FiinGroup เผยแนวโน้มการฟื้นตัวของกำไรจะยังคงเป็นแรงขับเคลื่อนราคาหุ้นในปี 2567 แต่จะเกิดขึ้นเฉพาะกลุ่มที่มีปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งเท่านั้น
จากข้อมูลของ FiinGroup กำไรหลังหักภาษีของตลาดโดยรวมในไตรมาส 4/2566 เติบโตอย่างก้าวกระโดดจากจุดต่ำสุดของปีก่อน แต่การฟื้นตัวนี้ไม่สามารถชดเชยผลประกอบการทั้งปีได้
ในปี 2566 กำไรสุทธิของตลาดลดลง 6.7% ซึ่งมากกว่าปี 2563 (ปีแรกที่มีโควิด) และต่ำกว่าแผนธุรกิจที่ผู้ประกอบการตั้งไว้
หลายกลุ่มมีกำไรหลังหักภาษีทั้งปี 2566 ลดลง แต่มีสัญญาณการฟื้นตัวและเพิ่มขึ้นในไตรมาส 4/2566 เช่น กลุ่มธนาคาร เทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรพื้นฐาน (ส่วนใหญ่เป็นเหล็ก) ผลิตภัณฑ์ของใช้ส่วนบุคคล ผลิตภัณฑ์อาหาร วัสดุก่อสร้าง ในทางกลับกัน กำไรหลังหักภาษีของกลุ่มค้าปลีกและสาธารณูปโภคยังไม่ฟื้นตัว
ราคาหุ้นหลายกลุ่มสะท้อนการฟื้นตัว รวมถึงกลุ่มที่มีการเติบโตต่ำกว่าคาดการณ์หรือแม้แต่กำไรที่ยังอยู่ในจุดต่ำ
FiinGroup กล่าวว่า ราคาหุ้นปัจจุบันเป็นราคาของความคาดหวัง P/E ของตลาดอยู่ที่ 13.7x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยตั้งแต่ปี 2558 จนถึงปัจจุบัน (14.2x) ส่วนใหญ่เป็นเพราะการประเมินมุลค่าหุ้นต่ำของกลุ่มธนาคาร
ทีมวิเคราะห์ของ FiinGroup แบ่งกลุ่มอุตสาหกรรมตามสาเหตุของราคาหุ้นที่ขึ้น:
1. กลุ่มที่มีราคาขึ้นเพราะการคาดหวังการฟื้นตัว: เคมีภัณฑ์ ก่อสร้าง ค้าปลีก อุตสาหกรรมอาหารทะเล การไฟฟ้า อสังหาริมทรัพย์เพื่อการอุตสาหกรรม การขนส่งทางน้ำ ฯลฯ
กลุ่มเหล่านี้มีราคาพุ่งสูง แต่กำไรกลับลดลง การเพิ่มขึ้นของราคาส่วนใหญ่มาจากการคาดหวังกำไรจะฟื้นตัวและเติบโตอีกครั้งหลังจากช่วงโควิด-19 ความคาดหวังนี้ดึงดูดงบกระแสเงินสดจึงทำให้การประเมินมูลค่าเพิ่มขึ้น เมื่อมองไปในปี 2567...
หลังจากจดทะเบียนใน UPCoM มานานกว่า 5 ปี มูลค่าตลาดของ Viettel Post (VTP) บริษัทไปรษณีย์ชั้นนำของเวียดนามเพิ่มขึ้น 180% เมื่อเทียบกับช่วงแรกก่อนที่จะปิดตลาด UPCoM
ปิดฉากบน UPCoM มุ่งสู่ HoSEตลาดหลักทรัพย์ฮานอย (HNX) เพิ่งประกาศยกเลิกการจดทะเบียนซื้อขายหุ้นของ Viettel Post (VTP) ดังนั้น หุ้น VTP มากกว่า 121.78 ล้านหุ้นจะทำการซื้อขายสุดท้ายในตลาด UPCoM ในวันที่ 29 กุมภาพันธ์ และยกเลิกการจดทะเบียนซื้อขายในอีกหนึ่งวันต่อมาเพื่อจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ HoSE
ราคาหุ้นพุ่งแรง
ราคาหุ้น VTP เพิ่มขึ้นกว่า 72% ตั้งแต่ต้นเดือนพฤศจิกายน 2023 มูลค่าตลาดของ Viettel Post เพิ่มขึ้นเป็น 1.2 หมื่นล้านบาท (8.4 ล้านล้านด่อง) และเพิ่มขึ้น 2.7 เท่า YoY
Viettel Post ผู้นำด้านโลจิสติกส์
Viettel Post มีทุนจดทะเบียน~ 1.8 พันล้านบาท (1.2 ล้านล้านด่อง) การเติบโตของ...
