โลกในมุมมองของ Value Investor        27 พฤษภาคม 2566 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในช่วงที่กำลังมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่และดัชนีตลาดหุ้นก็ตกลงมาพร้อม ๆ  กันจนดูเหมือนว่าการจัดตั้งและการมีรัฐบาลที่มีนโยบายหรือมีแนวความคิดทางการปกครองและการบริหารงาน  โดยเฉพาะทางเศรษฐกิจ  อาจจะมีผลต่อตลาดหุ้น  นั่นก็คือ  ดัชนีตลาดหุ้นจะขึ้นหรือลง  สิ่งสำคัญอย่างหนึ่งก็คือ  “รัฐบาล”  ว่าที่จริง  ในตลาดหุ้นพัฒนาแล้วอย่างในสหรัฐที่มีการเปลี่ยนแปลงรัฐบาลทุก 4 ปี  ก็มีการศึกษาว่าระหว่างรัฐบาลที่มาจากพรรคเดโมแครทซึ่งเป็นพรรคที่อยู่ทาง “ซ้าย” ที่เป็นเสรีนิยม  กับพรรครีพับลิกัน ที่อยู่ทาง “ขวา” ที่อนุรักษ์นิยมกว่านั้น  ตลาดหรือดัชนีหุ้นฝั่งไหนจะดีกว่า  ซึ่งผลก็ดูเหมือนว่าจะไม่แตกต่างกันนัก  หรือพูดง่าย ๆ  ก็คือ  รัฐบาลจากทั้ง 2 พรรคไม่ได้มีผลต่อตลาดหุ้นนัก  เลือกตั้งประธานาธิบดีไม่ได้มีผลต่อตลาดหุ้นแม้ว่าผู้ชนะจะเปลี่ยนไปจากเดิม  แต่เรามาดูตลาดหุ้นไทยบ้าง  โดยผมจะเลือกเฉพาะนายกรัฐมนตรีที่อยู่เกิน 2 ปีขึ้นไป รัฐบาลแรกก็คือ  รัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ผู้บัญชาการกองทัพบกภายหลังจากการรัฐประหารและความวุ่นวายทางการเมือง (กรณี 6 ตุลาคม 2519) ในปี 2523 หรือหลังจากตลาดหลักทรัพย์ก่อตั้งมา 5 ปีในปี 2518 และการเกิดวิกฤติตลาดหุ้นกรณีราชาเงินทุนในปี 2522 วันแรกที่พลเอกเปรมเป็นนายกนั้น  ดัชนีตลาดหุ้นอยู่ที่ประมาณ 138...
โลกในมุมมองของ Value Investor 20 พฤษภาคม 2566 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วันที่ 19 พฤษภาคม 2566 ดัชนีตลาดหุ้นไทยลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 1,515 จุด เทียบกับดัชนีเมื่อสิ้นเดือนพฤษภาคม ปี 2556 หรือเมื่อ 10 ปีที่แล้วที่ 1,562 จุด ก็แสดงว่า  ดัชนีตลาดหุ้นไทยในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้นไม่ได้ปรับขึ้นเลย  ถือว่าเป็น  “Lost Decade” หรือ “ทศวรรษที่หายไป”  ในวันเดียวกัน  ดัชนีนิกเกอิของตลาดหุ้นญี่ปุ่นปรับตัวขึ้นอย่างโดดเด่นเป็น  30,808 จุด แตะจุดสูงสุดในรอบ 33 ปี  และเมื่อเปรียบเทียบกับดัชนีย้อนหลังไปประมาณ 10 ปี คือในวันที่ 1 กรกฎาคม 2555 หรือ 2012 ที่ 8,870 จุด ดัชนีก็ปรับตัวขึ้นไป 247% คิดเป็นผลตอบแทนทบต้นถึงปีละ12% นับว่าเป็น “ทศวรรษทอง” ของตลาดหุ้นญี่ปุ่น โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึงอัตราดอกเบี้ยเงินฝากของญี่ปุ่นที่อยู่ที่ประมาณ 0-1%...
