ตลาดตสมาร์ทโฟนซบเซา ทำเศรษฐกิจเวียดนามไตรมาสแรกชะลอตัว
ตลาดสมาร์ทโฟนซบเซา ทำเศรษฐกิจเวียดนามไตรมาสแรกชะลอตัว
ความต้องการโทรศัพท์มือถือทั่วโลกอ่อนกำลังลง ทำให้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสมาร์ทโฟนที่เป็นแหล่งรายได้ส่งออกที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนาม และส่วนใหญ่ผลิตโดยบริษัทซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ ของเกาหลีใต้ ลดลง 4.3% จากปีก่อนหน้า
ซัมซุงที่ลงทุนโรงงาน 8 แห่ง และเป็นนักลงทุนต่างชาติรายใหญ่ที่สุดและมีสัดส่วนมากกว่า 1 ใน 5 ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมดของประเทศ
อย่างไรก็ตามรัฐบาลตั้งเป้าการเติบโตทางเศรษฐกิจอยู่ระหว่าง 6.6-6.8% ในปีนี้
แม้ว่าไตรมาสนี้เศรษฐกิจเวียดนามไตรมาสแรกชะลอตัว แต่หากดูตัวเลขการลงทุนใหม่ๆ รวมทั้งการที่เวียดนามอาจได้รับอานิสงส์หากสงครามการค้าระหว่างสหรัฐฯ และจีน สำหรับบริษัทระดับโลกต่างๆ ที่กำลังมองหาการย้ายฐานการผลิต และซัปพลายเชนออกจากจีน
แอดคิดว่าระยะยาวในอนาคตเวียดนามก็ยังจะสามารถเติบโตได้อย่างยั่งยืน
Credit: https://mgronline.com/indochina/detail/9620000031842
VI กับการเมือง : ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
VI กับการเมือง
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
“การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน” นี่เป็นคำกล่าวที่ผมคิดว่าเป็นจริง ทุกคนต่างก็มีความคิดเห็นทางการเมืองของตนเองและถ้าเปิดโอกาสให้แสดงออก “อย่างเสรี” เขาก็จะพูดหรือแสดงออกมา ความคิดทางการเมืองนั้น ก็เช่นเดียวกับเรื่องอื่น ๆ ทางสังคม มีวิวัฒนาการมายาวนานตั้งแต่มนุษย์เริ่มสร้างสังคม อยู่กันเป็นหมู่บ้าน เมือง และกลายเป็นรัฐและประเทศ เริ่มต้นนั้น การเมืองการปกครองก็เริ่มต้นโดยผู้ปกครองที่มี “อำนาจ” ในการสั่งการให้ผู้คนปฏิบัติตามเพื่อให้สังคมอยู่ในระบบหรือกฎเกณฑ์ที่จะทำให้คนที่อยู่ในสังคมสามารถร่วมกันจัดการงานต่าง ๆ ที่จะทำให้คนส่วนใหญ่มีโอกาสที่จะ “อยู่รอด” มากขึ้น อำนาจของคนในช่วงแรก ๆ นั้น มักจะมาจากความสามารถหรือคุณสมบัติส่วนตัว เช่น เป็นผู้ชาย เป็นคนที่มีรูปร่างสูงใหญ่แข็งแรง เป็นต้น ต่อมาเมื่อมนุษย์เจริญขึ้น คนที่มีอำนาจก็ค่อย ๆ เปลี่ยนไป เช่น กลายเป็นคนที่ฉลาด มีความรู้ และได้รับการศึกษามากกว่า เป็นต้น
กระบวนการเปลี่ยนแปลงของอำนาจจากคนกลุ่มหนึ่งไปสู่คนอีกกลุ่มหนึ่งนั้น มักจะเป็นเรื่องที่ไม่ง่าย บ่อยครั้งก็เกิดการต่อสู้กลายเป็นสงครามที่ทำให้คนล้มตายไปจำนวนมาก เหตุผลก็เพราะคนที่อยู่ในอำนาจนั้น มักจะได้รับผลประโยชน์มากมายในขณะที่คนที่ “ไม่มีอำนาจ” ซึ่งมักเป็นคนที่ “ด้อยกว่า” อาจจะเนื่องจากการเกิดหรือการถูกกดขี่เอาเปรียบจากระบบการเมืองหรือสังคมเดิมนั้น ต้องเป็นผู้รับภาระต่าง ๆ ผ่าน “ระบบ” ต่าง ๆ เช่น ภาษีหรือกฎหมายที่ “ไม่ยุติธรรม” สำหรับพวกเขา
ระบบของ “อำนาจ” นั้น ในช่วงที่โลกยังไม่เจริญก็มักจะอยู่ในมือของคนจำนวนน้อยถึงน้อยมาก ตัวอย่างเช่น ฟาโรห์ของอียิปต์ เป็นต้น ต่อมาเมื่อโลกเจริญขึ้นเรื่อย ๆ จำนวนคนที่มีอำนาจก็เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ แต่จำนวนคน “มีอำนาจ” ที่เพิ่มเร็วที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาตินั้น เพิ่งจะเกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้หรือไม่เกินร้อยกว่าปี นั่นก็คือวันที่โลกยอมรับว่า “ผู้หญิง” ก็มีอำนาจเท่า ๆ กับผู้ชาย เพราะด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการศึกษา ผู้หญิงหรือผู้ชายก็มีความสามารถไม่แพ้กัน
