ขอขอบคุณผู้ร่วมสัมมนาปรับทัพลงทุนหุ้น เวียดนาม อเมริกา จีน ทุกท่าน ขอบคุณ อ.ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร (บิดาการลงทุนแบบเน้นคุณค่า ผู้จุดประกายการลงทุนหุ้นเวียดนาม)คุณหลิน ( วีระพงษ์ ธัม นายกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า (ThaiVI)คุณ Petri Deryng (Founder of PYN Fund Management Ltd and portfolio manager of PYN Elite Fund)คุณโต (กิตติศักดิ์ โควินท์ทวีวัฒน์ เจ้าของเพจ Billionaire VI)คุณบอล (ภาคย์ภูมิ ศิริหงษ์ทอง นักลงทุน VI, กรรมการสมาคม ThaiVI, เจ้าของเพจคนสร้างเวลา)คุณณัฐ (ณัฐกิติ สุนทรบุระ นักลงทุน VI)คุณนิด (ชัยพร น้อมพิทักษ์เจริญ รองกรรมการผู้จัดการ สายงานค้าหลักทรัพย์ บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง)คุณเอิร์ธ (รัฐศรัณย์ ธนไพศาลกิจ ผู้อำนวยการ ฝ่าย Global Investing บมจ.หลักทรัพย์ บัวหลวง)คุณเผ่า...
โลกในมุมมองของ Value Investor 28 พฤศจิกายน 63 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ถึงวันนี้ที่ดูเหมือนว่าโลกกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วในขณะที่ประเทศไทยกำลัง  “ถดถอย” ในหลาย ๆ  ด้านรวมถึงการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอานิสงค์จากการที่สังคมไทยกำลังแก่ตัวลงอย่างรวดเร็วและการพัฒนาทางด้านศักยภาพของคนก็ยังไม่ก้าวหน้าขึ้นเห็นได้จากความสามารถในวิชาความรู้ต่าง ๆ  เช่น  การใช้ภาษาอังกฤษหรือความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ที่ตกต่ำลงเมื่อเทียบกับประเทศอื่น ๆ    นี่ทำให้ผมคิดถึงการลงทุนระยะยาวในตลาดหุ้นไทยต่อจากนี้ไปอีกเป็นสิบ ๆ ปีข้างหน้าว่าเราอาจจะต้องเปลี่ยนแปลงไปจากที่เคยทำมาในอดีต  เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ  เราอาจจะไม่สามารถลงทุนเฉพาะแต่ในประเทศไทยเพียงแห่งเดียวได้  การแสวงหาโอกาสการลงทุนในต่างประเทศจะเป็นสิ่งที่นักลงทุนโดยเฉพาะคนหนุ่มสาวไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ถ้าหวังที่จะได้รับผลตอบแทนที่เหมาะสม คนที่ต้องการลงทุน  “เพื่อชีวิต” ซึ่งหมายความว่าเขาจะต้องลงทุนตลอดเวลาในช่วงที่เขาทำงานหาเงินและเก็บออมเพื่อที่จะสร้างพอร์ตการลงทุนที่จะเติบโตไปเรื่อย ๆ  จนถึงวันเกษียณและมีเงินเพียงพอที่จะใช้ชีวิตต่อไปได้อย่างสุขสบายจนตายนั้น  จะต้องคิดถึงผลตอบแทนการลงทุนที่ดีกว่าการลงทุนอื่น ๆ ในระยะยาวและต้องได้ผลตอบแทนเฉลี่ยอย่างน้อยน่าจะซัก 7% ต่อปีแบบทบต้นขึ้นไป  ซึ่งก็แน่นอนว่าพอร์ตการลงทุนส่วนใหญ่ก็จะต้องเป็นการลงทุนในหุ้นเป็นส่วนใหญ่เท่านั้น  เพราะ “ประวัติศาสตร์ระยะยาว” บอกว่า  