บาร์เบียร์เวียดนามยอดขายลดฮวบ 80% หลังออก กม.เมาแล้ว …
“บลูมเบิร์ก” รายงานว่า ปี 2563 นี้การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในเวียดนามกำลังอยู่ในภาวะชะงักงันเป็นครั้งแรก โดยยอดขายเบียร์ช่วงครึ่งแรกของเดือนมกราคมนี้มีตัวเลขลดลงไปถึง 25% แม้แต่เบียร์ยอดนิยมไฮเนเก้นก็ยังมียอดขายยังลดลง 4.6% รุนแรงที่สุดในรอบ 6 เดือน
โดยบรรดาผู้ผลิตเบียร์ในเวียดนามเชื่อว่า การหดตัวนี้เป็นผลจากกฎหมายฉบับใหม่ “เมาแล้วขับ” ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม 2563 ที่ผ่านมา พร้อมบทลงโทษรุนแรงสำหรับผู้ขับขี่ยานพาหนะที่พบว่ามีแอลกอฮอล์ในร่างกาย อาทิ หากขับขี่จักรยานยนต์อาจต้องเสียประมาณ 10,500 บาท สูงกว่าอัตราเดิมถึง 2 เท่า พร้อมพักใบขับขี่นาน 2 ปี จากเดิมเพียง 5 เดือน ส่วนการขับขี่รถยนต์หรือรถบรรทุกสามารถถูกปรับสูงสุดได้ถึงประมาณ 52,000 บาท และยกเลิกใบขับขี่
ตามข้อมูลของบริษัทวิจัยการตลาด ยูโรมอนิเตอร์ฯ ที่ระบุว่า อัตราการบริโภคเบียร์ในเวียดนามระหว่างปี 2547-2561 เพิ่มขึ้นถึง 284% หรือเกือบ 3 เท่า โดยเมื่อปี 2561 ชาวเวียดนามดื่มเบียร์เฉลี่ย 43 ลิตรต่อครัวเรือนต่อปี ครองตำแหน่งผู้บริโภคเบียร์รายใหญ่อันดับ 3 ของภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก...
โลกในมุมมองของ Value Investor 15 กุมภาพันธ์ 63
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
วันศุกร์ ที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งเป็นวันวาเลนไทน์นั้น สำหรับนักเล่นหุ้นแนวเก็งกำไรในตลาดหุ้นไทยคงเป็น “ช็อก” เล็ก ๆ ที่เตือนให้รู้ว่า “การลงทุนมีความเสี่ยง” ที่ทำให้ขาดทุนโดยไม่ได้คาดคิดได้ เพราะแม้ว่าดัชนีตลาดหุ้นจะลดลงเพียง 6 จุดหรือลดลงเพียง 0.42% แต่หุ้นที่กำลังร้อนแรงกลุ่มหนึ่งที่วิ่งขึ้นโดดเด่นเกือบทุกวันรวมถึงช่วงเช้าของวันศุกร์ที่ 14 กลับตกลงมาประมาณ 3-5% ตอนปิดตลาด เพราะสำหรับนักเล่นหุ้นในช่วงเร็ว ๆ นี้ที่ดัชนีตลาดมักไม่ค่อยไปไหนและมีทิศทางลดลงแต่หุ้นกลุ่มดังกล่าวกลับปรับตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ พร้อมปริมาณการซื้อขายที่สูงลิ่วและนักลงทุนลุ้นกันทุกวันว่ามันจะขึ้นไปถึงจุดไหนในหุ้นแต่ละตัว นี่คือกลุ่มหุ้นที่ “พลาดไม่ได้” เพราะมันเป็นหุ้นที่มีพื้นฐานดีเยี่ยม กิจการมั่นคงเติบโต เป็นหุ้นที่มีขนาดหรือมูลค่าหุ้นเป็นแสนแสนล้านบาท