นอกจากเรื่องของอำนาจแล้ว แนวความคิดหรือหลักการว่าคนบางคนหรือบางกลุ่มนั้นมีอำนาจมากกว่าคนอื่นเองนั้น ก็มีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง เริ่มต้นนั้นก็เช่นเดียวกัน คนที่มีอำนาจสูงสุดหรือเด็ดขาดมีเพียงคนเดียวหรือน้อยมาก ต่อมาเมื่อสังคมใหญ่และซับซ้อนขึ้น จำนวนคนที่มีอำนาจมากก็เพิ่มขึ้น และเมื่อโลกเจริญขึ้นที่ส่งผลให้คนมีการศึกษามากขึ้น พวกเขาก็ต้องการที่จะมีอำนาจมากขึ้น จนมาถึงจุดหนึ่ง สังคมหรือประเทศที่เจริญก้าวหน้ามากที่สุดก็ไม่สามารถที่จะ“กีดกัน” คนบางคนหรือบางกลุ่มไม่ให้มีอำนาจ และนั่นทำให้คนทั้งประเทศ “มีอำนาจเท่ากันหมด” ในทางกฎหมาย และนี่ก็คือระบบ “ประชาธิปไตย” ที่ไม่มีใครมีอภิสิทธิ์แม้แต่ผู้นำประเทศที่เป็นประธานาธิบดีอย่างของสหรัฐอเมริกา เป็นต้น
ในประเทศที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยอย่างเต็มที่นั้น การจัดสรรอำนาจก็จะลดหลั่นกันไป คนบางคนหรือบางกลุ่มก็มักจะมีอำนาจมากกว่าคนอื่น คนที่มีอำนาจน้อยกว่าคนอื่นเองนั้นก็ยังอาจจะมีมากและพวกเขายัง “ยอมรับ” หรือไม่สามารถที่จะ“ต่อสู้” เพื่อเพิ่มอำนาจของตนเองให้เท่าเทียมกับคนอื่นที่ “อยู่ในอำนาจ” อย่างไรก็ตาม ความก้าวหน้าของประเทศและสังคมที่ดำเนินไปเรื่อย ๆ บางทีอย่างรวดเร็วเมื่อเทียบกับอดีตร้อยหรือหลายร้อยปีที่ผ่านมานั้น ทำให้คนที่มีอำนาจน้อยสามารถเพิ่มศักยภาพหรือความสามารถของตนขึ้นมาเรื่อย ๆ และเมื่อถึงวันหนึ่ง พวกเขาก็อยากที่จะมีอำนาจเท่า ๆ กับคนอื่นและถ้าถูกปฏิเสธหรือถูกกีดกัน พวกเขาก็จะลุกขึ้นมา “ต่อสู้” ด้วยวิธีการต่าง ๆ และนั่นก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาตลอด
ในสังคมของประเทศที่พัฒนาแล้วและทุกคนมีอำนาจเท่า ๆ กันแล้ว ความคิดทางการเมืองก็จะเปลี่ยนเป็นเรื่องของสิทธิและเสรีภาพที่เขาจะทำได้ถ้าสิ่งนั้นไม่ได้เดือดร้อนใครหรือทำให้คนอื่นเสียสิทธิอันชอบธรรมของตนเอง คนที่มีแนวโน้มที่สนับสนุนแนวทางแบบนี้มักจะเป็นคนที่มองว่า เราควรส่งเสริมให้คนมีความเป็น “ปัจเจกชน” อย่าไปสร้างกฎหมายหรือกฎเกณฑ์อะไรก็ตามที่จะไปลดความคิดสร้างสรรค์และแรงจูงใจในการทำงานของคน นอกจากนั้น พวกเขามักจะเคารพในสิทธิต่าง ๆ ของคนแม้ไม่ใช่เรื่องของกฎหมายอย่างเช่นเรื่องของเพศสภาพ การให้ผู้หญิงมีสิทธิที่จะทำแท้ง การนับถือหรือไม่นับถือศาสนา หรือเรื่องต่าง ๆ ที่ “ไม่ได้เดือดร้อนใคร” เป็นต้น ในอีกด้านหนึ่ง พวกเขาก็อยากส่งเสริมให้คนทุกคนมีชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นเพื่อให้ “เท่าเทียม” กับคนอื่น ๆ พวกเขาคิดว่าคนเกิดมาก็เท่ากัน แต่ที่แย่กว่าคนอื่นเป็นเพราะระบบเศรษฐกิจที่ไม่เอื้ออำนวย ดังนั้น คนในสังคมที่รวยกว่าก็ควรที่จะต้องเสียสละเพื่อให้สังคมส่วนรวมดีขึ้น และนี่ก็อาจจะเรียกว่าเป็นแนวคิดแบบ “เสรีนิยม”
ตรงกันข้ามกับเสรีนิยมก็คือแนวคิดแบบ “อนุรักษ์นิยม” ที่มีความคิดว่า “คนไม่เท่ากัน” คนบางคนหรือบางกลุ่มนั้นเหนือกว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการเกิดหรือการพัฒนาตนเอง การให้สิทธิที่เท่าเทียมกันอาจจะไม่ใช่สิ่งที่ถูกต้อง พวกเขาคิดว่าสังคมที่ดีนั้น จะต้องมีคนที่ดีกว่าเป็นผู้นำ การมีกฎหมายหรือประเพณีและวัฒนธรรมที่ “ดี” และทุกคนยึดมั่นในคำสอนของศาสนาหลักของประเทศ จะทำให้สังคมก้าวหน้าและ “สงบสุข” ดังนั้น พวกเขาก็มักจะส่งเสริมอะไรก็ตามที่เป็นความคิดของสังคมยุคเก่า
เรื่องที่น่าสนใจสำหรับนักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น VI ก็คือ คนที่เป็นนักลงทุนระดับเซียนโดยเฉพาะที่เป็นแนว VI พันธุ์แท้ระดับโลกอย่างวอเร็น บัฟเฟตต์ นั้น พวกเขามีความคิดทางการเมืองแบบไหน?
