หน้าแรก บล็อก
จุดเริ่มต้นตลาดหุ้นไทย: เริ่มลงทุนหุ้นไทย ปี 2552 โดย ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เป็นแรงบันดาลใจลงทุนระยะยาว เน้นหุ้นปันผล คัดเลือกหุ้นกลุ่มค้าปลีก โรงพยาบาล สนามบินประสบความสำเร็จจากการลงทุนหุ้นไทยช่วงหลังวิกฤติซับไพรม์ การลงทุนในหุ้นเวียดนาม: เริ่มศึกษาตลาดหุ้นเวียดนาม หลังฟังรายการของ ดร.นิเวศน์ปี 2558 ตัดสินใจบินไปโฮจิมินห์ เพื่อลงทุนหุ้น อุปสรรค: ข้อมูล บทวิจัย เป็นภาษาเวียดนาม เข้าถึงยากนักลงทุนรายย่อยเวียดนาม 85% ใช้ปัจจัยเทคนิค ลงทุนระยะสั้นตลาดผันผวน มากกว่าตลาดหุ้นไทย ข้อดี: ตลาดหุ้นเวียดนามมีศักยภาพสูง เติบโตเร็วมูลค่าหุ้นหลายตัวน่าสนใจกลยุทธ์:หลีกเลี่ยงการเทรดดิ้ง เน้นลงทุนระยะยาวกระจายความเสี่ยง เลือกหุ้นหลากหลายกลุ่มพิจารณาธุรกิจที่มีโอกาสเติบโต คำแนะนำสำหรับนักลงทุน: กระจายความเสี่ยง:ลงทุนหุ้นเวียดนามมากกว่า 5 ตัวพิจารณาลงทุน ETF / DR เช่น VN30ETF Diamond ETFและกองทุนรวม (SSF / RMF) ที่ลงทุนหุ้นเวียดนามเพื่อรับสิทธิประโยชน์ด้านภาษีเลือกหุ้น:หุ้นที่เคยเป็น Super Stock ในไทยหุ้นกลุ่มเทคโนโลยีหุ้นที่ราคาตกลงจากข่าวหรือความกลัว ข้อควรระวัง: ตลาดหุ้นเวียดนามมีความผันผวนสูง อ่านบทความเต็ม: https://www.setinvestnow.com/th/knowledge/article/499-tsi-vietnam-stocks-investment-experience
🌟 10 หุ้นเด็ดจาก Special Guest VVI4 เดือน ผ่านไปมาดูกัน 🌟 เทียบผลตอบแทนหุ้น 10 ตัว ที่ Special guest วีไอLive วันที่ 6 พ.ย. 66 ในกลุ่ม VVI Membership บอกว่าน่าสนใจ เน้นดู Macro + VN Consumer + FDI + ผู้บริหาร ( หุ้นที่เลือกตามภาพ Post นี้ ) จากวันนั้น - วันนี้ (15 มี.ค.67) 4 เดือนเฉลี่ยหุ้น 10 ตัว ที่วีไอเลือก แซงทั้ง Index และ ETF! หุ้นที่พี่วีไอเลือก +28.9%เทียบ Diamond ETF +24.2%VN30 ETF +15.5%VN Index +17.4% ส่วนตัวแอดว่าหากมีเวลาการลงทุนแบบผสมผสาน = เลือกหุ้นเอง...
– การลงทุนมีความเสี่ยง โดยเฉพาะการลงทุนในต่างประเทศที่เราอาจต้องใช้เวลาการศึกษาข้อมูลที่มากกว่า จะดีกว่าไหมหากเราจะได้ศึกษาเรียนรู้การลงทุนจากนักลงทุนที่มีประสบการณ์ ในหุ้น เวียดนาม อเมริกา จีน ทั้งผ่านทางเว็บไซต์ และ facebook group สมัครวันนี้รับพร้อมสิทธิ์พิเศษ ดังนี้ 1 รับชมย้อนหลัง สัมมนา super stock เวียดนาม อเมริกา จีน ยาวกว่า 15 ชั่วโมง จากมากมายหลายกูรูผู้รู้เรื่องการลงทุน 2 เข้าร่วมกิจกรรม คนละตัว นำเสนอหุ้นคนละตัว เรียนรู้ไปด้วยกัน 3 ชมย้อนหลัง Live ที่ผ่านมาแต่ ต้นปี 2565  วิเคราะห์หุ้นรายตัว  ตลอดจนคุยกับกูรูไทย เพื่อนนักลงทุนที่มากประสบการณ์และโบรกเกอร์เวียดนาม 4 พูดคุย ถามตอบในไลฟ์สด ประเด็นที่น่าสนใจที่เราจัดเป็นประจำทุกเดือนทุกเดือน 5 รับรางวัล และสิทธิ์พิเศษอื่นๆ เป็นประจำตามวาระและโอกาสที่เหมาะสม 6 สิทธิ์พิเศษร่วมสัมมนากับเราทั้งในประเทศและต่างประเทศ super early bird ในราคาสมาชิกส่วนลด 10-20 % ก่อนใคร Tour learn earn more...