ตลาดอสังหาริมทรัพย์ค้าปลีกเวียดนามกำลังร้อนแรง เมื่อ Central Pattana - ยักษ์ใหญ่จากไทยทุ่มทุนพันล้านบาทตั้งบริษัทลูกในเวียดนาม เตรียมลุยตลาดเต็มรูปแบบ ชิงส่วนแบ่งจากเจ้าถิ่นและยักษ์ใหญ่ต่างชาติ
Vincom Retail ครองอันดับ 1 มหาเศรษฐีเวียดนามรุกหนัก
Vincom Retail ยังคงเป็นผู้นำตลาด ครองอันดับ 1 ในเวียดนาม ด้วยการบริหารห้างสรรพสินค้า 83 แห่งทั่วประเทศ วางแผนเปิดเพิ่มอีก 6 แห่งในปี 2567 ในปี 2023 รายได้สุทธิของ Vincom Retail จะสูงถึง 14.2 หมื่นล้านบาท กำไรหลังหักภาษี 6.4 พันล้านบาท ซึ่งเติบโต 33% และ 58.8% QoQ
ยักษ์ใหญ่ต่างชาติรุกตลาดเวียดนาม: AEON Lotte Thaco Central Retail ต่างเดินหน้าขยายธุรกิจในเวียดนาม
- Lotte เปิดตัว Lotte Mall West Lake Hanoi ศูนย์การค้าที่ใหญ่ที่สุดของ Lotte ในเวียดนาม มีพื้นที่ทั้งหมด 354,000 ตารางเมตร
-...
PNJ บันทึกรายได้และกำไรสุทธิลดลงอย่างมากในเดือนมกราคม 2024
สาเหตุหลักมาจาก:
พฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคขึ้นอยู่กับวันเทศกาลตรุษเวียดนาม (ตรงกับวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติ) แต่ปีนี้ตรุษเวียดนามมาช้าตกอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ กำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว
รายละเอียด:
รายได้สุทธิของ PNJ ในเดือนมกราคม 2567 อยู่ที่ 5.5 พันล้านบาท (3,829 พันล้านด่อง) ลดลงมากกว่า 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว กำไรหลังหักภาษีลดลง19% เป็น 350 ล้านบาท (245 พันล้านด่อง)รายได้จากการขายปลีกเครื่องประดับลดลง 6%รายได้ทอง 24K ลดลง 16%รายได้จากการขายส่งเครื่องประดับเพิ่มขึ้น 33% เนื่องจากการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเทศกาลตรุษเวียดนาม
สรุปผลประกอบการ PNJ เดือนมกราคม 2567
โครงสร้างรายได้: ค้าปลีก: 52% ทอง 24K: 36% ขายส่ง: 11% และ อื่นๆ: 1%อัตรากำไรขั้นต้น: 17.2% (ลดลงจาก 18.2% ในปี 2566)ต้นทุนการดำเนินงาน: ลดลงเกือบ 4%อัตราส่วนต้นทุนการดำเนินงาน/LNG: เพิ่มขึ้นจาก 47.5% เป็น 52.1%จำนวนร้าน PNJ: 402 แห่ง...
