่แดนเวียด คาดยอดปูนปีนี้โต 5.6% ตั้งเป้ารายได้ USD 388.1mn (+6.6% YoY) และกำไรก่อนภาษีที่ USD 39.9mn (+13.9% YoY) ขอบคุณข้อมูลจาก...

ตลาดตสมาร์ทโฟนซบเซา ทำเศรษฐกิจเวียดนามไตรมาสแรกชะลอตัว

0
ตลาดสมาร์ทโฟนซบเซา ทำเศรษฐกิจเวียดนามไตรมาสแรกชะลอตัว ความต้องการโทรศัพท์มือถือทั่วโลกอ่อนกำลังลง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสมาร์ทโฟนที่เป็นแหล่งรายได้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม และส่วนใหญ่ผลิตโดยบริษัทซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ของเกาหลีใต้ ลดลง 4.3% จากปีก่อนหน้า ซัมซุงที่ลงทุนโรงงาน 8 แห่ง และเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดและมีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศ อย่างไรก็ตามรัฐบาลตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ระหว่าง 6.6-6.8% ในปีนี้ แม้ว่าไตรมาสนี้เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาสแรกชะลอตัว แต่หากดูตัวเลขการลงทุนใหม่ๆ รวมทั้งการที่เวียดนามอาจได้รับอานิสงส์หากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน สำหรับบริษัทระดับโลกต่างๆ ที่กำลังมองหาการย้ายฐานการผลิต และซัปพลายเชนออกจากจีน แอดคิดว่าระยะยาวในอนาคตเวียดนามก็ยังจะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน Credit: https://mgronline.com/indochina/detail/9620000031842

VI กับการเมือง : ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

0
VI กับการเมือง ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร  “การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน” นี่เป็นคำกล่าวที่ผมคิดว่าเป็นจริง  ทุกคนต่างก็มีความคิดเห็นทางการเมืองของตนเองและถ้าเปิดโอกาสให้แสดงออก  “อย่างเสรี” เขาก็จะพูดหรือแสดงออกมา  ความคิดทางการเมืองนั้น  ก็เช่นเดียวกับเรื่องอื่น ๆ ทางสังคม  มีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่มนุษย์เริ่มสร้างสังคม  อยู่กันเป็นหมู่บ้าน  เมือง  และกลายเป็นรัฐและประเทศ เริ่มต้นนั้น  การเมืองการปกครองก็เริ่มต้นโดยผู้ปกครองที่มี “อำนาจ” ในการสั่งการให้ผู้คนปฏิบัติตามเพื่อให้สังคมอยู่ในระบบหรือกฎเกณฑ์ที่จะทำให้คนที่อยู่ในสังคมสามารถร่วมกันจัดการงานต่าง ๆ  ที่จะทำให้คนส่วนใหญ่มีโอกาสที่จะ “อยู่รอด” มากขึ้น  อำนาจของคนในช่วงแรก ๆ  นั้น  มักจะมาจากความสามารถหรือคุณสมบัติส่วนตัว เช่น  เป็นผู้ชาย  เป็นคนที่มีรูปร่างสูงใหญ่แข็งแรง  เป็นต้น  ต่อมาเมื่อมนุษย์เจริญขึ้น  คนที่มีอำนาจก็ค่อย ๆ  เปลี่ยนไป  เช่น  กลายเป็นคนที่ฉลาด  มีความรู้  และได้รับการศึกษามากกว่า  เป็นต้น กระบวนการเปลี่ยนแปลงของอำนาจจากคนกลุ่มหนึ่งไปสู่คนอีกกลุ่มหนึ่งนั้น  มักจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย  บ่อยครั้งก็เกิดการต่อสู้กลายเป็นสงครามที่ทำให้คนล้มตายไปจำนวนมาก  เหตุผลก็เพราะคนที่อยู่ในอำนาจนั้น  มักจะได้รับผลประโยชน์มากมายในขณะที่คนที่ “ไม่มีอำนาจ” ซึ่งมักเป็นคนที่ “ด้อยกว่า” อาจจะเนื่องจากการเกิดหรือการถูกกดขี่เอาเปรียบจากระบบการเมืองหรือสังคมเดิมนั้น  ต้องเป็นผู้รับภาระต่าง ๆ  ผ่าน  “ระบบ” ต่าง ๆ  เช่น  ภาษีหรือกฎหมายที่ “ไม่ยุติธรรม” สำหรับพวกเขา  ระบบของ “อำนาจ” นั้น  ในช่วงที่โลกยังไม่เจริญก็มักจะอยู่ในมือของคนจำนวนน้อยถึงน้อยมาก  ตัวอย่างเช่น ฟาโรห์ของอียิปต์  เป็นต้น  