โลกในมุมมองของ Value Investor     19 มิถุนายน 64 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร  ในโลกปัจจุบันที่ “ต้นทุนในการสื่อสาร” ลดลงมาต่ำมากจนแทบเป็นศูนย์  เราก็ได้เห็น  Content หรือข้อมูลข่าวสารถูกส่งออกไปมากมายมหาศาลจน “รับไม่ไหว”  บางเรื่องก็เป็นเรื่องจริง  จำนวนพอ ๆ  กันก็เป็นเรื่องไม่จริงหรือที่เราเรียกว่า “Fake News”แต่ที่จริงแล้วคนที่ส่งออกไปก็ไม่รู้ว่าข่าวต่าง ๆ  นั้นจริงหรือไม่  ถ้าเขาชอบข่าวหรือข้อมูลนั้น  เขาก็เพียงแต่ส่งมันต่อไป  เพื่อที่จะให้คนอื่นรู้และเห็นด้วย  นี่คงเป็นธรรมชาติของมนุษย์ที่อยากให้คนอื่นคิดและเห็นเหมือนกับตนเอง  เพราะคนที่มีความคิดความเห็นเหมือนกันจะช่วยส่งเสริมให้ “ยีน” ของพวกเขาสามารถเอาตัวรอดและเผยแพร่เผ่าพันธุ์ได้ดีขึ้น ผมเอง  หรือที่จริงน่าจะเกือบทุกคนต่างก็มี “กลุ่มไลน์”  หลาย ๆ  กลุ่ม  เช่น กลุ่มเพื่อนโรงเรียนเก่า  กลุ่มชมรมกิจกรรม  กลุ่มคนทำงานในแผนกหรือในโครงการ  กลุ่มนักลงทุน  และกลุ่มสนใจการเมือง  เป็นต้น   ข้อมูลข่าวสารแต่ละวันที่ผมได้รับนั้น  ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับความรู้และความคิดเห็นโดยเฉพาะในเรื่องที่ผมสนใจและ “เห็นด้วย”  ผมก็มักจะดูหรืออ่านแบบตั้งใจมากกว่าเรื่องที่ผมไม่สนใจหรือไม่เห็นด้วย  นี่ก็เป็นเรื่องปกติ  เป็นธรรมชาติของยีน  เวลาทำไปมาก ๆ  นาน  ๆ  ความรู้และความคิดเหล่านั้นก็จะถูก “ย้ำ” เข้าไปในสมองซึ่งอาจทำให้ความรู้ของเรามากขึ้น  แต่ถ้าเป็นความคิดเห็นมันก็มักจะ “แรง” ขึ้น  และเราก็จะปฎิเสธความคิดเห็นที่ “แตกต่าง” มากขึ้น ...
กฎ 20 ข้อในการลงทุนที่เวียดนามในหนังสือ คุณแบ่งเป็น 4 ส่วนได้แก่ พื้นฐานกิจการสิ่งที่ห้ามทำเชื่อมั่นแต่ต้องตรวจสอบการถอนตัวช่วยอธิบายเพิ่มหน่อย ? บอกตามตรงมีกฎเพราะว่าพวกเราเคยพลาดและสะดุดมาก่อนเราเกาหัวแล้วถามตัวเองว่าเราได้เรียนรู้อะไรจากมันบ้าง เพื่อที่เราจะไม่พลาดซ้ำในส่วนของ Fundamental เราต้องมั่นใจกับผู้บริหาร เมื่อพวกเขาทำเงิน เราก็ทำเงินเมื่อเค้าเสียเงินหรือเจ็บปวด เราก็เจ็บปวดไปด้วย พวกเขาผ่านเรื่องที่เลวร้ายและได้ประสบการณ์ เพื่อลงทุนได้ดีขึ้นในอนาคต นี่คือเหตุผลที่มีกฏขึ้นเพราะพวกเราผ่านมันมา อะไรที่เราควรทำ ไม่ควรทำ อะไรที่พวกเราควรจะตรวจสอบและอะไรที่เราควรพิจารณาเมื่อต้อง Exit เพราะสุดท้าย เราต้องคืนเงินให้ผู้ถือหุ้น อะไรเป็นกฎยากสุดที่คุณเรียนรู้ อะไรเป็นประสบการณ์ที่เจ็บปวดในเวียดนาม ? เราเคยมั่นใจมากในการสร้างโรงแรมในเวียดนาม แต่ประเมินต้นทุนต่ำเกินไป ประเมินเวลาก่อสร้างต่ำไป ประเมินกฏที่อนุมัติต่ำไป มันเป็นโรงแรมห้าดาว เห็นได้ชัดว่าเราไม่ได้รู้อะไรเลย ในมุมมองทางการเงินคงไม่ใช่ความคิดที่ดีที่จะสร้าง โรงแรม หรือแม้แต่โรงพยาบาล ให้คนอื่นทำดีกว่า