ทศวรรษที่(อาจ)หายไป

0
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร โลกในมุมมองของ Value Investor 7 ธันวาคม 62 ในฐานะที่เป็น VI ที่เน้นการลงทุนระยะยาวและปกติก็จะถือหุ้นแต่ละตัวเกินกว่า 5 ปี หลายตัวถือเกิน 10 ปี ผมจึงสนใจพัฒนาการทางเศรษฐกิจ สังคม การเมือง และตลาดหุ้นในระยะยาวว่าเป็นอย่างไร ข้อสรุปของผมที่ผ่านมาก็คือ ...

หุ้นเวียดนามถูกลง แต่ปริมาณการซื้อขายยังต่ำ

0
ดัชนีหุ้นเวียดนามที่ลดลงช่วงนี้ ทำให้ Valuation ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปีก่อน แม้ว่าจะอยู่ในระดับที่ถูกที่สุดของปี แต่ถ้ามองว่าเป็นโอกาสก็ยังดูจะง่ายเกินไป สำหรับนักลงทุนที่อยากจะเก็บเกี่ยวผลประโยชน์จากการเติบโตทางเศรษฐกิจของเวียดนาม มีอุปสรรคที่ต้องระวังคือ การที่สภาพคล่อง และข้อจำกัดการถือครองหุ้นของชาวต่างชาติ ปริมาณผู้ถือหุ้นรายย่อยที่น้อย และการควบคุมของรัฐที่เข้มงวดทำให้เหลือหุ้นเพียงน้อยนิดสำหรับชาวต่างชาติที่จะซื้อขาย แต่ถือเป็นข่าวดี ที่เวียดนามมีการใช้มาตรการหลายอย่างในการจัดการปัญหา มีการคลายข้อจำกัดของการถือครองหุ้นของชาวต่างชาติสำหรับอุตสาหกรรมบางอย่าง และมีการเร่งกระบวนการลดสัดส่วนการถือหุ้นของรัฐในบริษัทต่างๆ และได้เริ่มต้นตลาดอนุพันธ์เมื่อปี 2017 และจะมีการแนะนำผลิตภัณฑ์ทางการลงทุนมากขึ้นในปีนี้ ในตอนนี้ปริมาณการซื้อขายในตลาดหุ้นของเวียดนามยังน้อยนิดเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สภาพคล่องที่ต่ำของหุ้นในระดับ Top บางตัว ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากผู้ถือหุ้นต่างชาติรายใหญ่ที่ถือหุ้นในระยะยาว...