ในตลาดหุ้นของประเทศที่มีการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจที่ดีมากนั้น  จะให้ผลตอบแทนแบบทบต้นสูงกว่า 7% ต่อปีได้  บางประเทศที่โดดเด่นจริง ๆ  ซึ่งรวมถึงประเทศไทยในอดีตนั้น  ให้ผลตอบแทนถึงเกือบ 10% ต่อปีเป็นเวลาหลายสิบปีด้วยซ้ำ หน้าที่ของคนหนุ่มสาวที่อาจจะเพิ่งเริ่มลงทุนมาไม่นานก็คือการวิเคราะห์และเลือกหาตลาดหุ้นและหุ้นที่จะให้ผลตอบแทนที่ดีในอีกอย่างน้อย 10 หรือหลายสิบปีข้างหน้า  ลงทุนถือหุ้นระยะยาวไปเรื่อย ๆ  ซึ่งนี่ก็ไม่ใช่วิธีการที่ผมและนักลงทุน VI จำนวนมากเคยใช้ในตลาดหุ้นไทยเมื่อประมาณ 20 ปีก่อนและประสบความสำเร็จอย่างสูงจนมีอิสรภาพทางการเงินหรือรวยตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 50-60 ปีในวันนี้  นักลงทุนรุ่นใหม่จะต้องตระหนักว่า  ถ้าประเทศไทยโตช้าหรืออิ่มตัวแล้วเนื่องจากคนแก่ตัวลงและไม่สามารถเพิ่มผลิตภาพได้  ตลาดหุ้นก็จะไม่สามารถให้ผลตอบแทนที่ดีได้เช่นกัน  ตัวอย่างที่เห็นชัดก็คือที่ญี่ปุ่นที่ตลาดหุ้นไม่ได้ให้ผลตอบแทนในระยะยาวเป็นเวลาหลายสิบปีมาแล้ว ในความคิดของผม ...
โลกในมุมมองของ Value Investor    21 พฤศจิกายน 63 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร             แนวความคิดเรื่อง Value Investing หรือการลงทุนแบบเน้นคุณค่าในประเทศไทยนั้น  เกิดขึ้นมาหลังปี 2540 ซึ่งเป็นปีที่เกิดวิกฤติ  “ต้มยำกุ้ง”  ถึงวันนี้ก็เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว  ในช่วงแรก ๆ  นั้น  หุ้นที่ “เข้าข่าย” เป็นหุ้น “Value” ซึ่งก็คือหุ้นที่มี “มูลค่าพื้นฐาน” สูงกว่าราคาหุ้นอย่างมีนัยสำคัญ  มี  “เต็มตลาด”  หรือพูดให้ชัดก็คือ   ราคาหุ้นในตลาดเกือบทุกตัวตกลงมามากจนต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน  ดังนั้น  เกือบทุกคนที่เข้าไปลงทุนในช่วงนั้นก็คือ  “Value Investor”  และถ้าเขาถือหุ้นเป็นพอร์ตโฟลิโอและถือยาวพอ  โอกาสที่จะทำกำไรก็สูงมาก             แต่คนที่เรียกตัวเองว่าเป็น Value Investor หรือ “VI” ในช่วงนั้น  ไม่ได้กวาดซื้อหุ้น VI ทุกตัว  พวกเขาเน้นลงทุนแบบ Focus หรือถือหุ้นน้อยตัวในสไตล์ของวอเร็น บัฟเฟตต์  และหุ้นที่เลือกก็เป็นหุ้นของบริษัทที่ดีหรือดีเยี่ยม  ในแง่ที่ว่ามันมีความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจในเชิงของการตลาดสูง  มีความแข็งแกร่งทางด้านการเงินที่ดี  และมีศักยภาพที่จะ “เติบโตอย่างรวดเร็ว” ในอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตอานิสงค์จากการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างรวดเร็วของประเทศไทย             เวลาผ่านไปเกือบ 20...