โลกในมุมมองของ Value Investor       11 มีนาคม 2566 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วันที่ 11 มีนาคม 2566 ผมได้ไปพูดให้กับนักลงทุนในงานสังสรรค์ประจำปีของสมาคมไทย VI ซึ่งมีผู้เข้าร่วมประชุมประมาณ 300 คน  โดยหัวข้อที่จะพูดนั้นเป็นการตอบคำถามที่ผู้เข้าร่วมส่งมาล่วงหน้าและรวบรวมตอบโดยพิธีกรบนเวที  คำถามหนึ่งที่ผมคิดว่าน่าสนใจและคนจำนวนไม่น้อยน่าจะอยากรู้ก็คือ  ถ้าผมย้อนอายุลงมาเป็นหนุ่มอีกครั้งหนึ่งในวันนี้  ผมจะใช้กลยุทธ์การลงทุนอย่างไร? ก่อนที่จะตอบคำถามนี้  ผมอยากจะเล่าให้ฟังถึงบรรยากาศและคนส่วนใหญ่ที่เข้ามาร่วมงานสัมมนาสังสรรค์ประจำปีที่จัดขึ้นเป็นครั้งแรกหลังโควิด-19 สงบ  ซึ่งก็พบว่าคนเข้าร่วมมีจำนวนเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ  คนส่วนใหญ่มากเป็นคนที่มีอายุประมาณน่าจะ 30 ปีบวกลบ  ซึ่งเป็นวัยที่ทำงานมาได้ระยะหนึ่งและสนใจเรื่องของการลงทุนมาก  พวกเขาน่าจะมีการศึกษาสูงอย่างน้อยปริญญาตรีและปริญญาโท  มีอาชีพการงานที่มีเงินเดือนดี  และมีจำนวนคนเข้าร่วมเป็นผู้หญิงมากขึ้นมาก  คนสูงอายุระดับ 40-50 ปีขึ้นไปอย่างที่ผมเคยพบในยุคซัก 4-5 ปีก่อนที่ชอบเข้าร่วมฟังการสัมมนาฟรีมีน้อยมาก พูดง่าย ๆ  นี่คือกลุ่มของ  “อีลิท” รุ่นใหม่ที่เอาจริงเอาจังกับการลงทุนและอยากรวยจากตลาดหุ้น  เหมือนกับ “เซียนหุ้น” รุ่นก่อนจำนวนไม่น้อยที่ประสบความสำเร็จอย่าง “มหัศจรรย์” ซึ่งรวมถึงผมด้วย  และนั่นก็คงเป็นเหตุผลว่าทำไมพวกเขาจึงถามคำถามนี้  เขาอยากรู้ว่าผมที่ประสบความสำเร็จในยุคที่เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทยกำลังรุ่งเรืองจนถึงประมาณอย่างน้อย 10 ปีก่อนจะทำอย่างเดิมหรือใช้กลยุทธ์แบบเดิมไหม?  และเพราะอะไร?  คำตอบของผมก็คือ  ประเทศไทย  เศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย  น่าจะผ่านจุดที่รุ่งเรืองมากมาแล้ว  สถานการณ์ขณะนี้ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไปโดยที่เหตุผลสำคัญก็คือ  โครงสร้างประชากรไทยที่คนแก่ตัวลงมาก  คนสูงอายุเกษียณจากงานที่มีรายได้สูงมีจำนวนเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  เพราะคนกลุ่มนี้มีจำนวนเป็นล้านคนต่อปี...
