ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
โลกในมุมมองของ Value Investor 7 ธันวาคม 62
ในฐานะที่เป็น VI ที่เน้นการลงทุนระยะยาวและปกติก็จะถือหุ้นแต่ละตัวเกินกว่า 5 ปี หลายตัวถือเกิน 10 ปี ผมจึงสนใจพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และตลาดหุ้นในระยะยาวว่าเป็นอย่างไร ข้อสรุปของผมที่ผ่านมาก็คือ คนไทยและโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักลงทุนในตลาดหุ้นค่อนข้างโชคดีที่ได้อาศัยและลงทุนในสังคม เศรษฐกิจ และตลาดหุ้น ที่เอื้ออำนวยให้เราเจริญเติบโตขึ้นค่อนข้างจะดีเป็นเวลาน่าจะไม่น้อยกว่า 50-60 ปีขึ้นไป ผลตอบแทนสำหรับนักลงทุนในตลาดหุ้นไทยระยะยาวก็ค่อนข้างจะโดดเด่นใน “ระดับโลก”ที่ประมาณเกือบ 10% ต่อปีแบบทบต้นเป็นเวลากว่า 40 ปี อย่างไรก็ตาม พัฒนาการในช่วงประมาณ 6-7 ปีที่ผ่านมานั้นกลับค่อนข้าง “น่าผิดหวัง” ตัวเลขและข้อมูลทางด้านคุณภาพของเศรษฐกิจ สังคมการเมืองและตลาดหุ้นที่เคยโดดเด่นนั้นกำลังตกต่ำลงอย่างน่าใจหาย และที่สำคัญยิ่งกว่าก็คือ ไม่รู้ว่ามันจะ Turnaround หรือฟื้นกลับขึ้นมาได้อย่างไร พูดตามตรง ผมกำลังกลัวว่าเรากำลังเดินหน้าไปสู่ภาวะที่นักเศรษฐศาสตร์เรียกว่า ...
ดัชนีหุ้นเวียดนามที่ลดลงช่วงนี้ ทำให้ Valuation ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีก่อน แม้ว่าจะอยู่ในระดับที่ถูกที่สุดของปี แต่ถ้ามองว่าเป็นโอกาสก็ยังดูจะง่ายเกินไป
สำหรับนักลงทุนที่อยากจะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม มีอุปสรรคที่ต้องระวังคือ การที่สภาพคล่อง และข้อจำกัดการถือครองหุ้นของชาวต่างชาติ ปริมาณผู้ถือหุ้นรายย่อยที่น้อย และการควบคุมของรัฐที่เข้มงวดทำให้เหลือหุ้นเพียงน้อยนิดสำหรับชาวต่างชาติที่จะซื้อขาย
แต่ถือเป็นข่าวดี ที่เวียดนามมีการใช้มาตรการหลายอย่างในการจัดการปัญหา มีการคลายข้อจำกัดของการถือครองหุ้นของชาวต่างชาติสำหรับอุตสาหกรรมบางอย่าง และมีการเร่งกระบวนการลดสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐในบริษัทต่างๆ และได้เริ่มต้นตลาดอนุพันธ์เมื่อปี 2017 และจะมีการแนะนำผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนมากขึ้นในปีนี้
ในตอนนี้ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นของเวียดนามยังน้อยนิดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาพคล่องที่ต่ำของหุ้นในระดับ Top บางตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผู้ถือหุ้นต่างชาติรายใหญ่ที่ถือหุ้นในระยะยาว ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการสูงและความกลัวที่จะไม่สามารถเข้าถึงส่วนที่ผู้ถือหุ้นต่างชาติด้วยกัน ที่กีดกันการค้าขาย Tim Love ผู้อำนวยของตลาดหุ้นเกิดใหม่ที่ GAM investments กล่าว
คาดหวังว่าการโอนกิจการของรัฐให้เป็นของเอกชน จะช่วยให้สภาพคล่องของตลาดลดความมืดมนลง มีความเห็นว่าถ้ารัฐลดการควบคุมลง และนักลงทุนต่างชาติเข้าใจการทำงานของรัฐเพื่อยกระดับสภาพคล่องของเวียดนามได้ จะเป็นการต้อนรับสิ่งใหม่ๆเพื่อตลาดที่ตอนนี้เป็นหนึ่งในตลาดสำคัญที่ Oversold ที่สุดในโลก
พบกับ ดร.นิเวศน์ฯ และกูรูหุ้นเวียดนาม ในสัมมนาวันรวมพลคนลงทุนหุ้นเวียดนาม 15 ธ.ค 62 รายละเอียด-สมัครคลิ๊ก:http://bit.ly/32fIaOn
โลกในมุมมองของ Value Investor 30 พฤศจิกายน 62