โลกในมุมมองของ Value Investor          13 พฤษภาคม 2566 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร การลงทุนระยะยาวในแบบของ VI นั้น  คือ “การลงทุนเพื่อชีวิต” ซึ่งผมเองคิดว่า  นี่คือการลงทุนเพื่อเอาไว้ใช้ในวันที่เกษียณไม่สามารถทำงานหาเงินจากน้ำพักน้ำแรงได้แล้ว  หรือไม่ก็ลงทุนเพื่อให้ลูกหลานได้ใช้เป็นเงินมรดกในวันที่เราตายไปแล้ว  แต่จริง ๆ  แล้วสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับผมก็คือ  ลงทุนเพื่อ “ความมั่นคงทางการเงิน” ของตนเองในระหว่างที่ยังมีชีวิต  นั่นก็คือ  เมื่อเราลงทุนจนมีเงินก้อนโตพอสมควรหรือรวยแล้ว  เราก็จะรู้สึกปลอดภัยและมีความมั่นคงในชีวิตว่า  ยังไงเราก็จะไม่ลำบากถ้าเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงในชีวิตของเราหรือครอบครัว  เช่น  การเจ็บไข้ได้ป่วยรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น  เป็นต้น การลงทุนระยะยาวนั้น  ความหมายแรกที่คนจะคิดถึงก็คือ  การลงทุนในหุ้นแต่ละตัวที่จะถือไว้ “ยาวนาน”  แต่คำว่ายาวนานสำหรับบางคนก็อาจจะเป็นแค่ไม่กี่เดือนหรือปีเดียว  ถ้าเป็นแนวคนที่เรียกตัวเองว่า “VI” ผมคิดว่าส่วนใหญ่น่าจะมองเป็นระยะเวลา 1 ปีขึ้นไป  โดยคนที่ถือยาวขึ้นมาหน่อยก็อาจจะถึง 2-3 ปีขึ้นไป  ในขณะที่ VI ที่สูงอายุขึ้นมาก็มักจะถือยาวกว่านั้น  และก็ขึ้นอยู่กับสไตล์ของ VI ด้วย  อย่างตัวผมเอง  ในช่วงซักประมาณ 10-15 ปีแรกของการลงทุนแบบ VI  ผมก็ถือประมาณ 1-3 ปี  แต่หลังจากนั้นที่เปลี่ยนมาลงทุนในหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก”...
โลกในมุมมองของ Value Investor        6 พฤษภาคม 66 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผมคิดว่า  “เส้นทางสู่ความมั่งคั่งในชีวิต” ของผมนั้น  มาโดยความ “บังเอิญ”  เป็นสิ่งที่ “ไม่ได้คาดคิด” มาก่อน  เป็น “โชคดี” ที่เกิดขึ้นจากเหตุการณ์และการกระทำหลาย ๆ  อย่างในชีวิตต่อเนื่องมายาวนาน   ถ้าจะใช้คำภาษาอังกฤษก็คือ  เป็น  “Serendipipity”  ซึ่งแปลอย่างง่าย ๆ  ว่า  “โชคหรือสิ่งดี ๆ  ที่เกิดขึ้นหรือค้นพบโดยไม่ได้คาดฝัน”  คำ ๆ นี้มีที่มาจากเทพนิยายเรื่อง “The Three Princes of Serendip” หรือเจ้าชาย 3 องค์แห่งเซอรันดิป ซึ่งก็คือประเทศศรีลังกาในปัจจุบัน  โดยในเนื้อเรื่องหลักก็คือเจ้าชาย 3 องค์ชอบเดินทางผจญภัยไปเรื่อย ๆ  และมักจะค้นพบสิ่งดี ๆ  ที่ไม่ได้แสวงหาโดยบังเอิญอยู่เสมอ ผมเคยเล่าเรื่องชีวิตของตนเองมาพอสมควรว่าตอนที่เริ่มต้นลงทุนอย่างจริงจังแบบ VI เมื่อประมาณเกือบ 30 ปีก่อนนั้น  ผมไม่ได้คิดว่าตนเองจะรวย  ผมคิดเพียงแต่ว่าจะ  เอาตัวเองให้รอดและรักษาคุณภาพชีวิตของคนในครอบครัวให้ได้แบบเดิมที่เป็นแบบคนชั้นกลางค่อนข้างดีได้อย่างไรเมื่อตนเอง “ตกงาน”...