ต่อมาเมื่อโลกเจริญขึ้นเรื่อย ๆ  จำนวนคนที่มีอำนาจก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  แต่จำนวนคน “มีอำนาจ” ที่เพิ่มเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาตินั้น  เพิ่งจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ  นี้หรือไม่เกินร้อยกว่าปี  นั่นก็คือวันที่โลกยอมรับว่า  “ผู้หญิง” ก็มีอำนาจเท่า ๆ  กับผู้ชาย  เพราะด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการศึกษา  ผู้หญิงหรือผู้ชายก็มีความสามารถไม่แพ้กัน นอกจากเรื่องของอำนาจแล้ว  แนวความคิดหรือหลักการว่าคนบางคนหรือบางกลุ่มนั้นมีอำนาจมากกว่าคนอื่นเองนั้น  ก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง  เริ่มต้นนั้นก็เช่นเดียวกัน  คนที่มีอำนาจสูงสุดหรือเด็ดขาดมีเพียงคนเดียวหรือน้อยมาก ต่อมาเมื่อสังคมใหญ่และซับซ้อนขึ้น  จำนวนคนที่มีอำนาจมากก็เพิ่มขึ้น  และเมื่อโลกเจริญขึ้นที่ส่งผลให้คนมีการศึกษามากขึ้น  พวกเขาก็ต้องการที่จะมีอำนาจมากขึ้น  จนมาถึงจุดหนึ่ง  สังคมหรือประเทศที่เจริญก้าวหน้ามากที่สุดก็ไม่สามารถที่จะ“กีดกัน” คนบางคนหรือบางกลุ่มไม่ให้มีอำนาจ  และนั่นทำให้คนทั้งประเทศ “มีอำนาจเท่ากันหมด”  ในทางกฎหมาย  และนี่ก็คือระบบ  “ประชาธิปไตย” ที่ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์แม้แต่ผู้นำประเทศที่เป็นประธานาธิบดีอย่างของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น ในประเทศที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มที่นั้น  การจัดสรรอำนาจก็จะลดหลั่นกันไป  คนบางคนหรือบางกลุ่มก็มักจะมีอำนาจมากกว่าคนอื่น  คนที่มีอำนาจน้อยกว่าคนอื่นเองนั้นก็ยังอาจจะมีมากและพวกเขายัง  “ยอมรับ” หรือไม่สามารถที่จะ“ต่อสู้”  เพื่อเพิ่มอำนาจของตนเองให้เท่าเทียมกับคนอื่นที่ “อยู่ในอำนาจ”  อย่างไรก็ตาม  ความก้าวหน้าของประเทศและสังคมที่ดำเนินไปเรื่อย ๆ  บางทีอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับอดีตร้อยหรือหลายร้อยปีที่ผ่านมานั้น  ทำให้คนที่มีอำนาจน้อยสามารถเพิ่มศักยภาพหรือความสามารถของตนขึ้นมาเรื่อย ๆ  และเมื่อถึงวันหนึ่ง   พวกเขาก็อยากที่จะมีอำนาจเท่า ๆ  กับคนอื่นและถ้าถูกปฏิเสธหรือถูกกีดกัน  พวกเขาก็จะลุกขึ้นมา  “ต่อสู้”  ด้วยวิธีการต่าง ๆ  และนั่นก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาตลอด ในสังคมของประเทศที่พัฒนาแล้วและทุกคนมีอำนาจเท่า ๆ  กันแล้ว  ความคิดทางการเมืองก็จะเปลี่ยนเป็นเรื่องของสิทธิและเสรีภาพที่เขาจะทำได้ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้เดือดร้อนใครหรือทำให้คนอื่นเสียสิทธิอันชอบธรรมของตนเอง  คนที่มีแนวโน้มที่สนับสนุนแนวทางแบบนี้มักจะเป็นคนที่มองว่า  เราควรส่งเสริมให้คนมีความเป็น “ปัจเจกชน” อย่าไปสร้างกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อะไรก็ตามที่จะไปลดความคิดสร้างสรรค์และแรงจูงใจในการทำงานของคน  นอกจากนั้น  พวกเขามักจะเคารพในสิทธิต่าง ๆ ของคนแม้ไม่ใช่เรื่องของกฎหมายอย่างเช่นเรื่องของเพศสภาพ  การให้ผู้หญิงมีสิทธิที่จะทำแท้ง  การนับถือหรือไม่นับถือศาสนา หรือเรื่องต่าง ๆ ที่  “ไม่ได้เดือดร้อนใคร” เป็นต้น  ในอีกด้านหนึ่ง  พวกเขาก็อยากส่งเสริมให้คนทุกคนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเพื่อให้ “เท่าเทียม” กับคนอื่น ๆ  พวกเขาคิดว่าคนเกิดมาก็เท่ากัน  แต่ที่แย่กว่าคนอื่นเป็นเพราะระบบเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย  ดังนั้น  คนในสังคมที่รวยกว่าก็ควรที่จะต้องเสียสละเพื่อให้สังคมส่วนรวมดีขึ้น  และนี่ก็อาจจะเรียกว่าเป็นแนวคิดแบบ  “เสรีนิยม” ตรงกันข้ามกับเสรีนิยมก็คือแนวคิดแบบ “อนุรักษ์นิยม” ที่มีความคิดว่า  “คนไม่เท่ากัน”  คนบางคนหรือบางกลุ่มนั้นเหนือกว่า  ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเกิดหรือการพัฒนาตนเอง  การให้สิทธิที่เท่าเทียมกันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง  พวกเขาคิดว่าสังคมที่ดีนั้น  จะต้องมีคนที่ดีกว่าเป็นผู้นำ  การมีกฎหมายหรือประเพณีและวัฒนธรรมที่  “ดี” และทุกคนยึดมั่นในคำสอนของศาสนาหลักของประเทศ   จะทำให้สังคมก้าวหน้าและ “สงบสุข”  ดังนั้น  พวกเขาก็มักจะส่งเสริมอะไรก็ตามที่เป็นความคิดของสังคมยุคเก่า เรื่องที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น  VI ก็คือ  คนที่เป็นนักลงทุนระดับเซียนโดยเฉพาะที่เป็นแนว VI พันธุ์แท้ระดับโลกอย่างวอเร็น บัฟเฟตต์  นั้น  พวกเขามีความคิดทางการเมืองแบบไหน? ชัดเจนว่าวอเร็น บัฟเฟตต์นั้นอยู่ข้าง  “เสรีนิยม”  คือเป็นเดโมแครท ทั้ง ๆ  ที่พ่อของเขาซึ่งเป็น  นักการเมืองเต็มตัวและเป็นสภาชิกสภาคองเกรสหลายสมัยนั้นเป็น “อนุรักษ์นิยม” สุด ๆ และเป็นสมาชิกพรรครีพับลิกัน  ว่าที่จริงในช่วงที่โอบามาเป็นประธานาธิบดีนั้นก็มีข่าวว่าเขาอยากให้วอเร็น บัฟเฟตต์ เป็นรัฐมนตรีคลังแต่บัฟเฟตต์ปฎิเสธ  บัฟเฟตต์เองนั้นก็มักเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองอยู่เสมอ  เขามักช่วยหาเสียงแนว  “ประกาศสนับสนุน” ผู้สมัครที่เขาชื่นชอบ  แต่คงไม่ได้บริจาคเงินมากมาย  เขายังเคยเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ที่ทรงอิทธิพลทางการเมืองที่สุดฉบับหนึ่งและเป็นหนังสือพิมพ์แนวเสรีนิยม  ตัวบัฟเฟตต์เองเห็นว่าสังคมอเมริกันนั้น  คนรวยยังได้เปรียบคนจนมากและยังจ่ายภาษีน้อยเกินไป  เขาบอกว่าเลขาของเขาจ่ายภาษีคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงกว่าตัวเขาดังนั้นเขาเรียกร้องให้เก็บภาษีคนรวยมากขึ้น จอร์จ โซรอส เองนั้น  แม้จะไม่ได้เป็น VI แต่หลักความคิดและการลงทุนของเขาเองผมคิดว่าไม่ได้ต่างกัน  เขาเป็นคนที่สนใจและเกี่ยวข้องกับการเมืองสูงมากโดยเฉพาะในประเทศฮังการีซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของเขา  และยุโรปตะวันออกที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยโดยเฉพาะในอดีต  โซรอสเองนั้นถึงกับตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนคนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสร้าง  “สังคมเปิด” ในประเทศต่าง ๆ  ด้วยเงินจำนวนมาก สำหรับ VI ไทยเองนั้น  ผมคงไม่สามารถพูดอะไรได้มากนัก  เหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะว่าสังคมการเมืองของไทยเองนั้น  ยังไม่ได้พัฒนาเพียงพอที่คนจะประกาศตนสนับสนุนแนวความคิดบางอย่างได้โดยเฉพาะที่เขายังต้อง  “อยู่กับระบบ” เพราะเขาทำธุรกิจหรือทำงานในหน่วยงานหรือบริษัท  เพราะในบางครั้งอาจจะทำให้คนทำ “มีปัญหา” ได้  ไม่ต้องพูดถึงว่าจะเข้าไปทำงานการเมือง  นอกจากนั้น  ในสังคมไทยเอง  คนจำนวนมากหรือส่วนใหญ่ก็มักจะยังไม่ค่อยยอมรับความแตกต่างทางการเมือง  การแสดงจุดยืนที่ชัดเจนก็อาจจะทำให้  “เสียเพื่อน”  ได้ ในส่วนตัวผมเองนั้น  ผมคิดว่าแนวความคิดทางการเมืองของผมมีพัฒนาการมาเรื่อย ๆ  ตั้งแต่เด็กที่มีความเป็นอนุรักษ์นิยม  และเริ่มเป็นเสรีนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ  ตั้งแต่เริ่มเป็น VI เมื่อกว่า 20 ปีก่อน  ส่วนสำคัญน่าจะมาจากการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเมืองเนื่องจากมีเวลามากขึ้นหลังจากเกษียณจากงานประจำในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มักจะประกอบไปด้วยคนที่มีแนวโน้มการเป็นอนุรักษ์นิยมตามธรรมชาติในสังคมไทย