VN-Index เพิ่มขึ้นกว่า 130 จุด (+12%) ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2567 มูลค่าหลักทรัพย์ของ HOSE เพิ่มขึ้นประมาณ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ (550,000 พันล้านด่อง) เมื่อรวมทั้งตลาดหลักทรัพย์สามแห่งแล้วมีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ 2.75 หมื่นล้านดอลลาร์ (660,000 พันล้านด่อง)
แรงขับเคลื่อนหลัก มาจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน จากข้อมูลของ VNDirect กำไรสุทธิในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ของธุรกิจ 1,128 แห่ง คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 30% YoY เนื่องจากการฟื้นตัวของบริษัทต่างๆ และฐานต่ำของไตรมาส 4/2565
กราฟ: รายได้-กำไร 1,128 หุ้นในตลาดเวียดนาม ตั้งแต่ Q1/19-Q4/2023
กลุ่มธนาคาร เป็นกลุ่มที่ผลการดำเนินงานโดดเด่น กำไรสุทธิในไตรมาส 4/66 เพิ่มขึ้น 22.5% เนื่องจากการเติบโตของสินเชื่อที่เร่งตัว
รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (ค่าธรรมเนียม ค่าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ) เพิ่มขึ้น ทั้งอุตสาหกรรม +20% อีกทั้งต้นทุนการสำรองลดลง 5%
กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้ชะลอตัวนัก กำไรสุทธิ Q4/2566...
ผลประกอบการ หุ้นใหญ่ใน VN 30 (ไม่รวมธุรกิจทางการเงิน) ไตรมาส 4 ปี 2566 มีเซอร์ไพรส์
Hoa Phat (HPG-หุ้นเหล็ก) ฟื้นตัวอย่างโดดเด่น
"ราชาเหล็ก" ฟื้นตัวอย่างโดดเด่น ทิ้งห่างคู่แข่งในอุตสาหกรรมอื่นๆ
Hoa Phat สร้างเซอร์ไพรส์คว้าอันดับหนึ่งในเกมการแข่งขันทำกำไรไตรมาสที่ 4 จากโครงการลงทุนภาครัฐ เช่น การสร้างสนามบิน Long Thanh ทางด่วนเหนือ-ใต้ ฯลฯ
Vingroup (VIC - Holding Company) ร่วงจากบัลลังก์
ในทางตรงกันข้าม Vingroup กลับเผชิญผลประกอบการที่ย่ำแย่ ขาดทุนในไตรมาสที่ 4
ส่วน Vinhomes (VHM-หุ้นอสังหา) อดีตราชาแห่งผลกำไร ไตรมาสนี้กำไรลดลงอย่างเห็นได้ชัด ร่วงไปอยู่อันดับที่ 9
หุ้นที่เป็นไปตามคาด ได้แก่
- หุ้นพลังงานก๊าซ GAS ติดอันดับ 2 ด้านกำไร- หุ้นนม Vinamilk หรือ "แดรี่ควีน" ของเวียดนามขึ้นแท่นอันดับ 3 ด้านกำไร
ดาวรุ่งพุ่งแรง:
- Becamex (BCM-หุ้นนิคม) :...
โลกในมุมมองของ Value Investor 17 กุมภาพันธ์ 2567
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
หลังจากที่เปลี่ยนแนวทางการลงทุนในตลาดหุ้นจากที่เน้นเฉพาะในตลาดไทยไปเป็นการลงทุนในตลาดหุ้น “ทั่วโลก” และจากการลงทุนเลือกหุ้นเป็นรายตัวเป็นหลัก เป็นการลงทุนผสมผสานระหว่างรายตัวกับการลงทุนใน “กองทุน” ของประเทศหรือกองทุนของกลุ่มบริษัทที่น่าสนใจตามอุตสาหกรรมหรือตามเทคโนโลยีที่เป็นหุ้นแห่งอนาคต เป็นต้น ผมก็เริ่มศึกษาว่าประเทศหรือเศรษฐกิจไหนที่น่าสนใจ—ในเอเชีย
เริ่มจากการมองดูผลการดำเนินงานของดัชนีตลาดหุ้นในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา เริ่มจากทางตะวันตกคืออินเดียและเคลื่อนไปทางตะวันออกสุดที่ญี่ปุ่น ดูเฉพาะประเทศหลัก ๆ ที่มีตลาดหุ้นที่ใช้การได้เช่นเดียวกับระบบการเมืองและเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพมานานพอ
สิบปีที่ตลาดหุ้นอินเดียนั้น ดูแบบหยาบ ๆ ก็คือ เป็น “ยุคทอง” ของตลาดหุ้น ซึ่งเหตุผลก็คงเป็นว่าเศรษฐกิจอินเดียกำลังดีขึ้นทุกด้าน เช่นเดียวกับสังคมและการเมืองทั้งในและต่างประเทศที่กำลังดู “สูงส่ง” ขึ้นทุกวัน อินเดียกำลังกลายเป็นเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกภายในเวลาไม่กี่ปี นอกจากนั้น อินเดียเป็นมิตรกับทุกประเทศและทุกคนเกรงใจ อยากเป็นเพื่อนด้วยทั้งจีนและอเมริกา
และนั่นคงเป็นเหตุให้ 10 ปีที่ผ่านมา ดัชนีตลาดหุ้นอินเดียเติบโตขึ้น 240% หรือให้ผลตอบแทนทบต้นถึงปีละ 13% ซึ่งถ้ารวมปันผลก็อาจจะประมาณ 16% ต่อปี โดยที่ดัชนีปรับตัวขึ้นอย่างสม่ำเสมอและมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนน้อยมาก อย่างไรก็ตาม คนที่จะไปลงทุนในตลาดหุ้นอินเดียตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้วน่าจะน้อยมาก เพราะในเวลานั้น ตลาดหุ้นอินเดียยังแทบจะเป็นตลาดที่ “ลงทุนไม่ได้” สำหรับคนจำนวนมากรวมทั้งผมที่คิดว่า อินเดียยัง “ยากจนเกินไป”
จากอินเดียผมขอมาที่มาเลเซียก่อน ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 10 กุมภาพันธ์ 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ถ้าจะหาตลาดหุ้นที่มีโอกาสเติบโตระยะยาวเป็น 10 ปี ขึ้นไป นอกจากตลาดหุ้นเวียดนามที่ผมพูดและลงทุนมานานแล้วก็คือ ตลาดหุ้นอินเดีย
เพราะประเทศอินเดียนั้น มีองค์ประกอบทุกอย่างที่จะทำให้ตลาดหุ้นเติบโตระยะยาว เรื่องแรกก็คือ อินเดียมีขนาดเศรษฐกิจที่
ใหญ่มาก คือเป็นอันดับ 5 รองจากสหรัฐอเมริกา จีน เยอรมัน
ญี่ปุ่น และดังนั้น จึงมีบริษัทขนาดใหญ่จำนวนมากที่จะมีความสามารถและมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างน้อยก็ในประเทศ ซึ่งทำให้เราสามารถเลือกลงทุนในบริษัทเหล่านั้นได้
ข้อสอง เศรษฐกิจอินเดียกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและก็เติบโตมานานเป็นสิบ ๆ ปีแล้วและก็จะเติบโตต่อไปอีกเป็นสิบ ๆ ปี เหตุก็เพราะว่าอินเดียมีปัจจัยหรือทรัพยากรในการเติบโตที่ครบถ้วนและจะอยู่ต่อไปอย่างน้อยสิบปีขึ้นไปนั่นก็คือ
1 อินเดียมีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก และการเพิ่มของประชากรก็ยังค่อนข้างจะสูงมาก และคนอินเดียโดยเฉลี่ยก็ยังอายุน้อยมาก ดังนั้น กำลังแรงงานของอินเดียที่จะเป็นคนทำงานเพิ่มการผลิตหรือเพิ่ม GDP ก็จะสูงมาก ว่าที่จริงถ้ามองย้อนหลังไป 20 ปี เศรษฐกิจอินเดียเติบโตโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 6.4% ซึ่งรวมถึงปีซับไพร์มและช่วงปีโควิด 19 แล้ว
2 แม้ว่าคุณภาพของคนอินเดียโดยเฉลี่ยนน่าจะเป็นรองประเทศในย่านเอเซียตะวันออกอย่างจีนเกาหลีและญี่ปุ่น แต่การเพิ่มผลิตภาพหรือความสามารถในการทำงานโดยเฉพาะในช่วงที่รายได้ต่อหัวของคนยังน้อยก็น่าจะทำได้ดี เฉพาะอย่างยิ่งโดยการเพิ่ม “ทุน” เช่นเครื่องจักรและอุปกรณ์เข้าไปในการผลิตก็จะสามารถเพิ่ม Productivity หรือผลิตภาพของคนได้อย่างรวดเร็ว ดังนั้น การเติบโตของ GDP ก็จะเป็น...