โลกในมุมมองของ Value Investor      22 เมษายน 66 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ปี 1989 การเมืองและการปกครองของสหภาพโซเวียตรัสเซียกำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงเนื่องมาจากการ “ปฏิรูปการปกครอง” ของประธานาธิบดีโกบาช้อบที่เน้นเรื่องของ “ความโปร่งใสและการเป็นประชาธิปไตย” แทนที่จะเป็นเผด็จการแบบคอมมิวนิสต์เดิม   ในส่วนของประชาชนเองนั้น  ได้มีการจัดคอนเสิร์ตครั้งใหญ่ที่กรุงมอสโควคือ “Moscow Music Peace Festival” หรือ “เทศกาลดนตรีเพื่อสันติภาพแห่งมอสโคว” ซึ่งในงานนั้นวงดนตรีของเยอรมันคือ The Scorpions ได้รับเชิญจากโกบาช้อบให้มาร่วมแสดงด้วยและก็เป็นครั้งแรกที่วงดนตรีจากเยอรมันได้มาแสดงที่รัสเซียหลังสงครามโลกครั้งที่ 2   เพลงที่แสดงในครั้งนั้นเพลงหนึ่งคือ  “Wind of Change” ซึ่งพรรณนาถึงบรรยากาศของมอสโควที่กำลังอบอวนไปด้วยความฝันและเสรีภาพของคนรุ่นใหม่ที่จะได้อยู่ในโลกแห่งความรุ่งโรจน์ในอนาคตที่กำลังมาถึง  มันเหมือนสายลมในค่ำคืนฤดูร้อนที่พัดโบกผ่านอดีตกาลสู่อนาคตที่แสนมหัศจรรย์ที่ซึ่งโลกจะมีสันติภาพและเสรีภาพและคนใกล้ชิดกันดุจพี่น้อง และนี่ก็คือ “สายลมแห่งการเปลี่ยนแปลง” ที่ได้ “พัดผ่านไปสู่เยอรมันตะวันออก” เป็นที่แรกเมื่อกำแพงเบอร์ลินพังทลายลงในอีก 3 เดือนต่อมา  ไม่ต้องพูดถึงการล่มสลายของสหภาพโซเวียตในอีก 2 ปี  พร้อม ๆ  กับการล่มสลายของรัฐเผด็จการในยุโรปตะวันออกเกือบทั้งหมด  และรวมไปถึงระบบ Apartheid ที่ให้อำนาจคนขาวเป็นใหญ่ในอาฟริกาใต้ที่ต้องล้มลงในปี 1994 เพลง Wind of Change กลายเป็น “เพลงชาติ” ของการสิ้นสุดของสงครามเย็นระหว่างโลกเสรีกับโลกสังคมนิยม  บางคนโดยเฉพาะที่เป็นชาวเยอรมันบอกว่า  Wind...
โลกในมุมมองของ Value Investor       15 เม.ย. 66 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในฐานะที่เป็นนักลงทุนแบบ “VI พันธุ์แท้” มานาน  และได้เห็น VI โดยเฉพาะที่เป็นคนรุ่นหลังหน่อยโดยเฉพาะที่มีอายุน้อยลงมาจำนวนมากที่เรียกตัวเองว่าเป็น VI เหมือนกัน  แต่ก็มีหลักการและความคิดแตกต่างจาก VI ดั้งเดิมไปพอสมควร  เฉพาะอย่างยิ่ง  พวกเขาจะเน้นการลงทุนที่ค่อนข้าง “Aggressive” และต้องการ “ทำกำไร” อย่างรวดเร็วแบบ  “นักเก็งกำไร” ที่ผมเรียกว่าเป็น  “Value Speculator” แทนที่จะเป็น  “Value Investor” ที่จริงคำว่า Value Speculator นั้น  ไม่ได้มีในสารบบทางวิชาการ  สิ่งที่ใกล้เคียงที่สุดกับ Value Investor ก็คือ “Growth Investor” ซึ่งจะมีความคล้ายคลึงกับ Value Investor  แนว วอเร็น บัฟเฟตต์  หรือแนว VI ที่เน้นลงทุนใน “ซุปเปอร์สต็อก” อย่างที่ผมเองทำในช่วง  “ปีทอง” หรือ “ทศวรรษทอง” ของการลงทุนแบบ...
