โลกในมุมมองของ Value Investor 2 พฤศจิกายน 67
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
กรณีของดิไอคอนกรุ๊ปที่ถูกกล่าวหาว่ามีความผิดฐานฉ้อโกงประชาชนจำนวนมากโดยการหลอกลวงให้คนเข้ามา “ลงทุน” ทำธุรกิจขายสินค้าแบบเครือข่ายที่จะสามารถทำเงินได้อย่างรวดเร็วจนร่ำรวยโดยมีคติพจน์ว่า “ขยันผิดที่ 10 ปี ก็ไม่รวย” นั้น ผมคิดว่าเป็นคำพูดมาตรฐานที่ถูกใช้ตลอดมาที่จะชักชวนให้คนเข้ามาร่วมทำงานหรือธุรกิจหรือลงทุนในสิ่งที่มักจะทำให้คนที่เป็นเจ้าของธุรกิจหรือคนคุมกิจกรรมรวยมาก คนที่ตามมาก็อาจจะรวยบ้าง แต่คนส่วนใหญ่ที่มาทีหลังสุดจะจน และบางครั้งก็หมดตัว เพราะสิ่งที่ทำนั้นจะมีลักษณะคล้าย “แชร์ลูกโซ่” ที่เอาเงินคนที่มาทีหลังมาจ่ายให้กับคนที่มาก่อน
ในฐานะของคนที่ประสบความสำเร็จในการสร้างความร่ำรวยระดับหนึ่งจากการที่เคยเป็นคนจนในวัยเด็กและคนชั้นกลางในช่วงวัยกลางคน ผมคิดว่าวิธีสร้างความร่ำรวยได้จริง ๆ นั้นมีอยู่ แต่คน ๆ นั้นจะต้องขยัน “ถูกที่” และก็ต้องใช้เวลาซัก 30 ปี ก่อนที่จะรวย
คำว่าขยันถูกที่นั้น ไม่ได้ซับซ้อนอะไรเลย อาจจะเป็นงานประจำที่เราทำอยู่ แต่ต้องเป็นงานที่ให้รายได้ค่อนข้างแน่นอนและดีพอสมควร งานนั้น ซึ่งอาจจะมีหลายอย่างรวมถึงงานพิเศษด้วย สามารถทำรายได้ให้เราเพียงพอในการใช้จ่ายในชีวิตประจำวันและมีเงินเหลือเก็บเฉลี่ยเดือนละ 10,000 บาท ซึ่งเราจะนำมาลงทุนอย่างสม่ำเสมอในตลาดหุ้นที่จะกล่าวต่อไป
ในแต่ละปี เราจะต้องขยันหาเงินเพิ่มขึ้น อาจจะมาจากการทำงานหนักถ้าเราเป็นลูกจ้างบริษัทหรือองค์กรต่าง ๆ ซึ่งจะทำให้เราได้เงินเดือนหรือรายได้เพิ่มขึ้นและทำให้เรามีเงินเหลือเก็บเพิ่มขึ้นปีละ 10% ต่อเนื่องไปทุกปี นั่นคือ ปีที่ 2 เราต้องมีเงินเหลือเก็บและนำไปลงทุนในตลาดหุ้น 11,000 บาท ต่อเดือนโดยเฉลี่ย...