มันถูกกว่าถ้าใช้วิธีซื้อต่อจากคนอื่น เพราะโรงแรม โรงพยาบาลมักจะขายต่ำกว่ามูลค่าตามบัญชีแต่ตอนนั้นพวกเราคิดต่าง เราเลือกที่จะสร้างโรงแรมที่ดีมากๆ แต่สุดท้ายมันมืดมน รวมทั้งปัญหาตอนสร้างโรงพยาบาลที่ต้นปี 2010 ที่ไม่ใช่แค่อัตราเงินเฟ้อสูงเท่านั้น แต่อุปกรณ์ที่ผ่านการอนุมัติให้ใช้ในตอนแรก ไม่มีแล้วในสามปี ต่อมากระทรวงสาธารณสุขเพิ่มมาตรฐานให้โรงพยาบาลอีกดังนั้นคุณต้องเปลี่ยนแปลงการออกแบบและก่อสร้าง รวมถึงการซื้ออุปกรณ์เครื่อง MRI เครื่องผ่าตัด จาก GE หรือ มิตซูบิชิ ที่รุ่นเดิมไม่มี ต้องเปลี่ยนเป็นรุ่นใหม่ และต้องปรับห้องใหม่ด้วยยังไงเราก็ได้เรียนรู้ ถ้ามีครั้งต่อไปรอบ ๆ เราจะสร้างห้องให้กว้างๆ ไว้มากกว่าจะระบุรายละเอียดในห้องไปเลย คุณลงทุนหลากหลายบริษัท ตั้งแต่ธุรกิจเพื่อสุขภาพถึงร้านขายขนม คุณมุ่งเน้นไปที่การพยายามค้นหาธุรกิจ? สิ่งที่เราทำคือเราก้าวไปย้อนกลับไปดูภาคต่างๆ ที่ได้รับประโยชน์จากการเติบโตของ...
ถ้าไทยเป็นแดนแห่งสตรีตฟู้ด อเมริกาเป็นแดนแห่งเสรีภาพ แอดขอยกให้เวียดนามเป็นแดนแห่ง “มอเตอร์ไซต์” ที่ทำให้การข้ามถนนแต่ละครั้งมันทั้งวุ่นวายและเสี่ยงชีวิต หากเทียบการลงทุนก็คงเหมือนหนังสือที่แอดเพิ่งสั่งซื้อ  “Crossing the Street: How to make a success of investing in Vietnam” เวียดนามเป็นโอกาสสำคัญสำหรับนักลงทุน แต่เช่นเดียวกับตลาดชายขอบอื่นๆ “โอกาสไม่ได้หมายความว่ามันจะง่าย” การลงทุนในประเทศที่เติบโตอย่างรวดเร็ว และน่าตื่นเต้นนี้อาจเปรียบได้กับประสบการณ์ในการพยายามข้ามถนนที่เต็มไปด้วยมอเตอร์ไซต์ที่ต้องเผชิญกับความกลัวและใช้ประสบการณ์ Crossing the Street โดย Andy Ho คือคู่มือการลงทุนในเวียดนามที่ตรงไปตรงมาและนำไปปฏิบัติได้ เขียนโดยนักลงทุนที่มีประสบการณ์เกือบสองทศวรรษ ความท้าทายและการก้าวข้ามนำไปสู่รางวัลอย่างปลอดภัย ปัจจุบัน เวียดนามติดอันดับหนึ่งในประเทศที่เติบโตเร็วที่สุดในโลก เช่นเดียวกับจีนเมื่อสองทศวรรษก่อน ประเทศกำลังประสบกับการพัฒนาอย่างรวดเร็ว มีประชากรที่ร่ำรวยเพิ่มขึ้นเกือบ 100 ล้านคน เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจนกลายเป็นศูนย์กลางการผลิตที่สำคัญในเอเชีย และเป็นหนึ่งในไม่กี่ประเทศในโลกที่เศรษฐกิจเติบโตอย่างต่อเนื่องแม้จะมีการระบาดใหญ่ทั่วโลก นักลงทุนจากทั่วโลกได้รับทราบถึงโอกาสที่มีมากมายในระบบเศรษฐกิจของเวียดนาม Crossing the Street น่าจะให้ประโยชน์กับพวกเราโดยไม่ต้องถูกรถชน ผลตอบแทน VOF:LSE (VINACAPITAL) ที่คุณ Andy Ho สีส่วนดูแล 10 ปีนี้ เพิ่มถึง +365.4% ทีเดียว การศึกษาแนวคิดของคนที่ประสบความสำเร็จในเวียดนาม น่าจะเป็นหนึ่งใจ Shortcut ให้เรา แต่เนื่องจากหนังสือเปิดตัว 22 มิ.ย. นี้ แอดมินเลยแปลบทสัมภาษณ์คุณ Andy Ho เกี่ยวกับหนังสือและการลงทุนในเวียดนาม...