ชัดเจนว่าวอเร็น บัฟเฟตต์นั้นอยู่ข้าง “เสรีนิยม” คือเป็นเดโมแครท ทั้ง ๆ ที่พ่อของเขาซึ่งเป็น นักการเมืองเต็มตัวและเป็นสภาชิกสภาคองเกรสหลายสมัยนั้นเป็น “อนุรักษ์นิยม” สุด ๆ และเป็นสมาชิกพรรครีพับลิกัน ว่าที่จริงในช่วงที่โอบามาเป็นประธานาธิบดีนั้นก็มีข่าวว่าเขาอยากให้วอเร็น บัฟเฟตต์ เป็นรัฐมนตรีคลังแต่บัฟเฟตต์ปฎิเสธ บัฟเฟตต์เองนั้นก็มักเข้าร่วมกิจกรรมทางการเมืองอยู่เสมอ เขามักช่วยหาเสียงแนว “ประกาศสนับสนุน” ผู้สมัครที่เขาชื่นชอบ แต่คงไม่ได้บริจาคเงินมากมาย เขายังเคยเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นใหญ่ในหนังสือพิมพ์วอชิงตันโพสต์ที่ทรงอิทธิพลทางการเมืองที่สุดฉบับหนึ่งและเป็นหนังสือพิมพ์แนวเสรีนิยม ตัวบัฟเฟตต์เองเห็นว่าสังคมอเมริกันนั้น คนรวยยังได้เปรียบคนจนมากและยังจ่ายภาษีน้อยเกินไป เขาบอกว่าเลขาของเขาจ่ายภาษีคิดเป็นเปอร์เซ็นต์สูงกว่าตัวเขาดังนั้นเขาเรียกร้องให้เก็บภาษีคนรวยมากขึ้น
จอร์จ โซรอส เองนั้น แม้จะไม่ได้เป็น VI แต่หลักความคิดและการลงทุนของเขาเองผมคิดว่าไม่ได้ต่างกัน เขาเป็นคนที่สนใจและเกี่ยวข้องกับการเมืองสูงมากโดยเฉพาะในประเทศฮังการีซึ่งเป็นประเทศบ้านเกิดของเขา และยุโรปตะวันออกที่ยังไม่เป็นประชาธิปไตยโดยเฉพาะในอดีต โซรอสเองนั้นถึงกับตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนคนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและสร้าง “สังคมเปิด” ในประเทศต่าง ๆ ด้วยเงินจำนวนมาก
สำหรับ VI ไทยเองนั้น ผมคงไม่สามารถพูดอะไรได้มากนัก เหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งนั้นเป็นเพราะว่าสังคมการเมืองของไทยเองนั้น ยังไม่ได้พัฒนาเพียงพอที่คนจะประกาศตนสนับสนุนแนวความคิดบางอย่างได้โดยเฉพาะที่เขายังต้อง “อยู่กับระบบ” เพราะเขาทำธุรกิจหรือทำงานในหน่วยงานหรือบริษัท เพราะในบางครั้งอาจจะทำให้คนทำ “มีปัญหา” ได้ ไม่ต้องพูดถึงว่าจะเข้าไปทำงานการเมือง นอกจากนั้น ในสังคมไทยเอง คนจำนวนมากหรือส่วนใหญ่ก็มักจะยังไม่ค่อยยอมรับความแตกต่างทางการเมือง การแสดงจุดยืนที่ชัดเจนก็อาจจะทำให้ “เสียเพื่อน” ได้
ในส่วนตัวผมเองนั้น ผมคิดว่าแนวความคิดทางการเมืองของผมมีพัฒนาการมาเรื่อย ๆ ตั้งแต่เด็กที่มีความเป็นอนุรักษ์นิยม และเริ่มเป็นเสรีนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ตั้งแต่เริ่มเป็น VI เมื่อกว่า 20 ปีก่อน ส่วนสำคัญน่าจะมาจากการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์และการเมืองเนื่องจากมีเวลามากขึ้นหลังจากเกษียณจากงานประจำในองค์กรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มักจะประกอบไปด้วยคนที่มีแนวโน้มการเป็นอนุรักษ์นิยมตามธรรมชาติในสังคมไทย
หุ้นกาแฟเวียดนาม
หุ้นกาแฟเวียดนาม
ในเมืองไทยการดื่มกาแฟเป็นที่นิยมร้านกาแฟก็อยู่มากมาย แต่ร้านกาแฟที่เป็นที่นิยมและมียอดขายสูงสุดคงหนีไม่พ้นกาแฟ Amazon จาก ปตท. ที่มีส่วนแบ่งสูงสุดประมาณ 40%