ผมเองติดตามความเคลื่อนไหวและความเป็นไปของตลาดหุ้นเกือบทุกวันเป็นเวลานานมากเท่า ๆ กับที่อยู่ในตลาด ปรากฏการณ์ที่ผมเห็นมาตลอด 6-7 ปีที่ผ่านมาก็คือ นักเล่นหุ้นส่วนบุคคลซึ่งเป็นกลุ่มที่มีการซื้อขายหุ้นมากที่สุดขนาดที่บางคนซื้อขายกันทุกวันนั้น จะหา “หุ้นร้อน” ที่จะเล่น และในบางช่วงเวลาก็จะมีหุ้นร้อนที่มีธีมบางอย่างที่สามารถกระตุ้นให้คนสนใจเข้ามาซื้อขายหุ้นได้ บ่อยครั้งก็เป็นเรื่องของอุตสาหกรรมที่กำลังเติบโตหรือกำลังได้ประโยชน์จากกฎเกณฑ์ของรัฐ ทั้งหมดนั้นมักจะดำเนินอยู่ยาวนานพอสมควรอย่างน้อยก็เป็นปี เมื่อเกิดกระแสหรือ“จุดติด” แล้ว หุ้นในกลุ่มนั้นก็จะปรับตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ พร้อมกับปริมาณการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นอย่างแรง ราคาของหุ้นขึ้นไปเป็นร้อยหรือหลายร้อยเปอร์เซ็นต์จนคนทั้งตลาดซึ่งรวมถึงนักวิเคราะห์ต่างก็เข้ามา “ร่วมขบวน” และต่างก็บอกว่าหุ้นก็จะไปต่อไปเนื่องจากพื้นฐานที่ดีของบริษัท
วันที่ประชามติออกมาเป็นเอกฉันท์ว่าหุ้นในกลุ่มนั้นทั้งกลุ่มมีราคาที่เหมาะสม ก็มักจะเป็นวันที่ราคาหุ้นขึ้นไปสูงสุด บางครั้งก็เกิดขึ้นทันทีกับหุ้นทั้งกลุ่มเช่น หุ้นตกลงมาทั้งกลุ่มโดยที่ไม่มีสาเหตุชัดเจน เป็นไปได้ว่ามีเหตุการณ์บางอย่างเกิดขึ้นกับหุ้นบางตัว หลังจากนั้นนักลงทุนอาจจะเริ่มตระหนักว่าหุ้นที่อยู่ในกลุ่มที่มีความคล้ายคลึงกันก็อาจจะเกิดขึ้นได้ คนหนึ่งขายหุ้นอย่างหนักหุ้นก็ตกทำให้คนที่จ้องมองอยู่ขายบ้างทำให้หุ้นตกเพิ่มขึ้นซึ่งก็ทำให้คนต่อไปทำเช่นเดียวกัน ผลก็คือหุ้นตกลงมาเป็นแผงคล้าย ๆ กับสิ่งที่เกิดขึ้นเมื่อวันวาเลนไทน์ หลาย ๆ ครั้งวันที่เกิดเหตุการณ์แบบนั้นมักจะเป็นวันใกล้วันประกาศงบการเงินประจำไตรมาศหรือประจำปี เหตุผลอาจจะเป็นว่าหุ้นเหล่านั้นมักจะเป็นหุ้นที่เน้นแนวเติบโตสูง การประกาศงบจะเป็นวันที่บอกว่าหุ้นโตจริงหรือเปล่า คนที่มีข้อมูลภายในที่อาจจะรู้ว่างบไม่ดีอย่างที่คาดก็อาจจะขายก่อนและทำให้หุ้นตกมาแรงและทำให้ภาพของหุ้นทั้งกลุ่มเปลี่ยนแปลงไป หลังจากนั้นหุ้นก็อาจจะไม่กลับไปดีมากอย่างที่เคย แบบนี้เราเรียกว่า “จบรอบ”
ประมาณปี 2557 นั้น เราได้เห็นหุ้นขนาดเล็กรวมถึงหุ้นในตลาด MAI หลายบริษัทปรับตัวขึ้นไปดีมากเป็นที่กล่าวขวัญของนักลงทุนว่าเป็นกิจการที่โตเร็ว หุ้น IPO ขนาดเล็กเป็นที่ต้องการสูงมากเพราะคนจองได้กำไรเป็นกอบเป็นกำทุกตัว อย่างไรก็ตามรอบของหุ้นเล็กนั้นก็จบลงน่าจะประมาณปลายปี 2557 และหลังจากนั้นก็ไม่ฟื้นเลย เหตุผลก็อาจจะเป็นเพราะว่าเรื่องราวหรือสตอรี่ของหุ้นตัวเล็กนั้นสร้างไม่ค่อยได้ และเมื่อผลประกอบการทยอยออกมาฟ้องว่ามันไม่ได้โตได้มากอย่างที่คิด นักลงทุนที่ “ชาญฉลาด” หรือคนที่ “ทำหุ้น” ก็รีบถอยโดยการขายหุ้นทิ้งทำกำไรไปก่อนที่ราคาจะไหลลงจนกลับขึ้นไปไม่ได้