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หุ้นที่มีราคาวิ่งขึ้นหวือหวาร้อนแรงมาก ๆ ในช่วงเวลาอันสั้นนั้น เกือบทั้งหมดต่างก็มักจะมี“Story” หรือเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น ฟังแล้วก็จะรู้สึกประทับใจ คนที่ “ไร้เดียงสา” หรือแม้แต่คนที่คิดว่ามีประสบการณ์มาเพียงพอก็อาจจะยัง“เคลิ้ม” จนต้อง “เสพ” หรือดื่มด่ำกับเรื่องราวดังกล่าวและคิดว่ามันเป็นเรื่องจริง เป็นความฝันที่จะกลายมาเป็นความจริงและชีวิตของตนก็จะมีแต่ความสุข แต่สำหรับผมเองแล้ว ประสบการณ์ที่พานพบมาต่อเนื่องยาวนานบอกผมว่า เรื่องราวความเป็นจริงที่ตามมานั้น ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เป็นไปตามสตอรี่ที่สร้างหรือวาดภาพขึ้นมา มันเป็นแค่ “Fairy Tale” หรือ “เทพนิยาย” ในตลาดหุ้นที่มีการเขียนขึ้นมาอย่างดีสุดยอดที่ทำให้คนอ่านเกิด “จินตนาการ” หรือ“ฝันไป” กับเรื่องราว “สุดวิเศษ” เหล่านั้นชั่วขณะ อาจจะคล้าย ๆ กับผู้หญิงจำนวนมากที่อ่านเทพนิยายเรื่องซินเดอร์เรลล่าแล้วฝันว่าตนเองจะเป็นเหมือนซินเดอร์เรลล่าที่จะได้แต่งงานกับเจ้าชายทั้ง ๆ ที่ในชีวิตจริงนั้นแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย ลองมาดูกันว่าในช่วงเร็ว ๆ นี้เรามี “เทพนิยาย” เรื่องอะไรบ้าง
เทพนิยายเรื่องแรกและน่าจะเป็นเรื่องที่สร้างจินตนาการได้สุดยอดมีคนติดตามกันมากและเคลิบเคลิ้มไปทั้งตลาดก็คือการที่หุ้นขนาดเล็ก-กลางที่อยู่ในกลุ่มผู้บริโภคที่มียี่ห้อโดดเด่นหรือมีแนวทางการขายแบบใหม่และพุ่งเป้าสู่ “ตลาดโลก” หรือนักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว จะเติบโตแบบก้าวกระโดดและอาจจะกลายเป็น “ผู้เล่นระดับโลก” ดังนั้น ราคาหุ้นก็สามารถวิ่งขึ้นไปได้เป็นหลาย ๆ เท่าหรือเป็นสิบเท่าได้ในระยะเวลาไม่กี่ปี Market Cap. ระดับแสนล้านบาทก็ไม่ถือว่าแพง
ความเป็นจริงก็คือ หลังจากการเติบโตอย่างรวดเร็วไม่เกิน 2-3 ปี กำไรก็เริ่มสะดุด แผนการหรือโครงการที่จะขยายธุรกิจประสบอุปสรรคไม่เป็นไปตามคาด กำไรถดถอยลงเนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น สิ่งที่พูดไว้ถูกดัดแปลงหรือปรับใหม่ บางกรณี “สตอรี่ใหม่” ก็ตามมา แต่ความน่าเชื่อถือก็หมดไป ราคาหุ้นตกลงมาอย่างหนักเหลือเท่ากับราคาก่อนที่จะขึ้นไปหรือต่ำกว่า หลายคน “ตื่นจากความฝัน”
เทพนิยายต่อมาเป็นเรื่อง “ความฝันแห่งภาคตะวันออก” หรือเขตเศรษฐกิจ EEC ของรัฐบาล ว่ามันจะทำให้เกิดการลงทุนและการใช้พื้นที่โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในภูมิภาคตะวันออกหลายจังหวัดในระยะเวลาอันสั้นไม่กี่ปี ความเป็นจริงดูเหมือนว่าจะมาช้ากว่าที่คิดมากหรือบางทีมันอาจจะไม่มาเลยก็ได้โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึง Supply หรือคู่แข่งทั้งเก่าและใหม่ที่อาจจะเริ่มสร้างกำลังการผลิตหรือนิคมอุตสาหกรรมเพิ่ม ราคาหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ EEC บางตัวก็มีการปรับขึ้นไปบ้างในตอนแรก ๆ ของการรณรงค์ แต่เมื่อเวลาผ่านไป ดูเหมือนว่าหุ้นในกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากEEC แทบจะไม่ไปไหน จำนวนมากตกลงมาด้วยซ้ำ ถ้าจะพูดไป เทพนิยายเรื่องนี้ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่นิยมมากเท่าที่คิดตั้งแต่แรก ๆ ด้วยซ้ำ
เรื่องของการสร้างสาธารณูปโภคของรัฐนั้นน่าจะเป็น Fairy Tale มานานพอสมควร “เราจะมีโครงการใหม่ ๆ เป็นแสน ๆ ล้านบาท” รถไฟ สนามบิน ท่าเรือ รถไฟฟ้าในเมืองและระหว่างเมือง เป็นต้น ดังนั้นธุรกิจเช่นรับเหมาก่อสร้างและโครงการที่เกี่ยวข้องจะได้ประโยชน์มหาศาล อย่างไรเสียรับเหมารายใหญ่ ๆ ก็จะต้องได้งานมากมายจนทำไม่ไหวและจะได้กำไรดีเพราะงานมากไม่ต้องแข่งขันด้านราคามาก ในช่วงแรกก็ดูเหมือนว่าหุ้นบางบริษัทก็ปรับตัวขึ้น อย่างไรก็ตาม เวลาผ่านไปโดยที่โครงการเกิดช้ากว่าที่คิด เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ บริษัทรับเหมาจากต่างชาติเข้ามาแข่ง งานในมือที่คิดว่าจะมากขึ้นเรื่อย ๆ นั้นกลับน้อยลง ราคาหุ้นตกต่ำลง และคนที่เคยเล่านิทานเรื่องนี้ก็หายหน้าจากไป