โลกในมุมมองของ Value Investor     7 มกราคม 2565 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร หนทางการลงทุนที่ทำให้ผม  “เปลี่ยนชีวิต” ในช่วงกว่า 20 ปีที่ผ่านมาก็คือ  การลงทุนในหุ้น “Super Stock” ประมาณ 6-7 ตัว ย้อนหลังไปประมาณ 15- 20 ปี และถือไว้ยาวนานโดยที่ไม่ค่อยได้ทำอะไรกับมัน  บางตัวผมก็ยังถืออยู่จนถึงทุกวันนี้   Super Stock โดยนิยามของผมก็คือหุ้นที่เติบโตเร็วมาก  ภายในเวลา 10 ปี โตขึ้นอย่างน้อยเป็น 10 เท่าตัว หรือให้ผลตอบแทนทบต้นปีละประมาณ 26% ขึ้นไป  และนี่ไม่ใช่หุ้นเก็งกำไรตัวเล็ก ๆ ที่อาจจะมีราคากระโดดขึ้นไปได้เพราะเหตุผลบางอย่าง  แต่เป็นหุ้นของธุรกิจหลัก ๆ  ขนาดใหญ่ระดับประเทศที่เราสามารถลงทุนด้วยเม็ดเงินจำนวนมากได้อย่างสบายใจและก็สามารถขายหุ้นได้โดยที่ไม่ได้กระทบกับราคาของหุ้นในขณะนั้นเลย หุ้น Super Stock นั้น  มักจะมีคุณสมบัติที่แตกต่างจากหุ้นทั่วไปก็คือ  มันมักจะอยู่ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่กำลังเป็น  “เมกาเทรนด์” คือมีการเติบโตที่รวดเร็วและมักจะยาวนานจนโตขึ้นจากจุดเดิมเป็นหลายเท่า  ดังนั้น  จึงเป็นผู้ผลิตหรือให้บริการสินค้าที่มักจะถูกใช้โดยคนที่อายุน้อยกว่าหรือคนที่กำลังร่ำรวยขึ้นที่จะมีเงินเพิ่มและใช้ผลิตภัณฑ์มากขึ้น  นั่นคือเงื่อนไขประการแรก  ข้อที่สองก็คือ  บริษัทหรือหุ้นนั้นจะต้องเป็น  “ผู้ชนะ” มีส่วนแบ่งทางตลาดสูงกว่าคู่แข่งและโตไปเรื่อย ๆ ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 26 ก.ย. 63 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในฐานะที่เป็นนักลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ไทยและเวียตนาม  ผมเองได้ติดตามดูผลงานของตลาดทั้งสองแห่ง  ทั้งทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ  ดัชนีตลาดหุ้น  และตัวหุ้นที่จดทะเบียนในตลาด  และก็แน่นอนว่า  ก็เปรียบเทียบผลงานพอร์ตหุ้นทั้งสองของผมว่าพอร์ตไหนมีผลตอบแทนดีกว่ากันและมองด้วยว่าอนาคตพอร์ตไหนน่าจะมีโอกาสเติบโตมากกว่าด้วย  ในการเปรียบเทียบนั้น  ผมจะดูดัชนีหุ้นของทั้งสองแห่งเป็นหลัก ตลาดหลักทรัพย์โฮจิมินของเวียตนามเพิ่งจะเปิดเมื่อปี 2000 ปี  และเนื่องจากเป็นตลาดเปิดใหม่  การ “เก็งกำไร” จึงน่าจะรุนแรงมาก  ดัชนีตลาดวิ่งจาก 100 จุด ขึ้นไปถึงจุดสูงสุดที่ประมาณ 1,140 จุดหรือ 11 เท่าภายใน 7 ปีและนั่นเกิดขึ้นตอนต้นปี 2007  ซึ่งก็ถือเป็น “ฟองสบู่ลูกแรก”  ของเวียตนาม  ในช่วงเวลาเดียวกัน  ดัชนีตลาดหุ้นของไทยเอง  ก็ปรับตัวขึ้นสูงสุด  จากประมาณ 200 จุด  ซึ่งเป็นดัชนีต่ำสุดหลังวิกฤติปี 2540 หรือปี 1997 กลายเป็นประมาณ 910 จุดในช่วงปลายปี 2007 เหมือนกัน  จากปี 2007 ซึ่งเป็นปีที่ดัชนีตลาดหุ้นทั้งไทยและเวียตนามปรับตัวขึ้นเป็นจุดสูงสุดหลังวิกฤติปี 1997  ดัชนีตลาดหุ้นทั้งสองแห่งก็ประสบกับวิกฤติปี 2008 หรือวิกฤติซับไพร์มที่เกิดขึ้นในอีกประมาณ 10 ปีต่อมาหลังวิกฤติ...