ช่วงปี 2559-2560 เป็นเวลาของหุ้นขนาดกลางหรือกลางเล็กที่ผมเรียกว่าเป็นกลุ่ม “หุ้นนางฟ้า” ที่มักเป็นหุ้นสินค้าผู้บริโภคที่มีแบรนด์เนมดี มีกำไรดี มีฐานะการเงินเยี่ยม และที่สำคัญมีสตอรี่ของการเติบโตจากตลาดใหม่ในต่างประเทศ เหตุก็เพราะว่าหุ้นผู้บริโภคส่วนใหญ่ก็มักจะเป็นอย่างนั้นในอดีต แต่เหตุที่มันไม่ค่อย Perform หรือหุ้นไม่โตก็เพราะว่าหุ้นเหล่านั้นมักจะมีภาพของธุรกิจที่ค่อนข้างอิ่มตัวในประเทศ การส่งออกหรือขายสินค้าให้กับนักท่องเที่ยวจึงกลายเป็นสตอรี่ที่ทำให้กลุ่มหุ้นนางฟ้าวิ่งเป็นจรวด ราคาขึ้นไปหลายเท่าในเวลาเพียง1-2 ปี แต่หลังจากที่งบการเงินออกมาต่อเนื่องและฟ้องว่าไม่ได้เติบโตอย่างที่คาด ราคาหุ้นก็ร่วงทั้งกลุ่ม หุ้นจบรอบลงอย่างน่าเศร้าสำหรับนักลงทุนที่เข้าไปเล่นในยามที่ทุกอย่างดูสดใสและ “ไม่เสี่ยงเลย” เพราะมันเป็นหุ้นที่ทุกคนรวมถึงนักลงทุนสถาบันและต่างประเทศบอกว่ามันดี
ล่าสุดก็คือกลุ่มหุ้นขนาดใหญ่ระดับแสนล้านบาทโดยเฉพาะหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้าและอีกหลายตัวที่ผมมองดูมานานพอสมควรและเห็นว่ามีหุ้นอย่างน้อย 5 ตัวที่เป็นขวัญใจของนักเล่นหุ้น รอบของ “หุ้นใหญ่แสนล้าน” นั้นน่าจะผ่านมาประมาณ 2 ปีแล้วคือตั้งแต่ต้นปี 2561 เป็นต้นมา โดยที่คุณลักษณะที่ร่วมกันของหุ้นกลุ่มนี้สามารถอธิบายเป็นข้อ ๆ ดังต่อไปนี้
1) เป็นหุ้นที่ขณะนี้มี Market Cap. อย่างน้อย 100,000 ล้านบาทแล้ว ซึ่งกลายเป็นหุ้นขนาดใหญ่ที่เป็นหุ้นขวัญใจของนักเก็งกำไรที่ในอดีตชอบเล่นแต่หุ้นเล็กที่ราคามักวิ่งขึ้นเร็วกว่า อย่างไรก็ตาม หุ้น 5 ตัวนี้คือหุ้นที่วิ่งขึ้นเร็วมากจนไม่น่าเชื่อ ราคาหุ้นขึ้นไปในเวลา 2 ปีหรือน้อยกว่านั้นโดยเฉลี่ยแล้วประมาณ 110% ซึ่งในอดีตนั้น หุ้นใหญ่ขนาดนี้ขึ้นไปอย่างมากก็ปีละ 20-30% ก็ถือว่ามากแล้ว
2) Market Cap. ของ 5 บริษัทรวมกันจนถึงปัจจุบันประมาณ 900,000 ล้านบาท และในช่วงน้อยกว่า 2 ปีที่ผ่านมาได้สร้าง Market Cap. เพิ่มขึ้นประมาณ 530,000 ล้านบาท นี่เป็นเม็ดเงินมหาศาลที่ทำให้คนที่เข้าไปลงทุนหรือผู้ถือหุ้นเดิมมั่งคั่งขึ้นมหาศาล
3) บริษัททั้ง 5 แห่งนั้นไม่ได้อยู่ในอุตสาหกรรมยุคใหม่ที่เติบโตเร็ว แต่เป็นอุตสาหกรรม “พื้นฐาน” ที่น่าจะอิ่มตัวในประเทศ แต่กำลังขยายไปต่างประเทศ โดยที่กำไรที่ผ่านมาในอดีตนั้นอยู่ในระดับพอใช้เมื่อเปรียบเทียบกับรายได้หรือส่วนของผู้ถือหุ้น การเติบโตของกำไรที่ผ่านมานั้นอยู่ในระดับปานกลางถึงดีแต่ก็ไม่ได้โดดเด่นมากนัก อย่างไรก็ตาม ดูเหมือนว่าจะมีความคาดหวังสูงมากสำหรับการเติบโตของกำไรที่จะมาจากต่างประเทศเนื่องจากโครงการต่าง ๆ “กำลังเดินหน้าอย่างรวดเร็ว”