เรื่องของเมกาเทรนด์นั้นก็น่าจะเป็น “เทพนิยาย” เหมือนกัน เช่น คนไทยแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้นเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพโดยเฉพาะโรงพยาบาลจะได้ประโยชน์ ดังนั้น หุ้นของโรงพยาบาลทุกรูปแบบรวมถึงที่เกี่ยวกับฟันก็วิ่งขึ้นไปหรือมีคนสนใจเข้าไปลงทุนกันมาก ค่า PE ดูเหมือนจะสูงลิ่วระดับ 30-40 เท่าขึ้นไปกันเป็นส่วนใหญ่ แต่เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงวันนี้ดูเหมือนว่าการเติบโตของยอดขายและกำไรของโรงพยาบาลก็ไม่ได้ดูโดดเด่น โรงพยาบาลที่เคยเป็นสุดยอดและแข่งขันได้ในระดับสากลมีลูกค้าต่างชาติจำนวนมากกลับไม่เติบโตหรือโตน้อย คำแก้ตัวนั้นมีหลายอย่างรวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น อย่างไรก็ตาม โรงพยาบาลท้องถิ่นเองก็ไม่ได้ดูดีอะไรนักในแง่ของผลประกอบการ อย่างมากที่เห็นก็คือ โรงพยาบาลก็โตพอ ๆ กับเศรษฐกิจหรือดีกว่าก็เพียงเล็กน้อย หุ้นโรงพยาบาลที่เคยร้อนแรงตอนนี้ก็นิ่งหรือบางตัวก็ลงมาแรงพอสมควร
โรงแรมที่เคยเป็นหุ้นกลุ่มยอดนิยมเหมือนกันเนื่องจากมันก็อยู่ใน “เมกาเทรนด์” หลังจากที่คนจีนเริ่มออกมาเที่ยวต่างประเทศโดยเฉพาะเมืองไทยเมื่อซัก 10 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยเองก็ดูเหมือนว่าจะโดดเด่นขึ้นกลายเป็นประเทศหรือเมืองที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกในระดับสูง “เทพนิยาย” เรื่องการท่องเที่ยวและโรงแรมถูกแต่งขึ้นและนักลงทุนต่างก็เคลิบเคลิ้มว่ามันคือธุรกิจที่สุดยอดและจะเติบโตไปอีกมาก หุ้นโรงแรมวิ่งขึ้นไปแรงและสูงมาก บางตัวกลายเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ที่มีมูลค่าตลาดของหุ้นมหาศาล แต่ดูเหมือนว่าการเติบโตที่รวดเร็วนั้นก็ชะลอลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ น่าจะมีโรงแรมใหม่ ๆ เปิดขึ้นมากไม่ต้องพูดถึง “ที่พัก” จากแอร์บีเอ็นบีและอพาร์ตเม้นต์ที่เพิ่มขึ้นมาไม่หยุดหย่อนที่ทำให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนไม่ได้โตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
หุ้นกลุ่มผู้ขายสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศในยามที่เศรษฐกิจค่อนข้างซบเซาเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงในช่วงนี้ต่างก็ได้รับการแนะนำว่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและดังนั้นก็เป็นหุ้นกลุ่มที่ควรซื้อลงทุน แต่นี่ก็น่าจะเป็นเทพนิยายอีกเช่นกัน เพราะตัวเลขยอดขายของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มค้าปลีกแทบจะไม่เติบโตเลย เหตุผลก็ชัดเจน ตัวเลขเม็ดเงินที่ใช้นั้นเทียบไม่ได้กับตัวเลขรวมของการใช้จ่ายปกติที่เป็นอยู่
Fairy Tale ไม่ใช่มีเฉพาะตลาดหุ้นไทย ในตลาดหุ้นอเมริกาเองนั้นก็มี และที่เล่ากันเป็นประจำทุกครั้งที่ตลาดร้อนแรงและบริษัทจดทะเบียนขยายตัวโดยการเข้าควบรวมกิจการบริษัทอื่น ๆ เป็นจำนวนมากเพราะคาดหวังว่าจะทำให้บริษัทเติบโตและมีกำไรเพิ่มขึ้นรวดเร็ว แต่ “เทพนิยาย” เรื่องนี้ก็มักไม่เป็นจริง เพราะหลังจากนั้น ธุรกิจที่ซื้อมาก็มักจะ “เน่า” ผู้บริหารที่เข้ามาใหม่ก็ต้องขายกิจการทิ้ง ซึ่งทำให้วอเร็น บัฟเฟตต์ พูดเปรียบเปรยว่ามันเหมือนเทพนิยายเรื่อง “เจ้าชายกบ” ที่เป็นเรื่องของเจ้าหญิงที่จูบเจ้าชายที่ถูกแม่มดสาบให้เป็นกบแล้วเจ้าชายก็ฟื้นกลับขึ้นมา บัฟเฟตตบอกว่าเจ้าหญิงก็คล้ายกับผู้บริหารที่คิดว่าตนเองสามารถมองหากบหรือกิจการเน่าที่ถูกสาบแล้วฟื้นมันขึ้นมาได้ แต่ในชีวิตจริง มันไม่มี จูบกบกี่ตัวมันก็ยังเป็นกบอยู่นั่นเองไม่เป็นเจ้าชายอย่างที่หวัง
ในตลาดหุ้นไทยเองนั้น หุ้นกลุ่มที่ถูกอ้างว่าเป็น “หุ้นโตเร็ว” ที่มักเป็นกลุ่มที่มีรายได้และกำไรโตเร็วในช่วงเร็ว ๆ นี้ ก็มักเป็น “เทพนิยาย” ที่เป็นเรื่องของจินตนาการ เพราะมันมักจะโตเร็วเฉพาะในช่วงเวลานั้นและเกิดขึ้นเพราะสถานการณ์เอื้ออำนวย ไม่ใช่เรื่องของการโตจากพื้นฐานของบริษัทและเมกาเทรนด์ แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป การเติบโตเร็วก็หยุดลง กลายเป็นเติบโตธรรมดาหรือโตช้า บางบริษัทลดลงด้วยซ้ำ ดังนั้น ราคาของหุ้นที่วิ่งขึ้นไปมากเพราะคนฟังนิยายเชื่อและแห่กันมาซื้อก็จะตกลงมาอย่างแรงเหมือนกับนางฟ้าตกสวรรค์เพราะคนต่างก็แห่ขายหุ้นทิ้ง