เทพนิยายในตลาดหุ้น

0
โลกในมุมมองของ Value Investor   30 พฤศจิกายน 62 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร หุ้นที่มีราคาวิ่งขึ้นหวือหวาร้อนแรงมาก ๆ  ในช่วงเวลาอันสั้นนั้น  เกือบทั้งหมดต่างก็มักจะมี“Story” หรือเรื่องราวที่น่าตื่นเต้น  ฟังแล้วก็จะรู้สึกประทับใจ  คนที่  “ไร้เดียงสา” หรือแม้แต่คนที่คิดว่ามีประสบการณ์มาเพียงพอก็อาจจะยัง“เคลิ้ม” จนต้อง “เสพ” หรือดื่มด่ำกับเรื่องราวดังกล่าวและคิดว่ามันเป็นเรื่องจริง  เป็นความฝันที่จะกลายมาเป็นความจริงและชีวิตของตนก็จะมีแต่ความสุข  แต่สำหรับผมเองแล้ว  ประสบการณ์ที่พานพบมาต่อเนื่องยาวนานบอกผมว่า เรื่องราวความเป็นจริงที่ตามมานั้น  ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้เป็นไปตามสตอรี่ที่สร้างหรือวาดภาพขึ้นมา  มันเป็นแค่ “Fairy Tale” หรือ “เทพนิยาย” ในตลาดหุ้นที่มีการเขียนขึ้นมาอย่างดีสุดยอดที่ทำให้คนอ่านเกิด  “จินตนาการ” หรือ“ฝันไป” กับเรื่องราว “สุดวิเศษ” เหล่านั้นชั่วขณะ  อาจจะคล้าย ๆ  กับผู้หญิงจำนวนมากที่อ่านเทพนิยายเรื่องซินเดอร์เรลล่าแล้วฝันว่าตนเองจะเป็นเหมือนซินเดอร์เรลล่าที่จะได้แต่งงานกับเจ้าชายทั้ง ๆ ที่ในชีวิตจริงนั้นแทบจะไม่เกิดขึ้นเลย  ลองมาดูกันว่าในช่วงเร็ว ๆ  นี้เรามี  “เทพนิยาย”  เรื่องอะไรบ้าง เทพนิยายเรื่องแรกและน่าจะเป็นเรื่องที่สร้างจินตนาการได้สุดยอดมีคนติดตามกันมากและเคลิบเคลิ้มไปทั้งตลาดก็คือการที่หุ้นขนาดเล็ก-กลางที่อยู่ในกลุ่มผู้บริโภคที่มียี่ห้อโดดเด่นหรือมีแนวทางการขายแบบใหม่และพุ่งเป้าสู่  “ตลาดโลก” หรือนักท่องเที่ยวชาวจีนซึ่งเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว  จะเติบโตแบบก้าวกระโดดและอาจจะกลายเป็น “ผู้เล่นระดับโลก” ดังนั้น  ราคาหุ้นก็สามารถวิ่งขึ้นไปได้เป็นหลาย ๆ เท่าหรือเป็นสิบเท่าได้ในระยะเวลาไม่กี่ปี  Market Cap. ระดับแสนล้านบาทก็ไม่ถือว่าแพง ความเป็นจริงก็คือ  หลังจากการเติบโตอย่างรวดเร็วไม่เกิน 2-3 ปี  กำไรก็เริ่มสะดุด  แผนการหรือโครงการที่จะขยายธุรกิจประสบอุปสรรคไม่เป็นไปตามคาด  กำไรถดถอยลงเนื่องจากต้นทุนที่เพิ่มขึ้น  สิ่งที่พูดไว้ถูกดัดแปลงหรือปรับใหม่  บางกรณี “สตอรี่ใหม่” ก็ตามมา  แต่ความน่าเชื่อถือก็หมดไป  ราคาหุ้นตกลงมาอย่างหนักเหลือเท่ากับราคาก่อนที่จะขึ้นไปหรือต่ำกว่า  หลายคน “ตื่นจากความฝัน” เทพนิยายต่อมาเป็นเรื่อง  “ความฝันแห่งภาคตะวันออก” หรือเขตเศรษฐกิจ EEC ของรัฐบาล  ว่ามันจะทำให้เกิดการลงทุนและการใช้พื้นที่โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมที่อยู่ในภูมิภาคตะวันออกหลายจังหวัดในระยะเวลาอันสั้นไม่กี่ปี   ความเป็นจริงดูเหมือนว่าจะมาช้ากว่าที่คิดมากหรือบางทีมันอาจจะไม่มาเลยก็ได้โดยเฉพาะเมื่อคำนึงถึง Supply หรือคู่แข่งทั้งเก่าและใหม่ที่อาจจะเริ่มสร้างกำลังการผลิตหรือนิคมอุตสาหกรรมเพิ่ม  ราคาหุ้นที่เกี่ยวข้องกับ EEC บางตัวก็มีการปรับขึ้นไปบ้างในตอนแรก ๆ  ของการรณรงค์  แต่เมื่อเวลาผ่านไป  ดูเหมือนว่าหุ้นในกลุ่มที่จะได้ประโยชน์จากEEC แทบจะไม่ไปไหน  จำนวนมากตกลงมาด้วยซ้ำ ถ้าจะพูดไป  เทพนิยายเรื่องนี้ดูเหมือนว่าจะไม่เป็นที่นิยมมากเท่าที่คิดตั้งแต่แรก ๆ ด้วยซ้ำ   เรื่องของการสร้างสาธารณูปโภคของรัฐนั้นน่าจะเป็น  Fairy Tale มานานพอสมควร  “เราจะมีโครงการใหม่ ๆ  เป็นแสน ๆ ล้านบาท” รถไฟ  สนามบิน ท่าเรือ  รถไฟฟ้าในเมืองและระหว่างเมือง  เป็นต้น  ดังนั้นธุรกิจเช่นรับเหมาก่อสร้างและโครงการที่เกี่ยวข้องจะได้ประโยชน์มหาศาล  อย่างไรเสียรับเหมารายใหญ่ ๆ ก็จะต้องได้งานมากมายจนทำไม่ไหวและจะได้กำไรดีเพราะงานมากไม่ต้องแข่งขันด้านราคามาก   ในช่วงแรกก็ดูเหมือนว่าหุ้นบางบริษัทก็ปรับตัวขึ้น  อย่างไรก็ตาม  เวลาผ่านไปโดยที่โครงการเกิดช้ากว่าที่คิด  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  บริษัทรับเหมาจากต่างชาติเข้ามาแข่ง  งานในมือที่คิดว่าจะมากขึ้นเรื่อย ๆ  นั้นกลับน้อยลง  ราคาหุ้นตกต่ำลง  และคนที่เคยเล่านิทานเรื่องนี้ก็หายหน้าจากไป เรื่องของเมกาเทรนด์นั้นก็น่าจะเป็น  “เทพนิยาย” เหมือนกัน  เช่น  คนไทยแก่ตัวลงอย่างรวดเร็ว  ดังนั้นเรื่องที่เกี่ยวกับสุขภาพโดยเฉพาะโรงพยาบาลจะได้ประโยชน์  ดังนั้น  หุ้นของโรงพยาบาลทุกรูปแบบรวมถึงที่เกี่ยวกับฟันก็วิ่งขึ้นไปหรือมีคนสนใจเข้าไปลงทุนกันมาก  ค่า PE ดูเหมือนจะสูงลิ่วระดับ 