เวียดนามเป็นอีกประเทศที่นิยมดื่มกาแฟ เวียดนามมีการปลูกกาแฟและผลิตส่งมาขายต่างประเทศเป็นอันดับ 2 ของโลก เป็นรองเพียงประเทศบราซิล ปัจจุบันกาแฟเวียดนามที่นิยมและมีจำหน่ายในบ้านเรา ได้แก่ G7
คนเวียดนามนิยมดื่มกาแฟหลายแก้วต่อวัน ดื่มก่อนไปทำงาน กลางวัน แม้แต่เลิกงาน ความชื่นชอบนี้ทำให้มีการคาดการณ์ว่าตลาดกาแฟในเวียดนามจะเติบโตขึ้นอีก 8.2% ในปีนี้
ทุกวันนี้ ความหลงใหลในกาแฟของชาวเวียดนามไม่ได้เปลี่ยนไป แต่จำนวนชนชั้นกลางที่เพิ่มขึ้น การแพร่หลายของวัฒนธรรมตะวันตก และอินเทอร์เน็ต...
Natural Value Investor : ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
Natural Value Investor
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ Value Investor 23 มีนาคม 62
การที่จะเป็น Value Investor “พันธุ์แท้” นั้น ถ้าจะบอกว่าเป็น “เรื่องยาก” ก็คงจะไม่ผิด แต่ถ้าบอกว่ามันเป็นเรื่อง “ไม่ยาก” ก็อาจจะไม่ผิดเช่นเดียวกัน เหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งนั้น น่าจะขึ้นอยู่กับคุณสมบัติส่วนตัวและนิสัยของคนที่ต้องการจะเป็น VI คนบางคนนั้นพยายามเท่าไรหรือพยายามเรียนรู้เท่าไรก็ไม่สามารถทำได้ แต่สำหรับบางคนแล้ว แค่ได้รับคำอธิบายหรืออ่านหนังสือเกี่ยวกับ VI ไม่เท่าไรก็เข้าใจและปฏิบัติได้แทบจะทันที บางทีอาจจะเพราะว่าหลักการของ VI นั้น มันตรงกับ “จริต” หรือความคิดและความเชื่อของเขาที่ฝังอยู่ในใจมานาน บางที “ตั้งแต่เกิด” ดังนั้น เขาจึงยอมรับมันอย่างเต็มใจและทุ่มเทกับมันและกลายเป็น “VI ผู้มุ่งมั่น” ที่ลงทุนและใช้ชีวิต “แบบ VI”
คุณสมบัติของคนที่จะเป็น Value Investor พันธุ์แท้ ได้ง่ายนั้น ผมอยากจะเรียกว่าเป็น “Natural Value Investor” ซึ่งเป็นคุณสมบัติส่วนตัวบางอย่างที่จะทำให้เขาสามารถเรียนรู้และปฏิบัติตนแบบ VI ได้ง่ายและอาจจะไม่ต้องพยายามหรือฝืนใจอย่างหนัก เขาสามารถทำมันได้แบบเป็น “ธรรมชาติ” มาก เขาอาจจะไม่รู้สึกกระวนกระวายและคิดว่าจะต้องขายหุ้นในยามที่ตลาดหลักทรัพย์หรือหุ้นที่เขาถืออยู่ตกลงมาอย่างหนักโดยที่พื้นฐานของกิจการดูเหมือนว่าจะไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร เขาอาจจะสามารถขับรถเก่าราคาถูกไปไหนมาไหนโดยที่ไม่ได้สนใจว่าใครจะมองว่าจนหรือไม่รวยทั้ง ๆ ที่เขาเป็นเศรษฐี และตัวอย่างของคนที่น่าจะเป็น Natural VI ที่เรารู้จักกันดีก็คือ วอเร็น บัฟเฟตต์ แต่สิ่งที่คนจำนวนมากอาจจะไม่รู้ก็คือ คนอย่างจอห์นเนฟ หรือเซียน VI ระดับโลกหลายคนก็มีลักษณะคล้าย ๆ กัน เขาเหล่านั้นเป็น “Natural Value Investor” เป็นคนที่เรียนรู้และใช้ชีวิตแบบ VI มานานหรือตั้งแต่เด็กก่อนที่จะดังระดับโลก