หุ้นกาแฟเวียดนาม

0
หุ้นกาแฟเวียดนาม ในเมืองไทยการดื่มกาแฟเป็นที่นิยมร้านกาแฟก็อยู่มากมาย แต่ร้านกาแฟที่เป็นที่นิยมและมียอดขายสูงสุดคงหนีไม่พ้นกาแฟ Amazon จาก ปตท. ที่มีส่วนแบ่งสูงสุดประมาณ 40% เวียดนามเป็นอีกประเทศที่นิยมดื่มกาแฟ เวียดนามมีการปลูกกาแฟและผลิตส่งมาขายต่างประเทศเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียงประเทศบราซิล ปัจจุบันกาแฟเวียดนามที่นิยมและมีจำหน่ายในบ้านเรา ได้แก่ G7 คนเวียดนามนิยมดื่มกาแฟหลายแก้วต่อวัน ดื่มก่อนไปทำงาน กลางวัน แม้แต่เลิกงาน ความชื่นชอบนี้ทำให้มีการคาดการณ์ว่าตลาดกาแฟในเวียดนามจะเติบโตขึ้นอีก 8.2% ในปีนี้ ทุกวันนี้ ความหลงใหลในกาแฟของชาวเวียดนามไม่ได้เปลี่ยนไป แต่จำนวนชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น การแพร่หลายของวัฒนธรรมตะวันตก และอินเทอร์เน็ต...

Natural Value Investor : ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

0
Natural Value Investor ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร โลกในมุมมองของ Value Investor   23 มีนาคม 62 การที่จะเป็น Value Investor “พันธุ์แท้”  นั้น  ถ้าจะบอกว่าเป็น “เรื่องยาก” ก็คงจะไม่ผิด  แต่ถ้าบอกว่ามันเป็นเรื่อง  “ไม่ยาก”  ก็อาจจะไม่ผิดเช่นเดียวกัน  เหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งนั้น  น่าจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติส่วนตัวและนิสัยของคนที่ต้องการจะเป็น VI  คนบางคนนั้นพยายามเท่าไรหรือพยายามเรียนรู้เท่าไรก็ไม่สามารถทำได้  แต่สำหรับบางคนแล้ว  แค่ได้รับคำอธิบายหรืออ่านหนังสือเกี่ยวกับ VI ไม่เท่าไรก็เข้าใจและปฏิบัติได้แทบจะทันที  บางทีอาจจะเพราะว่าหลักการของ VI นั้น  มันตรงกับ “จริต” หรือความคิดและความเชื่อของเขาที่ฝังอยู่ในใจมานาน  บางที  “ตั้งแต่เกิด” ดังนั้น  เขาจึงยอมรับมันอย่างเต็มใจและทุ่มเทกับมันและกลายเป็น “VI ผู้มุ่งมั่น” ที่ลงทุนและใช้ชีวิต “แบบ VI”   คุณสมบัติของคนที่จะเป็น Value Investor พันธุ์แท้ ได้ง่ายนั้น  ผมอยากจะเรียกว่าเป็น  “Natural Value Investor” ซึ่งเป็นคุณสมบัติส่วนตัวบางอย่างที่จะทำให้เขาสามารถเรียนรู้และปฏิบัติตนแบบ VI ได้ง่ายและอาจจะไม่ต้องพยายามหรือฝืนใจอย่างหนัก  เขาสามารถทำมันได้แบบเป็น  “ธรรมชาติ” มาก  เขาอาจจะไม่รู้สึกกระวนกระวายและคิดว่าจะต้องขายหุ้นในยามที่ตลาดหลักทรัพย์หรือหุ้นที่เขาถืออยู่ตกลงมาอย่างหนักโดยที่พื้นฐานของกิจการดูเหมือนว่าจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร  เขาอาจจะสามารถขับรถเก่าราคาถูกไปไหนมาไหนโดยที่ไม่ได้สนใจว่าใครจะมองว่าจนหรือไม่รวยทั้ง ๆ  ที่เขาเป็นเศรษฐี  และตัวอย่างของคนที่น่าจะเป็น Natural VI ที่เรารู้จักกันดีก็คือ วอเร็น บัฟเฟตต์  แต่สิ่งที่คนจำนวนมากอาจจะไม่รู้ก็คือ  คนอย่างจอห์นเนฟ หรือเซียน VI ระดับโลกหลายคนก็มีลักษณะคล้าย ๆ  กัน  เขาเหล่านั้นเป็น  “Natural Value Investor” เป็นคนที่เรียนรู้และใช้ชีวิตแบบ VI