โลกในมุมมองของ Value Investor   14 พฤศจิกายน 63 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร             นักลงทุนหรือคนเล่นหุ้นในตลาดหุ้นไทยส่วนใหญ่แล้วก็เป็นคนที่ลงทุนระยะสั้น  และวิธีที่ใช้ก็คือการ “เล่นหุ้นตามสถานการณ์” นั่นก็คือ  การซื้อ-ขายหุ้นโดยอิงกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ  สังคมและการเมืองที่เกิดขึ้น  ซึ่งเหตุการณ์เหล่านั้นก็มักจะมีผลกระทบต่อหุ้นแต่ละตัวที่แตกต่างกันมากบ้างน้อยบ้างและอาจจะกระทบในด้านที่ดีเป็นคุณหรือบางทีก็กระทบในด้านที่เสียเป็นโทษ  พวกเขาจะวิเคราะห์เหตุการณ์ต่าง ๆ  และลงมือปฏิบัติหรือซื้ออย่างรวดเร็วเมื่อคิดว่าสถานการณ์เอื้ออำนวยต่อหุ้นกลุ่มใดหรือตัวใดตัวหนึ่ง  และก็จะรีบขายทันทีเมื่อคิดว่าหุ้นกลุ่มใดหรือตัวใดจะถูกกระทบหนัก  ประเด็นในเรื่องของ “พื้นฐาน” และราคาหุ้นของบริษัทเป็นตัวรอง  เพราะเขาคิดว่ายังไงหุ้นก็ขึ้นถ้ามี “ข่าวดี”  และหุ้นก็จะต้องตกเมื่อมี “ข่าวร้าย” เพราะฉะนั้นจึงต้องซื้อหรือขายก่อน  ไม่มีประโยชน์อะไรที่จะวิเคราะห์พื้นฐานให้เสียเวลาและทำให้ขาดทุนหรือพลาดโอกาสในการทำกำไรอย่างรวดเร็ว             การระบาดของไวรัสโคโรนาในวิกฤติโควิด-19 นั้น  เป็นสถานการณ์ที่แปลกประหลาดในแง่ที่ว่ามันทำให้เกิดวิกฤติทางเศรษฐกิจซึ่งทำให้บริษัทจดทะเบียนจำนวนมากที่เป็น “ธุรกิจเก่า” สูญเสียธุรกิจไปมากอย่างไม่เคยเจอมาก่อน  ธุรกิจการท่องเที่ยวเดินทางและบันเทิงที่มีการชุมนุมคนจำนวนมากแทบจะต้องหยุดอย่างสิ้นเชิงในช่วงแรกและถึงวันนี้ก็ยังไม่ฟื้น  อย่างไรก็ตาม  โควิดกลับเป็นผลดีต่อธุรกิจใหม่โดยเฉพาะดิจิตอลที่เติบโตขึ้นอย่างมหาศาลในเวลาอันสั้น  ผลที่มีต่อตลาดหุ้นก็คือ  ในช่วงแรกของวิกฤตินั้น  ดัชนีตลาดหุ้นตกลงมาต่ำมากถึง 30-40%  แต่ภายในระยะเวลาอันสั้น  ดัชนีตลาดหุ้นของประเทศที่มีการพัฒนาทางเทคโนโลยีสูงก็ปรับตัวขึ้นและสูงกว่าช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ด้วยซ้ำ  อานิสงค์จากการที่หุ้นดิจิตอลและหุ้นไฮเท็คปรับตัวขึ้นมาสูงมากเป็นประวัติการณ์  กลายเป็นว่าวิกฤติโควิด-19 ทำให้เศรษฐกิจพังแต่ตลาดหุ้นกลับดีขึ้น             ในตลาดหุ้นไทยเองนั้น  แม้ว่าเราจะไม่มีหุ้นดิจิตอลหรือเทคโนโลยีที่มีขนาดใหญ่หรือมีนัยสำคัญ  แต่ก็มีหุ้นที่ได้ประโยชน์จากเหตุการณ์โควิดอยู่บ้าง  เช่นเดียวกับหุ้นบางกลุ่มหรือบางตัวที่ไม่ได้ถูกกระทบจากเหตุการณ์โควิดนัก  หุ้นเหล่านี้ก็เช่น  หุ้นที่เกี่ยวข้องกับถุงมือยางที่มีความต้องการใช้มากขึ้นทั่วโลกเพื่อป้องกันบุคลากรทางการแพทย์จากการติดเชื้อโควิด  บริษัทประกันภัยที่ได้รับเบี้ยประกันเพิ่มจากคนที่ประกันโควิด  บริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนอิเลคโทรนิกส์ส่งออกที่ได้รับคำสั่งซื้อมากขึ้นเพราะสินค้าไฮเท็คมีความต้องการมากขึ้น  เป็นต้น  ดังนั้น  หุ้นเหล่านั้นก็กลายเป็นหุ้นที่นักเล่นหุ้นที่เน้นการเก็งกำไรระยะสั้นเข้ามาซื้อและดันให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นไปสูงมากคล้าย ๆ  กับหุ้นไฮเท็คของต่างประเทศ  อย่างไรก็ตาม ...