30-40 เท่าขึ้นไปกันเป็นส่วนใหญ่  แต่เมื่อเวลาผ่านมาจนถึงวันนี้ดูเหมือนว่าการเติบโตของยอดขายและกำไรของโรงพยาบาลก็ไม่ได้ดูโดดเด่น  โรงพยาบาลที่เคยเป็นสุดยอดและแข่งขันได้ในระดับสากลมีลูกค้าต่างชาติจำนวนมากกลับไม่เติบโตหรือโตน้อย   คำแก้ตัวนั้นมีหลายอย่างรวมถึงค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น    อย่างไรก็ตาม  โรงพยาบาลท้องถิ่นเองก็ไม่ได้ดูดีอะไรนักในแง่ของผลประกอบการ อย่างมากที่เห็นก็คือ  โรงพยาบาลก็โตพอ ๆ  กับเศรษฐกิจหรือดีกว่าก็เพียงเล็กน้อย  หุ้นโรงพยาบาลที่เคยร้อนแรงตอนนี้ก็นิ่งหรือบางตัวก็ลงมาแรงพอสมควร โรงแรมที่เคยเป็นหุ้นกลุ่มยอดนิยมเหมือนกันเนื่องจากมันก็อยู่ใน “เมกาเทรนด์” หลังจากที่คนจีนเริ่มออกมาเที่ยวต่างประเทศโดยเฉพาะเมืองไทยเมื่อซัก 10 ปีที่ผ่านมา  ประเทศไทยเองก็ดูเหมือนว่าจะโดดเด่นขึ้นกลายเป็นประเทศหรือเมืองที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั่วโลกในระดับสูง  “เทพนิยาย”  เรื่องการท่องเที่ยวและโรงแรมถูกแต่งขึ้นและนักลงทุนต่างก็เคลิบเคลิ้มว่ามันคือธุรกิจที่สุดยอดและจะเติบโตไปอีกมาก    หุ้นโรงแรมวิ่งขึ้นไปแรงและสูงมาก บางตัวกลายเป็น  “ซุปเปอร์สต็อก” ที่มีมูลค่าตลาดของหุ้นมหาศาล  แต่ดูเหมือนว่าการเติบโตที่รวดเร็วนั้นก็ชะลอลงอย่างรวดเร็วเช่นกัน  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  น่าจะมีโรงแรมใหม่ ๆ  เปิดขึ้นมากไม่ต้องพูดถึง “ที่พัก” จากแอร์บีเอ็นบีและอพาร์ตเม้นต์ที่เพิ่มขึ้นมาไม่หยุดหย่อนที่ทำให้กำไรของบริษัทจดทะเบียนไม่ได้โตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ หุ้นกลุ่มผู้ขายสินค้าอุปโภคบริโภคในประเทศในยามที่เศรษฐกิจค่อนข้างซบเซาเนื่องจากภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำลงในช่วงนี้ต่างก็ได้รับการแนะนำว่าจะได้ประโยชน์จากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลและดังนั้นก็เป็นหุ้นกลุ่มที่ควรซื้อลงทุน  แต่นี่ก็น่าจะเป็นเทพนิยายอีกเช่นกัน  เพราะตัวเลขยอดขายของบริษัทจดทะเบียนกลุ่มค้าปลีกแทบจะไม่เติบโตเลย  เหตุผลก็ชัดเจน  ตัวเลขเม็ดเงินที่ใช้นั้นเทียบไม่ได้กับตัวเลขรวมของการใช้จ่ายปกติที่เป็นอยู่ Fairy Tale ไม่ใช่มีเฉพาะตลาดหุ้นไทย  ในตลาดหุ้นอเมริกาเองนั้นก็มี  และที่เล่ากันเป็นประจำทุกครั้งที่ตลาดร้อนแรงและบริษัทจดทะเบียนขยายตัวโดยการเข้าควบรวมกิจการบริษัทอื่น ๆ  เป็นจำนวนมากเพราะคาดหวังว่าจะทำให้บริษัทเติบโตและมีกำไรเพิ่มขึ้นรวดเร็ว   แต่  “เทพนิยาย” เรื่องนี้ก็มักไม่เป็นจริง  เพราะหลังจากนั้น  ธุรกิจที่ซื้อมาก็มักจะ  “เน่า” ผู้บริหารที่เข้ามาใหม่ก็ต้องขายกิจการทิ้ง  ซึ่งทำให้วอเร็น บัฟเฟตต์ พูดเปรียบเปรยว่ามันเหมือนเทพนิยายเรื่อง  “เจ้าชายกบ” ที่เป็นเรื่องของเจ้าหญิงที่จูบเจ้าชายที่ถูกแม่มดสาบให้เป็นกบแล้วเจ้าชายก็ฟื้นกลับขึ้นมา  บัฟเฟตตบอกว่าเจ้าหญิงก็คล้ายกับผู้บริหารที่คิดว่าตนเองสามารถมองหากบหรือกิจการเน่าที่ถูกสาบแล้วฟื้นมันขึ้นมาได้  แต่ในชีวิตจริง  มันไม่มี  จูบกบกี่ตัวมันก็ยังเป็นกบอยู่นั่นเองไม่เป็นเจ้าชายอย่างที่หวัง ในตลาดหุ้นไทยเองนั้น  หุ้นกลุ่มที่ถูกอ้างว่าเป็น “หุ้นโตเร็ว”  ที่มักเป็นกลุ่มที่มีรายได้และกำไรโตเร็วในช่วงเร็ว ๆ  นี้ ก็มักเป็น  “เทพนิยาย” ที่เป็นเรื่องของจินตนาการ  เพราะมันมักจะโตเร็วเฉพาะในช่วงเวลานั้นและเกิดขึ้นเพราะสถานการณ์เอื้ออำนวย  ไม่ใช่เรื่องของการโตจากพื้นฐานของบริษัทและเมกาเทรนด์  แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป การเติบโตเร็วก็หยุดลง  กลายเป็นเติบโตธรรมดาหรือโตช้า  บางบริษัทลดลงด้วยซ้ำ  ดังนั้น  ราคาของหุ้นที่วิ่งขึ้นไปมากเพราะคนฟังนิยายเชื่อและแห่กันมาซื้อก็จะตกลงมาอย่างแรงเหมือนกับนางฟ้าตกสวรรค์เพราะคนต่างก็แห่ขายหุ้นทิ้ง ในฐานะที่เป็น Value Investor  การฟังเรื่องราวต่าง  ๆ ของบริษัทจดทะเบียนหรือเรื่องเกี่ยวกับสถานการณ์ต่าง ๆ  ในตลาดหุ้น  เราจะต้องระมัดระวังว่ามันเป็นเรื่องที่มีความเป็นจริงสูงหรือเป็น “เทพนิยาย”  ที่มีเนื้อเรื่องน่าประทับใจแต่เป็นเรื่องของจินตนาการที่มีโอกาสเป็นไปได้น้อย  เพราะถ้าเราวิเคราะห์ผิด  โอกาสที่จะเสียหายก็จะสูง  พบกับ ดร.นิเวศน์ฯ และกูรูหุ้นเวียดนาม ในสัมมนาวันรวมพลคนลงทุนหุ้นเวียดนาม 15 ธ.ค 62 รายละเอียด-สมัครคลิ๊ก: http://bit.ly/32fIaOn