มานานหรือตั้งแต่เด็กก่อนที่จะดังระดับโลก   คุณสมบัติของ Natural VI ที่ผมคิดว่าสำคัญมากและใครก็ตามที่มีลักษณะหรือนิสัยแบบนั้นจะมีศักยภาพเป็น “VI พันธุ์แท้” ได้ง่ายถ้าเริ่มเข้ามาศึกษา  เรียนรู้และปฏิบัติตน ก็คือ  ข้อแรก   เขาเป็นคนที่มีนิสัย “ประหยัดอดออม”  ไม่ชอบใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่ายหรือใช้เงินในสิ่งที่  “ฟุ่มเฟือย” โดย  “ไม่จำเป็น”  ตัวอย่างเช่น  การใช้สินค้าแบรนด์เนมที่มีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ใช้สอยและรู้สึก  “เสียดายเงิน” ที่อาจจะหามาได้อย่าง “ยากเย็น”  การเป็นคน “ประหยัด”  นั้น  แน่นอน  ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นคนที่ “ยังไม่มีเงิน” พอที่จะใช้จ่ายสินค้าหรูหรือแพง  แต่คนที่ “ไม่มีเงิน” ส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่คนที่มีนิสัยประหยัด หลายคนพอมีเงินหรือได้เงินมาก็ใช้จ่ายเกินตัวและติดหนี้สินอีกต่างหาก  ดังนั้น  คนประหยัดในความหมายที่แท้จริงก็คือคนที่ “ใช้จ่ายเงินน้อยกว่าความมั่งคั่งหรือสินทรัพย์สุทธิ”  ของเขามาก  ซึ่งทำให้เขาสามารถ “ออมเงิน” ได้มากกว่าคนปกติที่มีรายได้เท่า ๆ  กัน คุณสมบัติข้อสองที่จะทำให้คน ๆ  นั้นมีโอกาสเป็น VI ได้ง่ายก็คือการเป็นคนที่  “มีเหตุมีผลเสมอ”  หรือมีความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล  ไม่เชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่มีข้อพิสูจน์เช่นเรื่องของไสยาศาสตร์หรือโหราศาสตร์   ความเชื่อที่มีเหตุมีผลนั้น  แน่นอน  ไม่ใช่ว่าต้องเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ล้วน ๆ  แบบหนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสอง  ศาสตร์ทางสังคมเช่นเรื่องของเศรษฐศาสตร์  สังคมศาสตร์  พฤติกรรมศาสตร์  สิ่งต่าง ๆ  เหล่านี้เป็นสิ่งที่มีเหตุมีผลที่ทำให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ในสังคมและในทางเศรษฐกิจได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงพอที่จะนำมาใช้ในการลงทุนและดำรงชีวิตได้  ประเด็นสำคัญก็คือ  คนที่จะเป็น VI นั้น  จะต้องคิดแบบมี  Logic หรือมีเหตุผลไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ  แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ในสังคมเชื่อ คุณสมบัติข้อสามก็คือ  VI โดยธรรมชาตินั้น  มักจะต้องเป็นคนที่มี “วินัย” สูง  นั่นก็คือ  เมื่อเขามีหลักการ  มีความคิดและมีแผนที่จะทำอะไรรวมถึงการลงทุนในหุ้นที่เขาศึกษาและวิเคราะห์มาเป็นอย่างดีแล้ว  เขาก็จะทำตามแผนการนั้นโดยไม่วอกแวก   เขามักจะเป็นคนที่มีความมั่นคงทางอารมณ์และมักจะไม่เปลี่ยนแปลงอะไรง่าย ๆ  เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบชั่วคราวแต่ในระยะยาวแล้วสิ่งที่เขาคิด  เชื่อ  และกระทำยังเป็นสิ่งที่ถูกต้อง  การเป็นคนที่มีวินัยสูงนั้น  ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นคนที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่คนอื่นกำหนด  ตรงกันข้าม  วินัยนี้จะต้องเป็นสิ่งที่ผ่านการพิจารณาและไตร่ตรองมาเป็นอย่างดี มีเหตุมีผลและมีข้อพิสูจน์แล้วว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้องและจะทำให้เราประสบความสำเร็จในระยะยาว  ตัวอย่างที่ผิดที่เรามักจะพบบ่อยมากในเรื่องของการลงทุนก็เช่น  คนบางคนซื้อหุ้นบางตัวที่ไม่ได้มีพื้นฐานที่ดีเลยในราคาที่แพงแต่กลับคิดว่ามันเป็น “หุ้น VI”...