เที่ยวทิพย์
เที่ยวทิพย์ในแดนเวียด! ?? เรียนรู้หุ้นเวียดนามไปกับนักลงทุนที่มี“ไมล์ในการลงทุนหุ้นเวียดนามถึง 12 ปี” ?? ตะลุยหุ้นเวียดนามกับพี่แจ๊ค มือเก่า เก๋าผู้ไปเที่ยวเวียดนามกว่า 30 ครั้ง โควิด 19 ทำให้เราไปเวียดนามไม่ได้แต่เราเที่ยวทิพย์ได้ โปรแกรมทัวร์ ทัวร์ดอยในอดีตของพี่แจ๊ค ทำอย่างไรเพื่อเลี่ยงดอยในเวียดนาม?ตลาดหุ้นเวียดนามใกล้ดอยยัง?ลงทุนหุ้นเวียดนามแต่ต่างจากหุ้นไทยอย่างไร?มุมมอง หุ้นกลุ่มไหนจะมาแรงในอนาคต?หุ้นเด้งในเวียดนามของพี่แจ๊คหายังไง? พบกันในกลุ่มปิด! ปรับทัพลงทุนหุ้นเวียดนาม อเมริกา จีน เท่านั้น Date:วันอาทิตย์นี้ 20 มิ.ย. 2021 Boarding Time:เวลา 15.00-16.30 —— ⚠️ สมัครกลุ่มปิด! ปรับทัพลงทุนหุ้นเวียดนาม?? อเมริกา?? จีน ??ดูคลิปความรู้ย้อนหลังความยาวกว่า 30 ช.ม.พร้อม Live Update ความรู้ใหม่ทุกเดือนจนถึงสิ้นปี 2021ดูรายละเอียดและสมัครได้ที่:https://bit.ly/316AyPX
เหตุผลที่ไปเวียดนาม
เหตุผลที่เราไปเวียดนามเพราะ หุ้นไม่แพงเรามีความรู้จากประเทศไทยที่ Apply ได้ กับประเทศเวียดนาม(ถ้าผมไปอเมริกา ผมสู้อะไรกับคนรุ่นใหม่ไม่ได้เลย HighTech ถ้าโต โตเร็วมาก แต่แพ้นี่เจ๊ง เราบอกเราไม่เอา เราอยากโตแบบมั่นคง  แบบนี้เคยทำให้เรารวย เราก็หวังว่าจะไปรวยต่อแต่เปลี่ยนที่) ตอนนี้เวียดนามเห็นเลยโตเร็ว พวกรุ่นใหม่อาจไปอเมริกา จีน เพราะว่าเค้าบอกว่า Old Economy ในที่สุดก็บอกว่าไปไม่รอดหรอก  แต่เรารู้ว่าถ้าฐานคุณขนาดนี้ ในประเทศต้องมี Old Economy แต่ Old economy แบบเวียดนามยังไปอีกไกล อาหาร ห้างร้าน อะไรต่างๆ  แม้กระทั่งรองเท้า เสื้อผ้า เวียดนามตอนนี้โตระเบิด ผลิต Nike ส่งทั่วโลก ผมถามว่าถ้า New Economy แล้วคุณไม่ใส่รองเท้าเหรอ แล้วเวียดนามเค้ากิน market share รองเท้าโลก บริษัทที่หุ้นไปของเวียดนามตอนนี้ สิ่งทอ เวียดนามเค้าเป็น Free trade กับประเทศยักษ์ๆ ของโลก ยุโรป อเมริกา เค้าส่งไม่เสียภาษี เราส่งไปเสียภาษีเพราะไม่มีสัญญากับยุโรป อเมริกา แล้วตลาดรองเท้ามันยักษ์ขนาดนี้ แค่ทำรองเท้าก็หากิน  เฟอร์นิเจอร์ไม้ก็ยังรวย บ้านเราทำได้ไงหมดยุคไปนานแล้ว แต่เค้ายังโตระเบิด เพราะอย่างนั้นเวียดนามเราเห็นแล้วใช่เลย The next Thailand...