โลกในมุมมองของ Value Investor        5 กรกฎาคม 2568 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้ผมคิดว่าเต็มไปด้วยความ “กังวล”  เหตุเพราะว่ามีเรื่องที่ “เลวร้าย” กับเศรษฐกิจและตลาดหุ้นเกิดขึ้นแทบไม่เว้นวัน ล่าสุดก็คงต้องเป็นเรื่องที่เพิ่งเกิดเมื่อ 2-3 วันก่อนที่ดูเหมือนว่าการเจรจาของผู้แทนไทยกับสหรัฐเรื่องภาษีศุลกากรจะไม่สามารถสรุปได้ก่อนเส้นตายในวันที่ 9 กรกฎาคม 2568 หรืออีกแค่ 2-3 วันที่จะถึงนี้  ซึ่งถ้าเป็นอย่างนั้น  ไทยอาจจะถูกเรียกเก็บภาษีนำเข้าจากอเมริกาถึง 36% ซึ่งก็จะเป็นอัตราที่น่าจะทำให้การส่งออกสินค้าของไทยไปยังสหรัฐลดลงมาก  และก็จะทำให้การส่งออกโดยรวมของไทยลดลงอย่างรุนแรง  ซึ่งจะส่งผลกระทบกับการเติบโต GDP ของไทยในปีนี้และปีต่อ ๆ ไปที่มีการคาดมาก่อนหน้านี้ว่าจะโตช้ามากอยู่แล้ว ว่าที่จริงหน่วยงานระดับธนาคารโลกได้ลดการคาดการณ์การเติบโตของ GDP ของไทยเหลือเพียง 1.8% ในปีนี้และ 1.7% ในปีหน้าจากที่เคยคาดว่าจะเกิน 2% ในทั้ง 2 ปี และนั่นก็อาจจะยังไม่ได้รวมถึงผลกระทบจากการปรับภาษีของทรัมป์อย่างเต็มที่ด้วย เรื่องนี้ก็คงจะทำให้นักลงทุนหลายคนกังวลใจและอาจจะนอนไม่ค่อยหลับถ้าถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์จำนวนมากโดยเฉพาะที่ส่งออกสินค้าไปตลาดสหรัฐเป็นจำนวนมาก แต่คนที่กังวลใจยิ่งกว่านั้น  น่าจะเป็นบริษัทที่ผลิตสินค้าส่งออกไปยังตลาดสหรัฐเป็นหลักหรือเป็นจำนวนมากที่กังวลว่าสินค้าของตนเองจะ “ขายไม่ได้” หรือขายได้น้อยลงมาก  เพราะราคาของสินค้าสู้กับคู่แข่งที่ไม่ต้องเสียภาษีหรือเสียภาษีน้อยกว่าสินค้าจากไทยซึ่งก็รวมถึงสินค้าจากเวียดนามที่ได้ตกลงกับสหรัฐเรียบร้อยแล้วว่าจะเสียภาษีนำเข้าที่ 20%   สำหรับหลาย ๆ  บริษัทแล้ว  นี่อาจจะเป็น  “หายนะ” ผมไม่คิดว่าคนงานที่ทำงานในกิจการส่งออกจะรู้สึกกังวลกับเรื่องนี้  เพราะในช่วงหลาย ๆ  เดือนที่ผ่านมา  การผลิตและส่งออกดีขึ้นมาก  แต่เหตุผลน่าจะมาจากการที่โรงงาน...
โลกในมุมมองของ Value Investor     28 มิถุนายน 68 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ก่อนที่จะเข้าบทความนี้  ผมมีเรื่องที่จะบอกกับทุกคนที่ติดตามข้อเขียนและผลงานการลงทุนของผมว่า  ผมถูกมิจฉาชีพจำนวนมากแอบอ้างชื่อว่าจะให้คำแนะนำการลงทุนหรือเปิดการฝึกอบรมแบบไม่คิดค่าใช้จ่ายและกระทำการอื่น ๆ  อีกมากผ่านสื่อสังคมทุกรูปแบบ  เมื่อเหยื่อเข้าไปติดต่อก็จะถูกหลอกให้หลงเชื่อว่าเป็นตัวผมจริงและก็จะถูกโกงจนเกิดความเสียหาย  และในช่วงเร็ว ๆ นี้  ก็มีการเขียนบทความและการกล่าวอ้างว่าเป็นข้อเขียนและคำพูดของผมทั้ง ๆ  ที่เป็นเรื่องไม่จริง  คนที่ทำอาจจะมีแรงจูงใจอะไรต่าง ๆ รวมถึงเรื่องการเมือง ที่เป็นประโยชน์กับตนเองแต่ทำให้คนเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวผม ดังนั้น  เพื่อให้ทุกคนรับทราบและไม่ตกเป็นเหยื่อหรือก่อให้เกิดความเข้าใจผิดเกี่ยวกับตัวผม  ผมขอเรียนว่า  ผมไม่มีหรือไม่เคยใช้สื่อสังคมของตนเองเพื่อติดต่อกับสาธารณชน  เพราะผมไม่มีสื่อสังคมสาธารณะอะไรทั้งสิ้น  ผมเป็นคน “โลว์เท็ค” และไม่สามารถทำเครื่องมือดิจิทัลที่เป็นสื่อสังคมสมัยใหม่และไม่สามารถโพสข้อมูลหรือข้อความอะไรทั้งนั้น  บทความและรายการสัมภาษณ์ของผมนั้น  จะสื่อถึงสาธารณชนผ่านสื่ออื่น ๆ  ที่เป็นสถาบันหรือหน่วยงานที่มีมาตรฐานและจรรยาบรรณสูงเท่านั้น  ดังนั้น  ถ้าพบข้อมูลหรือการโฆษณาประชาสัมพันธ์อะไรที่ไม่ตรงกับสิ่งที่ผมกล่าวข้างต้น  ก็ต้องสรุปว่ามันเป็น  “ของปลอม” อย่างแน่นอน  ไม่ต้องเข้าไปเกี่ยวข้องหรือสนใจครับ บทความสำหรับวันนี้ของผมเป็นเรื่องที่เกิดเมื่อ 4-5 วันที่ผ่านมา  คือเรื่องที่หุ้น  KTC หรือบริษัทบัตรกรุงไทย ตกลงมาแรงมาก  รวมแล้วประมาณ  30% ภายในเวลา 5 วัน ทั้ง ๆ  ที่ไม่ได้มีอะไรเกิดขึ้นกับการดำเนินงานของบริษัท  และบริษัทก็ได้ออกมาประกาศด้วยว่าพื้นฐานและการประกอบการของบริษัทก็ปกติทุกอย่าง  ซึ่งโดยนัยก็คือ  ผลประกอบการในไตรมาศ 2...
