โลกในมุมมองของ Value Investor 26 พฤศจิกายน 2565
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
การตกลงมาของหุ้นเมตาหรือเฟซบุคในช่วงประมาณ 1 ปี เศษ ๆ ที่ผ่านมานั้น เป็นสิ่งที่เตือนให้นักลงทุนตระหนักว่า มูลค่าของหุ้นนั้น สามารถเปลี่ยนแปลงได้มหาศาลไม่ว่าหุ้นอาจจะดูว่าดีหรือแข็งแกร่งแค่ไหน ราคาของหุ้นเมตาตกลงมาจากจุดสูงสุดเมื่อต้นเดือนสิงหาคมปีที่แล้วที่ประมาณ 380 ดอลลาร์เหลือเพียง 110 เหรียญ หรือตกลงมาประมาณ 70% และนั่นทำให้มาร์คซักเกอร์เบิร์ก ซึ่งเป็นเจ้าของและผู้ก่อตั้งตกอันดับจากคนที่รวยที่สุดอันดับ 5 ของโลกในปีที่แล้วและเหนือกว่าวอเร็นบัฟเฟตต์ที่อยู่อันดับ 6 กลายเป็นอันดับที่ 27 ของโลก ในขณะที่บัฟเฟตต์ก็ยังอยู่ประมาณ Top 5 หรือ 1 ใน 5 อันดับแรกของโลก ตามที่เขาก็อยู่มาหลายสิบปีแล้ว
เมื่อเร็ว ๆ นี้ หุ้น MORE ที่มีราคาซื้อขายประมาณ 2.9 บาทต่อหุ้นได้ตกลงมาเหลือเพียง 58 สตางค์ภายในเวลาไม่กี่วัน หรือลดลงถึง 80% เมื่อเกิดเรื่องการซื้อขายหุ้นที่ “ผิดปกติ” และกำลังถูกตรวจสอบจากทางการว่าอาจจะผิดกฎหมาย ผลก็คือ ความมั่งคั่งของผู้ถือหุ้นใหญ่หลายคนหรือหลายครอบครัวหดหายไป “หลายพันล้านบาท” ในชั่วข้ามคืน
มาซาโยชิซันเป็นคนที่ “รวยที่สุดของญี่ปุ่น”...
โลกในมุมมองของ Value Investor 19 พฤศจิกายน 2565
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เป็นเวลาประมาณหนึ่งเดือนมาแล้วที่ผมเริ่มออกจากบ้านไปบรรยาย ทำงาน และพบปะเพื่อนฝูงและร่วมงานสังคมที่ค่อนข้างจะ “จำเป็น” หลังจากที่ต้องอยู่กับบ้านและออกนอกบ้านเฉพาะที่จำเป็นและ/หรือไปเที่ยวพักผ่อนตามสถานที่ที่สามารถหลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดกับคนอื่นมานานกว่า 2 ปี
สิ่งที่ผมรู้สึกก็คือ “ความมีชีวิตชีวา” ที่กลับคืนมาหลังจากที่หายไปกว่า 2 ปี ที่ไม่ได้สัมผัสกับตัวตนจริงของคนหรือเพื่อนฝูงที่มามีกิจกรรมร่วมกัน ไม่ใช่เจอกันแต่ในภาพหรือไม่ได้เห็นหน้าตากันเวลาผมพูดหรือเวลาเขาพูดและคนอื่นนั่งฟัง เหตุผลที่คนอยากเจอ “ตัวเป็น ๆ” มากกว่าภาพดิจิทัลหรือเจอกันใน “เมตาเวอร์ส” นั้น คงอยู่ใน “ยีน” ของคนหรือสัตว์ทุกชนิด และนี่ก็อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้ “โลกในเมตาเวอร์ส” ที่เฟซบุคพยายามทำนั้นดูเหมือนจะล้มเหลว “ไม่เป็นท่า” และราคาหุ้นตกลงมาถึง 70% ในเวลาแค่ปีเดียว