HOSE ยังคงต่อสู้กับภาวะโอเวอร์โหลด
แอดจำได้ว่า 3 ปีที่แล้วมีแต่นักลงทุนไทยบ่นว่าตลาดหุ้นเวียดนามไม่มีสภาพคล่องแต่ปัจจุบันเรียกว่าหนังคนละม้วน เพราะเดือนนี้ทุกวันมูลค่าการซื้อขาย HOSE กว่า 1 พันล้านเหรียญสหรัฐทุกวัน ใหญ่กว่าตลาดหุ้นสิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ (แต่ยังแพ้ไทย) ค่ะ กลายเป็นว่าปัญหาใหม่ที่ยังแก้ไม่จบดี คือระบบเทรดไม่รองรับ เนื่องจากระบบเทรดหุ้นเวียดนามสร้างโดยผู้เชี่ยวชาญชาวไทยเมื่อ 20 กว่าปีที่แล้ว และไม่สามารถขยายขนาดได้ มีความไม่แน่นอนมาหลายเดือนแล้ว โดยคำสั่งต่างๆ จะถูกระงับ หรือดำเนินการช้ามาก และราคาหุ้นแสดงขึ้น ส่งผลให้นักลงทุนต้องเสี่ยงโดยไม่จำเป็น เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน มูลค่าการซื้อขายสูง 935.3 ล้านดอลลาร์ในช่วงเช้า ระบบส่งเสียงเตือน และ HoSE ถูกบังคับให้ระงับการซื้อขายในช่วงบ่ายเพื่อป้องกันตลาดล่ม หลังจากนั้น HOSE บอกห้ามนักลงทุนยกเลิกหรือแก้ไขคำสั่งซื้อเพื่อป้องกันการโอเวอร์โหลดทำให้นักลงทุนโกรธและหงุดหงิด มีการตั้งคำถามเกี่ยวกับความเป็นผู้นำและวิสัยทัศน์ของคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์แห่งรัฐ (SSC) โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อ HoSE ล้มเหลวอย่างชัดเจนในการคาดการณ์และเตรียมแผนสำรองสำหรับ Volume มหาศาล ในขณะเดียวกัน FPT ยักษ์ใหญ่ด้านไอทีกำลังสร้างระบบการซื้อขายใหม่ที่สามารถรองรับคำสั่งซื้อได้ 3-5 ล้านรายการต่อเซสชั นและมีแนวโน้มที่จะเริ่มดำเนินการในเดือนกรกฎาคม นี่เป็นเพียงความหวังเดียวของนักลงทุน Credit: Ho Chi Minh Stock Exchange continues to struggle with overloadBy Phuong Dong June...
วัคซีนในเวียดนาม
เพื่อให้เห็นภาพชัดขอเปรียบเทียบสถานการณ์โควิด 19 ระหว่าง เวียดนาม VS ไทย ดังนี้ค่ะ จำนวนผู้ติดเชื้อ   ไทย 199,264  คน : เวียดนาม 10,730 คน  จำนวนผู้เสียเสียชีวิต  ไทย 1,466  คน : เวียดนาม 59 คน  จำนวนผู้ตรวจเชื้อ  ไทย 8,124,896  คน : เวียดนาม 6,282,417 คน  การฉีดวัคซีน  ไทย 6.19 ล้านโดส  : เวียดนาม 1.5 ล้านโดส พูดง่ายๆ คือ จำนวนผู้ติดเชื้อไทยมากกว่าเวียดนามประมาณ 19 เท่า แต่การฉีดวัคซีนเราก็เร็วกว่าเวียดนามประมาณ 4 เท่า   แอดว่าที่เวียดนามฉีดช้าส่วนหนึ่งก็เพราะไม่ยอมรับวัคซีนจีนในตอนแรก  (ทั้งเพราะการเมือง ประวัติศาสตร์ ความเชื่อ -  State of Southeast Asia 2021 survey ก.พ. ปีนี้บอกว่าชาวเวียดนามไม่ต้องการรับความช่วยเหลือจากจีนสูงสุดในอาเซียน)  แอดอ่านบทสัมภาษณ์ต้นปี คนเวียดนามบางคนบอกว่าถ้าไม่ได้ AstraZeneca Pfizer Sputnik ก็จะยอมรอ Nano Covax ที่เวียดนามผลิตเอง    แต่ด้วยสถานการณ์โควิด 19 ที่น่าเป็นห่วงหนักขึ้นเรื่อยๆ...