ในฐานะที่เป็น Value Investor การฟังเรื่องราวต่าง ๆ ของบริษัทจดทะเบียนหรือเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในตลาดหุ้น เราจะต้องระมัดระวังว่ามันเป็นเรื่องที่มีความเป็นจริงสูงหรือเป็น “เทพนิยาย” ที่มีเนื้อเรื่องน่าประทับใจแต่เป็นเรื่องของจินตนาการที่มีโอกาสเป็นไปได้น้อย เพราะถ้าเราวิเคราะห์ผิด โอกาสที่จะเสียหายก็จะสูง พบกับ ดร.นิเวศน์ฯ และกูรูหุ้นเวียดนาม ในสัมมนาวันรวมพลคนลงทุนหุ้นเวียดนาม 15 ธ.ค 62 รายละเอียด-สมัครคลิ๊ก: http://bit.ly/32fIaOn
ด้วยสถานการณ์ของเศรษฐกิจทั่วโลกที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ไม่สดใส รวมกับความขัดแย้งด้านการค้าที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างสหรัฐฯและจีน ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง กระตุ้นให้มีการนำเงินไปลงทุนในช่องทางที่ปลอดภัยอื่นๆเช่น พันธบัตรและทองคำ ทำให้สินทรัพย์เหล่านี้มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามข้อมูลจาก Saigon Securities Incorporation (SSI) ตั้งแต่เดือนธันวาคมปี2018 จนถึงเดือนตุลาคมของปีนี้ มีการถอนเงินลงทุนจากกองทุนรวมทั่วโลกแล้วประมาณ 277 พันล้านดอลลาร์ฯ เป็นการถอนเงินทุนที่ใหญ่และยาวนานที่สุดในปีที่ผ่านมา ในขณะที่มีเงินไหลเข้ากองทุนรวมตราสารหนี้ (bond) ราว 372 พันล้านดอลลาร์ฯ อย่างไรก็ตามในตลาดหุ้นเวียดนามเมื่อวันพุธที่ผ่านมา นักลงทุนต่างชาติมีมูลค่า Net buyers ใน HOSE ที่ 72.84 พันล้านVND ประกอบด้วย Hoa Phat Group (HPG)(36.01พันล้านVND), Bank for Investment and Development(BID)(18.34พันล้านVND) และ Vincom Retail (VRE)(17.98พันล้านVND)ซึ่งมีการขายสุทธิใน HNX มูลค่า 2.72 พันล้านVND...
Petrolimex, Vinamilk, Samsung, Viettel, Vingroup, Vietjet เป็นกลุ่มบริษัทและองค์กรสำคัญที่ได้รางวัลเกียรติยศ Vietnam Profit 500
Vietnam Report เปิดเผยรายงานการจัดอันดับ Vietnam Profit 500 ประจำปี 2019 ซึ่งเป็นการรวบรวมและจัดอันดับบริษัทต่างๆที่มีผลคะแนนสูงจากหลายตัวชี้วัดที่ทำให้เห็นการสร้างผลกำไรเช่น ROA, ROE, ROR, ผลกำไรก่อนหักภาษีและรายได้โดยประกอบไปด้วยอันดับTop ของบริษัทที่ทำกำไรยอดเยี่ยม ตามธุรกิจสาขาต่างๆ Petrolimex, Vinamilk, Samsung, Viettel, Vingroup, Vietjet เป็นกลุ่มบริษัทและองค์กรสำคัญที่ได้รางวัลเกียรติยศVietnam Profit 500 ธุรกิจธนาคารยังคงโดดเด่น โดย Vietcombank, Vietinbank, Techcombank, VPBank, HDBank, MB และ ACB ติดในอันดับ Top 10 Most Profitable Bank ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 23 พฤศจิกายน 62
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
จากประสบการณ์ของผมเองที่ได้เห็น “ความล่มสลาย” ของธุรกิจต่าง ๆ ต่อเนื่องยาวนานไม่น้อยกว่า 50 ปี ซึ่งได้ส่งผลให้ความมั่งคั่งของเจ้าของ “ล่มสลาย” ลงตามธุรกิจนั้น ความล่มสลายที่ว่านั้น คนอาจจะมีความรู้สึกหรือคิดว่ามันเป็นเรื่องของธุรกิจขนาดใหญ่หรือคนระดับเจ้าสัวหรือเศรษฐีใหญ่ที่คนทั่วไปรู้จักกันเป็นอย่างดี แต่จริง ๆ แล้วมันรวมถึงการล่มสลายของธุรกิจขนาดเล็กที่เป็น SME หรือธุรกิจขนาดกลางที่เป็น “กงสี” ของครอบครัวที่มักจะมีพี่น้องหลายคนเป็นเจ้าของร่วมกันด้วย
ในบทความนี้ผมจะพูดถึงความคิดของผมที่มีต่อธุรกิจขนาดเล็กและกลางที่เป็น “ธุรกิจครอบครัว” ที่ก่อตั้งและดำเนินการมานานอย่างน้อยน่าจะเป็น 10 ปีขึ้นไป ส่วนใหญ่อาจจะทำมาเกิน 20 ปี และบริหารโดยผู้ก่อตั้งหรือสมาชิกที่เป็นลูกหลานของผู้ก่อตั้งธุรกิจ เขาเหล่านั้น รู้จักและคุ้นเคยกับธุรกิจเป็นอย่างดี “แทบจะหลับตาทำ” ได้ ความคิดที่จะปรับเปลี่ยนหาวิธีทำงานแบบใหม่นั้นดูเหมือนว่าจะไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญรีบด่วน ว่าที่จริงก็ไม่รู้จะปรับอย่างไรเพราะว่าก็ทำมานานมีกำไรอยู่ได้และธุรกิจก็โตมาเรื่อย