โลกในมุมมองของ Value Investor 12 ตุลาคม 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ข่าวเกี่ยวกับการลงทุนของวอเร็น บัฟเฟตต์ในช่วงอย่างน้อย 2-3 ปีที่ผ่านมานั้น ดูเหมือนว่าไม่ใช่เป็นการซื้อหุ้นลงทุน แต่เป็นการขายหุ้นที่ถือมายาวนานหลายตัว ในจำนวนที่ค่อนข้างมากอย่างมีนัยสำคัญ ล่าสุดก็คือขายหุ้นแบ้งค์อเมริกาบางส่วน ได้เงินมาประมาณ 340,000 ล้านบาท ในส่วนของการซื้อหุ้นลงทุนเองนั้น ดูเหมือนว่าจะน้อยกว่าและตัวเล็กกว่าและก็เริ่มไปลงทุนในต่างประเทศมากขึ้นโดยเฉพาะในตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่หุ้นมีราคาถูกมากมานาน
ผลก็คือ เงินสดของเบิร์กไชร์เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุดนั้นสูงถึงประมาณ 280 พันล้านเหรียญหรือ 9.4 ล้านล้านบาทแล้ว ซึ่งนับว่าเป็นระดับที่ “สูงที่สุดในประวัติศาสตร์” ของบัฟเฟตต์ นั่นก็น่าจะมาจากมุมมองของบัฟเฟตต์ต่อตลาดหุ้นของอเมริกาว่า ตลาดหุ้นกำลังเติบโตร้อนแรงเกินไปตั้งแต่หลายปีที่ผ่านมาหลังวิกฤติโควิด-19 ซึ่งทำให้เขาหาหุ้นที่จะลงทุนยาก เพราะหุ้นเหล่านั้น “แพงเกินไป” นอกจากนั้น หุ้นที่ถืออยู่ก็ “แพงเกินไป” ซึ่งก็ทำให้เขาต้องขายบางตัวออกไป และเก็บเป็นเงินสดที่เขาต้องเอาไปลงทุนซื้อพันธบัตรหรือเงินลงทุนระยะสั้นที่ให้ดอกเบี้ยหรือกำไรต่ำกว่าผลตอบแทนจากตลาดหุ้นมากเป็นเวลาหลายปี
พูดได้เลยว่าบัฟเฟตต์ “ตกรถ” ครั้งใหญ่ที่ไม่ได้ซื้อหุ้นที่วิ่งแรงต่อเนื่องมาหลายปีในตลาดหุ้นสหรัฐ ผมเองไม่รู้ว่าบัฟเฟตต์คิดอย่างไร บางทีเขาอาจจะรู้สึกเฉย ๆ ก็ได้ เพราะคนอย่างบัฟเฟตต์นั้น คิดลึกและรอบคอบเสมอ ไม่ตามใครและแน่นอน ไม่ตามตลาด และไม่แคร์ว่าใครจะบอกว่าเขาพลาดไปแล้วและ “ตกรถ” เพราะเขาอาจจะไม่เข้าใจ “หุ้นในโลกยุคใหม่” ที่เป็นหุ้นดิจิทัลและ “AI” ที่กำลังโตขึ้น...
โลกในมุมมองของ Value Investor 5 ตุลาคม 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
อาจารย์เสน่ห์ ศรีสุวรรณ นักพูดชื่อดังและหนึ่งในพิธีกรรายการ Money Talk เคยเล่าเรื่องโจ๊กในรายการโดยการถามผมในฐานะของ “นักลงทุน” ว่า “อะไรเอ่ย…ราคาไม่เคยแพง?” ผมเองก็ตอบไม่ได้ เพียงแต่คิดว่าอาจจะเป็นสโลแกนของร้านขายปลีกที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือ “วอลมาร์ท” ที่ใช้คำว่า “Low Price, Every Day” หรือ “ราคาถูกทุกวัน” แต่คำตอบที่ถูกต้องก็คือ “เมีย” เพราะเมียนั้น “ถูกเสมอ” หรือทำอะไรก็ไม่เคยผิด
แต่เมื่อมาคิดถึงหุ้น ที่แทบทุกตัวนั้นมีราคาขึ้นลงทุกวัน และนักลงทุน โดยเฉพาะที่เป็น Value Investor ต่างก็พยายามหาหุ้นที่ “ไม่แพง” เพื่อที่ว่าจะได้ขายหุ้นทำกำไรได้งดงามก็มักจะเป็นเรื่องที่หาได้ยาก เพราะหุ้นนั้นมักจะมีความผันผวนขึ้นลงเร็ว บางครั้งก็แพง แต่เมื่อเวลาผ่านไปก็กลายเป็นหุ้นถูก โอกาสที่จะหาหุ้นที่ถูกอยู่เรื่อย ๆ หรือถูกเป็นส่วนใหญ่ก็มักจะหาได้ยาก แต่จากประสบการณ์ของผมที่อยู่ในตลาดหุ้นมานาน ผมพบว่ามีหุ้นอยู่กลุ่มหนึ่งที่มักจะ “ถูกเสมอ” ถูกแบบเรื้อรัง แต่คนที่ซื้อไปก็มักจะไม่สามารถทำกำไรได้สูงกว่าปกติต่อเนื่องยาวนาน หุ้นกลุ่มนั้นก็คือ “หุ้นแบ้งค์”
ในตลาดหุ้นไทย ย้อนหลังไปหลายสิบปีในยามที่ประเทศกำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็ว เศรษฐกิจเติบโตมาก ซึ่งทำให้ดัชนีตลาดหุ้นเติบโตตามกันไป หุ้นแบ้งค์เป็นกลุ่มหุ้นจดทะเบียนที่ใหญ่ที่สุด คิดเป็นมูลค่าตลาดของหุ้นหลายสิบเปอร์เซ็นต์ก็เป็นกลุ่มที่มีผลประกอบการของบริษัทเติบโตเร็วกว่าเศรษฐกิจโดยรวม แต่ราคาหุ้นก็ไม่ได้ปรับตัวขึ้นไปมากมายนัก ซึ่งก็ทำให้ราคาหุ้น...