หุ้นทำกำไรและแรงขายที่ยังอยู่ในระดับสูง

0
ด้วยสถานการณ์ของเศรษฐกิจทั่วโลกที่มีแนวโน้มการเติบโตที่ไม่สดใส รวมกับความขัดแย้งด้านการค้าที่เพิ่มมากขึ้นระหว่างสหรัฐฯและจีน ทำให้ความเชื่อมั่นของนักลงทุนลดลง กระตุ้นให้มีการนำเงินไปลงทุนในช่องทางที่ปลอดภัยอื่นๆเช่น พันธบัตรและทองคำ ทำให้สินทรัพย์เหล่านี้มีมูลค่าสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ตามข้อมูลจาก Saigon Securities Incorporation (SSI) ตั้งแต่เดือนธันวาคมปี2018 จนถึงเดือนตุลาคมของปีนี้ มีการถอนเงินลงทุนจากกองทุนรวมทั่วโลกแล้วประมาณ 277 พันล้านดอลลาร์ฯ เป็นการถอนเงินทุนที่ใหญ่และยาวนานที่สุดในปีที่ผ่านมา ในขณะที่มีเงินไหลเข้ากองทุนรวมตราสารหนี้ (bond)...

บริษัทชั้นนำติดอันดับ Top 10 บริษัททำกำไรในเวียดนามปี2019

0
Petrolimex, Vinamilk, Samsung, Viettel, Vingroup, Vietjet เป็นกลุ่มบริษัทและองค์กรสำคัญที่ได้รางวัลเกียรติยศ Vietnam Profit 500 Vietnam Report เปิดเผยรายงานการจัดอันดับ Vietnam Profit 500 ประจำปี 2019 ซึ่งเป็นการรวบรวมและจัดอันดับบริษัทต่างๆที่มีผลคะแนนสูงจากหลายตัวชี้วัดที่ทำให้เห็นการสร้างผลกำไรเช่น ROA, ROE, ROR, ผลกำไรก่อนหักภาษีและรายได้โดยประกอบไปด้วยอันดับTop ของบริษัทที่ทำกำไรยอดเยี่ยม...