ๆ ฐานะของผู้บริหารและที่บ้านเองก็ “ร่ำรวย” พอสมควรสามารถใช้ชีวิตหรูหราและมีความสุขไม่ต้องดิ้นรนอะไรมาก แต่สำหรับผมแล้ว ผมคิดว่าพวกเขาส่วนใหญ่อาจจะกำลังตกอยู่ในภาวะที่ “อันตราย” โดยไม่รู้ตัว อันตรายที่ว่านั้นก็คือ การที่ธุรกิจของตนอาจจะ “ล่มสลายลง” หรือค่อย ๆ ตกต่ำลงอย่างช้า ๆ จนต้องปิดตัวลง ความมั่งคั่งที่มีอยู่นั้น พอถึงเวลาอีก 10-20 ปีข้างหน้าอาจจะสูญหายไป ตัวเขาหรือลูกหลานอาจจะไม่ใช่คนรวยอีกต่อไป และเมื่อถึงเวลานั้น เขาก็จะรู้สึกเสียใจที่ไม่ได้ปรับตัวเพื่อหนีให้พ้นจากสภาวะนั้นในช่วงเวลาที่ยังทำได้
เหตุผลก็คือ ธุรกิจที่อยู่มานานแล้วนั้น ถ้าเศรษฐกิจยังเติบโตดี ความต้องการสินค้าและบริการยังเพิ่มขึ้นและไม่มีผลิตภัณฑ์แบบใหม่มาทดแทน พวกเขาก็จะยังสามารถขายสินค้าเพิ่มขึ้นและมีกำไรเพิ่มขึ้น คนที่ประสบความสำเร็จก็จะสามารถเติบโตและร่ำรวยขึ้น และนี่ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาจนถึงเมื่อเร็ว ๆ นี้ และธุรกิจภาคส่วนที่เป็น “ดารา” และก่อให้เกิด “เศรษฐี”จำนวนมากในเมืองไทยก็คือ “โรงงานผลิตสินค้า” โดยเฉพาะที่เป็นผู้ส่งออกที่ประเทศไทยสามารถแข่งขันในระดับโลกได้ นอกจากโรงงานแล้ว ภาคเศรษฐกิจที่เป็นผู้ค้าขายในประเทศเองก็เติบโตขึ้นตามความมั่งคั่งของคนในประเทศที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว คนที่ทำธุรกิจค้าขายรายใหญ่ระดับจังหวัดหรือภาคก็กลายเป็นกลุ่มคนร่ำรวยของสังคมด้วย
แต่ธุรกิจทุกอย่างนั้นก็มีวงจรชีวิตของมัน กล่าวคือมีช่วงเวลาของการเติบโตอย่างช้า ๆ เติบโตเร็ว อิ่มตัว และสุดท้ายก็ตกต่ำลงและอาจจะตายในที่สุด ธุรกิจครอบครัวเองก็ไม่เว้น ในอดีตนั้น วงจรแต่ละช่วงอาจจะยาว ธุรกิจโตไปได้เป็นสิบหรือหลายสิบปี อานิสงค์จากการที่เศรษฐกิจไทยที่เติบโตสูงต่อเนื่องยาวนานและไม่ค่อยมีผลิตภัณฑ์แบบใหม่มาทดแทนของเดิม อย่างไรก็ตาม ผมก็ยังพบเห็นตลอดมาว่าธุรกิจครอบครัวที่เคยเข้มแข็งและเจ้าของมั่งคั่งมานานต่างก็ล่มสลายลงเนือง ๆ สมาชิกในครอบครัวกลายเป็นแค่ “คนชั้นกลาง” เหมือนกับตัวผมเองที่เป็นคนกินเงินเดือนมาตลอดชีวิต เหตุผลหลักก็คือ ธุรกิจที่เขาทำนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก คู่แข่งใหม่แข็งแกร่งกว่าเขาเพราะเป็นบริษัทขนาดใหญ่และบ่อยครั้งก็มาจากต่างประเทศ
ในช่วงหลัง ๆ ประมาณซัก 10 ปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าวงจรของธุรกิจต่าง ๆ จะสั้นลงมากอานิสงค์จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโดยเฉพาะในด้านของดิจิตอลซึ่งทำให้ธุรกิจ “ดั้งเดิม” ทั้งหลายต้องปรับตัวเพื่อรับกับการแข่งขันใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนปรับตัวไม่ทัน นั่นประกอบกับการที่เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากเหตุผลต่าง ๆ รวมถึงการที่คนไทยแก่ตัวลงอย่างรวดเร็วและอัตราการเกิดน้อยลงมากทำให้ธุรกิจครอบครัวจำนวนมากตกอยู่ในอันตรายจากการที่จะถูก Disrupt ได้ และนี่ก็คือความเสี่ยงหรืออันตรายที่ผมพูดถึงและผมเชื่อว่าธุรกิจครอบครัวจำนวนมากก็อาจจะยังไม่ตระหนักและรีบปรับตัวให้เร็วก่อนที่จะสายเกินไป
ในฐานะที่เป็น “มนุษย์หุ้น” ปัญหาอะไรต่าง ๆ ผมก็มักจะพยายามแก้ไขโดยหุ้น การวิเคราะห์ปัญหาของผมก็คือ คนที่ทำธุรกิจครอบครัวนั้นก็คือคนที่ถือหุ้นของบริษัทหรือกิจการนั้น 100% และถ้ามีเพียงหนึ่งธุรกิจก็คือเขา “ถือหุ้นเพียงตัวเดียว” ในพอร์ต ไม่มีการกระจายความเสี่ยงเลย คนที่ถือหุ้นเพียงตัวเดียวนั้น บ่อยครั้งก็อาจจะรวยไปเลยถ้าหุ้นตัวนั้นดีสุดยอดและวิ่งขึ้นไปสูงมาก แต่ถ้าเกิดปัญหาหรือซื้อหุ้นผิดตัว หรือพื้นฐานหุ้นแย่ลงมาก การขาดทุนและหายนะก็อาจจะเกิดขึ้นได้ และนี่ก็อาจจะคล้าย ๆ กับหุ้นที่ถูก Disrupt ไปแล้วหลาย ๆ ตัวเมื่อเร็ว ๆ นี้ ลองคิดดูว่าถ้าเป็นธุรกิจครอบครัวที่ไม่สามารถขายได้เลยแล้วถูก Disrupt มูลค่าหุ้นจะเหลือเท่าไร? บางคนอาจจะคิดว่าทรัพย์สินโดยเฉพาะที่เป็นที่ดิน อาคาร โรงงานและเครื่องจักรนั้นมีมูลค่าเป็นร้อย ๆ ล้านบาทซึ่งเป็นเครื่องแสดงถึงความร่ำรวยที่ครอบครัวมีอยู่นั้นไม่เหมือนหุ้นที่หมดค่าได้ง่าย ๆ แต่นั่นเป็นแค่ “ภาพลวงตา” เพราะในยามที่ธุรกิจไม่สามารถอยู่ต่อได้แล้ว ทรัพย์สินที่มีอยู่ยกเว้นที่ดินก็อาจจะกลายเป็นแค่เศษเหล็กที่ไม่มีค่าอะไรเลย