LITTLE VS BIG DRAGON : FOCUS เน้นๆ หุ้นเวียดนาม-จีน
📅 วันที่: 15 ธันวาคม 2567🕘 เวลา: 9.00-17.00 น.📍 สถานที่: Bangkok Marriott Sukhumvit (BTS ทองหล่อ, Skywalk ถึงหน้าโรงแรม / ที่จอดรถสะดวกสบาย)
❌ ขอปิดรับสมัคร สัมมนาเจาะลึกหุ้นเวียดนาม -จีน : Little Vs Big Dragon 🇻🇳🇨🇳 ❌
ขอบคุณ VVI Membership และเพื่อนนักลงทุนทุกท่าน ที่สมัครกันจนเต็มทุกที่นั่งในสัปดาห์แรก
VVI หวังว่าท่านจะได้ความรู้ ความสนุก และ Networking ก๊วนนลท. หุ้นเวียดนาม- จีน แบบเต็มอิ่มในครั้งนี้แล้วพบกันวันสัมมนาค่ะ 🙏
พบกับสัมมนาสุด Exclusive 1 ปีมี 1 ครั้ง มากกว่าสัมมนาทั่วไป…โฟกัสเน้นๆ: หุ้นรายตัวเวียดนาม-จีน : เจาะลึกหุ้นรายตัวในเวียดนาม-จีน พร้อมเทคนิคการจัดพอร์ต และการบริหารภาษี โดยนักลงทุนชั้นนำ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 28 กันยายน 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ตั้งแต่ต้นปี 2567 ผมได้วาง “Playbook” ของการลงทุนของผมไว้ว่า ผมจะปรับพอร์ตการลงทุนระยะยาวของผมให้ประกอบไปด้วยหุ้นเวียดนามประมาณ 1 ใน 3 ซึ่งจะเป็น “กองหน้า” ที่จะใช้ในการสร้างผลตอบแทนที่ดีที่สุด แต่มีความเสี่ยงที่ยอมรับได้ เพราะผมจะเลือกหุ้นเอง ซึ่งจะเป็นหุ้นแนว “ซุปเปอร์สต็อก” ซึ่งก็คือหุ้นที่จะเติบโตระยะยาวและมีความสามารถในการแข่งขันสูงและยั่งยืน และผมก็เริ่มทำตั้งแต่ต้นปี มีการขายหุ้นตัวเล็ก ๆ ราคาถูกที่ผมถือมายาวนานไปทั้งหมดนับร้อยตัว และใช้เงินที่ได้ซื้อหุ้น “ซุปเปอร์สต็อก” ขนาดใหญ่ไม่เกิน 10 ตัว ซึ่งประมาณ 5 ตัวใหญ่ที่สุดคิดเป็นกว่า 75% ของพอร์ตไปแล้ว
หุ้นกลุ่มที่สองอีกประมาณ 1 ใน 3 จะเป็นหุ้นกลุ่มใหม่ที่ผมไม่เคยมีเลยและเป็นหุ้นที่ผมเรียกว่า “หุ้นโลก” เพราะเป็นหุ้นของบริษัทที่มักจะ “ขายสินค้าไปทั่วโลก” คนทั่วไปมักจะรู้จักและคุ้นเคยกับสินค้า รวมถึงผมเองที่ต้องใช้ บางทีเกือบทุกวัน เช่น ดูหนังของ Netflix ใช้โปรแกรมสารพัดในคอมพิวเตอร์ หรือเห็นคนใช้เครื่องแต่งกายจากแบรนด์หรูระดับโลก เป็นต้น
ผมวางแผนว่าภายในปี 2567 ผมน่าจะสามารถลงทุนเม็ดเงินจนครบในหุ้นโลกได้ โดยกลยุทธ์ที่ใช้นั้น ผมจะซื้อหุ้นหรือกองทุนรวมหรือ ETF...