4) หุ้นเกือบทั้งหมดนั้นมีค่า PE ที่สูงลิ่วเช่นเดียวกับค่าความแพงอื่น ๆ เฉลี่ยหุ้น 5 ตัวมีค่า PE สูงถึง 53 เท่า
5) หุ้นทุกตัวนั้นแม้ว่าจะมี Market Cap. เป็นแสนหรือหลายแสนล้านบาท แต่ Free Float หรือส่วนที่ถือโดยนักลงทุนที่จะซื้อขายหุ้นในตลาดคิดเป็นเปอร์เซ็นต์แล้วค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับบริษัทขนาดใหญ่เท่า ๆ กัน เนื่องจากบริษัทมักจะเป็นกิจการที่มีผู้ถือหุ้นใหญ่เดิมที่เป็นผู้ก่อตั้งถือหุ้นส่วนใหญ่อยู่ หรือไม่ก็เป็นบริษัทลูกของบริษัทมหาชนขนาดใหญ่ที่ไม่มีนโยบายขายหุ้นในตลาด และนี่ก็อาจจะเป็นเหตุผลที่ทำให้การซื้อขายของนักเก็งกำไรโดยเฉพาะที่เป็นรายใหญ่ซึ่งอาจรวมถึงสถาบันอาจจะสามารถชี้นำราคาหุ้นได้ทั้ง ๆ ที่เป็นหุ้นขนาดใหญ่ระดับแสนล้านบาท
คงต้องดูกันว่าหุ้นกลุ่มที่กล่าวถึงนี้จะมีคำว่า “จบรอบ” เหมือนอย่างที่เคยเกิดขึ้นในหุ้นกลุ่มอื่น ๆ ในอดีตหรือไม่และจะเกิดขึ้นเมื่อไร ประสบการณ์บอกผมว่าเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยากเมื่อคำนึงถึงระดับราคาของหุ้นและสตอรี่ต่าง ๆ ที่คาดกันว่าจะเกิดขึ้น ผมเองเคยเห็นหุ้นขนาดแสนล้านบาทที่วิ่งขึ้นมาอย่างรวดเร็วจากบางทีแค่หมื่นหรือสองสามหมื่นล้านบาทมาอยู่เนือง ๆ แต่ในที่สุดก็ตกลงมาแบบ “หายนะ” เมื่อผลประกอบการไม่รองรับและค่า PE ที่สูงลิ่ว ในครั้งนี้ ถ้าจะพูดว่าอาจจะมีบางตัวสามารถรักษาระดับราคาอยู่ได้ตลอดไปผมก็คิดว่ามีความเป็นไปได้ อย่างไรก็ตาม ถ้ามองเป็นกลุ่มแล้ว ผมยังคิดว่ารอบนี้ก็น่าจะเหมือนเดิม คือมีวัน “จบรอบ” ที่ราคาหุ้นตกลงมาอย่างน่าใจหาย
The Good, the Bad and the Ugly เป็นหนังคาวบอยอิตาลี ที่ทำให้คาวบอยอเมริกันถูกฝังตายมาจนทุกวันนี้...... เว็บวิจารณ์หนัง 3 สถาบันหลัก ให้คะแนนหนังเรื่องนี้สูงลิ่ว (IMDB 8.8/10 คะแนน , RottenTomatoes 97%, Metacritics 90%)
แต่เดี๋ยวๆ นี่มันเพจหุ้นเวียดนามไม่ใช่เพจหนัง เราคงทำได้แค่เปรียบเทียบ
ถ้าหุ้นเวียดนามเป็นเหมือนหนังเรื่อง The Good, the Bad and the Ugly ผลตอบแทนระยะสั้นคงเหวี่ยงน่าดูไม่มีหุ้นตัวไหนไม่เคยตกหรือปรับฐานไม่มีหุ้นตัวไหนที่ดีร้อยเปอร์เซ็นต์แบบไม่มีที่ติหุ้นทุกตัวมีทั้งข้อดีและไม่ดีในตัวเอง อยู่ที่นักลงทุนจะมองในมุมไหน
ถ้าการลงทุนเป็นเรื่องง่าย คงมีแต่คนรวย ไม่มีคนเจ๊ง
หุ้นเวียดนาม: ดี-เลว-อัปลักษณ์ 2019 ประเด็นนี้พูดถึงผลตอบแทนอย่างเดียว ไม่ได้พูดถึงคุณค่าของหุ้น หรือเชียร์ให้ซื้อ-ถือ-ขาย
นิยาม The Good = หุ้นที่มีผลตอบแทนความหรูหรา ดูดี ไฮโซ The Bad = หุ้นที่ผลตอบแทนกระจอก ดูเลวร้ายเกินคาด The Ugly...