ทางแก้ของผมก็คือ คนที่ทำแต่ธุรกิจครอบครัวนั้นจะต้องเริ่มกระจายความเสี่ยง ไม่ใช่ไปตั้งธุรกิจใหม่อีกแห่งหนึ่งแม้ว่านั่นก็อาจจะช่วยได้บ้าง แต่สิ่งที่ควรทำก็คือ นำเอาเงินหรือความมั่งคั่งที่เก็บสะสมมายาวนานไปลงทุนในหุ้นที่ทำธุรกิจหลากหลาย ธุรกิจหนึ่งก็อาจจะเป็นธุรกิจที่เราทำอยู่และเรารู้จักดีมากเพราะเป็นคู่แข่งกันในท้องตลาด เลือกเอาบริษัทที่เราคิดว่าแข็งแกร่งและเป็นผู้ชนะและอาจจะเป็นตัวที่กำลังทำลายธุรกิจครอบครัวของเราด้วย โดยที่ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อนั้นเราก็จะต้องดูว่าราคาหุ้นนั้นถูกหรือยุติธรรมไหม กำไรและปันผลของมันดูดีกว่าการลงทุนในธุรกิจของครอบครัวที่ทำอยู่ไหม
เมื่อเราเริ่มเข้าใจว่าการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นแท้ที่จริงก็คือการทำธุรกิจโดยการเป็นเจ้าของธุรกิจบางส่วนแล้ว เราก็ควรจะต้องคิดต่อไปว่าการมีแค่ 2 ธุรกิจก็อาจจะไม่พอในยามที่วงจรธุรกิจเปลี่ยนเร็วมากในปัจจุบัน เราอาจจะคิดว่าน่าจะมีซัก 3 หรือ 4 หรือ 5 ธุรกิจ แต่ผมคิดว่าเราไม่ควรมีธุรกิจจำนวนมากเกินไปจนเราไม่สามารถรู้หรือติดตามได้ว่าธุรกิจกำลังอยู่ในวงจรไหนของการเติบโตซึ่งจะทำให้เราลงทุนในธุรกิจที่ไม่คุ้มค่าและทำให้เราเสียหายได้ การซื้อหุ้นหลายตัวมากเกินไปนั้น ในที่สุดเราก็มักจะขายไปและซื้อหุ้นตัวใหม่ไปเรื่อย ๆ และกลายเป็นว่าเรากำลัง “เล่นหุ้น” ซึ่งก็คือเราไม่ได้คิดถึงพื้นฐานของการเป็นธุรกิจเลย เราเอาแต่เก็งว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือลงในระยะสั้นแข่งกับคนอื่นซึ่งจะไม่ใช่การแก้ปัญหาว่าธุรกิจครอบครัวกำลังอยู่ในอันตรายและมันอาจจะกระทบกับความมั่งคั่งของตนเองและครอบครัวได้
ในกรณีที่เรา “วิเคราะห์หุ้นไม่เป็น” ทางแก้ปัญหาก็คือการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นโดยเฉพาะที่เป็นกองทุนอิงดัชนีหลัก ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ นี่คือการที่เราเลือกลงทุนในหุ้นหรือกิจการ “ชั้นนำ” ที่สุดของประเทศไทยหรือของต่างประเทศ โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนและรักษาความมั่งคั่งของตนและครอบครัวไว้ก็จะมีสูงกว่าการทำธุรกิจครอบครัวเพียงอย่างเดียวซึ่งก็เหมือนกับการมีหุ้นเพียงตัวเดียวและอาจจะเป็นหุ้นที่กำลังถูก Disrupt ด้วย
แน่นอนว่าการปรับตัวโดยการเปลี่ยนธุรกิจหรือเลิกธุรกิจที่เป็นโรงงานใหญ่โตที่ครอบครัวทำมานานนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ทรัพย์สินอาจจะ 70-80% ของครอบครัวอาจจะอยู่ในธุรกิจที่ไม่สามารถขายออกไปได้แม้ว่าจะอยากทำ เจ้าของธุรกิจจำนวนมากนั้นมักจะเป็น “นักสู้” ที่เมื่อธุรกิจมีปัญหาก็จะต้องกอบกู้ซึ่งบ่อยครั้งก็จะต้อง “เพิ่มเงิน” ลงไป ในเรื่องของการลงทุนในตลาดหุ้น บางทีเราก็เรียกว่า “ซื้อถัว” คือหุ้นมันตกลงมาต่ำกว่าทุนแล้วเราคิดว่าในที่สุดหุ้นจะปรับตัวกลับขึ้นมาเราก็เลยซื้อหุ้นเพิ่ม ผมเองคงบอกไม่ได้ว่าควรทำหรือไม่ เจ้าของธุรกิจจะต้องวิเคราะห์เองว่าคุ้มไหม บางทีเขาควรจะปรับเปลี่ยน Mindset หรือความคิดจากการเป็นนักสู้มาเป็น “นักเลือก” บ้างว่า เราไม่ควรจะต้องสู้ทุกครั้งโดยเฉพาะถ้าเรารู้ว่าหนทางประสบความสำเร็จนั้นน้อยลงมากในภาวการณ์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป ในกรณีแบบนี้ บางทีการ “Stop Loss” หรือขายทิ้งหรือหยุดการเพิ่มเงิน แล้วนำเงินนั้นไปลงทุนในหุ้นตัวอื่นและในธุรกิจอื่นอาจจะดีกว่า