เมื่อวานนี้ ขอขอบคุณ AQUIS Capital Vietnam และ Lumen Vietnam Fund ที่อัปเดตความรู้หุ้นเวียดนามเชิงลึกให้การสนับสนุน VVI Membership และ Community VVI Group ในการจัดงานรับประทานอาหารกลางวันสุดพิเศษ จำนวน 30 ที่นั่ง ณ Marriott Bangkok Sukhumvit ขอบคุณ Mr. Nguyen The Duy (Head of Research, Lumen Vietnam Fund) Mr. Tuong Le (Asia Representative for Aquis Capital) ที่มาร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลและมุมมองอย่างละเอียด ภาพรวมตลาดเวียดนามที่น่าสนใจ ขนาด Market Cap ต่อ GDP เวียดนามอยู่ที่ 59% ยังมี Room ให้เติบโต เมื่อเทียบกับญี่ปุ่น (136%) และเกาหลีใต้ (85%) สัดส่วนนักลงทุนรายย่อยสูงที่สุดในภูมิภาค เวียดนาม 85% จีน 80% ไทยเพียง 21% ข้อดี: กระจายการถือครองกว้าง ข้อเสีย: ความผันผวนสูง ประชากรและโครงสร้างอายุ ประชากรราว 100 ล้านคน อายุเฉลี่ย 33...
โลกในมุมมองของ Value Investor 21 มิ.ย. 68 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ตลาดหลักทรัพย์มีโครงการ   ”Jump+” ที่จะช่วยสนับสนุนให้บริษัทจดทะเบียนสร้างการเติบโตและสร้างมูลค่าอย่างยั่งยืนแบบ “ก้าวกระโดด” โดยที่โครงการนี้จะให้สิทธิประโยชน์ทางด้านภาษีและการให้คำแนะนำแก่บริษัทจดทะเบียนในหลาย ๆ  เรื่องที่จะทำให้กิจการเติบโต  มีรายได้และกำไรเพิ่มขึ้น  ทั้งจากการเติบโตจากภายในและการควบรวมกิจการที่เป็นประโยชน์กับบริษัท  นอกจากนั้นก็ยังช่วยให้กิจการสามารถเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนในการดำเนินงานที่สามารถแข่งขันได้กับทั่วโลก  ผลที่คาดหวังก็คือ  มูลค่าของกิจการของบริษัทที่คาดว่าจะเข้าร่วมในโครงการ  ซึ่งคิดเป็นประมาณ 50% ของบริษัทจดทะเบียนทั้งหมด  ก็จะเพิ่มขึ้นอย่างถาวรในช่วงเวลา 2-3 ปีของโครงการ  พูดง่าย ๆ  ในช่วง 2-3 ปีข้างหน้าจะเห็น “หุ้นขึ้น” แบบ “ก้าวกระโดด” ผมเองเห็นด้วยทุกประการ  โดยเฉพาะในยามที่หุ้นโดยรวมมีราคาตกลงอย่างต่อเนื่องทั้ง ๆ ที่ผลประกอบการก็ไม่ได้เลวร้ายอะไร  หุ้นจำนวนมากมีผลประกอบการที่ดีใช้ได้  มีความแข็งแกร่ง  มีธุรกิจที่มั่นคงมาก  และที่สำคัญ  จ่ายปันผลได้งดงามสูงที่สุดเป็น “ประวัติการณ์”  เมื่อเทียบกับราคาหุ้น  และแทบจะสูงที่สุดในโลกที่ประมาณเกือบ 5% ถ้าผมเข้าใจไม่ผิด ผมคิดว่าสถานการณ์ในยามนี้ของประเทศไทยนั้น   มีแต่เรื่องเลวร้ายที่ประดังเข้ามาซึ่งทำให้คนขาดความมั่นใจที่จะลงทุนในตลาดหุ้นทั้ง ๆ  ที่หุ้นจำนวนมากมีราคาต่ำกว่าปกติอย่างเห็นได้ชัด  ดังนั้น  มีความจำเป็นที่เราจะต้องมีมาตรการกระตุ้นความต้องการซื้อหุ้นลงทุนในตลาดหลักทรัพย์แบบ “เห็นผลทันที”  โดยเฉพาะจากนักลงทุนชาวไทยที่รู้จักและเข้าใจบริษัทจดทะเบียนเหล่านั้นว่ายังไงเสียบริษัทก็ยังอยู่กับเราไปเรื่อย ๆ  เรายังต้องใช้สินค้าหรือบริการทุกวัน  เราเชื่อมั่นว่าเป็นบริษัทที่ดีและมีบรรษัทภิบาลที่น่าเชื่อถือ  และที่สำคัญ ...