โลกในมุมมองของ Value Investor 21 กันยายน 67
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
การเปิดจองกองทุนรวมวายุภักษ์สำหรับประชาชนทั่วไปจบลงแล้ว คนที่ไม่ได้จอง แต่สนใจที่จะลงทุนในตลาดหุ้นที่มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีแต่มีความเสี่ยงต่ำ ประมาณว่าได้ปันผลปีละไม่ต่ำกว่า 3% จากเงินลงทุนเริ่มต้นที่ประมาณ 1 ล้านบาทต่อไปเรื่อย ๆ ทุกปีเป็นเวลา 10 ปี และในสิ้นปีที่ 10 เงินต้นก็ยังอยู่ครบคล้าย ๆ กับกองทุนวายุภักษ์
แต่มีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่เป็น “โบนัส” พิเศษเพิ่มเติมอีก 1 ล้านบาท ถ้าเศรษฐกิจของประเทศไทยยังดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ ตามปกติ และตลาดหุ้นไม่ได้เลวร้ายในระดับเดียวกับช่วง 10 ปีที่ผ่านมาที่ดัชนีตลาดหุ้นไทยไม่ไปไหนเลย ผมคิดว่ามีวิธีที่เราจะทำได้โดยการออกแบบพอร์ตโฟลิโอที่เน้นลงทุนในหุ้นกลุ่มที่มีความแข็งแกร่งและมีราคาถูกจำนวนประมาณ 10 ตัว ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้
ข้อแรก ลงทุนในหุ้นที่มีความแข็งแกร่งในอุตสาหกรรม ถ้าอยู่ในอันดับ 1 หรือไม่เกินอันดับ 3 ก็จะดี เหตุผลก็เพราะบริษัทที่เป็นผู้นำมักจะมีความได้เปรียบในการแข่งขัน และในกรณีที่เศรษฐกิจหรืออุตสาหกรรมประสบกับปัญหาใหญ่ พวกเขาก็มักจะอยู่รอดได้ และมักจะฟื้นตัวกลับมาได้ดีเมื่อเหตุการณ์เลวร้ายผ่านไปแล้ว ถ้าเราลงทุนระยะยาว เราก็จะปลอดภัย
ข้อสอง ผู้บริหารจะต้องซื่อสัตย์ไว้ใจได้ ข้อนี้อาจจะดูยาก เพราะบ่อยครั้งผู้บริหารบางคนนั้นดูจากภายนอกก็ดูไว้ใจได้ แต่สุดท้ายก็อาจจะ “ดีแตก” ทำเรื่องทุจริต หลอกลวงจนบริษัทพังก็มี ทางหนึ่งที่พอจะทำให้ไว้ใจได้บ้างก็คือการที่บริษัทและผู้บริหารทำงานมานานหลาย...