นับจากวันนี้ไปผมคิดว่าโลกและประเทศไทยจะ “เปิด” มากขึ้นเรื่อย ๆ และคงไม่กลับไปปิด ๆ เปิด ๆ อย่างที่เคยเกิดขึ้นในช่วง 2-3 ปีที่โควิด-19 ระบาดรุนแรงและมีคนเจ็บหนักและล้มตายกันมากอีกต่อไปแล้ว โดยเหตุผลที่สำคัญไม่ใช่เพราะการระบาดของโควิดจบลง แต่เป็นเพราะโควิดคล้าย ๆ กับจะกลายเป็นไข้หวัดธรรมดาที่ไม่ทำให้คนติดเจ็บหนักหรือตายได้ง่าย ๆ และดังนั้น คนก็จะเลิกกลัวและกลับมาใช้ชีวิตปกติที่เคยทำตลอดมานับหมื่นปีจนถึงปัจจุบัน
นั่นก็คือ การติดต่อมีความสัมพันธ์แบบใกล้ชิดแบบ “ตัวเป็น ๆ” ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 12 พฤศจิกายน 2565
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นไทยไม่ได้ปรับตัวขึ้นเป็นเรื่องเป็นราว บางช่วงก็ขึ้นบ้าง แต่แล้วก็มักจะปรับตัวลงกลับไปที่เดิมหรือต่ำกว่า เป็นแบบนี้มาเกือบ 10 ปีแล้ว แต่คนเล่นหุ้นก็ไม่ได้หมดความสนใจ ตลาดหุ้นยังคึกคักพอสมควร เหตุผลส่วนหนึ่งก็คือ มีหุ้นส่วนหนึ่งที่มีการปรับตัวหวือหวาขึ้นสูงมาก บางทีเป็นหลาย ๆ เท่าตัวภายในเวลาไม่นาน—แล้วก็ตกลงมาอย่างรวดเร็วในเวลาอันสั้น และบางตัวก็ราคาสูงลิ่วอยู่อย่างนั้นเป็นเวลาหลายปี อย่างไรก็ตาม หุ้นที่ราคาสูงลิ่วและ “แพงจัด” คือมีค่า PE สูงกว่าหุ้นในอุตสาหกรรมเดียวกันเป็นเท่าตัวหรือมากกว่านั้น หรือบางตัวมีค่า PE “หลุดโลก” คือมีค่า PE สูงเป็น 50-100 เท่า ก็เริ่มทยอยปรับตัวลดลงมาเรื่อย ๆ และเรื่องราวต่าง ๆ ก็เริ่มที่จะจางหายไป
หุ้นทั้งหมดนั้น ผมเรียกว่าเป็น “หุ้นสตอรี่” หรือหุ้นที่มีสตอรี่หรือมีเรื่องราวที่น่าสนใจที่ผู้บริหารหรือนักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็นรายใหญ่สร้างหรือผลิตขึ้น เพื่อที่จะบอกว่า หุ้นตัวนี้จะ “โตระเบิด” และกำไรจะเพิ่มมหาศาลปีละหลายสิบหรือเป็นร้อย ๆ เปอร์เซ็นต์ในอนาคตที่ยาวนานและนักเล่นหุ้นโดยเฉพาะรายย่อยต่างก็เชื่อและเข้าไปซื้อหุ้นจนทำให้ราคาขึ้นไปสูงมาก แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็ดูเหมือนว่าเรื่องราวเหล่านั้นไม่ได้เกิดขึ้น แน่นอนว่าบริษัทอาจจะทำโครงการเหล่านั้น แต่ผลที่ได้รับก็คือ รายได้และกำไรที่คาดว่าจะได้ก็ไม่ปรากฏเป็นเรื่องเป็นราว หุ้นจำนวนมากถูกขายทิ้งและราคาดิ่งลงมาต่อเนื่อง ลองมาดูว่ามีหุ้นกลุ่มไหนบ้าง