โลกในมุมมองของ Value Investor     1 เมษายน 2566  ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร  ปรากฎการณ์  “น่าทึ่ง” ของตลาดหลักทรัพย์เมื่อปลายสัปดาห์ก่อนก็คือ  หุ้น DELTA ซึ่งเป็นผู้ผลิตสินค้าเกี่ยวกับอิเลกทรอนิกส์และระบบสำรองไฟฟ้าที่ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นรวมถึงในการผลิตรถที่ใช้ไฟฟ้าจากแบตเตอรี่ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโต  มีราคาหุ้นปรับตัวขึ้นแรงมาก   โดยวันที่ 29 มีนาคม 2566 ปรับตัวขึ้น 2.86%  วันที่ 30 ราคาวิ่งขึ้นไปถึง 9.35% ซึ่งทำให้ตลาดหลักทรัพย์ต้องถามว่ามีอะไรเกิดขึ้นกับบริษัทซึ่งก็ได้รับคำตอบว่าไม่มีอะไร  และถึงวันที่ 31 ราคาก็ยังปรับตัวขึ้นต่ออีก 3.82%  รวมแล้วภายในเวลา 3 วันทำการ  ราคาหุ้น DELTA ปรับตัวขึ้นไปจาก 978 บาทต่อหุ้นเป็น 1,142 บาท คิดเป็น 16.8%  ทำให้บริษัทมีมูลค่าหุ้นหรือ Market Cap. ถึง 1,424,509 ล้านบาท และกลายเป็นหุ้นที่ใหญ่หรือมีมูลค่าสูงที่สุดในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย  โดยหุ้นที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 2 มีมูลค่าน้อยกว่าประมาณ 30%  ที่จริงหุ้น DELTA เมื่อ 3-4 ปี ก่อนนั้น  ยังเป็นหุ้น “ขนาดกลาง” ที่แทบไม่มีใครสนใจที่จะเข้าไปลงทุนหรือเข้าไปเล่น ...
โลกในมุมมองของ Value Investor     25 มี.ค. 66 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กำหนดการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อที่จะเลือกตั้ง ส.ส. และจัดตั้งรัฐบาลใหม่ภายในเวลาไม่เกิน 2 เดือนนับจากวันนี้นับว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญที่จะกำหนด  “อนาคต”  ของประเทศไทยว่าเราจะไปทางไหน  จะ “ก้าวหน้าหรือถอยลงคลอง” ในระยะยาว ถ้าจะให้เทียบกับสงครามโลกครั้งที่สองก็คือ  การรบหรือการต่อสู้ในครั้งนี้จะเป็นสิ่งที่บอกว่าโลกหรือประเทศไทยจะสามารถยืนอยู่อย่างมั่นคง  มีการปกครองที่ราบรื่นและทุกฝ่ายเคารพยอมรับใน “ระเบียบ” ที่ยุติธรรมมีเสรีภาพและความเท่าเทียมกันในฐานะของความเป็นมนุษย์ไม่ว่าจะเกิดมาในฐานะอย่างไรและเชื้อชาติไหน ในสงครามโลกครั้งที่ 2  ฝ่าย “เผด็จการอำนาจนิยม” นำโดยเยอรมันชนะฝ่าย “เสรีนิยมประชาธิปไตย” ใน “ยกแรก” สามาถยึดยุโรปได้เกือบทั้งหมด  แต่หลังจากนั้นก็เริ่มสะดุดและถดถอยโดยเฉพาะการรบกับสหภาพโซเวียตรัสเซีย  จนถึงวันที่ฝ่ายสัมพันธมิตรนำโดยสหรัฐอเมริกาได้กำหนดวัน  “D-Day” ที่จะ “ยกพลขึ้นบก” ที่ชายหาดนอร์มังดีของฝรั่งเศส  และหลังจากนั้นก็บุกตะลุยจนเข้ายึดกรุงเบอร์ลินสำเร็จ  เยอรมันพ่ายแพ้อย่างยับเยิน  และโลกก็กลับสู่ความเจริญก้าวหน้าและ “สงบสุข” และมีระเบียบโลกที่เป็นที่ “ยอมรับ” อย่างที่เราเห็นในปัจจุบัน การเลือกตั้งในปี 2566 นี้ ซึ่งผมเรียกว่า “E-Day” หรือ “Election Day” จะเป็นวันสำคัญที่จะ “ชี้ชะตาอนาคตของประเทศไทย” หลังจากที่เราเคยเป็นประชาธิปไตยบ้างและอำนาจนิยมบ้างสลับกันไปมาจนกระทั่งถึงเมื่อประมาณ 