อ้างอิงจากบทสัมภาษณ์ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ลงทุนนิยม EP.95 Q: ถ้าอายุ 30 แล้วอยากใส่เงิน อาจารย์ว่า 100% ควรใส่ไปไหน เวียดนามเลยไหม หรือ ไทยยังได้เปล่า?  คือยังไงก็ต้องลงทุนเมืองไทยเพราะเราอยู่เมืองไทยเราก็ต้องมีบ้าง แต่ถ้าผมอายุ 30 แล้วมีความรู้แบบนี้นะ ผมจะบอกว่าไม่จำเป็น ระยะยาวคุณอยู่กับเศรษฐกิจที่มันอิ่มตัว ไม่โต ดูญี่ปุ่นที่คนแก่เร็วไม่มีเทคโนโลยีใหม่ มันไม่ได้อะไร In the long run ถ้าประเทศนี้อีก 10-20 ปี ประเทศโตมาก การลงทุนก็โตตามไป ถึงเราอยู่ไทยก็เอาเงินมาใช้ได้ โลกยุคใหม่ ผมมอง vision เลยนะ  มันไม่แน่นะ คุณอยู่ประเทศหนึ่ง หากินประเทศหนึ่ง ลงทุนประเทศหนึ่ง แล้วก็ใช้เงินที่นี่ ที่เราอยู่สบายเราอยู่ แต่ไม่ใช่ที่ทำเงิน ที่นี่เป็นที่ท่องเที่ยวเราเที่ยว เป็น Global  เวลาลงทุนถ้าจะประสบความสำเร็จเศรษฐกิจมันต้องโตไปเรื่อยๆ  เศรษฐกิจมันนิ่งแบบไม่ไปไหน คุณต้องเก่งจริงๆ ประเทศไทยบริษัทโตมีแน่นอนแต่มันจำกัด มันเหนื่อยกว่า ถ้าเป็นแบบนั้นเผลอๆ ผมลงประเทศอื่น ตลาดหุ้นไทยไม่ลงก็ได้  ผมพูดตรงๆ นะ ญาติผม ลูกหลานผม เค้าไม่ลงทุนประเทศไทย ไปเวียดนามบ้าง อเมริกาบ้าง เค้าไม่ได้แคร์เลยว่าต้องมีหุ้นไทย แต่เรารู้สึกว่าเราต้องการเงินบาทมาใช้จ่าย...
โลกในมุมมองของ Value Investor      12 มิถุนายน 64 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ตั้งแต่ปี 2518 ที่มีการจัดตั้งตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมาจนถึงวันนี้เป็นเวลา 46 ปี  Profile หรือคุณสมบัติโดยทั่วไปของนักลงทุนไทยมีการเปลี่ยนแปลงไปมาก  ส่วนตัวผมเองนั้น  แม้ว่าจะเพิ่งเริ่มลงทุนอย่างจริงจังประมาณปี 2538-39 หรือ 26 ปีมาแล้วแต่ก็ได้เห็นและรับรู้ถึงความเป็นไปของนักลงทุนในตลาดหุ้นมาโดยตลอด  ส่วนหนึ่งเพราะเริ่มเข้าทำงานในแวดวงการเงินที่เกี่ยวกับ  “ตลาดทุน” ตั้งแต่ปี 2528 หรือ 36 ปีมาแล้ว  หรือพูดได้ว่า  ผมทำงานเกี่ยวข้องกับตลาดหลักทรัพย์หลังจากที่ตลาดเปิดไปแล้วประมาณ 10 ปี  งานที่ทำนั้นเริ่มตั้งแต่ในสายของ  “วิชาการ” ต่อด้วย  “การระดมทุน” ซึ่งก็คือ การทำ IPO ให้กับบริษัท  และสุดท้ายก็คือ  “การลงทุน” ด้วยเงินของสถาบัน  ก่อนที่จะกลายเป็น “นักลงทุน” อย่างเต็มตัว  สิ่งที่ผมเห็นและจะพูดถึงในวันนี้ก็คือการเปลี่ยนแปลงของนักลงทุนที่แทบจะเรียกว่า  “สิ้นเชิง”  ตาม “ยุคสมัย” ที่เปลี่ยนไปของตลาดหลักทรัพย์หรือตลาดทุน ช่วงเปิดตลาดหลักทรัพย์ใหม่ ๆ  โดยเฉพาะในช่วง 2 ปีแรกนั้นน่าจะเป็นการ “ลองระบบ” การซื้อขายหุ้นซึ่งเป็นสิ่งใหม่ในระบบเศรษฐกิจของไทยที่เริ่มจำเป็นที่จะต้องมีแหล่งระดมทุนระยะยาวในการพัฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ  คนที่รู้เรื่องและเข้ามาซื้อขายหุ้นหรือ  “นักลงทุน”...