การล่มสลายของธุรกิจครอบครัว

0
โลกในมุมมองของ Value Investor     23 พฤศจิกายน 62 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร จากประสบการณ์ของผมเองที่ได้เห็น  “ความล่มสลาย” ของธุรกิจต่าง ๆ  ต่อเนื่องยาวนานไม่น้อยกว่า 50 ปี ซึ่งได้ส่งผลให้ความมั่งคั่งของเจ้าของ “ล่มสลาย” ลงตามธุรกิจนั้น   ความล่มสลายที่ว่านั้น  คนอาจจะมีความรู้สึกหรือคิดว่ามันเป็นเรื่องของธุรกิจขนาดใหญ่หรือคนระดับเจ้าสัวหรือเศรษฐีใหญ่ที่คนทั่วไปรู้จักกันเป็นอย่างดี   แต่จริง ๆ  แล้วมันรวมถึงการล่มสลายของธุรกิจขนาดเล็กที่เป็น SME หรือธุรกิจขนาดกลางที่เป็น  “กงสี” ของครอบครัวที่มักจะมีพี่น้องหลายคนเป็นเจ้าของร่วมกันด้วย ในบทความนี้ผมจะพูดถึงความคิดของผมที่มีต่อธุรกิจขนาดเล็กและกลางที่เป็น “ธุรกิจครอบครัว” ที่ก่อตั้งและดำเนินการมานานอย่างน้อยน่าจะเป็น 10 ปีขึ้นไป  ส่วนใหญ่อาจจะทำมาเกิน 20 ปี  และบริหารโดยผู้ก่อตั้งหรือสมาชิกที่เป็นลูกหลานของผู้ก่อตั้งธุรกิจ  เขาเหล่านั้น  รู้จักและคุ้นเคยกับธุรกิจเป็นอย่างดี  “แทบจะหลับตาทำ” ได้  ความคิดที่จะปรับเปลี่ยนหาวิธีทำงานแบบใหม่นั้นดูเหมือนว่าจะไม่ได้เป็นประเด็นสำคัญรีบด่วน  ว่าที่จริงก็ไม่รู้จะปรับอย่างไรเพราะว่าก็ทำมานานมีกำไรอยู่ได้และธุรกิจก็โตมาเรื่อย ๆ  ฐานะของผู้บริหารและที่บ้านเองก็ “ร่ำรวย” พอสมควรสามารถใช้ชีวิตหรูหราและมีความสุขไม่ต้องดิ้นรนอะไรมาก  แต่สำหรับผมแล้ว  ผมคิดว่าพวกเขาส่วนใหญ่อาจจะกำลังตกอยู่ในภาวะที่ “อันตราย” โดยไม่รู้ตัว  อันตรายที่ว่านั้นก็คือ  การที่ธุรกิจของตนอาจจะ “ล่มสลายลง”  หรือค่อย ๆ ตกต่ำลงอย่างช้า ๆ  จนต้องปิดตัวลง  ความมั่งคั่งที่มีอยู่นั้น  พอถึงเวลาอีก 10-20 ปีข้างหน้าอาจจะสูญหายไป  ตัวเขาหรือลูกหลานอาจจะไม่ใช่คนรวยอีกต่อไป  และเมื่อถึงเวลานั้น  เขาก็จะรู้สึกเสียใจที่ไม่ได้ปรับตัวเพื่อหนีให้พ้นจากสภาวะนั้นในช่วงเวลาที่ยังทำได้ เหตุผลก็คือ  ธุรกิจที่อยู่มานานแล้วนั้น  ถ้าเศรษฐกิจยังเติบโตดี  ความต้องการสินค้าและบริการยังเพิ่มขึ้นและไม่มีผลิตภัณฑ์แบบใหม่มาทดแทน  พวกเขาก็จะยังสามารถขายสินค้าเพิ่มขึ้นและมีกำไรเพิ่มขึ้น  คนที่ประสบความสำเร็จก็จะสามารถเติบโตและร่ำรวยขึ้น  และนี่ก็คือสิ่งที่เกิดขึ้นในประเทศไทยในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาจนถึงเมื่อเร็ว ๆ  นี้ และธุรกิจภาคส่วนที่เป็น  “ดารา”  และก่อให้เกิด “เศรษฐี”จำนวนมากในเมืองไทยก็คือ “โรงงานผลิตสินค้า” โดยเฉพาะที่เป็นผู้ส่งออกที่ประเทศไทยสามารถแข่งขันในระดับโลกได้   นอกจากโรงงานแล้ว  ภาคเศรษฐกิจที่เป็นผู้ค้าขายในประเทศเองก็เติบโตขึ้นตามความมั่งคั่งของคนในประเทศที่เติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว  คนที่ทำธุรกิจค้าขายรายใหญ่ระดับจังหวัดหรือภาคก็กลายเป็นกลุ่มคนร่ำรวยของสังคมด้วย แต่ธุรกิจทุกอย่างนั้นก็มีวงจรชีวิตของมัน  กล่าวคือมีช่วงเวลาของการเติบโตอย่างช้า ๆ  เติบโตเร็ว  อิ่มตัว และสุดท้ายก็ตกต่ำลงและอาจจะตายในที่สุด  ธุรกิจครอบครัวเองก็ไม่เว้น  