หุ้นกลุ่มแรกก็คือ หุ้นการเงินหรือหุ้นไฟแนนซ์ที่ไม่ได้อยู่ในการควบคุมใกล้ชิดจากแบ้งค์ชาติ ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 6 พฤศจิกายน 2565
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
การเป็น “นักลงทุนแบบ VI” ที่มุ่งมั่นและทุ่มเทของผมในวัยตั้งแต่ 44 ปีมาจนถึงวันนี้ ชีวิตและความคิดของผมแทบทุกอย่างไม่ได้เปลี่ยนแปลงไป ผมยังเป็นคนที่มัธยัสถ์ มีความคิดแบบเป็นเหตุเป็นผลไม่เชื่อเรื่องเหนือธรรมชาติ มีความรับผิดชอบและมีวินัยสูง และเป็นคนที่ “ชอบลงทุน” นั่นคือ เสียสละการบริโภคในวันนี้เพื่อสิ่งที่มากกว่าในวันข้างหน้า หรือลำบากวันนี้เพื่อที่จะสบายในวันข้างหน้า แต่สิ่งหนึ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนก็คือ การเปลี่ยนจาก “นักสู้” เป็น “นักเลือก” หรือถ้าจะพูดให้ถูกต้องกว่าก็คือ เป็น “นักเลือก-ก่อนที่จะสู้” และนั่นนำมาสู่ภาคปฏิบัติที่สำคัญมากก็คือ ก่อนที่จะทำอะไร ผมจะ “คิดก่อนทำ” ไม่ใช่ “คิดก่อนว่าจะทำอย่างไร” แต่มักจะเป็น “คิดก่อนว่าจะทำหรือไม่”
เดี๋ยวนี้ผมจะไม่ทำอะไรที่ไม่ได้มีความหมายหรือเป็นประโยชน์อะไรในชีวิตเพียงพอที่จะทำ หรือทำแล้วก็ไม่รู้สึกว่าทำง่ายหรือสนุกที่จะทำ ตัวอย่างง่าย ๆ ก็คือ ให้ไปสอนคอร์สเกี่ยวกับการทำธุรกิจหรือการลงทุนซึ่งจะต้องเตรียมการสอนออกข้อสอบตรวจข้อสอบและให้คะแนนกับนักศึกษาหรือคนที่เข้าอบรมที่ “จำเป็น” ต้องเข้ามาเรียนหรืออยากได้วุฒิ ในกรณีแบบนี้ ในอดีตผมทำมามาก โดยเฉพาะในช่วงที่ยังเป็น “นักสู้” ที่นอกจากทำงานเป็นลูกจ้างประจำในบริษัทเอกชนแล้วก็ยังสอนหนังสือเป็นงานเสริม เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ การจบปริญญาเอกทางการเงินมา ถ้าไม่สอนแล้วจะให้ทำอะไร? แต่เดี๋ยวนี้ผมไม่ทำแล้ว
จริง ๆ แล้ว ช่วงที่เป็น VI ใหม่ ๆ ...
.
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2022 กำไรก่อนหักภาษีรวมของธนาคาร 28 แห่งมีมูลค่าถึง 192,500 ล้านดอง เพิ่มขึ้น 39% จากช่วงเดียวกันในปี 2021
ธนาคารใดบ้างที่มีผลกำไรสูงสุด 10 อันดับแรก?
.
Vietcombank ยังคงเป็น "แชมป์" ของอุตสาหกรรมด้วยกำไรก่อนหักภาษีที่ 24,940 พันล้านดอง เพิ่มขึ้น 29% ในช่วงเวลาเดียวกัน ตัวขับเคลื่อนการเติบโตหลักมาจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (เพิ่มขึ้น 31% yoy สู่ 13,664 พันล้านดอง)
.
ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2022 ธนาคาร 7 แห่งบันทึกกำไรกว่า 10,000 พันล้านดอง ซึ่งได้แก่
Vietcombank (24,940 พันล้านดอง)
Techcombank (20,800 พันล้านดอง)
VPBank (19,837 พันล้านดอง)
MBBank (18,192 พันล้านดอง)
BIDV ( 17,677 พันล้านดอง)
VietinBank (15,764 พันล้านดอง)
ACB (13,503 พันล้านดอง)
.
ใน 10 อันดับแรกของธนาคารที่ทำกำไรได้มากที่สุด นอกเหนือจาก 7 ธนาคารข้างต้นแล้ว...
.
รองประธานสมาคมอาหารแห่งนครโฮจิมินห์ (FFA) Nguyen Dang Hien กล่าวว่าในช่วงแปดเดือนแรกของปี 2565 ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารรของเวียดนามเพิ่มขึ้นเกือบร้อยละเก้า จากช่วงเวลาเดียวกันในปี 2564
ส่วนในนครโฮจิมินห์ ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมของภาคอาหารและเครื่องดื่มเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 และร้อยละ 52.8 ตามลำดับ
ในช่วงระยะเวลาแปดเดือน ยอดขายปลีกของสินค้าอุปโภคบริโภคและบริการอยู่ที่ประมาณ 3,679.2 ล้านล้านดอง เพิ่มขึ้น 19.3% จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
ในขณะเดียวกัน มูลค่าการส่งออกสินค้าเกษตร ป่าไม้ และประมง อยู่ที่ 36,300 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 13.1% จากช่วงเดียวกันของปี 2564 ผลิตภัณฑ์อย่างข้าว ผัก เม็ดมะม่วงหิมพานต์ และกุ้ง มีมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านดอลลาร์
การเติบโตของอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม (F&B) เป็นผลมาจากการฟื้นตัวของอุปสงค์ในประเทศและการเปลี่ยนจากช่องทางการค้าแบบดั้งเดิมไปสู่ช่องทางการค้าสมัยใหม่ที่หล่อหลอมโดยคนหนุ่มสาว
Pham Ngoc Hung รองประธานสมาคมธุรกิจนครโฮจิมินห์ กล่าวว่า องค์กรมากถึง 94.4% มองโลกในแง่ดีเกี่ยวกับการดำเนินธุรกิจในช่วงเดือนที่เหลือของปี 2565 เมื่อเทียบกับช่วงเวลานี้ของปีที่แล้ว และปัญหาที่เกี่ยวข้องโควิด-19 และการขนส่งสินค้า มีได้บรรเทาลงแล้ว
โอกาสและความท้าทาย
คุณภาพของอาหารที่ผลิตในเวียดนามกำลังดีขึ้น แม้ว่าเวียดนามจะมีแหล่งวัตถุดิบอาหารมากมาย แต่ผู้ประกอบการอาหารแปรรูปยังคงต้องนำเข้าส่วนผสมมากถึง 90% โดยมีมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี สิ่งนี้ขัดขวางความได้เปรียบในการแข่งขันของผลิตภัณฑ์อาหารเวียดนามเทียบกับผลิตภัณฑ์ต่างประเทศที่คล้ายคลึงกัน อย่างไรก็ตาม...
