มาต่อกันในตอนนี้กับทางเลือกการลงทุนผ่านกองทุนรวม (ดูตารางประกอบ) ซึ่งน่าจะเหมาะกับผู้อ่านหลายๆคนซึ่ง ไม่มีเวลา หรือไม่มีความถนัดในการมานั่งติดตามสภาวะตลาดเวียดนามด้วยตัวเอง ก็มอบหมายให้ professional ดูแลแทนเรา ? ตอนนี้เรามี “ทางเลือก” ค่อนข้างหลากหลายมากให้เราเลือกลงทุนให้เข้ากับโจทย์ความต้องการของเรา เช่น ต้องการตื่นเต้นหน่อย หรือ โตล้อไปตามดัชนีตลาด โดยขอแบ่งรายละเอียดเป็น 2 กลุ่ม การลงทุนที่เราต้องโอนเงินไปก่อนกองทุนแบบ Active: อาศัยฝีมือของผู้จัดการกองทุนในการทำผลตอบแทนให้มากกว่าดัชนีหรือbenchmark (เรียกว่า return มีค่า alpha) โดยกองทุน Active ที่มี คือVEIL: กองทุนโดย Dragon Capital ซึ่งจดทะเบียนอยู่ที่ LSE (London Stock Exchange) ซึ่งมีประวัติการลงทุนในเวียดนามมาอย่างยาวนานPYN Elite Fund: อีกหนึ่งกองทุนที่บริหารโดยผู้จัดการกองทุนผู้คร่ำหวอดกับตลาดหุ้นอาเซียนมากว่า 20 ปี แต่การซื้อขายอาจจะมีเงื่อนไขเยอะนิดนึงกองทุนแบบ Passive: เป็นกองทุน ETF ที่เน้นผลตอบแทนตามดัชนีชี้วัด (benchmark)จึงมีค่าใช้จ่ายที่ต่ำกว่ามาก โดยกองทุนที่เป็นที่นิยมและน่าสนใจ ได้แก่E1VFVN30: กองทุนที่เน้นผลตอบแทนตามหุ้นใหญ่ 30 ตัวของประเทศเวียดนาม คล้ายๆกัน SET50 บ้านเรา, เห็นลงทุนล้อตามดัชนีแบบนี้ไม่ใช่เล่นๆ ขึ้นมาจากจุดต่ำสุดเกินกว่า...
เลือกลงทุน - เวียดนาม The Series ตอน จะโต(จะรวย)ไปกับเวียดนามได้อย่างไร? ตอนที่ 1 ? ช่วงหยุดยาวสิ้นปีเป็นช่วงที่ดีในการสงบจิตสงบใจดูว่าปีหน้าเราจะปรับและจัดพอร์ตการลงทุนสำหรับปีหน้าอย่างไรดี โดยหลายๆคนคงเหมือนแอดที่อ่านหรือได้ยินข่าวอยู่ทุกวี่วัน(จนอิจฉา)ว่าเวียดนามยังโตได้อีกในปีแห่ง COVID (แม้คิดเป็น % แล้วดูเบาๆ) หรือ จะมีการย้ายฐานการผลิตครั้งใหญ่จากจีนและแน่นอนคนที่ได้รับประโยชน์สูงมากๆก็ยังเป็นเวียดนามดูได้จากเม็ดเงิน FDI ที่ถาโถมไหลเข้าเพิ่มขึ้นทุกปี... ? แล้วเราจะสามารถได้ประโยชน์จากการเติบโตนี้อย่างไร? บทความนี้จะไม่กล่าวถึง ทำไมต้องเวียดนามและทำไมต้องตอนนี้ (Why Vietnam? Why now?) แต่จะเน้นถึง รูปแบบการลงทุน ที่เราๆท่านๆคนทั่วๆไปที่ไม่ต้องมีพอร์ตใหญ่โตมโหฬาร ก็สามารถมีส่วนร่วมเติบโตไปกับเวียดนาม ประเทศสุดท้ายที่ใช้ตะเกียบที่ยังไม่รวย ตามที่ ดร.นิเวศน์ เคยกล่าวไว้ ?เรามาเริ่มกันจากการแบ่ง “รูปแบบการลงทุน” เพื่อให้ง่ายต่อการทำความเข้าใจและการเลือกลงทุนให้เหมาะกับวิถีชีวิตของแต่ละคน โดยทางแอดขอแบ่ง รูปแบบง่ายๆออกเป็น 2 มุมมอง คือ 1. การลงทุนแบบ Active vs. Passive: Active: การลงทุนที่เราหรือผู้จัดการกองทุนมีส่วนร่วมตัดสินใจในการทำผลตอบแทนให้ชนะดัชนี ของตลาด ซึ่งใช้เป็น benchmark ในการวัดผลการดำเนินงานPassive: การลงทุนที่เราหรือผู้จัดการกองทุน “ไม่มี” ส่วนร่วมในการตัดสินใจแต่จะทำผลตอบแทนให้ใกล้เคียงกับดัชนีให้มากที่สุด 2. การลงทุนที่ เราลงทุนเอง vs. ลงทุนผ่านกองทุน: ซึ่งจะแตกเป็น 2 แบบ...