ในอดีตนั้น  วงจรแต่ละช่วงอาจจะยาว  ธุรกิจโตไปได้เป็นสิบหรือหลายสิบปี  อานิสงค์จากการที่เศรษฐกิจไทยที่เติบโตสูงต่อเนื่องยาวนานและไม่ค่อยมีผลิตภัณฑ์แบบใหม่มาทดแทนของเดิม  อย่างไรก็ตาม  ผมก็ยังพบเห็นตลอดมาว่าธุรกิจครอบครัวที่เคยเข้มแข็งและเจ้าของมั่งคั่งมานานต่างก็ล่มสลายลงเนือง ๆ  สมาชิกในครอบครัวกลายเป็นแค่ “คนชั้นกลาง” เหมือนกับตัวผมเองที่เป็นคนกินเงินเดือนมาตลอดชีวิต  เหตุผลหลักก็คือ  ธุรกิจที่เขาทำนั้นมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก  คู่แข่งใหม่แข็งแกร่งกว่าเขาเพราะเป็นบริษัทขนาดใหญ่และบ่อยครั้งก็มาจากต่างประเทศ ในช่วงหลัง ๆ  ประมาณซัก 10 ปีที่ผ่านมาดูเหมือนว่าวงจรของธุรกิจต่าง ๆ จะสั้นลงมากอานิสงค์จากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีโดยเฉพาะในด้านของดิจิตอลซึ่งทำให้ธุรกิจ “ดั้งเดิม” ทั้งหลายต้องปรับตัวเพื่อรับกับการแข่งขันใหม่ๆ  ที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนปรับตัวไม่ทัน  นั่นประกอบกับการที่เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงอย่างรวดเร็วเนื่องจากเหตุผลต่าง ๆ  รวมถึงการที่คนไทยแก่ตัวลงอย่างรวดเร็วและอัตราการเกิดน้อยลงมากทำให้ธุรกิจครอบครัวจำนวนมากตกอยู่ในอันตรายจากการที่จะถูก Disrupt ได้  และนี่ก็คือความเสี่ยงหรืออันตรายที่ผมพูดถึงและผมเชื่อว่าธุรกิจครอบครัวจำนวนมากก็อาจจะยังไม่ตระหนักและรีบปรับตัวให้เร็วก่อนที่จะสายเกินไป ในฐานะที่เป็น  “มนุษย์หุ้น”  ปัญหาอะไรต่าง ๆ  ผมก็มักจะพยายามแก้ไขโดยหุ้น  การวิเคราะห์ปัญหาของผมก็คือ  คนที่ทำธุรกิจครอบครัวนั้นก็คือคนที่ถือหุ้นของบริษัทหรือกิจการนั้น 100% และถ้ามีเพียงหนึ่งธุรกิจก็คือเขา  “ถือหุ้นเพียงตัวเดียว” ในพอร์ต  ไม่มีการกระจายความเสี่ยงเลย  คนที่ถือหุ้นเพียงตัวเดียวนั้น  บ่อยครั้งก็อาจจะรวยไปเลยถ้าหุ้นตัวนั้นดีสุดยอดและวิ่งขึ้นไปสูงมาก  แต่ถ้าเกิดปัญหาหรือซื้อหุ้นผิดตัว หรือพื้นฐานหุ้นแย่ลงมาก  การขาดทุนและหายนะก็อาจจะเกิดขึ้นได้  และนี่ก็อาจจะคล้าย ๆ  กับหุ้นที่ถูก Disrupt ไปแล้วหลาย ๆ  ตัวเมื่อเร็ว ๆ  นี้   ลองคิดดูว่าถ้าเป็นธุรกิจครอบครัวที่ไม่สามารถขายได้เลยแล้วถูก Disrupt  มูลค่าหุ้นจะเหลือเท่าไร?  บางคนอาจจะคิดว่าทรัพย์สินโดยเฉพาะที่เป็นที่ดิน  อาคาร  โรงงานและเครื่องจักรนั้นมีมูลค่าเป็นร้อย ๆ ล้านบาทซึ่งเป็นเครื่องแสดงถึงความร่ำรวยที่ครอบครัวมีอยู่นั้นไม่เหมือนหุ้นที่หมดค่าได้ง่าย ๆ    แต่นั่นเป็นแค่ “ภาพลวงตา” เพราะในยามที่ธุรกิจไม่สามารถอยู่ต่อได้แล้ว  ทรัพย์สินที่มีอยู่ยกเว้นที่ดินก็อาจจะกลายเป็นแค่เศษเหล็กที่ไม่มีค่าอะไรเลย ทางแก้ของผมก็คือ  คนที่ทำแต่ธุรกิจครอบครัวนั้นจะต้องเริ่มกระจายความเสี่ยง  ไม่ใช่ไปตั้งธุรกิจใหม่อีกแห่งหนึ่งแม้ว่านั่นก็อาจจะช่วยได้บ้าง   แต่สิ่งที่ควรทำก็คือ  นำเอาเงินหรือความมั่งคั่งที่เก็บสะสมมายาวนานไปลงทุนในหุ้นที่ทำธุรกิจหลากหลาย  ธุรกิจหนึ่งก็อาจจะเป็นธุรกิจที่เราทำอยู่และเรารู้จักดีมากเพราะเป็นคู่แข่งกันในท้องตลาด  