ยุคนี้จะทำธุรกิจแค่ภายในประเทศของตัวเองอย่างเดียวไม่ได้อีกแล้ว !! EP นี้ ผมพามาดูโอกาสธุรกิจที่เวียดนาม ประเทศที่ชื่นชอบสินค้าไทย และเปิดรับธุรกิจของคนไทยอย่างเต็มที่.เป็นอีกครั้งที่ผมได้มีโอกาสเดินทางไปดูเศรษฐกิจที่ นครโฮจิมินห์ เมืองเศรษฐกิจทางใต้ ของสาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม ที่มีประชากรกว่า 18 ล้านคน จากประชากรทั้งหมดของประเทศ 97 ล้านคน
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาหุ้นเวียดนามตัวที่แอดเล็งไว้นาน ตกมากจนอยากซื้อ
ฤกษ์ดีแบบนี้ แอดเลยได้ลองโอนเงินไปลงทุนหุ้นเวียดนามตามกฏใหม่ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นครั้งแรก จะยากง่าย ดีไม่ดีอย่างไรนั้นเรามาติดตามกันได้เลยค่ะ
--
ที่มา
ธปท. ปรับปรุงกฎเกณฑ์เพื่อเอื้อให้เงินทุนไหลออกและลดแรงกดดันต่อค่าเงินบาท สำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศ ซึ่งเริ่มใช้กฏนี้ตั้งแต่วันที่ 8 พฤศจิกายน 2562
กฏสำหรับนักลงทุน
เปิดเสรีให้นักลงทุนรายย่อยสามารถออกไปลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศได้เองในวงเงิน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐต่อปี (6 ล้านกว่าบาทต่อปี) จากเดิมที่ต้องผ่านตัวกลางในประเทศ หรือต้องมีสินทรัพย์ตามเงื่อนไขที่กำหนด) เพิ่มวงเงินรวมสำหรับการลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศที่จัดสรรให้นักลงทุนภายใต้การกำกับดูแลของสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) เป็น 150,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (4 พันกว่าล้านบาทต่อปี) เพื่อรองรับการออกไปลงทุนในต่างประเทศที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ซึ่งจะช่วยให้การลงทุนในหลักทรัพย์ต่างประเทศมีความสะดวกมากขึ้น
วิธีการ
สมัครบริการ ธปท. เข้าเว็บ https://ilogin.bot.or.th/idp/Authn/UserPassword ( วิธีการแบบละเอียด http://bit.ly/38f86wK )Click ลงทะเบียนใหม่-> กรอกข้อมูลส่วนตัว ตั้งค่าผู้ใช้งาน รหัสผ่าน ฯลฯ เมื่อสมัครเสร็จแล้วจะขึ้นที่อยู่ให้เราส่งสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนเพื่อยืนยันตัวตน แต่เราสามารถ Scan ส่งแทนได้
2. ให้เรา Scan สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนพร้อมรับรองสำเนาถูกต้อง ส่งกลับไปที่ ServiceD@bot.or.th สอบถามเพิ่มเติมโทร: 02-283-5666
3. ธปท. จะแจ้งอนุมัติผลความประสงค์เงินลงทุนต่างประเทศ...
” Chris Freund หุ้นส่วนของ Mekong Capital Ltd.กล่าวว่าขณะนี้ดัชนี VN ซื้อขายที่ 12.8 เท่าของกำไรในช่วง 12 เดือนข้างหน้านับว่าต่ำที่สุดนับตั้งแต่ สิงหาคม 2017 และต่ำกว่าค่าเฉลี่ยสามปีที่ 14.8 เท่า “
(Bloomberg) – สำหรับนักลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามผลตอบแทนหลัง Tet แย่พอกับหุ้นจีน
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ SSI กล่าวว่า “ การหยุดชะงักของโลกที่สำคัญจากซัพพลายเออร์สำคัญเช่นจีน อาจเป็นภัยคุกคามที่ยิ่งใหญ่ต่อการเติบโตที่นี่”
ในขณะเดียวกันมูลค่าที่ต่ำกว่าปกติจะสร้างโอกาสให้กับนักลงทุนที่ต้องการสะสมหุ้นระยะยาวในราคาที่เหมาะสม
Ruchir Desai ผู้จัดการกองทุนของ Asia Frontier Capital กล่าวว่า“ ขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่ต้องควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนาในประเทศจีนผลกระทบทางเศรษฐกิจระยะสั้นต่อเวียดนามจะติดลบเนื่องจากการเชื่อมโยงทางการค้าและการท่องเที่ยวกับจีน
https://finance.yahoo.com/news/vietnam-stock-slump-second-worst-235530598.htmlhttps://www.facebook.com/vvinvestor/posts/2045947492296775/
เกร็ดความรู้ :
คนไทยหลายคนมองว่านิสัยและแนวคิดของคนเวียดนามคล้ายไทย แต่แอดว่าคล้ายจีนมากกว่า
โดยความสัมพันธ์เวียดนาม-จีน เป็นแบบ"ทั้งรักทั้งเกลียด" กล่าวคือ
ชาวเวียดนามเคยตกอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์จีนเป็นเวลานานถึง 2,000 ปีเวียดนามได้รับอิทธิพลจากจีนทั้งทางวัฒนธรรม ศิลปะ สถาปัตยกรรม รวมถึงการปกครองการเมืองระบอบคอมมิวนิสต์ ที่ทำให้ทั้งสองประเทศมีระบบเศรษฐกิจแบบกลไกตลาดเหมือนกัน
แม้ว่าจีนและเวียดนามจะเป็นเหมือนพี่น้องกัน ทว่าความสัมพันธ์กลับไม่ราบรื่น จาก 2 เรื่องสำคัญคือกระแสชาตินิยมต่อต้านจีนของชาวเวียดนาม จากความขมขื่นที่ตกอยู่ภายใต้อำนาจหลายพันปีความขัดแย้งกับจีนในทะเลจีนใต้ ล่าสุดไวรัสโคโรน่า เวียดนามตัดขาดจีน! เวียดนามเลิกบินจีน-ฮ่องกง-ไต้หวัน ระงับออกวีซ่านักเที่ยว ซึ่งปัจจุบันนักท่องเที่ยวต่างชาติกว่า...