โลกในมุมมองของ Value Investor      14 มิถุนายน 2568 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในเดือนสิงหาคมปี 2531 อดีตนายกรัฐมนตรีคนแรกที่มาจากการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย “อย่างแท้จริง” คือพลเอก ชาติชาย ชุณหะวัณ ได้ประกาศนโยบาย  “เปลี่ยนสนามรบให้เป็นสนามการค้า” ซึ่งเป็นนโยบายที่ช่วยคลี่คลายสถานการณ์ความขัดแย้งทางการทหารกับประเทศกัมพูชาและส่งเสริมการทำธุรกิจร่วมกันกับประเทศในกลุ่มอินโดจีน  สร้างความสัมพันธ์อันดีระหว่างไทยกับเพื่อนบ้านที่มักมีเหตุกระทบกระทั่งและรบกันที่เขตชายแดนมาตลอด พลเอกชาติชายดำรงตำแหน่งนายกประมาณ 2 ปีครึ่ง  และเศรษฐกิจในช่วง 3 ปี  ตั้งแต่ปี 2531 เติบโตเกิน 10% ต่อปี ถึง 3 ปีติดต่อกัน  กลายเป็นประเทศที่เติบโต “สูงที่สุดในโลก”   ดัชนีตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยสะท้อนการเติบโตของ GDP และการเปลี่ยนแปลงนโยบายและการเมืองของประเทศไทย  โดยการปรับตัวขึ้นอย่างรุนแรงจากประมาณ 450 จุดในช่วงที่มีการประกาศนโยบายเป็นกว่า 1,700 จุด ในช่วงปี 2537 หรือเป็นการเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 4 เท่าในเวลา 5 ปีครึ่งเท่ากับผลตอบแทนทบต้นประมาณ 28% ต่อปี  และกลายเป็น “ยุคทอง”ของเศรษฐกิจและตลาดหุ้นไทย  ที่ร้อนแรงเกินไปจนต้องประสบกับวิกฤติเศรษฐกิจครั้งใหญ่ที่สุดในปี 2540  เวลาผ่านมา 37 ปีแล้ว  ขณะนี้ทุกอย่างในประเทศไทยกำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ถดถอยลงโดยเฉพาะการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ—และความคิดหรือนโยบายเกี่ยวกับการเมืองการค้าและความสัมพันธ์กับนานาชาติรวมถึงประเทศเพื่อนบ้าน  เฉพาะอย่างยิ่งที่อยู่...
โลกในมุมมองของ Value Investor   7 มิถุนายน 2568 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร สถานการณ์ตลาดหุ้นไทยในช่วงเร็ว ๆ  นี้ต้องบอกว่า “ยากลำบากที่สุดในชีวิต” ตั้งแต่ผมเริ่มลงทุนมาหลังปี 2540 ซึ่งเป็นปีวิกฤติซับไพร์ม  ไม่ใช่เพราะว่าหุ้นตกลงมามาก  เพราะช่วงที่หุ้นตกลงมาในอดีตนั้นแรงและเร็วกว่าการตกของหุ้นในช่วงนี้มาก  แต่เป็นเพราะว่าการตกของหุ้นในช่วงหลัง ๆ  นี้  มักจะเป็นการตกลงมาอย่างช้า ๆ  แต่ต่อเนื่องยาวนาน  และไม่ค่อยมีจังหวะที่หุ้นจะปรับตัวขึ้นแรงแบบที่มักจะเกิดขึ้นในอดีต  นอกจากนั้น  ปริมาณการซื้อขายก็ค่อย ๆ  ลดลงไปเรื่อย ๆ  ถ้ามองแบบนักเทคนิคก็อาจจะบอกว่า  คนที่เล่นหุ้นหรือลงทุนในตลาดหุ้นไทยจำนวนมากคงจะขายหุ้นและทยอยออกจากตลาดไปเรื่อย ๆ   หลาย ๆ  คนก็อาจจะขายไม่ได้เพราะ  “ติดหุ้น” ที่ซื้อที่ต้นทุนสูงกว่าปัจจุบันมาก การลงทุนในตลาดหุ้นไทยในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมานั้น  ผมคิดว่าแม้แต่  “เซียนหุ้น” ส่วนใหญ่ก็ไม่สามารถที่จะทำผลงานได้ดีหรือเอาชนะตลาดหุ้นที่ก็แย่มากอยู่แล้วได้  แม้แต่คนที่ใช้หลักการแบบ “VI” และเลือกหุ้นลงทุนโดยไม่สนใจสภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้น  ก็อาจจะพบว่าการคาดการณ์หรือประเมินคุณค่าของธุรกิจผิดพลาดเพราะ “ธุรกิจเปลี่ยนแปลงไป”  หรือบางทีก็ประเมินไม่ผิด  แต่ราคาและผลตอบแทนของหุ้นก็ไม่ตอบสนองอย่างที่ควรเป็น  คำว่า “ในระยะยาวราคาหุ้นจะสะท้อนพื้นฐานเสมอ” นั้น อาจจะยังจริงอยู่  แต่ในระยะยาว จอห์น เมย์นาร์ด เคน นักเศรษฐศาสตร์ชื่อก้องโลกบอกว่า  “ทุกคนต้องตายหมด”...