คุณสมบัติของ Natural VI ที่ผมคิดว่าสำคัญมากและใครก็ตามที่มีลักษณะหรือนิสัยแบบนั้นจะมีศักยภาพเป็น “VI พันธุ์แท้” ได้ง่ายถ้าเริ่มเข้ามาศึกษา เรียนรู้และปฏิบัติตน ก็คือ ข้อแรก เขาเป็นคนที่มีนิสัย “ประหยัดอดออม” ไม่ชอบใช้จ่ายเงินสุรุ่ยสุร่ายหรือใช้เงินในสิ่งที่ “ฟุ่มเฟือย” โดย “ไม่จำเป็น” ตัวอย่างเช่น การใช้สินค้าแบรนด์เนมที่มีราคาสูงมากเมื่อเทียบกับประโยชน์ใช้สอยและรู้สึก “เสียดายเงิน” ที่อาจจะหามาได้อย่าง “ยากเย็น” การเป็นคน “ประหยัด” นั้น แน่นอน ส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นคนที่ “ยังไม่มีเงิน” พอที่จะใช้จ่ายสินค้าหรูหรือแพง แต่คนที่ “ไม่มีเงิน” ส่วนใหญ่ก็ไม่ใช่คนที่มีนิสัยประหยัด หลายคนพอมีเงินหรือได้เงินมาก็ใช้จ่ายเกินตัวและติดหนี้สินอีกต่างหาก ดังนั้น คนประหยัดในความหมายที่แท้จริงก็คือคนที่ “ใช้จ่ายเงินน้อยกว่าความมั่งคั่งหรือสินทรัพย์สุทธิ” ของเขามาก ซึ่งทำให้เขาสามารถ “ออมเงิน” ได้มากกว่าคนปกติที่มีรายได้เท่า ๆ กัน
คุณสมบัติข้อสองที่จะทำให้คน ๆ นั้นมีโอกาสเป็น VI ได้ง่ายก็คือการเป็นคนที่ “มีเหตุมีผลเสมอ” หรือมีความคิดที่เป็นเหตุเป็นผล ไม่เชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นวิทยาศาสตร์หรือไม่มีข้อพิสูจน์เช่นเรื่องของไสยาศาสตร์หรือโหราศาสตร์ ความเชื่อที่มีเหตุมีผลนั้น แน่นอน ไม่ใช่ว่าต้องเป็นเรื่องของวิทยาศาสตร์ล้วน ๆ แบบหนึ่งบวกหนึ่งเท่ากับสอง ศาสตร์ทางสังคมเช่นเรื่องของเศรษฐศาสตร์ สังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ สิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นสิ่งที่มีเหตุมีผลที่ทำให้เราสามารถคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ในสังคมและในทางเศรษฐกิจได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงพอที่จะนำมาใช้ในการลงทุนและดำรงชีวิตได้ ประเด็นสำคัญก็คือ คนที่จะเป็น VI นั้น จะต้องคิดแบบมี Logic หรือมีเหตุผลไม่เชื่ออะไรง่าย ๆ แม้ว่าสิ่งนั้นจะเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ในสังคมเชื่อ
คุณสมบัติข้อสามก็คือ VI โดยธรรมชาตินั้น มักจะต้องเป็นคนที่มี “วินัย” สูง นั่นก็คือ เมื่อเขามีหลักการ มีความคิดและมีแผนที่จะทำอะไรรวมถึงการลงทุนในหุ้นที่เขาศึกษาและวิเคราะห์มาเป็นอย่างดีแล้ว เขาก็จะทำตามแผนการนั้นโดยไม่วอกแวก เขามักจะเป็นคนที่มีความมั่นคงทางอารมณ์และมักจะไม่เปลี่ยนแปลงอะไรง่าย ๆ เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่เข้ามากระทบชั่วคราวแต่ในระยะยาวแล้วสิ่งที่เขาคิด เชื่อ และกระทำยังเป็นสิ่งที่ถูกต้อง การเป็นคนที่มีวินัยสูงนั้น ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นคนที่ต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ที่คนอื่นกำหนด ตรงกันข้าม วินัยนี้จะต้องเป็นสิ่งที่ผ่านการพิจารณาและไตร่ตรองมาเป็นอย่างดี มีเหตุมีผลและมีข้อพิสูจน์แล้วว่ามันเป็นสิ่งที่ถูกต้องและจะทำให้เราประสบความสำเร็จในระยะยาว ตัวอย่างที่ผิดที่เรามักจะพบบ่อยมากในเรื่องของการลงทุนก็เช่น คนบางคนซื้อหุ้นบางตัวที่ไม่ได้มีพื้นฐานที่ดีเลยในราคาที่แพงแต่กลับคิดว่ามันเป็น “หุ้น VI”...