10 ปีมาแล้วที่เรา “จอด” อยู่ที่การเป็นอำนาจนิยมมายาวนานและก็ยังไม่รู้ว่าจะออกจากวังวนนั้นได้ไหมจนถึงเมื่อเร็ว ๆ ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 18 มีนาคม 2566 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร สัปดาห์ก่อนดูเหมือนว่าคนในแวดวงเศรษฐกิจและการลงทุนต่างก็วุ่นวายสับสนกันทั่วโลกเนื่องจากการล่มสลายของธนาคาร SVB หรือ Silicon Valley Bank ซึ่งเป็นแบงก์ขนาดใหญ่ที่ให้บริการแก่บริษัทสตาร์ทอัพและดิจิทัลในคาลิฟอร์เนีย  และอีกหลายแบงก์ที่เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจนี้  นอกจากนั้น  ก่อนสิ้นสัปดาห์  แบงก์เครดิตสวิสซึ่งเป็นแบงก์ใหญ่  “ระดับโลก” ของสวิตเซอร์แลนด์ก็เริ่มมีปัญหาในเรื่องของทุนที่ไม่เพียงพอเพราะธนาคารมีผลประกอบการขาดทุนหนักและผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็นกองทุนจากประเทศตะวันออกกลางปฎิเสธที่จะเพิ่มทุน  ทำให้ราคาหุ้นที่ตกต่ำอยู่แล้ว  ตกลงไปอีกหลายสิบเปอร์เซ็นต์  เพราะคนกลัวว่าแบงก์อาจจะต้องล้มในที่สุด   อย่างไรก็ตาม  ธนาคารกลางของทั้งสหรัฐและสวิตเซอร์แลนด์ดูเหมือนว่าจะรีบเข้าแทรกแซงและช่วยเหลือทันทีจนทำให้สถานการณ์ไม่ลุกลามรุนแรงต่อเนื่องไปถึงธนาคารอื่นอย่างเป็นระบบ  เฉพาะอย่างยิ่ง  ธนาคารกลางของอเมริกาได้ประกาศค้ำประกันเงินฝากทั้งหมดของ  SVB ซึ่งทำให้เกิดความมั่นใจต่อผู้ฝากเงินทั่วไปว่า  เงินฝากของตนเองในแบงก์และแบงก์อื่นจะไม่หายไป  ไม่จำเป็นต้องไปถอนเงินออกพร้อม ๆ  กันซึ่งจะทำให้เกิด  “Bank Run” ซึ่งธนาคารจะมีเงินไม่พอให้ถอนและต้องล้มละลายทันที  ส่วนของสวิสเอง  แบงก์ชาติก็จัดหาเงินเป็นสภาพคล่องหลายหมื่นล้านเหรียญให้ในกรณีที่มีคนขอถอนเงินจำนวนมาก ถึงวันนี้เอง  ก็ยังไม่สามารถบอกได้ชัดเจนว่าเหตุการณ์แบงก์รันและแบงก์ล้มที่กำลังเกิดขึ้นทั้งในอเมริกาและยุโรปนั้นจบลงไปแล้ว  ยังมีโอกาสเหมือนกันที่แบงก์จะล้มเหลวต่อไปต่อเนื่องเป็นระบบโดยเฉพาะในยุโรปที่แบงก์เครดิตสวิสมีขนาดใหญ่มากและเป็น “แบงก์หลัก” ที่การแก้ปัญหาอาจจะทำได้ยากกว่าและผลกระทบรุนแรงกว่า  ซึ่งถ้ามันส่งผลต่อเนื่องไปยังแบงก์อื่นก็อาจจะทำให้เกิด “วิกฤติ” ทางการเงินขึ้นได้ นั่นทำให้ผมหวนนึกถึงวันที่ผมยังทำงานอยู่ในฐานะผู้บริหารสถาบันการเงินแห่งหนึ่งของไทยในช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งปี 2540 ที่สถาบันการเงินหรือแบงก์ที่รวมถึงบริษัทที่ผมอยู่ด้วย  ประสบปัญหาและเกิด  “Bank Run” อย่างเป็นระบบ  และจบลงด้วยการ  “ล้ม” ของสถาบันการเงินกว่า 50 แห่งแทบจะพร้อมกันทันที  เหลือเพียง 2-3 แห่งที่รอดมาได้อย่างน่าอัศจรรย์ ปัญหาและผลกระทบที่ตามมาของแบงก์หรือสถาบันการเงินที่รับเงินฝากหรือกู้เงินจากคนอื่นเพื่อมาปล่อยต่อหรือลงทุนกินส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยหรือต้นทุนกับผลตอบแทนจากดอกเบี้ยหรือจากการลงทุนในหุ้นหรือตราสารการเงินเช่นพันธบัตรก็คือ ...