โลกในมุมมองของ Value Investor 14 กันยายน 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หุ้นที่ “Value Investor” เล่นหรือลงทุนนั้น มีหลายแบบและก็มักจะเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ตามสถานการณ์ของเศรษฐกิจและหุ้นในขณะนั้น เพราะ VI โดยเฉพาะของไทยนั้น มีหลายแบบมาก ถ้าจะว่าไป เวลานี้นักลงทุนที่ประสบความสำเร็จและมีพอร์ตขนาดใหญ่แทบทุกคนก็เป็นหรือเรียกตัวเองว่าเป็น “VI” แทบทั้งนั้น และพวกเขาต่างก็ยกคำจำกัดความของคำว่า VI ว่าคือการซื้อหุ้นในราคาที่ถูกหรือต่ำกว่า “มูลค่าที่แท้จริง” และขายเมื่อราคาสูงเกินไปแล้ว
และนั่นก็คือสิ่งที่พวกเขาทำ นั่นก็คือ ประเมิน “มูลค่าที่แท้จริง” ของหุ้น ซึ่งแน่นอนว่าแต่ละคนก็จะมีมุมมองต่อบริษัทหรือกิจการแตกต่างกันมาก บางคนคาดการณ์หรือเชื่อว่ากำไรของบริษัทจะ “โตแบบก้าวกระโดด” เพราะบริษัทหรือธุรกิจของบริษัทกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี มี “S-Curve” หรือเส้นทางการเติบโตอย่างรวดเร็วใหม่ที่จะทำให้กลายเป็น “Global Brand” หรือเป็น “ยี่ห้อระดับโลก” เป็นต้น ดังนั้น มูลค่าของบริษัทก็ควรจะต้องสูงมาก ราคาหุ้นที่สูงจนทำให้ค่า PE สูงในระดับ 30-40 เท่าก็ไม่แพง ซื้อไว้แล้วเดี๋ยวราคาจะวิ่งขึ้นไปเองเมื่อกำไรในไตรมาศหน้าเพิ่มขึ้นและเพิ่มขึ้นไปเรื่อย ๆ ในอนาคต
และนั่นก็คือแนวคิดหรือแนวทางของ “VI รุ่นใหม่” หลาย ๆ คนที่คิดว่า ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 7 กันยายน 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
วันที่ 7 สิงหาคม 2567 ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตกลงมาต่ำมากที่ 1,291 จุด และเป็นการตกลงมาจากต้นปีถึง 8.8% ซึ่งก็ถือได้ว่าเป็นตลาดหุ้นที่ “แย่ที่สุดในโลก” ในขณะนั้น แต่หลังจากนั้น ดัชนีตลาดก็เริ่มฟื้นตัวขึ้นเรื่อย ๆ จนถึงวันที่ 4 กันยายน ดัชนีอยู่ที่ 1,365 จุด วันที่ 5 กันยายน ดัชนีปรับตัวขึ้นไปถึง 39 จุด และวันที่ 6 กันยายน ปรับตัวขึ้นต่ออีก 23 จุด เป็น 1,428 จุด ทำให้ตั้งแต่ต้นปี ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ไทยปรับตัวขึ้นเป็นบวกแล้วประมาณเกือบ 1% และเพียง 1 เดือนที่ผ่านมา ดัชนีปรับตัวขึ้นมาถึง 11% กลายเป็นตลาดหุ้นที่แสดงผลงานได้ “ดีที่สุดในโลก” ในช่วง 1 เดือนผ่านมา เพราะตลาดหุ้นโลก “ปรับตัวลงกันทั่วหน้า”
เหตุผลที่ชัดเจนก็คือ ประเทศไทยกำลังได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่แทนที่คนเดิมที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญตัดสินให้พ้นจากตำแหน่ง ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 31 สิงหาคม 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เริ่มตั้งแต่ช่วงทศวรรษที่ 1960 และต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ทฤษฎีทางจิตวิทยาเกี่ยวกับเรื่อง “การอดทนต่อสิ่งล่อใจ เพื่อสิ่งที่ดีกว่าในอนาคต” หรือในภาษาอังกฤษคือ “Delayed gratification” ซึ่งนำเสนอโดย ศาสตราจารย์ Walter Mischel และผ่านการทดลองที่มีชื่อเสียงติดอันดับสูงสุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์ของการทดลองทางด้านจิตวิทยาที่เรียกว่า “The Marshmallow Test” เป็นทฤษฎีที่นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น VI ควรที่จะรู้ไว้ เพราะทฤษฎีนี้ อาจจะมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จและความมั่งคั่งเท่า ๆ กับทฤษฎีการลงทุนและการเลือกหุ้นโดยตรง
การทดลองทำโดยใช้แมชแมลโลว์มา “ล่อ” เด็กอายุประมาณ 4 ขวบ ซึ่งเรียนอยู่ที่โรงเรียนอนุบาลของมหาวิทยาลัยแสตนฟอร์ด โดยเสนอว่าถ้ากินเลย จะได้กินเพียง 1 ชิ้น แต่ถ้ารอ “ซักครู่” เช่นประมาณ 15 นาที ก็จะได้กิน 2 ชิ้น นี่เป็นการทดลองเพื่อดู “ความอดทน” ในจิตใจของเด็กซึ่งทุกคนนั้นอยากกินแมชแมลโลว์เป็นชีวิตจิตใจอยู่แล้ว
ผลก็คือ เด็กส่วนใหญ่นั้น “ทนไม่ไหว” บางคนเพียง 2-3 นาทีก็กินแล้ว มีบางคนก็รอได้ถึง 5 หรือ 10 นาที ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 24 สิงหาคม 2567
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เมื่อปลายปี 2566 ผมได้จัดตั้งบริษัทเพื่อการลงทุนซื้อ-ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ชื่อ “บริษัทตีแตกจำกัด” เหตุผลก็เพื่อที่จะปรับโครงสร้างการถือหุ้นต่างประเทศจากการถือโดยบุคคลธรรมดามาเป็นการถือโดยนิติบุคคลที่ผมคิดว่าจะมีความเหมาะสมกว่าในกรณีการลงทุนซื้อ-ขายหุ้นในตลาดหุ้นต่างประเทศ เวลาผ่านมาประมาณ 8 เดือนแล้ว ผมคิดว่าควรที่จะเล่าเรื่องของบริษัทตีแตกที่จะให้ข้อคิดและแนวทางการลงทุนของผมอีกมุมหนึ่งอย่างที่ผมทำตลอดมา
ตีแตกเป็นบริษัทลงทุนในหุ้นของบริษัทอื่นที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นเป็นหลัก จะเรียกว่าเป็นบริษัท “Holding Company” ก็น่าจะได้ เพราะแนวทางการลงทุนของบริษัทนั้นจะเป็นการ “ถือระยะยาว” และโดยส่วนตัวก็มีความคิดว่าบริษัทเป็น “เจ้าของ” บริษัทที่ถืออยู่ ถ้าจะพูดไป ก็คล้าย ๆ กับบริษัทเบิร์กไชร์ของวอเร็น บัฟเฟตต์ ที่ถือหุ้นจำนวนมากในบริษัทยักษ์ใหญ่อื่น ๆ หลายบริษัทจนกลายเป็น “เจ้าของ” จริง ๆ แต่ในกรณีของตีแตกนั้น จะเป็นการถือหุ้นจำนวนน้อยมากที่ไม่มีอิทธิพลอะไรกับบริษัทเลย
การลงทุนของตีแตกจะเป็นการซื้อ-ขายหุ้นและตราสารการเงินที่จดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศทั่วโลก แต่ในช่วงแรกก็จะเน้นเฉพาะในตลาดหุ้นเวียดนามเป็นหลัก บริษัทจะไม่ลงทุนในกิจการแบบเวนเจอร์แค็บปิตัลหรือในบริษัทเอกชนนอกตลาดหุ้นที่ยังไม่พร้อมที่จะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์อย่างแน่นอนในระยะเวลาอันสั้น
พอร์ตการลงทุนของตีแตกจะเป็นการลงทุนแบบ “Focus” คือเน้นการลงทุนหุ้นหรือตราสารการเงินไม่มากตัว แต่ละตัวจะลงทุนมากอย่างมีนัยสำคัญ พอร์ตโดยรวมในช่วงแรกจะมีหุ้นหลัก ๆ ประมาณไม่เกิน 10 ตัว ที่จะมี Market Cap. หรือมูลค่าหุ้นรวมกันอย่างน้อย 75% ของมูลค่าพอร์ตทั้งหมด โดยที่หุ้นตัวใหญ่ที่สุดจะมีมูลค่าไม่เกิน 50%...