กำไรที่หายไปดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กำไรไตรมาศ 4 ปี 2561 ของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลดลงอย่างมากถึงประมาณ 40%
เมื่อเทียบกับผลประกอบการในไตรมาศ 4 ปีที่แล้วและไตรมาศ 3 ปี 2561 โดยตัวเลขก็คือกำไรลดเหลือประมาณ 157,400 ล้านบาทเทียบกับกำไร 253,235 ในปีก่อน หรือลดลงถึง 95,835 ล้านบาท และนี่ก็ทำให้ผลประกอบการโดยรวมของปี 2561 ปรับตัวลงมาเหลือใกล้เคียงกับกำไรของปี 2560 ที่ประมาณเกือบ 1 ล้านล้านบาท ทั้ง ๆ ที่ตั้งแต่ต้นปี 2561 นักวิเคราะห์ต่างก็คาดการณ์ว่ากำไรน่าจะโตขึ้นมากใกล้ ๆ 10% และตัวเลขถึงไตรมาศ 3 ปี 2561 ก็ชี้ว่ากำไรโตถึง 12% เมื่อเทียบกับช่วง 3 ไตรมาศของปี 2560 การลดลงของกำไรในไตรมาศ 4 ปี 2561 อย่าง “ไม่คาดคิด” ได้ทำให้นักวิเคราะห์ “หน้าแตก” อีกเช่นเคยในแง่ของการคาดการณ์กำไรของบริษัทจดทะเบียนโดยรวมในแต่ละปี และก็ช่วยยืนยันความเห็นของผมและ “ตัวเลขจากประวัติศาสตร์” ที่ว่ากำไรโดยรวมของบริษัทจดทะเบียน“โดยปกติ” นั้นมักจะโตอย่างช้า ๆ โดยที่อัตราการโตจะประมาณเท่ากับอัตราการเติบโตของ GDP บวกด้วยอัตราเงินเฟ้อในระยะยาว ซึ่งในกรณีของไทยเราในช่วงนี้และอาจจะต่อ ๆ ไปก็คือ อัตราการเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนก็น่าจะประมาณ 5% ต่อปีเท่านั้น
แต่กำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้นในไตรมาศ 1 ของปี 2562 และกำไรในไตรมาศต่อ ๆ ไปก็คงจะไม่เลวร้ายลงแบบที่เกิดขึ้นในไตรมาศ 4 ปีก่อน เหตุผลก็เพราะว่ากำไรในไตรมาศ 4 ปีที่แล้วที่แย่ลงมากนั้น เป็นเรื่องที่เกิดขึ้น “ครั้งเดียว” ไม่ใช่เกิดขึ้นจากกำไรตาม “ปกติ” ของธุรกิจ แต่เกิดขึ้นเนื่องมาจากการลดลงของราคาน้ำมันดิบของโลกที่รุนแรงในช่วงปลายปี 2561 เทียบกับสิ้นปี 2560 ซึ่งส่งผลให้เกิดการ “ขาดทุน” จากสต็อกน้ำมันของธุรกิจที่เกี่ยวกับการกลั่นและการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีซึ่งเป็นกลุ่มบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่และมีจำนวนมากในตลาดหลักทรัพย์ นอกจากนั้นก็ยังเกิดขึ้นเนื่องจากการสำรองการด้อยค่าและรายจ่ายเฉพาะบางอย่างของบริษัทโทรศัพท์มือถือขนาดใหญ่บางแห่งที่เป็นเรื่องที่น่าจะเกิดขึ้น “ครั้งเดียว” เช่นกัน ลองมาดูกันว่ามีกลุ่มอุตสาหกรรมและบริษัทอะไรบ้าง
กลุ่มแรกนั้นแน่นอนก็คือกลุ่มพลังงานโดยเฉพาะก็คือกลุ่มโรงกลั่นน้ำมันไล่ตั้งแต่บริษัทใหญ่ที่สุดก็คือปตท. ที่กำไรลดลงสูงที่สุดที่ 15,825 ล้านบาทในไตรมาศ 4 ปี 2561 เทียบกับไตรมาศเดียวกันในปี2560 ตามมาด้วยหุ้น TOP โรงกลั่นขนาดใหญ่ที่ผลประกอบการติดลบและกำไรถดถอยลง 11,739 ล้านบาท หุ้น SPRC IRPC ESSO และบางจาก มีกำไรลดลง 6,453 6,139 5,653 และ 3,000 ล้านบาทตามลำดับเมื่อเทียบกับผลกำไรของไตรมาศ 4 ปี 2560 และทั้งหมดนั้นส่งผลให้หุ้นในกลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภคมีกำไรลดลงถึง 53,255 ล้านบาทในไตรมาศสุดท้ายของปี 2561
หุ้นกลุ่มสื่อสารนั้น กำไรลดลงจาก 12,985 ล้านบาทเป็นแค่ 1,309 ล้านบาทในไตรมาศ 4 ปี 2561 หรือลดลง 11,676 ล้านบาท โดยที่การลดลงนั้นมาจากการขาดทุนของหุ้น DTAC ที่ทำให้กำไรลดลงถึง5,483 ล้านบาท เช่นเดียวกับหุ้น TRUE ที่มีขาดทุนและทำให้กำไรลดลง 6,639 ในไตรมาศ 4 ปี2561 เที่ยบกับไตรมาศเดียวกันในปี 2560 ทั้งสองกรณีนั้นเป็นเรื่องของการสำรองในเรื่องราวที่น่าจะเกิดครั้งเดียวไม่ใช่การดำเนินงานปกติ