———-พบกับ ดร.นิเวศน์ฯ และกูรูหุ้นเวียดนาม ในสัมมนาวันรวมพลคนลงทุนหุ้นเวียดนาม 15 ธ.ค 62 รายละเอียด-สมัครคลิ๊ก: http://bit.ly/32fIaOn
เวียดนามและเศรษฐกิจแบบเปิดซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงมานานหลายปี ดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติเข้าสู่เวียดนามอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์ให้ความสังเกตว่า ผู้ลงทุนในอาเซียนกำลังมุ่งตรงมาสู่เวียดนามโดยเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจาก เกาหลีใต้, ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ซึ่งนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจกับ FMCG ,อสังหาริมทรัพย์เชิงอุตสาหกรรม, สำนักงานสำหรับเช่า และพลังงาน ตามรายงานจาก VnDirect HCM City กลุ่มการลงทุน Temasek ของสิงคโปร์ มีแผนที่จะลงทุน 100 ล้านดอลลาร์กับ Scommerce บริษัทโฮลดิ้งของ Giaohangnhanh บริษัทผู้ให้บริการการจัดส่งที่รวดเร็ว และAhaMove หลังจากลงทุนกับ VNG บริษัทยูนิคอร์นด้านเทคโนโลยีเจ้าของแอพ Zalo ไปแล้ว 100 ล้านดอลลาร์ ตามรายงานจาก DealStreetAsia และตามรายงานจาก Baker McKenzie แสดงให้เห็นว่าเวียดนามยังคงเป็นจุดมุ่งหมายที่ดึงดูดนักลงทุน และจะยังเต็มไปด้วยกิจกรรม M&A อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเป็นผลมาจากตลาดที่มีสภาพคล่องและพหุภาคีFTAs ดีลใหญ่ๆในเวียดนามที่เกิดขึ้นในช่วงปี 2018-2019 อาทิ BIDV...
ข่าวน่าสนใจ
เลือกหุ้นพลาด… ในเรื่องของการลงทุนนั้นหลายคนจะชอบพูด-ชอบฟัง แต่เรื่องของความสำเร็จ ความผิดพลาด ความล้มเหลว มักจะเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่อยากพูด-ไม่อยากฟัง
Administrator - 0
เลือกหุ้นพลาด
การลงทุนหุ้นเวียดนามนั้น แม้แต่เซียนวีไอไทยยังพลาดได้!
ในเรื่องของการลงทุนนั้นหลายคนจะชอบพูด-ชอบฟัง แต่เรื่องของความสำเร็จ ความผิดพลาด ความล้มเหลว มักจะเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่อยากพูด-ไม่อยากฟัง
แต่!
การเรียนรู้จากความผิดพลาดของคนอื่น โดยเฉพาะผ่าน Case study จริงในตลาดหุ้นเวียดนามนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะทำให้เราเข้าใจตลาดหุ้นเวียดนามมากขึ้น รวมทั้งมีความรู้ป้องกันไม่ให้เราพลาดตาม จากเงินของเราจริงๆ
มาร่วมฟัง Case study ประสบการณ์ลงทุนหุ้นเวียดนามจากปากนักลงทุนวีไอชั้นนำว่า หุ้นอะไร? เจ็บแค่ไหน? เพราะอะไรถึงมองหุ้นนั้นพลาด? รายตัว-รายอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ยังได้พบกับกองทุนฝรั่งใหญ่ที่สุดที่ลงทุนหุ้นเวียดนามยาวนานกว่า 25 ปี จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน Dragon Capital โดย คุณ Bill Stoops CIO ผู้ซึ่งสื่อการเงินการลงทุนชั้นนำของโลกเช่น Forbes, Morning star, CNBC, Edison group เคยพูดถึง จะมาเล่าให้ฟังว่า Why Vietnam? Why now?
เสน่ห์ตลาดหุ้นเวียดนามอยู่ตรงไหน? ...
Pham Nhat Vuong ประธานบริษัท Vingroup มหาเศรษฐีและผู้บริหารกิจการของเวียดนามคนแรกที่ติดอันดับTop 50 ผู้ทรงอิทธิพลด้าน Theme Park
Pham Nhat Vuong ประธานบริษัท Vingroup เป็นมหาเศรษฐีและผู้บริหารบริษัทชาวเวียดนามคนแรกที่ติดอันดับTop 50 ผู้ทรงอิทธิพลด้าน Theme Park ระดับโลกจากนวัตกรรมและความสร้างสรรค์ในการดึงดูดผู้เข้าชม โดย Bloobloop แหล่งข้อมูลออนไลน์ชั้นนำ
Bloobloop ได้รับความสนใจจากผู้อ่านกว่า 100,000คนต่อเดือน โดยส่วนใหญ่เป็นผู้เชี่ยวชาญที่มีบทบาทสำคัญในการประเมินผล เรื่องอิทธิพลของสวนสนุกและคอมเพล็กซ์ที่ให้ความบันเทิงทั่วโลก โดย Top 50 นี้เป็นการจัดอันดับที่มีผู้มีชื่อเสียงระดับโลกอย่างเช่น Bill Ernest ซีอีโอของ Saudi Entertainment Ventures, Robert Iger ประธานบริษัทและซีอีโอของ The Walt Disney Company, Roland Mack ผู้ก่อตั้งและเจ้าของ Europa-Park และ Thierry Coup รองประธานอาวุโสและผู้อำนวยการสร้างของ...