โลกในมุมมองของ Value Investor       11 มีนาคม 2566 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วันที่ 11 มีนาคม 2566 ผมได้ไปพูดให้กับนักลงทุนในงานสังสรรค์ประจำปีของสมาคมไทย VI ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 300 คน  โดยหัวข้อที่จะพูดนั้นเป็นการตอบคำถามที่ผู้เข้าร่วมส่งมาล่วงหน้าและรวบรวมตอบโดยพิธีกรบนเวที  คำถามหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจและคนจำนวนไม่น้อยน่าจะอยากรู้ก็คือ  ถ้าผมย้อนอายุลงมาเป็นหนุ่มอีกครั้งหนึ่งในวันนี้  ผมจะใช้กลยุทธ์การลงทุนอย่างไร? ก่อนที่จะตอบคำถามนี้  ผมอยากจะเล่าให้ฟังถึงบรรยากาศและคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาร่วมงานสัมมนาสังสรรค์ประจำปีที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกหลังโควิด-19 สงบ  ซึ่งก็พบว่าคนเข้าร่วมมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ  คนส่วนใหญ่มากเป็นคนที่มีอายุประมาณน่าจะ 30 ปีบวกลบ  ซึ่งเป็นวัยที่ทำงานมาได้ระยะหนึ่งและสนใจเรื่องของการลงทุนมาก  พวกเขาน่าจะมีการศึกษาสูงอย่างน้อยปริญญาตรีและปริญญาโท  มีอาชีพการงานที่มีเงินเดือนดี  และมีจำนวนคนเข้าร่วมเป็นผู้หญิงมากขึ้นมาก  คนสูงอายุระดับ 40-50 ปีขึ้นไปอย่างที่ผมเคยพบในยุคซัก 4-5 ปีก่อนที่ชอบเข้าร่วมฟังการสัมมนาฟรีมีน้อยมาก พูดง่าย ๆ  นี่คือกลุ่มของ  “อีลิท” รุ่นใหม่ที่เอาจริงเอาจังกับการลงทุนและอยากรวยจากตลาดหุ้น  เหมือนกับ “เซียนหุ้น” รุ่นก่อนจำนวนไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จอย่าง “มหัศจรรย์” ซึ่งรวมถึงผมด้วย  และนั่นก็คงเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเขาจึงถามคำถามนี้  เขาอยากรู้ว่าผมที่ประสบความสำเร็จในยุคที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยกำลังรุ่งเรืองจนถึงประมาณอย่างน้อย 10 ปีก่อนจะทำอย่างเดิมหรือใช้กลยุทธ์แบบเดิมไหม?  และเพราะอะไร?  คำตอบของผมก็คือ  ประเทศไทย  เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย  น่าจะผ่านจุดที่รุ่งเรืองมากมาแล้ว  สถานการณ์ขณะนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปโดยที่เหตุผลสำคัญก็คือ  โครงสร้างประชากรไทยที่คนแก่ตัวลงมาก  คนสูงอายุเกษียณจากงานที่มีรายได้สูงมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  เพราะคนกลุ่มนี้มีจำนวนเป็นล้านคนต่อปี...

MOST POPULAR