กำไรที่หายไปดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กำไรไตรมาศ 4 ปี 2561 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลดลงอย่างมากถึงประมาณ 40% 

0
เมื่อเทียบกับผลประกอบการในไตรมาศ 4 ปีที่แล้วและไตรมาศ 3 ปี 2561 โดยตัวเลขก็คือกำไรลดเหลือประมาณ 157,400 ล้านบาทเทียบกับกำไร 253,235 ในปีก่อน หรือลดลงถึง 95,835 ล้านบาท  และนี่ก็ทำให้ผลประกอบการโดยรวมของปี 2561 ปรับตัวลงมาเหลือใกล้เคียงกับกำไรของปี 2560 ที่ประมาณเกือบ 1 ล้านล้านบาท ทั้ง ๆ  ที่ตั้งแต่ต้นปี 2561 นักวิเคราะห์ต่างก็คาดการณ์ว่ากำไรน่าจะโตขึ้นมากใกล้ ๆ  10%  และตัวเลขถึงไตรมาศ 3 ปี 2561 ก็ชี้ว่ากำไรโตถึง 12% เมื่อเทียบกับช่วง 3 ไตรมาศของปี 2560   การลดลงของกำไรในไตรมาศ 4 ปี 2561 อย่าง “ไม่คาดคิด”  ได้ทำให้นักวิเคราะห์ “หน้าแตก”  อีกเช่นเคยในแง่ของการคาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมในแต่ละปี  และก็ช่วยยืนยันความเห็นของผมและ “ตัวเลขจากประวัติศาสตร์” ที่ว่ากำไรโดยรวมของบริษัทจดทะเบียน“โดยปกติ” นั้นมักจะโตอย่างช้า ๆ  โดยที่อัตราการโตจะประมาณเท่ากับอัตราการเติบโตของ GDP บวกด้วยอัตราเงินเฟ้อในระยะยาว  ซึ่งในกรณีของไทยเราในช่วงนี้และอาจจะต่อ ๆ  ไปก็คือ   อัตราการเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนก็น่าจะประมาณ 5% ต่อปีเท่านั้น แต่กำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นในไตรมาศ 1 ของปี 2562 และกำไรในไตรมาศต่อ ๆ  ไปก็คงจะไม่เลวร้ายลงแบบที่เกิดขึ้นในไตรมาศ 4 ปีก่อน  เหตุผลก็เพราะว่ากำไรในไตรมาศ 4 ปีที่แล้วที่แย่ลงมากนั้น  เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น  “ครั้งเดียว”  ไม่ใช่เกิดขึ้นจากกำไรตาม “ปกติ” ของธุรกิจ  แต่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการลดลงของราคาน้ำมันดิบของโลกที่รุนแรงในช่วงปลายปี 2561 เทียบกับสิ้นปี 2560 ซึ่งส่งผลให้เกิดการ “ขาดทุน”  จากสต็อกน้ำมันของธุรกิจที่เกี่ยวกับการกลั่นและการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่และมีจำนวนมากในตลาดหลักทรัพย์  นอกจากนั้นก็ยังเกิดขึ้นเนื่องจากการสำรองการด้อยค่าและรายจ่ายเฉพาะบางอย่างของบริษัทโทรศัพท์มือถือขนาดใหญ่บางแห่งที่เป็นเรื่องที่น่าจะเกิดขึ้น  “ครั้งเดียว”  เช่นกัน  ลองมาดูกันว่ามีกลุ่มอุตสาหกรรมและบริษัทอะไรบ้าง กลุ่มแรกนั้นแน่นอนก็คือกลุ่มพลังงานโดยเฉพาะก็คือกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันไล่ตั้งแต่บริษัทใหญ่ที่สุดก็คือปตท. ที่กำไรลดลงสูงที่สุดที่ 15,825 ล้านบาทในไตรมาศ 4 ปี 2561 เทียบกับไตรมาศเดียวกันในปี2560  ตามมาด้วยหุ้น TOP โรงกลั่นขนาดใหญ่ที่ผลประกอบการติดลบและกำไรถดถอยลง 11,739 ล้านบาท  หุ้น SPRC IRPC ESSO และบางจาก  มีกำไรลดลง 6,453  6,139 5,653  และ 3,000  ล้านบาทตามลำดับเมื่อเทียบกับผลกำไรของไตรมาศ 4 ปี 2560  และทั้งหมดนั้นส่งผลให้หุ้นในกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภคมีกำไรลดลงถึง  53,255 ล้านบาทในไตรมาศสุดท้ายของปี 2561 หุ้นกลุ่มสื่อสารนั้น  กำไรลดลงจาก 12,985 ล้านบาทเป็นแค่ 1,309 