กลุ่มปิโตรเคมีเองนั้น เรื่องของราคาน้ำมันที่เปลี่ยนแปลงไปรุนแรงก็น่าจะส่งผลถึงรายได้และต้นทุนของวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต เห็นได้จากหุ้น IVL ที่เคยทำกำไรได้ถึง 10,003 ล้านบาทในไตรมาศ 4 ปี2560 เหลือเพียง 2,355 ล้านบาทในไตรมาศ 4 ปี 2561 หรือกำไรลดลงถึง 7,648 ล้านบาท และในทำนองเดียวกัน หุ้น PTTGC ซึ่งมีกำไรลดลงจาก 9,559 ล้านบาทเป็น 4,062 ล้านบาทหรือลดลง5,498 ล้านบาทในช่วงเวลาเดียวกัน โดยรวมแล้วหุ้นในกลุ่มปิโตรเคมีนั้นมีกำไรลดลง 13,070 ล้านบาท และนี่ก็น่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้น “ครั้งเดียว” ไม่ต่อเนื่องในไตรมาศต่อไป
หุ้นกลุ่มสุดท้ายที่มีกำไรลดลงมากในไตรมาศ 4 ปี 2561 ก็คือหุ้นขนส่งและโลจิสติกส์ที่กำไรทั้งกลุ่มเหลือเพียง 20 ล้านบาทจาก 13,179 ล้านบาทหรือลดลง 13,159 ล้านบาท นี่ก็เป็นผลหลัก ๆ มาจากหุ้นสายการบินโดยเฉพาะอย่างยิ่งหุ้นการบินไทยที่ขาดทุนหนักกว่า 7 พันล้านบาท หรือกำไรลดลงถึง9,315 ล้านบาท ซึ่งส่วนใหญ่น่าจะมาจากสาเหตุที่ไม่น่าจะต่อเนื่องไปอีกในไตรมาศต่อไปมิฉะนั้นบริษัทก็อาจจะมีปัญหาได้
เมื่อรวมการลดลงของกำไรของ 4 อุตสาหกรรมทั้งหมดที่กล่าวจำนวนประมาณ 91,160 ล้านบาทเทียบกับตัวเลขการลดลงของกำไรของบริษัทจดทะเบียนทั้งตลาดที่ 95,835 ล้านบาท เราก็สามารถสรุปได้ว่า แท้ที่จริงแล้ว กำไร “ปกติ” ของบริษัทจดทะเบียนในไตรมาศ 4 ปี 2561 นั้น ก็ยัง “ปกติ” อยู่ กำไรที่ลดลงเกือบแสนล้านบาทที่เห็นนั้น เป็นการลดลงเนื่องมาจากการเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันเป็นหลักและน่าจะเกิดขึ้น “ครั้งเดียว” ไตรมาศต่อ ๆ ไปไม่น่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้อีก เพราะน้ำมันดิบคงไม่ลดลงไปมากแบบนั้นอีกในระยะเวลาอันสั้น ว่าที่จริง ราคาน้ำมันอาจจะปรับตัวขึ้นและอุตสาหกรรมที่กล่าวถึงอาจจะมีกำไรเพิ่มขึ้นก็ได้ แต่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร ในระยะยาว ๆ แล้ว ผลกระทบจากราคาน้ำมันน่าจะ “เป็นกลาง” นั่นก็คือ ไม่ต้องนำมาคิดรวมกับกำไรปกติของธุรกิจที่เรานำมาใช้ในการประเมินมูลค่าของหุ้นทั้งตลาด
ผมเองได้ลองมองย้อนหลังตัวเลขกำไรของบริษัทจดทะเบียนระยะยาว ซึ่งก็ทำให้ไม่ต้องคำนึงถึงกำไรหรือขาดทุนครั้งเดียวเนื่องจากราคาน้ำมันหรือเหตุการณ์สำรองใหญ่ ๆ อื่น ๆ ก็พบว่า ในระยะเวลาตั้งแต่สิ้นปี 2547 จนถึงสิ้นปี 2561 คิดเป็นเวลา 14 ปี นับตั้งแต่หุ้นพลังงานยักษ์ใหญ่อย่าง ปตท. เข้าตลาดหลักทรัพย์ กำไรของบริษัททั้งตลาดนั้นเริ่มที่ประมาณ 460,000 ล้านบาทในปี 2547 กลายเป็นประมาณ 984,000 ล้านบาท คิดแล้วกำไรเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยแบบทบต้นที่ประมาณ 5.6% ต่อปี ซึ่งก็น่าจะพอ ๆ กับอัตราการเติบโตของ GDP ในช่วงเดียวกัน แต่ถ้าดูย้อนหลังแค่ 5 ปี คือตั้งแต่ปี2556 จนถึงปี 2561 ก็พบว่ากำไรเพิ่มขึ้นจาก 795,000 ล้านบาท เป็น 984,000 ล้านบาท หรือคิดเป็นการเติบโตของกำไรแบบทบต้นต่อปีเท่ากับ 4.4% หรือลดลงมา 1.2% ซึ่งก็สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของ GDP ที่ลดลงของประเทศไทยในช่วงหลัง ๆ นี้