ดร.นิเวศน์
หุ้นร้าว. ในระบบเศรษฐกิจของไทยที่คนแก่ตัวลงและโตช้าลงมาก ดังนั้น หุ้นที่แพงจัดมาก ๆ นั้น น่าจะมีโอกาสเป็นหุ้นร้าวได้
Administrator - 0
โลกในมุมมองของ Value Investor 16 พฤศจิกายน 62
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หุ้นร้าว
สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาของการประกาศงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถือว่าเป็นเวลาที่นักลงทุนต้อง “ลุ้น” กันว่าหุ้นที่ตนเองถืออยู่นั้นจะประกาศผลงานที่ดีขึ้นหรือแย่ลงมากน้อยแค่ไหน เพราะผลงานที่ดีขึ้นโดยเฉพาะที่ดีเกินกว่าที่นักวิเคราะห์และนักลงทุนคาดจะทำให้หุ้นวิ่งขึ้น ในทางตรงกันข้าม ผลงานที่น่าผิดหวังจะทำให้หุ้นตกลง ในกรณีของหุ้นขนาดเล็กหรือหุ้นที่ไม่มีนักวิเคราะห์ติดตาม กำไรที่ดีขึ้นก็มักจะเป็นสัญญาณให้นักเก็งกำไรหรือ “นักปั่นหุ้น” เข้าไปไล่ราคาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับหุ้นที่ตนเองถือ สำหรับ VI การติดตามผลประกอบการรายไตรมาศเป็นสิ่งสำคัญที่นอกจากจะช่วยให้เราวิเคราะห์หุ้นที่ตนเองถือต่อเนื่องแล้ว ยังเป็นเวลาที่จะติดตามดูว่ามีหุ้นตัวไหนที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่น่าลงทุนหรือไม่
ไตรมาศ 3 ปี 2562 นี้ดูเหมือนว่าการประกาศงบการเงินจะมีผลกระทบกับหุ้นโดยเฉพาะขนาดกลางและเล็กหลาย ๆ ตัวที่เคยเป็นหุ้นเด่นและนักเล่นหุ้นนิยมเล่นกันมาก หลังจากประกาศ หุ้นเหล่านั้นก็ตกลงมาน่าจะประมาณ 10% บวกลบทั้ง ๆ ที่ตัวเลขกำไรก็ไม่ได้เป็น “หายนะ” บางบริษัทกำไรเพิ่มมากด้วยซ้ำแต่ก็มักจะเป็นกำไรพิเศษในขณะที่ผลประกอบการปกตินั้นแย่ลง อย่างไรก็ตาม นี่ก็เป็นกำไรเพียงไตรมาศเดียวและผมเองก็คิดว่าบริษัทไม่ได้แย่ขนาดนั้น ส่วนใหญ่อาจจะเป็นแค่เรื่อง “ชั่วคราว” ถึงไตรมาศ 4 ก็อาจจะเปลี่ยนไปโดยเฉพาะถ้าภาวะเศรษฐกิจของไทยดีขึ้นราคาของสินค้าดีขึ้น คำถามก็คือ อะไรทำให้หุ้นตกลงมาแรงเป็น 10% บางตัวตกลงมา 2-3 วัน ถึง 20-30% ก็มี
คำตอบของผมก็คือ ช่วงเวลานี้ ตลาดหลักทรัพย์กำลังอยู่ในช่วงของการปรับมูลค่าหุ้นให้เหมาะสมกับพื้นฐานที่แท้จริงของหุ้นแต่ละตัวที่ในอดีตนั้นมีราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นหรือมีราคาที่สูงเกินกว่าพื้นฐานหรือพูดอย่างหยาบ ๆ ก็คือค่า PE สูงเกินกว่าความสามารถในการทำกำไรระยะยาวแต่มี Story และมีกำไรเติบโตโดดเด่นในระยะสั้น หุ้นเหล่านี้มีนักวิเคราะห์และผู้ที่เกี่ยวข้องจำนวนมากช่วยกันเชียร์และสร้างภาพว่าเป็นกิจการชั้นเยี่ยมและเติบโตดีโดยที่ค่า PE นั้นไม่มีความสำคัญ และที่เหนือกว่าสิ่งอื่นใดก็คือ แรงซื้อเก็งกำไรของนักเล่นหุ้นทั้งขาเล็กและขาใหญ่นั้น มีมากพอที่จะสนับสนุนและดันราคาหุ้นให้ขึ้นไปได้ตราบใดที่ “กำไรยังโตขึ้นโดดเด่น”
ภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงช่วงนี้ได้ทำให้กำไรโตขึ้นยาก กำไรที่โตช้าลงหรือน้อยลงมากหรือกำไรที่ลดลงนั้น คงทำให้คนบางคนที่มีหุ้นอยู่ลดความเสี่ยงโดยการเทขายหุ้นที่ยังได้กำไรอยู่พอสมควร การขายหุ้นของพวกเขานั้นทำให้หุ้นตกลงมาเพราะแรงซื้อน้อยลงไปกว่าเดิม นั่น “จุดชนวน” ให้คนอื่นที่มีหุ้นอยู่เทขายตามมาซึ่งทำให้หุ้นตกลงไปอีก จนถึงจุดหนึ่งที่ราคาหุ้นไป “Trigger” หรือจุดชนวนให้คนที่เล่นหุ้นตัวนั้นโดยการใช้ Leverage หรือการกู้เงินมาซื้อหุ้นหรือเล่นอนุพันธ์หรือตราสารการเงินที่มีอัตราทดสูงมาก ๆ เช่น การทำ Block Trade โดยผู้เล่นรายใหญ่และการเล่น DW โดยนักลงทุนรายย่อย ต้องเทขายหุ้นออกมาจำนวน “มโหฬาร” เพราะถูก “บังคับขาย” โดยโบรกเกอร์ ผลก็คือ หุ้นตกลงมาถึง...