หลังจากเมื่อวานนี้ช่วงเช้าดัชนีหุ้นเวียดนาม ลดลงต่ำกว่า 900 จุดเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปี ซึ่งถือว่าเป็นการปรับฐานครั้งสำคัญ ซึ่งก็ถือว่าเป็นทั้งความเสี่ยงและโอกาส แต่เหนืออารมณ์ตลาดเราควรมาดูสถานการณ์จริงในปัจจุบันดีกว่าค่ะ
7.00 น. 3 กุมภาพันธ์ 2020 จำนวนผู้ติดเชื้อ coronavirus ของเวียดนามเพิ่มขึ้นเป็น 8 คน และ มีผู้ต้องสงสัย 92 คน
สิ่งที่เวียดนามทำ
เวียดนามระงับสายการบินทั้งหมดจากจีนแผ่นดินใหญ่ ฮ่องกง และมาเก๊า และหยุดการออกวีซ่านักท่องเที่ยวให้กับผู้ที่มาจากประเทศจีนรวมถึงชาวจีนและชาวต่างชาติที่อยู่ในแผ่นดินใหญ่เป็นเวลา 14 วันโรงเรียนและมหาวิทยาลัยปิดอีกสัปดาห์
รัฐบาลเวียดนาม มีการควบคุมสถานการณ์อย่างแข็งขันมากเพื่อควบคุมโรคนี้ Nikkie มีรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับการกระทำhttps://asia.nikkei.com/Spotlight/Coronavirus-outbreak/Vietnam-moves-to-block-coronavirus-risk-to-supply-chain
ตลาดหุ้น
ตลาดหุ้นของเวียดนามเคลื่อนไหวสอดคล้องกับตลาดหุ้นในเอเชียโดยร่วงลง 7% ในรอบ 3 วัน ภาคธนาคารหลายตัวบวก BID (+ 3.88%), CTG (+ 3.07%), VPB (+ 0.67%) และ STB (+ 0.49%)
แต่ภาคที่ส่วนใหญ่กังวล - การบิน - มีแรงขายต่อเนื่อง VJC (-3.61%),...
ช่วงเช้าวันนี้ ดัชนี VN ลดลงต่ำกว่า 900 จุดเป็นครั้งแรกในรอบกว่า 1 ปี (เวลา 9:25 น. VN-Index ลดลง 37.84 จุด (4.04%) เป็น 898.78 จุด) ก่อนจะปรับขึ้นมายืนเหนือ 900 จุดได้
แอดรีบเช็คข่าวว่าเกิดอะไรขึ้นและขอสรุปประเด็นดังนี้ค่ะ
ความกังวลเกี่ยวกับการแพร่กระจายของเชื้อ nCoV (Corona) นี่มีผลตลาดเวียดนามก็ไม่มีข้อยกเว้น แรงกดดันในการขายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หุ้นขนาดใหญ่เช่น BVH, FPT, GAS, MSN, VIC, VNM, VCB, SAB, MWG มูลค่าลดลงเช่นเดียวหลักทรัพย์ธนาคารน้ำมันและก๊าซอสังหาริมทรัพย์การก่อสร้าง ตรงกันข้ามผลิตภัณฑ์ยา DVN, PME, TRA, IMP, DHC, DMC, JVC, AMV มีความสนใจและหุ้นปรับตัวขึ้นตัวเลขเดือน ม.ค. 2020 ของเวียดนามออกมาไม่ค่อยดี อัตราเงินเฟ้อ อยู่ที่ 6.43% yoy ยอดส่งออกเดือน ลดลง 14.3%...