โลกในมุมมองของ Value Investor 29 ตุลาคม 65
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ขณะนี้ตลาดหุ้นหลายแห่งโดยเฉพาะตลาดหุ้นสหรัฐ จีนและเวียดนามต้องถือว่า “วิกฤติ”แล้วแม้ว่าจะไม่ได้หนักเหมือนอย่างช่วงซับไพร์มในปี 2008 หรือปี 2000 สำหรับหุ้นไฮเท็คในอเมริกา หรือช่วง “ต้มยำกุ้ง” ในปี 2540 เพราะตลาดหุ้นได้ตกลงมาในระดับ 20 กว่าเปอร์เซ็นต์ ในสหรัฐ 30 กว่าเปอร์เซ็นต์ในเวียดนาม และถึง 40% ในตลาดหุ้นจีน และจริง ๆ ก็ยังไม่รู้ว่าจะหยุดตกหรือยัง อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าถ้าจะลงอีกก็คงไม่มากแล้ว เพราะพื้นฐานทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศไม่ได้เลวร้ายมากเท่าวิกฤติครั้งก่อน ๆ และที่สำคัญ ราคาหุ้นก็ไม่แพงและในบางตลาดเช่นตลาดหุ้นจีนนั้นดูเหมือนว่าจะ “ถูกมาก” ค่า PE ของตลาดน่าจะต่ำกว่า 10 เท่า ดังนั้น นี่จึงอาจจะเป็น “โอกาสทอง” ของการลงทุน
แต่ก่อนที่จะเข้าไปลงทุนจริง ๆ ลองมาดูว่าถ้าตลาดหุ้นฟื้นตัวหลังจากปีนี้ “ผลตอบแทนที่คาดหวัง” ในอีกซัก 3-4 ปีขึ้นไปจะเป็นอย่างไร? อย่างน้อยจะทำให้รู้ว่ามันคุ้มกับ “ความเสี่ยง” ที่จะเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน ซึ่งวิธีการของผมก็คือการศึกษาบทเรียนจากอดีตเฉพาะในตลาดหุ้นไทยในช่วงปี 2000 หรือปี...
❌ ขออภัยทริปเต็มแล้วค่ะ ทริปสัมมนาและ Company visit ที่เวียดนาม
VVI: Tour Learn Earn More in Hanoi, 11-13 ธ.ค. 65
เที่ยวไป - หาหุ้นไป - ในลมหนาว บรรยากาศดี รับปีใหม่ กับเพื่อนนักลงทุน
✨ HIGHLIGHT✨
Update สาระความรู้ ศึกษาธุรกิจ สภาพการแข่งขันหุ้นไปพร้อมกับการท่องเที่ยวเมืองหลวงของเวียดนามเรียนรู้-แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับเพื่อนนักลงทุน คุยกันสดๆ พร้อมใช้ชีวิตร่วมกันในต่างแดนพบบริษัทจดทะเบียนในตลาดหุ้น ถามตรงกับผู้บริหารCompany visit ชมธุรกิจ บริษัทที่น่าสนใจในตลาดหุ้นสถานที่จัดสัมมนา InterContinental Westlake โรงแรมระดับ 5 ดาว บรรยากาศดีมากๆอำนวยความสะดวกสำหรับนักลงทุนที่ต้องการเปิดพอร์ตตรงกับโบรกเกอร์ที่เวียดนามอิสระในการเดินทางและจองที่พัก (ยินดีช่วยจองที่พักสำหรับท่านที่ไม่คุ้นเคยกับเวียดนาม)ทริปนี้สามารถขอใบกำกับภาษีได้พิเศษ Live พูดคุย ทำความรู้จัก พร้อมติวเข้มแนะนำสิ่งที่นักลงทุนต้องดูระหว่างทริป ผ่าน Zoom ก่อนการเดินทาง
✨AGENDA✨
Zoom meeting ติวเข้มก่อนออกทริป
Top pick stocks 2023 l Viet Capital SecuritiesDo & Don't , Checklist ก่อนเดินทาง,...