กระจายตลาด
Survivor โลกในมุมมองของ Value Investor   7 พฤศจิกายน 63 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร Survivor ​คนที่เป็น VI นั้น  ผมคิดว่าน่าจะต้องมีคุณสมบัติที่สำคัญมากที่สุดอย่างหนึ่งนั่นก็คือ  เขาเป็น  “Survivor” หรือคนที่สามารถ “เอาตัวรอด” ได้ใน  “สถานการณ์ที่ยากลำบาก”  อย่างเช่นในเรื่องของการลงทุนในปัจจุบันนั้น  ถ้าใครที่พอร์ตลงทุนโดยรวมขาดทุนหรือเสียหายไม่เกิน 20-25% และไม่ได้ทำให้ “ชีวิต” เปลี่ยนแปลงไปมาก  ก็ต้องถือว่ายังเป็น Survivor  เหตุผลก็เพราะเศรษฐกิจไทยตกอยู่ในช่วงภาวะ “วิกฤติ”ตลาดหุ้นเองก็เคยตกลงมาหนักกว่า 30% ในช่วงแรก  และแม้แต่ในช่วงล่าสุดก็ยังตกลงมากว่า 20% จากต้นปี  อย่างไรก็ตาม  นี่ก็ไม่ได้เป็นเครื่องรับประกันว่าเขาจะยังอยู่รอดได้ไปถึงสิ้นปีหรือในอนาคตข้างหน้าสำหรับวิกฤติรอบนี้  เหตุผลก็เพราะ  วิกฤติรอบนี้ก็ยังไม่จบ  ดัชนีตลาดหุ้นไทยเองก็ยังไม่ได้ฟื้นตัวและกลับทิศไปแน่นอนแล้วอย่างที่อาจจะเกิดขึ้นในตลาดหุ้นที่ก้าวหน้ากว่าอย่างสหรัฐหรือจีนหรือตลาดหุ้นที่ด้อยกว่าอย่างตลาดหุ้นเวียตนาม ​ในความคิดของผม  คำว่า Survivor ในเรื่องของการลงทุนนั้น  เป็นเรื่อง “ระยะยาว” ที่คน ๆ หนึ่งวางแผนการลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่งหรือความมั่นคงทางการเงินแทบจะ  “ตลอดชีวิต”  โดยที่แผนของเขานั้นจะต้องประกอบไปด้วยกลยุทธ์หรือแนวทางหลัก ๆ  3 ประการอย่างที่ผมพูดเปรียบเปรยเสมอมาว่าเหมือนกับ  “แก้ว 3 ประการ” หรือ“ตะเกียง 3 ดวง” ที่ประกอบไปด้วยแก้วดวงแรกคือ  การหาเงินมาลงทุนซึ่งก็มักจะมาจากการทำงานและเก็บออมมาลงทุน  แก้วดวงที่ 2 ก็คือ  การลงทุนอย่างถูกต้องและชาญฉลาดที่จะสร้างผลตอบแทนทบต้นที่สูงต่อเนื่องยาวนาน  และแก้วดวงสุดท้ายก็คือ  การลงทุนด้วยระยะเวลาที่ยาวนานที่สุด  ทั้งสามเรื่องนั้น  ถ้าทำได้ดี  คือแก้วทุกดวงต่างก็สุกสว่าง คือมีเงินมาลงทุนเพิ่มมากขึ้น  ได้รับผลตอบแทนการลงทุนสูง  และลงทุนต่อเนื่องยาวนานไปเรื่อย ๆ  เราก็มักจะมีความมั่งคั่งหรืออย่างน้อยมีความมั่นคงในชีวิตทางการเงิน  แต่ถ้าหากว่าแก้วทุกดวงต่างก็ “ริบหรี่” อนาคตทางการเงินก็ไม่สดใส ​ในช่วงเวลาที่ยาวนานระหว่าง  “การเดินทาง” หรือการสร้างและสะสมความมั่งคั่งนั้น  ทุกคนต่างก็จะต้องประสบกับอุปสรรคที่เกิดขึ้น เช่นเดียวกับความสำเร็จที่ตามมาจากความพยายามและความตั้งใจของเรา  พูดง่าย ๆ  ก็คือ  พอร์ตลงทุนของเราก็จะมีขึ้นมีลง  และถ้าเราลงทุนด้วยหลักและวิธีการที่ดีมากกว่าที่แย่  มันก็มักจะค่อย ๆ  เติบโตขึ้นเรื่อย...