เปิดปี 2020 ด้วยเรื่องใหญ่ๆ ที่กระทบกับตลาดหุ้นมากมาย และสิ่งที่ทั่วโลกเป็นกังวลอยู่ ณ. ขณะนี้คงไม่พ้นไวรัสโคโรน่า ทีมงาน VVI ชาวเวียดนามจัดทำ Infographic ถึงผลของตลาดหุ้นเวียดนามต่อโรคไวรัสโคโรน่า มาให้แอดมินเล่าสู่กันฟังค่ะ
แต่ก่อนอื่นเรามาดูประวัติของไวรัสโคโรน่ากันก่อน ต้นกำเนิดไวรัสโคโรน่า: เมืองอู่ฮั่น (Wuhan) ประเทศจีน และเริ่มติดต่อไปยังเมืองอื่นๆ ของจีนและประเทศต่างๆ ในโลก
วันศุกร์ที่ผ่านมามีการยืนยันผู้ติดเชื้อโคโรน่าที่ Hubie กว่า 4,500 ราย ส่วนประเทศไทย 19 รายและเวียดนาม 2 ราย ในฐานะนักลงทุนถึงแม้อนาคตจะเป็นเรื่องที่ยากต่อการทำนายได้ถูกต้อง 100% แต่สิ่งหนึ่งที่สำคัญต่อการทำนายอนาคตให้ใกล้เคียงก็คือการศึกษาข้อมูลในอดีต
ย้อนอดีตไปดูผลกระทบของโรคระบาดต่อหุ้น
โรค Sars ที่มีผลต่อดัชนีหุ้น MSCI Chinaโรค Swine flu ที่มีผลต่อ ดัชนีหุ้น MSCI Mexicoโรค Ebola ที่มีผลต่อ ดัชนีหุ้น MSCI Africaโรค Zika ที่มีผลต่อ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 1 กุมภาพันธ์ 63
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
การประกาศซื้อหุ้นคืนของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่อย่างธนาคารกสิกรไทยหรือ KBANK และช.การช่างหรือ CK เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาซึ่งทำให้ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปกว่า 5% ในทันทีนั้น เป็นเรื่องราวพิเศษที่ไม่เกิดขึ้นบ่อยในตลาดหุ้นไทย ในความคิดของผมและอาจจะนักลงทุนอีกหลายคนนั้นคงมองว่าผู้บริหารของทั้งสองบริษัทเห็นว่าราคาหุ้นของตนเอง “ต่ำเกินไป” เทียบกับพื้นฐานที่แท้จริงของกิจการแต่นักลงทุนอาจจะมองไม่เห็น หรืออาจจะเห็นแต่คิดว่ามูลค่าหรือคุณค่านั้นถูก “เก็บ” หรือ“กัก” ไว้ในบริษัทไม่สามารถปล่อยออกมาให้กับผู้ถือหุ้นได้ ดังนั้นพวกเขาก็ไม่ให้คุณค่ากับทรัพย์สินเหล่านั้น การที่บริษัทประกาศซื้อหุ้นคืนเป็นหนึ่งในวิธีที่จะ “ปลดปล่อยคุณค่าของหุ้น” ทำให้หุ้นมีคุณค่าหรือมูลค่ามากขึ้น และก็ดูเหมือนว่าจะทำได้สำเร็จในระดับหนึ่ง ผมเองก็หวังว่าต่อจากนี้จะมีบริษัทหรือหุ้นที่สามารถและเต็มใจที่จะ “ปลดปล่อยคุณค่า” ของหุ้นที่ถูกเก็บหรือกักไว้มากขึ้น และต่อไปนี้ก็คือวิธีการที่อาจจะเลือกทำได้
สำหรับบริษัทที่มีเงินสดมากพอและไม่รู้ว่าจะเอาไปทำอะไรนั้น วิธีที่ง่ายและควรทำที่สุดก็คือการจ่ายปันผลออกไปให้มากขึ้น แต่ถ้าจะยิ่งดีขึ้นไปอีกก็คือการประกาศซื้อหุ้นคืนอย่างมีนัยสำคัญเช่น 10% ของบริษัทและต้อง “ซื้อจริง ๆ” ไม่ใช่ประกาศแล้วถึงเวลาหุ้นตกลงมามากก็ไม่ซื้อ หุ้นขึ้นไปบ้างก็ไม่ซื้อ การตั้งใจซื้อจริงจะทำให้จำนวนหุ้นน้อยลงและกำไรต่อหุ้นจะเพิ่มขึ้น ทำให้ปันผลในอนาคตก็จะเพิ่มขึ้นราคาหุ้นก็มักจะเพิ่มขึ้น แต่ถ้าไม่เพิ่มขึ้นก็ไม่ต้องสนใจ เพราะคุณค่านั้นถูก “ปลดปล่อยให้แก่ผู้ถือหุ้น”ผ่านการปันผลที่เพิ่มขึ้นแล้ว กลยุทธ์การซื้อหุ้นคืนนั้น วอเร็น บัฟเฟตต์ ชอบมากและแทบทุกบริษัทที่เขามีสิทธิมีเสียงเขาจะสั่งหรือแนะนำให้ผู้บริหารบริษัทพิจารณา ในตลาดหุ้นไทยนั้น ที่ผ่านมามักจะมีแต่บริษัทขนาดเล็กหรือกลาง-เล็กที่มักจะประกาศซื้อหุ้นคืนหลังจากที่ราคาหุ้นตกต่ำลงไปมากซึ่งทำให้เจ้าของเดือดร้อนต้อง “พยุงราคาหุ้น” โดยใช้เงินบริษัท ทั้ง ๆ ที่ราคาหุ้นที่ตกลงมานั้นก็ยังไม่ได้ทำให้ราคาหุ้นต่ำกว่าพื้นฐาน ดังนั้น การซื้อหุ้นคืนแบบนี้ก็เป็นแค่การ “เล่นหุ้น” ที่ไม่ควรทำ เป็นการทำลายคุณค่าของหุ้น