โลกในมุมมองของ Value Investor       24 พฤษภาคม 2568 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในภาวะที่ตลาดหุ้นซบเซาและดัชนีตลาดหุ้น  “ตกทุกวัน” อย่างต่อเนื่อง  และแม้แต่หุ้นที่ดีและประกาศผลการดำเนินงานที่  “น่าประทับใจ” และราคาก็ไม่แพง  บางตัวถูกที่สุดในประวัติศาสตร์ของตัวหุ้น  แต่หุ้นกลับตกลงมาแรงอย่างผิดคาด  และนั่นคงทำให้นักลงทุนซึ่งรวมถึง “VI” ทั้งที่เป็นพันธุ์แท้และพันทาง  ต่างก็  “หมดหวัง” กับตลาดหุ้นไทย  นักลงทุนจำนวนมากทยอยขายหุ้น  หลายคนเปลี่ยนไปลงทุนหุ้นต่างประเทศ  ซึ่งตอนนี้สามารถทำได้ง่ายพอ ๆ  กับการลงทุนในหุ้นไทยและไม่เสียภาษีกำไรจากหุ้นเช่นกัน  โดยทำผ่านการซื้อ  “DR” และกองทุนรวมหุ้นต่างประเทศที่กำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่สำหรับผมและนักลงทุนอีกจำนวนมากที่ลงทุนระยะยาว  ที่เป็นการลงทุน “เพื่อชีวิต” และชีวิตตอนนี้อยู่ได้อย่างสบายก็อาศัยเงินจากการลงทุนนั้น  ผมจำเป็นต้องมีหุ้นไทย  และจะต้องมีหุ้นไทยจำนวนพอเพียงที่จะใช้ชีวิตในระดับปัจจุบันและอนาคตโดยไม่ต้องวิตกกังวล  คำถามก็คือ  เราจะต้องมีหุ้นไทยแบบไหนที่จะทำให้ได้ผลตอบแทนที่ดีพอและปลอดภัยมากในระยะยาวไม่ว่าตลาดหุ้นไทยจะเป็นอย่างไรต่อจากนี้ “สูตร” การลงทุนหุ้นที่จะ “เอาตัวรอด” ได้ในสถานการณ์แบบนี้ของตลาดหุ้นไทยของผมก็คือ  “สูตรหุ้นรอด 5-5-5-5” ซึ่งผมคาดว่าน่าจะสามารถสร้างผลตอบแทนเฉลี่ยได้อย่างน้อยปีละ 5% แบบทบต้นในระยะเวลา 5 ปี ข้างหน้าโดยที่มีความเสี่ยงต่ำ  และแม้ว่าตลาดหุ้นโดยรวมจะไม่ดีในอีกหลายปีข้างหน้า  พอร์ตหุ้นนี้ก็จะสามารถทนทานกับภาวะเลวร้ายได้  เหตุผลก็เพราะว่าหุ้นที่เราเลือกมานั้น  ทำผลตอบแทนได้ดีกว่าตลาดโดยเฉพาะในยามที่เศรษฐกิจไม่ดี  มาดูกันว่ากลยุทธ์ของสูตรนี้คืออะไร หมายเลข 5 ตัวแรกคือการเลือกหุ้นที่ปัจจุบันจ่ายปันผลตอบแทนอย่างน้อย 5% ต่อปีขึ้นไป  ซึ่งเวลานี้ก็มีหุ้นแบบนี้อยู่จำนวนไม่น้อย ...
โลกในมุมมองของ Value Investor       17 พ.ค. 68 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นาทีนี้ก็ต้องถือว่าเป็นการ  “ปิดฉาก” ตำนานที่  “ยังมีชีวิต” ของ วอเร็น บัฟเฟตต์ นักลงทุนที่ “ยิ่งใหญ่ที่สุดในโลก”  วัดจากความสำเร็จและความมั่งคั่งที่ได้รับ “จากการลงทุน” ด้วยมูลค่าทรัพย์สินสุทธิที่ประมาณ 169 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือ 5.6 ล้านล้านบาท  รวยเป็นอันดับ 5 ของโลกเมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม 2568 ที่เขาประกาศ  “วางมือ”  จากการบริหารเงินของเบิร์กไชร์แฮทเทอเวย์  บริษัทโฮลดิงที่ลงทุนในบริษัทอื่น ๆ  ของเขาตั้งแต่  54 ปีมาแล้ว “มหัศจรรย์” ของวอเร็น บัฟเฟตต์ นั้น  คนอาจจะคิดว่าเป็นเพราะเขา “ลงทุนเก่งมาก” ระดับที่คนเรียกว่า  “เทพแห่งโอมาฮา” เมืองที่เขาใช้ชีวิตมาตั้งแต่เกิดและแทบไม่ได้ย้ายไปไหนตลอดชีวิต  อย่างไรก็ตาม  เขาบอกว่าความสำเร็จของเขานั้น  เป็นเพราะ  “โชคดี” โดยเฉพาะที่ได้เกิดที่ “สหรัฐอเมริกา” และเป็น “ชายผิวขาว” ที่ทำให้สามารถใช้วิชาความรู้ในการลงทุนหาเงินในประเทศอเมริกาได้  เพราะถ้าเขาเกิด “ผิดที่” เช่นไปเกิดในอาฟริกา...