โลกในมุมมองของ Value Investor        31 ตุลาคม 63 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร             ในช่วงเร็ว ๆ นี้แทบทุกคนในตลาดหุ้นต่างก็พูดกันว่าเราควรเลือกลงทุนในหุ้นขนาดกลางและเล็กและหลีกเลี่ยงหุ้นตัวใหญ่ที่มักจะถือโดยนักลงทุนต่างประเทศ  พวกเขามักจะพูดว่าหุ้นตัวเล็กและกลางนั้นจะเติบโตเร็วและดังนั้นมันจึงน่าลงทุน  คนที่ฟังก็มักจะ “เชื่อ”  เพราะหุ้นที่ยังวิ่งดีในภาวะที่เศรษฐกิจยังย่ำแย่และอนาคตที่จะฟื้นตัวและกลับมาโตยังไม่ชัดเจนก็มักจะเป็นหุ้นตัวเล็กและกลางที่มี Free Float ต่ำและมีการเก็งกำไรกันสูงมากโดยอาศัยสตอรี่ที่ว่าผลประกอบการยังดีหรือตกลงมาน้อย  โดยที่หุ้นเหล่านั้น  แทบทั้งหมดก็มักจะมีราคา “แพงเวอร์” หลาย ๆ  ตัวมีราคาสูงกว่าก่อนวิกฤติโควิด-19 ไปมากแล้ว             ส่วนหุ้นตัวใหญ่ที่มีนักลงทุนต่างประเทศและสถาบันถือในปริมาณที่สูงนั้น  คนที่พูดให้หลีกเลี่ยงผมเชื่อว่าเป็นเพราะหุ้นเหล่านั้นต่างก็ตกลงมาอย่างต่อเนื่องอานิสงค์จากการขายหุ้นสุทธิของนักลงทุนต่างประเทศอย่างต่อเนื่องคิดเป็นแสน ๆ ล้านบาทในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา  แทบจะไม่มีหุ้นตัวไหนที่วิ่งขึ้นมาได้เลย  หลายกลุ่ม  โดยเฉพาะธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่นั้น  หุ้นตกลงมาต่ำยิ่งกว่าช่วงเกิดโควิด-19 ใหม่ ๆ ที่ดัชนีตลาดตกลงมาถึงจุดต่ำสุดที่ 1,000 จุดเศษ ๆ ไปแล้ว  การตกลงมาอย่างต่อเนื่องน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้นักวิเคราะห์และ “ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน” แนะนำให้  “หลีกเลี่ยง”  เพราะพวกเขามักจะเน้นการลงทุน “ระยะสั้น” ที่หุ้นจะขึ้นหรือลงมักจะขึ้นอยู่กับปัจจัยภายนอกหรือภาวะของอุตสาหกรรมหรือของตัวหุ้นเอง  แต่ไม่ค่อยจะเกี่ยวกับ “ปัจจัยพื้นฐานระยะยาว” ของบริษัท  หรือพูดง่าย ๆ  ก็คือ   คนในตลาดหุ้นส่วนใหญ่นั้น  แนะนำหรือเชื่อว่าหุ้นที่วิ่งขึ้นคือหุ้นที่ดีและน่าซื้อลงทุน  ส่วนหุ้นที่วิ่งลงคือหุ้นที่แย่และควรที่จะขาย  นี่เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นตลอดเวลาเป็นระยะเวลายาวนานมากตั้งแต่ที่ผมเข้ามาในตลาดหุ้นไทย             แต่ผมเองกลับคิดว่า  หุ้นที่น่าสนใจลงทุนโดยเฉพาะระยะยาวอย่างผมก็คือหุ้นที่มีราคาตกลงมามาก ...