เลือกเอาบริษัทที่เราคิดว่าแข็งแกร่งและเป็นผู้ชนะและอาจจะเป็นตัวที่กำลังทำลายธุรกิจครอบครัวของเราด้วย  โดยที่ก่อนที่จะตัดสินใจซื้อนั้นเราก็จะต้องดูว่าราคาหุ้นนั้นถูกหรือยุติธรรมไหม  กำไรและปันผลของมันดูดีกว่าการลงทุนในธุรกิจของครอบครัวที่ทำอยู่ไหม เมื่อเราเริ่มเข้าใจว่าการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์นั้นแท้ที่จริงก็คือการทำธุรกิจโดยการเป็นเจ้าของธุรกิจบางส่วนแล้ว เราก็ควรจะต้องคิดต่อไปว่าการมีแค่ 2 ธุรกิจก็อาจจะไม่พอในยามที่วงจรธุรกิจเปลี่ยนเร็วมากในปัจจุบัน  เราอาจจะคิดว่าน่าจะมีซัก 3 หรือ 4 หรือ 5 ธุรกิจ  แต่ผมคิดว่าเราไม่ควรมีธุรกิจจำนวนมากเกินไปจนเราไม่สามารถรู้หรือติดตามได้ว่าธุรกิจกำลังอยู่ในวงจรไหนของการเติบโตซึ่งจะทำให้เราลงทุนในธุรกิจที่ไม่คุ้มค่าและทำให้เราเสียหายได้  การซื้อหุ้นหลายตัวมากเกินไปนั้น  ในที่สุดเราก็มักจะขายไปและซื้อหุ้นตัวใหม่ไปเรื่อย ๆ  และกลายเป็นว่าเรากำลัง  “เล่นหุ้น”  ซึ่งก็คือเราไม่ได้คิดถึงพื้นฐานของการเป็นธุรกิจเลย  เราเอาแต่เก็งว่าราคาหุ้นจะขึ้นหรือลงในระยะสั้นแข่งกับคนอื่นซึ่งจะไม่ใช่การแก้ปัญหาว่าธุรกิจครอบครัวกำลังอยู่ในอันตรายและมันอาจจะกระทบกับความมั่งคั่งของตนเองและครอบครัวได้ ในกรณีที่เรา “วิเคราะห์หุ้นไม่เป็น”  ทางแก้ปัญหาก็คือการลงทุนในกองทุนรวมหุ้นโดยเฉพาะที่เป็นกองทุนอิงดัชนีหลัก ๆ ทั้งของไทยและต่างประเทศ  นี่คือการที่เราเลือกลงทุนในหุ้นหรือกิจการ “ชั้นนำ” ที่สุดของประเทศไทยหรือของต่างประเทศ  โอกาสที่จะได้ผลตอบแทนและรักษาความมั่งคั่งของตนและครอบครัวไว้ก็จะมีสูงกว่าการทำธุรกิจครอบครัวเพียงอย่างเดียวซึ่งก็เหมือนกับการมีหุ้นเพียงตัวเดียวและอาจจะเป็นหุ้นที่กำลังถูก Disrupt ด้วย แน่นอนว่าการปรับตัวโดยการเปลี่ยนธุรกิจหรือเลิกธุรกิจที่เป็นโรงงานใหญ่โตที่ครอบครัวทำมานานนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ทรัพย์สินอาจจะ 70-80% ของครอบครัวอาจจะอยู่ในธุรกิจที่ไม่สามารถขายออกไปได้แม้ว่าจะอยากทำ  เจ้าของธุรกิจจำนวนมากนั้นมักจะเป็น  “นักสู้” ที่เมื่อธุรกิจมีปัญหาก็จะต้องกอบกู้ซึ่งบ่อยครั้งก็จะต้อง “เพิ่มเงิน” ลงไป  ในเรื่องของการลงทุนในตลาดหุ้น  บางทีเราก็เรียกว่า  “ซื้อถัว” คือหุ้นมันตกลงมาต่ำกว่าทุนแล้วเราคิดว่าในที่สุดหุ้นจะปรับตัวกลับขึ้นมาเราก็เลยซื้อหุ้นเพิ่ม    ผมเองคงบอกไม่ได้ว่าควรทำหรือไม่  เจ้าของธุรกิจจะต้องวิเคราะห์เองว่าคุ้มไหม บางทีเขาควรจะปรับเปลี่ยน Mindset หรือความคิดจากการเป็นนักสู้มาเป็น  “นักเลือก” บ้างว่า  เราไม่ควรจะต้องสู้ทุกครั้งโดยเฉพาะถ้าเรารู้ว่าหนทางประสบความสำเร็จนั้นน้อยลงมากในภาวการณ์ทางธุรกิจที่เปลี่ยนไป  ในกรณีแบบนี้ บางทีการ “Stop Loss” หรือขายทิ้งหรือหยุดการเพิ่มเงิน  แล้วนำเงินนั้นไปลงทุนในหุ้นตัวอื่นและในธุรกิจอื่นอาจจะดีกว่า ———-พบกับ ดร.นิเวศน์ฯ และกูรูหุ้นเวียดนาม ในสัมมนาวันรวมพลคนลงทุนหุ้นเวียดนาม 15 ธ.ค 62 รายละเอียด-สมัครคลิ๊ก: http://bit.ly/32fIaOn