ล้านบาทในไตรมาศ 4 ปี 2561 หรือลดลง  11,676 ล้านบาท  โดยที่การลดลงนั้นมาจากการขาดทุนของหุ้น DTAC ที่ทำให้กำไรลดลงถึง5,483 ล้านบาท เช่นเดียวกับหุ้น TRUE ที่มีขาดทุนและทำให้กำไรลดลง 6,639 ในไตรมาศ 4 ปี2561 เที่ยบกับไตรมาศเดียวกันในปี 2560  ทั้งสองกรณีนั้นเป็นเรื่องของการสำรองในเรื่องราวที่น่าจะเกิดครั้งเดียวไม่ใช่การดำเนินงานปกติ กลุ่มปิโตรเคมีเองนั้น  เรื่องของราคาน้ำมันที่เปลี่ยนแปลงไปรุนแรงก็น่าจะส่งผลถึงรายได้และต้นทุนของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต  เห็นได้จากหุ้น IVL ที่เคยทำกำไรได้ถึง 10,003 ล้านบาทในไตรมาศ 4 ปี2560 เหลือเพียง 2,355 ล้านบาทในไตรมาศ 4 ปี 2561 หรือกำไรลดลงถึง 7,648 ล้านบาท  และในทำนองเดียวกัน  หุ้น PTTGC ซึ่งมีกำไรลดลงจาก 9,559 ล้านบาทเป็น 4,062 ล้านบาทหรือลดลง5,498 ล้านบาทในช่วงเวลาเดียวกัน  โดยรวมแล้วหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีนั้นมีกำไรลดลง 13,070  ล้านบาท และนี่ก็น่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น  “ครั้งเดียว” ไม่ต่อเนื่องในไตรมาศต่อไป หุ้นกลุ่มสุดท้ายที่มีกำไรลดลงมากในไตรมาศ 4 ปี 2561 ก็คือหุ้นขนส่งและโลจิสติกส์ที่กำไรทั้งกลุ่มเหลือเพียง 20 ล้านบาทจาก 13,179 ล้านบาทหรือลดลง 13,159 ล้านบาท  นี่ก็เป็นผลหลัก ๆ  มาจากหุ้นสายการบินโดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นการบินไทยที่ขาดทุนหนักกว่า 7 พันล้านบาท หรือกำไรลดลงถึง9,315 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะมาจากสาเหตุที่ไม่น่าจะต่อเนื่องไปอีกในไตรมาศต่อไปมิฉะนั้นบริษัทก็อาจจะมีปัญหาได้ เมื่อรวมการลดลงของกำไรของ 4 อุตสาหกรรมทั้งหมดที่กล่าวจำนวนประมาณ 91,160 ล้านบาทเทียบกับตัวเลขการลดลงของกำไรของบริษัทจดทะเบียนทั้งตลาดที่ 95,835 ล้านบาท  เราก็สามารถสรุปได้ว่า  แท้ที่จริงแล้ว  กำไร  “ปกติ” ของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาศ 4 ปี 2561 นั้น  ก็ยัง “ปกติ” อยู่  กำไรที่ลดลงเกือบแสนล้านบาทที่เห็นนั้น  เป็นการลดลงเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันเป็นหลักและน่าจะเกิดขึ้น  “ครั้งเดียว”  ไตรมาศต่อ ๆ ไปไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก  เพราะน้ำมันดิบคงไม่ลดลงไปมากแบบนั้นอีกในระยะเวลาอันสั้น  ว่าที่จริง  ราคาน้ำมันอาจจะปรับตัวขึ้นและอุตสาหกรรมที่กล่าวถึงอาจจะมีกำไรเพิ่มขึ้นก็ได้  แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร  ในระยะยาว ๆ  แล้ว  ผลกระทบจากราคาน้ำมันน่าจะ “เป็นกลาง” นั่นก็คือ  ไม่ต้องนำมาคิดรวมกับกำไรปกติของธุรกิจที่เรานำมาใช้ในการประเมินมูลค่าของหุ้นทั้งตลาด ผมเองได้ลองมองย้อนหลังตัวเลขกำไรของบริษัทจดทะเบียนระยะยาว  ซึ่งก็ทำให้ไม่ต้องคำนึงถึงกำไรหรือขาดทุนครั้งเดียวเนื่องจากราคาน้ำมันหรือเหตุการณ์สำรองใหญ่ ๆ  อื่น ๆ  ก็พบว่า  ในระยะเวลาตั้งแต่สิ้นปี 2547 จนถึงสิ้นปี 2561 คิดเป็นเวลา 14 ปี  นับตั้งแต่หุ้นพลังงานยักษ์ใหญ่อย่าง ปตท. เข้าตลาดหลักทรัพย์  กำไรของบริษัททั้งตลาดนั้นเริ่มที่ประมาณ 460,000 ล้านบาทในปี 2547 กลายเป็นประมาณ 984,000 