นาย Yoshihide Suga นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นซึ่งเข้ารับตำแหน่งในเดือนกันยายน 2020 ได้เป็นผู้นำคนแรกที่เดินทางมาเยือนประเทศเวียดนามตั้งแต่เกิดวิกฤติ Covid-19  โดยตระหนักว่าเวียดนามประสบความสำเร็จในการควบคุมการติดเชื้อได้ดีกว่าประเทศอาเซียนอื่นๆ รวมทั้งยังสามารถขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศด้วยการส่งออกสินค้าโดยไม่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโรคดังกล่าว ซึ่งญี่ปุ่นเป็นตลาดส่งออกและนำเข้ารายใหญ่อันดับ 3 ของเวียดนาม พบว่ามูลค่าการค้าต่างตอบแทนระหว่างสองประเทศใน 5 เดือนแรกของปีนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว ตามข้อมูลสถิติของทบวงศุลกากร นอกจากนี้ ข้อตกลงการค้าเสรี FTA เวียดนาม-EU ก็ได้มีผลบังคับใช้แล้วตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2020 นับเป็นประเทศลำดับที่ 77 ที่มีข้อตกลงทวิภาคี FTA กับ EU และอยู่ในระหว่างการเจรจากับอังกฤษที่แยกตัวจาก EU รวมทั้งสหรัฐก็ได้แสดงท่าทีสนใจที่เป็นหุ้นส่วนกับเวียดนามด้วย ในขณะที่เวียดนามก็คาดหวังว่านายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นจะสนับสนุนให้บริษัทญี่ปุ่นมาลงทุนในเวียดนามเพิ่มขึ้น เนื่องจากข้อมูลการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (Foreign Direct Investment : FDI) ในปี 2019 พบว่าญี่ปุ่นเป็นประเทศลำดับที่สองที่มีการลงทุน  FDI ในเวียดนามรองจากเกาหลีใต้ และเป็นประเทศคู่ค้าลำดับที่ 4 รองจากจีน สหรัฐอเมริกาและเกาหลีใต้ รวมทั้งเป็นประเทศสมาชิกภายใต้ข้อตกลงหุ้นส่วนยุทธศาสตร์เศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก (Trans-Pacific Partnership : TPP) นอกจากนี้ ค่าจ้างแรงงานชาวเวียดนามต่ำกว่าจีน และรายได้ของชาวเวียดนามโน้มสูงขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มประชากรหนุ่มสาวจึงเป็นโอกาสของการลงทุนในบริษัทธุรกิจภาคบริการ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 22 ต.