ขอปิดรับ ทริปสัมมนาหุ้นเวียดนาม VVI 2025 ขอบคุณผู้สมัครสัมมนาทุกท่านมากๆ ค่ะ (ผู้สมัครหลังจากนี้ จะเป็น Waiting list นะคะ). แล้วพบกันที่เวียดนามค่ะ ทริปลงทุนเวียดนามกับ VVI GROUP – เจาะลึกตลาดหุ้นเวียดนามกับตัวจริง! เปิดประสบการณ์การลงทุนในเวียดนามแบบที่ไม่มีใครเหมือน กับ VVI GROUP ที่คร่ำหวอดในตลาดนี้มากว่า 10 ปี หากคุณกำลังมองหาโอกาสใหม่ ๆ ในตลาดเกิดใหม่ที่เติบโตเร็ว เวียดนาม คือหนึ่งในจุดหมายปลายทางที่นักลงทุนทั่วโลกจับตามอง และ VVI GROUP ขอชวนคุณร่วมทริปพิเศษสุด “Vietnam Investment Insight” ที่จะพาคุณ รู้ลึก รู้จริง และ ต่อยอดการลงทุน ได้ทันที! สิ่งที่คุณจะได้รับจากทริปนี้ เจาะลึกตลาดหุ้นเวียดนาม ด้วยประสบการณ์ตรงกว่า 10 ปีของ VVI GROUPเข้าพบผู้บริหาร และผู้เชี่ยวชาญที่รู้จริงเรื่องหุ้นเวียดนามExclusive Company Visit เยี่ยมชมธุรกิจชั้นนำในหลายอุตสาหกรรมCity Tour สัมผัสเมือง เศรษฐกิจ และชีวิตจริงของชาวเวียดนามสำรวจร้านค้า-สินค้า ที่เกี่ยวข้องกับบริษัทจดทะเบียน พร้อม Local...
โลกในมุมมองของ Value Investor       26 เมษายน 68 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผมเพิ่งกลับจากการท่องเที่ยวที่ลอนดอนและจังหวัดใกล้เคียง  ซึ่งก็เป็นสถานที่ที่ผมไปมาหลายครั้ง  ส่วนใหญ่ก็ไปที่เดิม ๆ  ซึ่งก็มักจะไม่ค่อยเปลี่ยนแปลง  อังกฤษเองนั้นก็เป็นประเทศและสังคมที่เปลี่ยนแปลงน้อยเพราะเศรษฐกิจของอังกฤษค่อนข้างอิ่มตัวมานานแล้ว  สิ่งที่น่าสนใจในอังกฤษก็คือ  “ประวัติศาสตร์” ซึ่งบังเอิญเป็นสิ่งที่ผมชอบ  ดังนั้นผมก็มักจะไปดูพิพิธภัณฑ์และของเก่า  รวมถึงตลาดขายของเก่า  และคราวนี้ผมก็ได้เห็นและซื้อโปสเตอร์ “เก่า” ที่เขาเอามาทำเป็นของที่ระลึก 2 ใบ  เพราะข้อความในโปสเตอร์นั้นให้ข้อคิดเตือนใจที่ผมคิดว่าตรงกับสถานการณ์ของตลาดหุ้นในช่วงนี้ โปสเตอร์ใบแรกก็คือ  โปสเตอร์เก่าที่ “ดังที่สุดตลอดกาล” ในอังกฤษ  และก็น่าจะดังมากในอเมริกาโดยเฉพาะในช่วงวิกฤติซับไพร์มปี 2009 ในตลาดหุ้นวอลสตรีท  ที่มีการพูดถึงข้อความที่เขียนอยู่ในโปสเตอร์ว่า  “Keep Calm  and  Carry On” ซึ่งมีความหมายว่า  “ใจเย็น ๆ   และ สู้ต่อไป” หรือพูดง่าย ๆ  เวลาเกิดปัญหาใหญ่ระดับ “วิกฤติ”  จะต้องใจเย็น  มีสติ  และก็สู้ต่อไป  อย่าตกใจและยอมแพ้  แล้วทุกอย่างก็จะดีขึ้น  เฉกเช่นที่อังกฤษในช่วงปี 1939 ที่เกิดเหตุการณ์วิกฤติ  เกิดสงครามกับเยอรมันในช่วงต้นสงครามโลกครั้งที่ 2  ซึ่งอังกฤษต้องปลุกขวัญกำลังใจให้คนทั้งประเทศเตรียมตัวรับสงคราม ...

MOST POPULAR