โลกในมุมมองของ Value Investor 15 ตุลาคม 65
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ในช่วงที่โลกกำลังประสบกับปัญหาสารพัดซึ่งส่งผลให้เศรษฐกิจและตลาดหุ้นโดยเฉพาะของอเมริกาและประเทศสำคัญทั้งหลายถดถอยและลดต่ำลงจนกลายเป็น “วิกฤติ” นั้น ดัชนีตลาดหุ้นเวียดนามซึ่งเคยเป็น “ดารา” และให้ผลตอบแทนสูงแทบจะที่สุดในโลกถึงสิ้นปีที่แล้วก็ตกลงมาแบบ “ถล่มทลาย” เช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในช่วง 2-3 เดือนที่ผ่านมา และถ้านับจากต้นปีถึงช่วง 3-4 วันนี้ ดัชนีได้ตกลงมาจากประมาณ 1,500 จุดเหลือเพียง 1,000 จุด หรือลดลงประมาณ 33% แล้ว ทั้ง ๆ ที่เวียดนามไม่ได้มีปัญหาอะไรใหญ่โต เศรษฐกิจเวียดนามเองไม่ได้ถดถอย ว่าที่จริงเศรษฐกิจเวียดนามกำลังเติบโต “เป็นบ้า” ไตรมาส 3 ของปีนี้ที่เพิ่งประกาศตัวเลขนั้น GDP โตถึง 13.7% รวม 3 ไตรมาสก็โตถึง 8.8% สูงที่สุดตั้งแต่ปี 2011
สิ่งที่ทำให้ตลาดหุ้นเวียดนามตกลงมาเป็นวิกฤตินั้น นอกจากภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นที่มาจากต่างประเทศแล้ว เหตุผลที่อาจจะสำคัญกว่าก็คือ การที่ทางการเวียดนามจับนักลงทุนและผู้บริหารบริษัทจดทะเบียนรวมถึงผู้ควบคุมกฎเช่น ผู้บริหารของ กลต. และตลาดหลักทรัพย์ ที่มีการฉ้อฉลและทำผิดกฏของการออกและซื้อขายหลักทรัพย์โดยเฉพาะอย่างยิ่งพันธบัตรและการปั่นหุ้นในหลาย ๆ กรณีในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา นั่นทำให้นักลงทุนในตลาดหุ้นซึ่ง 90%...
.
การฟื้นตัวของตลาดค้าปลีกหลังโควิด-19 และการเข้ามาของแบรนด์หรูจากต่างประเทศ ส่งผลทำให้ค่าเช่าที่ดินพุ่งสูงขึ้นในฮานอย โดยเฉพาะในย่านใจกลางเมือง
ตามรายงานล่าสุดของ CBRE Vietnam ราคาค่าเช่านั้นเพิ่มขึ้นถึง 39.5% เมื่อเทียบเป็นรายปีในไตรมาสที่สาม
พื้นที่ชั้นล่างของอาคารในย่านใจกลางเมืองมีราคา 144 เหรียญสหรัฐต่อตารางเมตรต่อเดือน เพิ่มขึ้น 9% จากไตรมาสก่อน ส่วนพื้นที่นอกตัวเมือง ค่าเช่าอยู่ที่ 27 ดอลลาร์ เพิ่มขึ้น 6.9% จากไตรมาสก่อน และ เพิ่มขึ้น 14% เมื่อเทียบเป็นรายปี
แบรนด์ค้าปลีกระดับไฮเอนด์ที่กำลังมองหาพื้นที่รอบๆ Hanoi Opera House และโรงแรม Metropole ซึ่งเป็นบริเวณใจกลางเมืองนั้น ต่างพาให้ราคาค่าเช่าบริเวณนั้นพุ่งสูงขึ้น ในขณะที่อัตราค่าเช่าในบริเวณอื่นในย่านใจกลางเมือง Hoan Kiem ยังคงทรงตัว
ในไตรมาสที่สามนี้ แบรนด์หรูระดับนานาชาติเช่น Breitling, Marc Jacobs และ Berluti ต่างตบเท้าเข้ามาเปิดสาขาแรกในเวียดนาม โดยที่ส่วนมากเลือกตั้งร้านค้าในทำเลชั้นนำบนถนน Ly Thai To และ Trang Tien
ส่วนแบรนด์ที่มีอยู่ก่อน เช่น Aeon MaxValu, Annam Gourmet, Mothercare และ Lyn ต่างเปิดร้านใหม่ที่ห้างสรรพสินค้าใหญ่ๆ...