โลกในมุมมองของ Value Investor 3 กุมภาพันธ์ 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
การปิดกองทุน “เฮดจ์ฟันด์” ซึ่งน่าจะเป็นกองแรก ๆ ของไทยซึ่งนักลงทุนจำนวนมากก็อาจจะ “เพิ่งรู้จัก” ตอนที่ประกาศปิด คือ “กองทุนต้นโพธิ์” ทำให้ผมระลึกถึงกองทุน “เฮดจ์ฟันด์” กองแรก ๆ ของโลกคือกองทุน “Tiger Fund” ของ Julian Robertson นักลงทุน “ในตำนาน” ของเฮดจ์ฟันด์ซึ่งเพิ่งจะเสียชีวิตในวัย 90 ปี เมื่อ 2 ปีก่อน
ข้อแรกก็คือ ไทเกอร์ฟันด์ก่อตั้งขึ้นในปี 1980 ที่คนก็ยังแทบไม่รู้จักเฮดจ์ฟันด์ โดยช่วงที่ก่อตั้งนั้นใช้เงินของครอบครัวบวกกับญาติและมิตรสหายแค่ 8 ล้านดอลลาร์ แต่พอถึงปี 1998 ก่อนปิดกองทุนในปี 2000-01 พอร์ตก็ขึ้นถึงจุดสูงสุดและมีมูลค่ากว่า 7 พันล้านเหรียญ กลายเป็นเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก ให้ผลตอบแทนทบต้นต่อปีถึง 32% หลังหักค่าธรรมเนียม ในเวลายาวนานถึง 18 ปี
เท่าที่ผมทราบอย่างไม่เป็นทางการ กองทุนต้นโพธิ์เปิดในปี 2548...
โลกในมุมมองของ Value Investor 27 มกราคม 2567
ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
เซียนหุ้นเกือบทุกคนน่าจะต้องมี “เคล็ดลับ” ในการลงทุนที่ทำให้ประสบความสำเร็จ อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งก็จะต้องเป็นเวลาอย่างน้อยก็หลายปี บางทีก็เป็น 10 ปี ซึ่งก็ทำให้คนรับรู้และยอมรับว่าเป็น “เซียน”
และสิ่งที่คนทั่วไปสนใจก็คือ พวกเขามี “เคล็ดลับ” อะไรในการลงทุนที่คนไม่รู้และอยากจะรู้เพื่อที่จะได้ไปทำตามบ้าง เพราะนั่นอาจจะทำให้รวยได้
“เซียน” ส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าอะไรคือ “เคล็ดลับ” ของตนเอง และมักจะมีความซับซ้อนน่าทึ่งแต่ก็เป็นสิ่งที่น่าจะทำได้ถ้าฝึกฝนให้ดี ทุ่มเทกับมัน ให้เวลากับมัน มีวินัยสูง แล้วคุณก็จะ ทำได้ “ผมรวยและประสบความสำเร็จอย่างสูงได้ คุณก็ทำได้”
แต่หลายสิ่งหลายอย่างที่ “เซียน” ทำและอาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่เซียนประสบความสำเร็จอย่างสูงกว่าคนอื่นนั้น เซียนก็อาจจะไม่ได้บอกหมด ตัวอย่างเช่น การใช้ข้อมูลภายในที่ได้รับรู้มาจากคนในบริษัท หรือการ “ปั่นหุ้น” โดยการปล่อยข่าวหรือการสร้างเรื่องที่ไม่จริงหรือไม่ถูกต้องให้กับคนที่มีความรู้และความเข้าใจน้อยให้เข้ามาลงทุนซื้อหุ้นที่ถูก “ลากขึ้นไป” โชว์ เป็นต้น และนั่นก็เป็น “เคล็ดลับจริง” ที่บอกไม่ได้
หน้าที่ของคนที่พยายามหา “เคล็ดลับ” ของ “เซียน” จึงต้องวิเคราะห์ให้ดีว่า เซียนคนไหนใช้เคล็ดลับอะไรที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ เป็นเคล็ดลับที่เขาใช้จริงหรือไม่ และเขาบอกหมดหรือเปล่า
จากประสบการณ์ของผม “เซียนตัวจริง” ที่เน้นลงทุนระยะยาวและอยู่ในตลาดมานานมากอย่าง วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้น ...