เวียดนามกับการลงทุน

0
เวียดนามและเศรษฐกิจแบบเปิดซึ่งมีอัตราการเติบโตสูงมานานหลายปี ดึงดูดเงินลงทุนต่างชาติเข้าสู่เวียดนามอย่างต่อเนื่อง นักวิเคราะห์ให้ความสังเกตว่า ผู้ลงทุนในอาเซียนกำลังมุ่งตรงมาสู่เวียดนามโดยเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจาก เกาหลีใต้, ญี่ปุ่นและสิงคโปร์ ซึ่งนักลงทุนต่างชาติให้ความสนใจกับ FMCG ,อสังหาริมทรัพย์เชิงอุตสาหกรรม, สำนักงานสำหรับเช่า และพลังงาน ตามรายงานจาก VnDirect HCM City กลุ่มการลงทุน Temasek ของสิงคโปร์...

เลือกหุ้นพลาด… ในเรื่องของการลงทุนนั้นหลายคนจะชอบพูด-ชอบฟัง แต่เรื่องของความสำเร็จ ความผิดพลาด ความล้มเหลว มักจะเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่อยากพูด-ไม่อยากฟัง

0
เลือกหุ้นพลาด การลงทุนหุ้นเวียดนามนั้น แม้แต่เซียนวีไอไทยยังพลาดได้! ในเรื่องของการลงทุนนั้นหลายคนจะชอบพูด-ชอบฟัง แต่เรื่องของความสำเร็จ ความผิดพลาด ความล้มเหลว มักจะเป็นเรื่องที่คนส่วนใหญ่ไม่อยากพูด-ไม่อยากฟัง แต่! การเรียนรู้จากความผิดพลาดของคนอื่น โดยเฉพาะผ่าน Case study จริงในตลาดหุ้นเวียดนามนั้นเป็นเรื่องสำคัญมาก เพราะจะทำให้เราเข้าใจตลาดหุ้นเวียดนามมากขึ้น รวมทั้งมีความรู้ป้องกันไม่ให้เราพลาดตาม จากเงินของเราจริงๆ มาร่วมฟัง Case study ประสบการณ์ลงทุนหุ้นเวียดนามจากปากนักลงทุนวีไอชั้นนำว่า หุ้นอะไร?...

ประธานบริษัท Vingroup ติด Top 50 ผู้ทรงอิทธิพลด้าน Theme Park

0
Pham Nhat Vuong ประธานบริษัท Vingroup มหาเศรษฐีและผู้บริหารกิจการของเวียดนามคนแรกที่ติดอันดับTop 50 ผู้ทรงอิทธิพลด้าน Theme Park Pham Nhat Vuong ประธานบริษัท Vingroup เป็นมหาเศรษฐีและผู้บริหารบริษัทชาวเวียดนามคนแรกที่ติดอันดับTop 50 ผู้ทรงอิทธิพลด้าน Theme...

หุ้นร้าว. ในระบบเศรษฐกิจของไทยที่คนแก่ตัวลงและโตช้าลงมาก ดังนั้น หุ้นที่แพงจัดมาก ๆ นั้น น่าจะมีโอกาสเป็นหุ้นร้าวได้

0
โลกในมุมมองของ Value Investor         16 พฤศจิกายน 62 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร หุ้นร้าว ​สัปดาห์ที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาของการประกาศงบการเงินของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ซึ่งถือว่าเป็นเวลาที่นักลงทุนต้อง  “ลุ้น”  กันว่าหุ้นที่ตนเองถืออยู่นั้นจะประกาศผลงานที่ดีขึ้นหรือแย่ลงมากน้อยแค่ไหน  เพราะผลงานที่ดีขึ้นโดยเฉพาะที่ดีเกินกว่าที่นักวิเคราะห์และนักลงทุนคาดจะทำให้หุ้นวิ่งขึ้น  ในทางตรงกันข้าม  ผลงานที่น่าผิดหวังจะทำให้หุ้นตกลง  ในกรณีของหุ้นขนาดเล็กหรือหุ้นที่ไม่มีนักวิเคราะห์ติดตาม  กำไรที่ดีขึ้นก็มักจะเป็นสัญญาณให้นักเก็งกำไรหรือ “นักปั่นหุ้น” เข้าไปไล่ราคาเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับหุ้นที่ตนเองถือ  สำหรับ VI การติดตามผลประกอบการรายไตรมาศเป็นสิ่งสำคัญที่นอกจากจะช่วยให้เราวิเคราะห์หุ้นที่ตนเองถือต่อเนื่องแล้ว  ยังเป็นเวลาที่จะติดตามดูว่ามีหุ้นตัวไหนที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นจนถึงจุดที่น่าลงทุนหรือไม่ ​ไตรมาศ 3 ปี 2562 นี้ดูเหมือนว่าการประกาศงบการเงินจะมีผลกระทบกับหุ้นโดยเฉพาะขนาดกลางและเล็กหลาย ๆ ตัวที่เคยเป็นหุ้นเด่นและนักเล่นหุ้นนิยมเล่นกันมาก  หลังจากประกาศ   หุ้นเหล่านั้นก็ตกลงมาน่าจะประมาณ...