ข้อสรุปของผมจากตัวเลขและบทความนี้ก็คือ การเติบโตของกำไรของบริษัทจดทะเบียนในตลาดแต่ละปีนั้น น่าจะค่อนข้างจะสัมพันธ์กับการเติบโตของ GDP ของประเทศ การผันผวนนั้น ส่วนใหญ่น่าจะมาจากเหตุการณ์พิเศษที่เกิดขึ้นครั้งเดียวหรือไม่ได้เกิดขึ้นครั้งเดียวแต่ในระยะยาวแล้วก็จะหักกลบลบกันไปจนทำให้ในระยะยาวแล้วไม่ได้มีผลอะไรต่ออัตราการเติบโตของกำไร ดังนั้น การวิเคราะห์ว่ามูลค่าหลักทรัพย์ของตลาดหรือดัชนีหุ้นจะเพิ่มขึ้นเท่าไรในแต่ละปีนั้น จึงควรที่จะกำหนดจากการเติบโตของกำไรที่ก็อิงกับการเติบโตของ GDP แต่ก็แน่นอนว่าในบางปีหรือบางช่วง กำไรของบริษัทจดทะเบียนอาจจะดูดีหรือแย่กว่าปกติได้เนื่องจากเหตุการณ์พิเศษโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องของราคาน้ำมันดิบโลก อย่างไรก็ตาม ถ้าเราเป็น VI ที่เน้นลงทุนระยะยาว เราอาจจะต้องมองข้ามประเด็นนี้และเน้นไปที่ “กำไรปกติ” ถ้ากำไรปกตินั้นยังดีอยู่ เราก็ไม่ต้องกังวล แต่ถ้าคนอื่นกังวลและเทขายหุ้นจนมีราคาต่ำเกินไป นั่นก็อาจจะเป็นโอกาสของเราที่จะซื้อ ทั้งหมดนั้นก็คือเรื่องของกำไรของทั้งตลาด แต่ในกรณีของหุ้นแต่ละตัว เราก็สามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้เช่นกัน และนี่ก็คือการมองแบบ VI ที่พยายามเข้าใจธรรมชาติของกำไรว่าอะไรคือกำไรปกติและแนวโน้มของมัน และเราจะฉวยโอกาสอย่างไรในกรณีที่ตลาดมองอีกแบบหนึ่ง
10 อันดับที่สุดข่าวหุ้นเวียดนาม 2018
อีก 2 วันก็จะเริ่มปีใหม่แล้ว
เรามาทบทวนเหตุการณ์สำคัญที่สุดในตลาดหุ้น ปี 2018 จากชมรมนักข่าวหลักทรัพย์เวียดนามกันเลยค่ะ
------------------
1. หุ้นตก หลังจากที่โตมา 5 ปีติดต่อกัน
------------------
ในปีนี้ตลาดหุ้นเวียดนามปรับตัวลดลงเป็นครั้งแรกหลังโตมา 5 ปีติดต่อกัน ควบคู่ไปกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ
ปี 2017 ตลาดหุ้นมีเติบโตสูงถึง 47%
ดัชนีหุ้นเวียดนามขึ้นไปที่สูงสุด (All time high) 1,211 จุด ในวันที่ 10 เมษายนปีนี้...
VinFast บริษัทเวียดนามที่ได้แสดงรถยนต์ต้นแบบในงาน Paris Motor Show 2018
#
VinFast Manufacturing and Trading Company Limited บริษัทสาขาของเครือบริษัท Vingroup เวียดนาม
เปิดตัว สองรถยนต์ต้นแบบใหม่ ในงาน Paris Motor Show ครั้งที่ 120 เมื่อวันที่ 2 ตุลาคม
เป็นครั้งแรกที่รถยนต์จากเวียดนามได้จอดโชว์เรียงรายกับแบรนด์รถยนต์ชั้นนำ อย่าง Mercedes, Porche, Audi, Lamborghini...
Viet Nam Listed Company Awards (VLCA) 2018
Top 5 ผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศ The Best Corporate Governance Awards ได้แก่
Bao Viet Holdings
Hau Giang Pharmacy
FPT
HCM City Secorities Corporation
Vinamilk
Best Annual Report ได้แก่
Asia Commercial Bank(ACB)
Ca Mau Petroleam Fertiliser
Novaland
Thanh...
Vinamilk ขึ้นแท่นแบรนด์ที่ทรงคุณค่าที่สุด 3 ปีซ้อน
ผู้ผลิตนม Vinamilk ขึ้นแท่นแบรนด์ที่ทรงคุณค่าที่สุดในเวียดนามของนิตยสาร Forbes เวียดนาม 3 ปีติดต่อกัน ด้วยมูลค่าแบรนด์โดยประมาณที่ 2.28 พันล้านเหรียญสหรัฐ
มูลค่าแบรนด์ของบริษัทนม Vinamilk คิดเป็นเกือบ 30% ของมูลค่าแบรนด์ของ 40 บริษัทในลิสต์ของนิตยสาร Forbes เพิ่มขึ้น 30% จากมูลค่าแบรนด์ในปีที่แล้ว และ 50% จากปี 2016
การเพิ่มขึ้นของมูลค่าแบรนด์...