ล้านบาท คิดแล้วกำไรเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยแบบทบต้นที่ประมาณ 5.6% ต่อปี ซึ่งก็น่าจะพอ ๆ  กับอัตราการเติบโตของ GDP ในช่วงเดียวกัน  แต่ถ้าดูย้อนหลังแค่ 5 ปี คือตั้งแต่ปี2556 จนถึงปี 2561  ก็พบว่ากำไรเพิ่มขึ้นจาก 795,000 ล้านบาท เป็น 984,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเติบโตของกำไรแบบทบต้นต่อปีเท่ากับ 4.4% หรือลดลงมา 1.2% ซึ่งก็สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของ GDP ที่ลดลงของประเทศไทยในช่วงหลัง ๆ  นี้ ข้อสรุปของผมจากตัวเลขและบทความนี้ก็คือ  การเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดแต่ละปีนั้น  น่าจะค่อนข้างจะสัมพันธ์กับการเติบโตของ GDP ของประเทศ  การผันผวนนั้น  ส่วนใหญ่น่าจะมาจากเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นครั้งเดียวหรือไม่ได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแต่ในระยะยาวแล้วก็จะหักกลบลบกันไปจนทำให้ในระยะยาวแล้วไม่ได้มีผลอะไรต่ออัตราการเติบโตของกำไร  ดังนั้น  การวิเคราะห์ว่ามูลค่าหลักทรัพย์ของตลาดหรือดัชนีหุ้นจะเพิ่มขึ้นเท่าไรในแต่ละปีนั้น  จึงควรที่จะกำหนดจากการเติบโตของกำไรที่ก็อิงกับการเติบโตของ GDP  แต่ก็แน่นอนว่าในบางปีหรือบางช่วง  กำไรของบริษัทจดทะเบียนอาจจะดูดีหรือแย่กว่าปกติได้เนื่องจากเหตุการณ์พิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของราคาน้ำมันดิบโลก อย่างไรก็ตาม  ถ้าเราเป็น VI ที่เน้นลงทุนระยะยาว  เราอาจจะต้องมองข้ามประเด็นนี้และเน้นไปที่ “กำไรปกติ” ถ้ากำไรปกตินั้นยังดีอยู่  เราก็ไม่ต้องกังวล  แต่ถ้าคนอื่นกังวลและเทขายหุ้นจนมีราคาต่ำเกินไป  นั่นก็อาจจะเป็นโอกาสของเราที่จะซื้อ  ทั้งหมดนั้นก็คือเรื่องของกำไรของทั้งตลาด  แต่ในกรณีของหุ้นแต่ละตัว  เราก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน  และนี่ก็คือการมองแบบ VI ที่พยายามเข้าใจธรรมชาติของกำไรว่าอะไรคือกำไรปกติและแนวโน้มของมัน  และเราจะฉวยโอกาสอย่างไรในกรณีที่ตลาดมองอีกแบบหนึ่ง

10  อันดับที่สุดข่าวหุ้นเวียดนาม 2018

0
อีก 2 วันก็จะเริ่มปีใหม่แล้ว เรามาทบทวนเหตุการณ์สำคัญที่สุดในตลาดหุ้น ปี 2018 จากชมรมนักข่าวหลักทรัพย์เวียดนามกันเลยค่ะ ------------------ 1. หุ้นตก หลังจากที่โตมา 5 ปีติดต่อกัน ------------------ ในปีนี้ตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกหลังโตมา 5 ปีติดต่อกัน ควบคู่ไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ ปี 2017 ตลาดหุ้นมีเติบโตสูงถึง 47% ดัชนีหุ้นเวียดนามขึ้นไปที่สูงสุด (All time high) 1,211 จุด ในวันที่ 10 เมษายนปีนี้...

VinFast บริษัทเวียดนามที่ได้แสดงรถยนต์ต้นแบบในงาน Paris Motor Show 2018

0
# VinFast Manufacturing and Trading Company Limited บริษัทสาขาของเครือบริษัท Vingroup เวียดนาม เปิดตัว สองรถยนต์ต้นแบบใหม่ ในงาน Paris Motor Show ครั้งที่ 120 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม เป็นครั้งแรกที่รถยนต์จากเวียดนามได้จอดโชว์เรียงรายกับแบรนด์รถยนต์ชั้นนำ อย่าง Mercedes, Porche, Audi, Lamborghini...