เปิดพอร์ตหุ้นเวียดนาม
แอดมินได้รับคำถามลงทุนหุ้นเวียดนามต้องมีเงินเท่าไรบ่อยมาก วันนี้เลยถือโอกาสมาเล่าให้ฟัง ถึงทุกแง่มุมการลงทุนหุ้นเวียดนาม  ว่ามีอะไรบ้างและต้องใช้เงินเท่าไรในการลงทุนหุ้นเวียดนาม แอดมินเริ่มลงทุนในหุ้นเวียดนามเมื่อห้าปีกว่าที่แล้วในครั้งนั้นการลงทุนหุ้นเวียดนามเป็นไปด้วยความยากลำบาก แอดมินเองต้องเดินทางไปเปิดพอร์ตที่ประเทศเวียดนาม ส่วนในเมืองไทยเองก็มีโบรกเกอร์เกอร์เปิดให้เทรดหุ้นเวียดนามได้เพียงไม่กี่โบรกเกอร์  ต่างจากปัจจุบันที่การลงทุนหุ้นเวียดนามสะดวกสบายและง่ายยิ่งขึ้น นักลงทุนสามารถเปิดพอร์ตลงทุนซื้อหุ้นเวียดนามได้มากมายหลายโบรกเกอร์ และยิ่งไปกว่านั้นปัจจุบันก็มีโบรกเกอร์ที่สามารถซื้อ-ขายหุ้นเวียดนามในระบบออนไลน์และรู้ผลทันทีว่าซื้อขายได้หรือไม่เสมือนการซื้อขายผ่าน streaming ในเมืองไทย  และที่ง่ายกว่าคือ การที่มี ETF ที่ซื้อ-ขายได้ในตลาดหุ้นไทย เสมือนหุ้นตัวหนึ่งของไทยที่ชื่อว่า E1VFVN3001  ดังนั้นหากตอบแบบกำปั้นทุบดินว่าลงทุนหุ้นเวียดนามต้องมีเงินเท่าไร? ขอตอบว่ามีเงินประมาณ 35 บาทก็ซื้อหุ้นเวียดนามได้ก็คงไม่ผิด (แต่ปกติที่นิยมซื้อขายกันอย่างน้อย 100 หุ้น เท่ากับประมาณ 3,500 บาท) โดยท่านที่มีพอร์ตการลงทุนอยู่แล้วไม่ว่าโบรกเกอร์ใดก็ตาม สามารถซื้อหุ้นเวียดนามผ่าน Streaming ได้ใต้ชื่อ E1VFVN3001 ในราคาปัจจุบัน (11 มิถุนายน 2564) หน่วยลงทุนหรือหุ้นละ 34.25 บาท  โดย E1VFVN3001 เป็น ETF ที่อิงในดัชนีหุ้นเวียดนามจำนวน 30 ตัว ที่เรียกว่าดัชนี VN30 (คล้ายกับ SET50 ETF หรือ TDEX ของไทย) หุ้นเหล่านี้ ประกอบด้วย หุ้นขนาดใหญ่ของเวียดนาม กระจายการลงทุนในหลากหลายกลุ่มอุตสาหกรรม อาทิ กลุ่มการเงิน กลุ่มอสังหาฯ กลุ่มค้าปลีก ฯลฯ ซึ่งนับว่าเป็นการกระจายความเสี่ยง...

MOST POPULAR