การปลดปล่อยคุณค่าของหุ้นที่ทำโดยผู้บริหารบริษัทที่มักจะรู้คุณค่าหรือมูลค่าพื้นฐานของหุ้นจริงอีกแบบหนึ่งก็คือการที่ผู้บริหารทำ Leverage Buyout หรือผู้บริหารกู้เงินมาเทคโอเวอร์บริษัทที่ไม่มีผู้ถือหุ้นใหญ่อื่นที่ควบคุมบริษัทอยู่ การทำแบบนี้ได้ก็ขึ้นอยู่กับมูลค่าพื้นฐานของกิจการที่ต้องสูงมากเมื่อเทียบกับราคาหุ้น ซึ่งจะทำให้สถาบันการเงินยอมปล่อยเงินกู้ให้กับผู้บริหารเพียงพอที่จะซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท เมื่อซื้อหุ้นได้ทั้งหมดแล้ว ผู้บริหารก็มักจะต้องปลดปล่อยทรัพย์สินออกมาให้กับตนเอง เช่นจ่ายปันผลมโหฬารให้กับตนเองที่เป็นผู้ถือหุ้นเพื่อไปคืนหนี้ หรือขายทรัพย์สินบางส่วนที่ขายได้ง่ายเพื่อนำเงินนั้นมาจ่ายคืนหนี้ด้วย การทำ Leverage Buyout นั้น เพื่อที่จะดึงดูดให้นักลงทุนเทนเดอร์หรือขายหุ้นให้กับผู้บริหาร เขาก็มักจะต้องเสนอราคาค่อนข้างสูงในระดับ 50% บวกเหนือราคาตลาดในขณะนั้น และนี่ก็เป็นการปลดปล่อยคุณค่าหุ้นได้ค่อนข้างมาก ในตลาดหุ้นไทยนั้นยังมีกรณีแบบนี้ไม่มากแต่ก็น่าจะเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
กรณีต่อไปก็คือการที่ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ที่สุดประกาศซื้อหุ้นทั้งหมดของบริษัท นี่คือกรณีที่บัฟเฟตต์ประกาศเทคโอเวอร์หุ้นทั้งหมดของ GEICO ที่เขาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่อยู่แล้ว กรณีนี้มักจะเป็นเรื่องที่ผู้ถือหุ้นใหญ่อาจจะเป็นบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ที่มีธุรกิจหลายอย่างและต้องการที่จะจัดระเบียบหรือปรับโครงสร้างธุรกิจในกลุ่มโดยการเทคโอเวอร์บริษัทลูกเพื่อถอนออกจากการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ กรณีแบบนี้การเสนอราคารับซื้อหุ้นก็มักจะไม่สูงเท่ากับกรณี Leverage Buyout เช่น อาจจะรับซื้อในราคาบวกซัก 30%จากตลาด เป็นต้น คุณค่าที่ถูกปลดปล่อยออกมาให้กับนักลงทุนที่ถือหุ้นอยู่ก็จะน้อยกว่าเนื่องจากคนที่ซื้อเองนั้นก็เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ควบคุมบริษัทอยู่แล้ว “Control Premium” หรือคุณค่าของการที่สามารถควบคุมบริษัทได้ก็ไม่เกิดขึ้น ดังนั้น คนซื้อก็มักจะไม่ยอมจ่ายแพงมาก
สุดท้ายก็คือการที่มี “คนนอก” ที่มองเห็นว่าบริษัทมีมูลค่าพื้นฐานสูงกว่าราคาหุ้นมากจนอยู่ในข่ายที่สามารถเข้าไปเทคโอเวอร์และปลดปล่อยคุณค่านั้นได้และคุ้มที่จะทำ กรณีแบบนี้ถ้าเป็นตลาดหุ้นพัฒนาอย่างในสหรัฐก็ถือว่าบริษัทเป็น “Takeover Target” บริษัทไม่มีผู้ถือหุ้นใหญ่ที่ควบคุมบริษัทอยู่ บริษัทมีผลประกอบการและ/หรือทรัพย์สินที่รวมถึงบริษัทลูกที่สามารถขายได้ทันทีที่เพียงพอที่จะคืนหนี้แบ้งค์ได้ในเวลาอันสั้น...