ค. 63 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ​เวลาคนพูดถึงวอเร็น บัฟเฟตต์ นั้น  ภาพแรกที่นึกถึงก็คือ  เขาเป็นนักลงทุนหมายเลขหนึ่งของโลกและทำผลงานการลงทุนที่ยอดเยี่ยมที่สุดตลอดกาล หุ้นตัวไหนที่บัฟเฟตต์เข้าซื้อ  หุ้นตัวนั้นก็มักจะวิ่งขึ้นแบบ “ติดจรวด”  ดังนั้น  พอร์ตการลงทุนของเขาแต่ละปีก็น่าจะดีเยี่ยม  และแน่นอน  จะต้องเอาชนะตลาดแบบ “ขาดลอย” บางคนอาจจะเคยได้ยินว่าปี ๆ หนึ่งผลตอบแทนที่ได้นั้นหลายสิบเปอร์เซ็นต์และแทบจะไม่ค่อยติดลบเลย  แต่ทั้งหมดนั้น  เป็นจริงหรือ?  เรามาดูกันว่าผลงานการลงทุนตลอดชีวิตของบัฟเฟตต์เป็นอย่างไร? ​วอเร็น บัฟเฟตต์ เกิดในปี 1930 ซึ่งภาวะเศรษฐกิจอเมริกันและโลกอยู่ในช่วง Great Depression หรือวิกฤติครั้งใหญ่ซึ่งเกิดขึ้นในปี 1929 ที่เมืองโอมาฮา รัฐเนบราสกา นับถึงวันนี้เขาก็มีอายุครบ 90 ปีแล้ว  ตามประวัตินั้น  ตั้งแต่ยังเป็นเด็กเริ่มรู้ความเขาก็  “ลงทุน” แล้ว  เช่น  ลงทุนขายน้ำในงานรื่นเริงของท้องถิ่น  แต่หุ้นตัวแรกที่เขาซื้อนั้นเกิดขึ้นตอนเขาอายุแค่ 11 ขวบ  พอเรียนจบมหาวิทยาลัยตอนอายุประมาณ 21 ปี  เขาก็เริ่มทำงานทางด้านหลักทรัพย์ในฐานะที่เป็นนักวิเคราะห์และบริหารกองทุนรวมเป็นเวลาสั้น ๆ  หลังจากนั้นเมื่ออายุ 26 ปี เขาก็จัดตั้งและบริหารกองทุนที่เป็นห้างหุ้นส่วนเองโดยมีเงินที่มีคนมาลงทุนเริ่มต้นประมาณ 100,000 เหรียญ โดยที่เป็นเงินส่วนของเขาเองเพียงเล็กน้อย  แต่เขาจะได้รับส่วนแบ่งจากกำไรที่สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดด้วยทุกปี จากวันนั้น  เขาก็ลงทุนมาตลอดจนถึงวันนี้คิดเป็นเวลา 60-70 ปี และกลายเป็นตำนานของนักลงทุนที่ยังมีชีวิตอยู่ ​สถิติการลงทุนของวอเร็น บัฟเฟตต์ ในแง่ของความมั่งคั่งส่วนตัวที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  เป็นระยะเวลายาวนานนั้น  มีการบันทึกไว้โดยผู้ที่ติดตามประวัติและผลงานย้อนหลังของเขาซึ่งพอจะ “ประมาณ” เป็นมูลค่าที่ผมจะกล่าวต่อไป  ซึ่งผมเองคิดว่า  ในช่วงแรก ๆ ก่อนที่เขาจะดังและมีเงินจำนวนมากนั้น  น่าจะเป็นตัวเลขที่อาจจะคลาดเคลื่อนจากความเป็นจริงได้มาก  นอกจากนั้น  ในช่วงที่ยังมีความมั่งคั่งไม่มาก  เงินที่เพิ่มขึ้นมาของเขายังมาจากเงินที่ได้จากการทำงานโดยเฉพาะเงินส่วนแบ่งกำไรจากการบริหารกองทุนของเขา หรือเปรียบง่าย ๆ  ก็คือ...
เศรษฐกิจเวียดนามปี 2021 คาดการณ์ขยายตัวร้อยละ 6.5 คณะรัฐมนตรีเวียดนามตั้งเป้าหมายอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจในปี 2021 อย่างท้าทายให้ขยายตัวร้อยละ 6.5 ถึงแม้ว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2020 จะมีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจเพียงร้อยละ 1.8 และประมาณการทั้งปีมีอัตราการเติบโตระหว่างร้อยละ 2-2.5 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการสร้างวิกฤติเป็นโอกาสของรัฐบาลในช่วงเกิดวิกฤติ Covid-19 ซึ่งรัฐบาลใช้มาตรการส่งเสริมการท่องเที่ยวภายในประเทศ การรักษาระดับการทำงานและการผลิตสินค้าอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกตอบสนองตลาดที่สำคัญเข่น สหรัฐอเมริกา รวมทั้งคาดการณ์ว่าโลกจะสามารถผลิตวัคซีน Covid-19 สำเร็จซึ่งจะส่งผลให้มีนักท่องเที่ยวต่างชาติกลับมาประเทศเวียดนามเพิ่มขึ้น เสริมทัพกับอัตราการท่องเที่ยวภายในประเทศที่คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 6 ประกอบกับการส่งออกสินค้าไป EU ภายใต้กรอบความร่วมมือ FTA มีการขยายตัวตั้งแต่เดือนกรกฎาคมนี้อย่างต่อเนื่องด้วย ที่มา : forbes.com, Sep 22,2020 โดย : แดน ตะวัน
โลกในมุมมองของ Value Investor      17 ตุลาคม 63 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร             เมื่อคืนและจนถึงนาทีที่กำลังเขียนบทความนี้ คือเช้าวันที่ 17 ตุลาคม 2563 ผมกำลังนั่ง “ร้องไห้” จากเหตุการณ์ “น่าเศร้า” ของการเมืองในประเทศไทยที่กำลังเกิดขึ้น  ที่จริงผมเคยร้องไห้แบบนี้มาอย่างน้อยครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2516 ที่เกิดเหตุการณ์  “มหาวิปโยค” ในวันนั้นผมกำลังนั่งอยู่บนรถเมล์เพื่อที่จะกลับบ้าน  คนทั้งคันรถต่างก็ร้องไห้  ผมจำได้ว่าควักเงินที่มีอยู่น้อยนิดใส่ลงในกล่องที่มีคนเดินขอรับบริจาค  นั่นเป็นเวลา 47 ปีมาแล้วและผมอายุ 20 ปี เรียนอยู่ชั้นปีที่ 2 ในมหาวิทยาลัย  ในช่วงนั้น เหตุการณ์ต้องบอกว่ารุนแรงกว่าครั้งนี้มาก  มีคนตายและบาดเจ็บจำนวนมาก  หลังจากเหตุการณ์  บ้านเมืองก็  “เปลี่ยน” กลายเป็นประเทศที่มีประชาธิปไตยมากขึ้น  แต่ก็เป็นแค่ช่วงสั้น ๆ  หลังจากนั้น  ประเทศไทยก็มีการปกครองแบบ  “ลุ่ม ๆ ดอน ๆ” มาตลอดจนถึงทุกวันนี้  แต่ทางด้านสังคมนั้น  คนไทยก็พัฒนามาเรื่อย ๆ  ตามการเปลี่ยนแปลงของโลกและการพัฒนาการทางเศรษฐกิจของไทย             ทางด้านเศรษฐกิจนั้น  ต้องบอกว่าเราทำได้ดีมากจนถึงวันนี้  เราใกล้จะถึงจุดที่มีรายได้สูงพอที่จะเป็นประเทศร่ำรวยแล้ว  ทางด้านสังคมนั้น  ก็ต้องบอกว่าสังคมไทยมีความก้าวหน้าขึ้นไม่น้อย ...

MOST POPULAR