สรุปเวียดนามกับไทย ในแต่ละมุม เพื่อมุมมองในการลงทุนหุ้นเวียดนาม ขอขอบคุณ MarketThink ขยายความคิด ให้เป็นอันดับหนึ่งในการตลาด และการสร้างแบรนด์marketthink.co
VN-Index ร่วงหนักจาก Covid-19 ในต้นปีที่ 960 จุด มาที่ 660 จุดในสิ้นเดือนมีนาคม แต่หลังจากนั้นไม่นานเงินลงทุนก็ไหลเข้าสู่หุ้นจน VN-Index ปิดที่ 1084 จุด ในวันศุกร์ที่ผ่านมา คำถามก็คือ Sector ไหนทำผลงานได้โดดเด่น ชนะตลาดหุ้นเวียดนามในปีนี้? 1. หุ้นธนาคาร ธนาคารโดดเด่นทั้งแต่ปี 2018 การเติบโตของสินเชื่อที่แข็งแกร่ง และความมั่นคงทางเศรษฐกิจ ทำให้ธนาคารหลายแห่งเติบโตเป็นเลขสองหลัก เช่น Vietcombank ธนาคารยักษ์ใหญ่มีผลกำไรสูงเป็นประวัติการณ์อย่างไรก็ตามคนในวงการยังชี้ให้เห็นว่าธนาคารรายงานตัวเลขที่ดี เนื่องจากพวกเขาไม่ได้ตั้งสำรองหนี้อย่างเต็มที่ เนื่องจากธนาคารแห่งประเทศเวียดนามอนุญาตให้พวกเขาชะลอการประกาศหนี้เสียที่เกี่ยวข้องกับ Covid-19 ได้ เมื่อเทียบกับต้นปี หุ้นของธนาคารหลายแห่งเพิ่มขึ้นกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ 2. หุ้นบริษัทหลักทรัพย์ หุ้นของบริษัทหลักทรัพย์เพิ่มขึ้นมากในช่วงสองเดือนที่ผ่านมา เมื่อปริมาณการซื้อขายพุ่ง แม้ว่าจะมีบริษัทรายงานขาดทุนในช่วงครึ่งแรกของปี แต่ครึ่งปีหลังมีจำนวนบัญชีการซื้อขายที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เช่น หุ้น SSI ซึ่งเป็นโบรกเกอร์รายใหญ่ที่สุดของเวียดนาม รวมทั้ง HCM ของ HCMC Securities, VCI ของ Viet Capital Securities, VND ของ VNDirect และ BVS ของ BaoViet Securities ก็พุ่งแตะเพดานหลายครั้งในช่วงสองเดือน 3. หุ้นเหล็ก ในช่วงครึ่งหลังของปีรัฐบาลเร่งการเบิกจ่ายเงินสำหรับงานก่อสร้างสาธารณะ...
โลกในมุมมองของ Value Investor     26 ธันวาคม 63 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร             เหตุการณ์ในตลาดหุ้นช่วงเร็ว ๆ  นี้และโดยเฉพาะเมื่อวันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม 2563 ที่ผ่านมาที่หุ้นขนาดใหญ่และใหญ่มากอย่างน้อย 2 ตัวมีราคาปรับตัวขึ้นเกือบถึงเพดานที่ 30% ในวันเดียวโดยที่บริษัทไม่ได้มีข่าวอะไรเป็นพิเศษ  ว่าที่จริงในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา  หุ้นใหญ่และกลางหลาย ๆ ตัวก็มีการปรับตัวขึ้นสูงมากและบางตัวก็ปรับขึ้นถึงเพดานในวันเดียวอยู่บ่อย ๆ  โดยที่ไม่ได้มีข่าวหรือมีการเปลี่ยนแปลงอะไรเป็นพิเศษ  อาการที่เกิดขึ้นนั้นผมลงความเห็นว่าหุ้นเหล่านั้นอาจจะถูก “Corner” หรือถูก  “ต้อนเข้ามุม” เพราะหุ้นถูกซื้อด้วยเม็ดเงินจำนวนมหาศาลเมื่อเทียบกับ Free Float หรือหุ้นที่หมุนเวียนซื้อขายกันในตลาดส่งผลให้ราคาปรับตัวขึ้นไปแรงมากโดยไม่ได้อิงกับมูลค่าที่แท้จริงที่คิดจากผลประกอบการของบริษัทในอนาคต  แต่ราคาขึ้นไปเพราะคนซื้อที่เป็นนักเก็งกำไรที่เข้ามาซื้อเพราะคิดว่าหุ้นจะต้องขึ้นต่อไป  ส่วนคนแรก ๆ  ที่เข้าไปซื้อนั้น  อาจจะมองจากพื้นฐานของกิจการเมื่อเทียบกับราคาหุ้นที่ยังอาจจะ “ไม่แพง”  ก็ได้  หรือบางที  ซึ่งอาจจะมากกว่า ก็คือ  เข้าไป  “ปั่น” โดยการ “กระชากราคา” และ “ซื้อหุ้นต่อเนื่อง” จนหุ้นเหลือน้อยลงและราคาวิ่งขึ้นไปเร็วและแรงขึ้นเรื่อย ๆ  จนในที่สุดก็ดึงดูด “นักเล่นเก็งกำไร” ซึ่งมีอยู่มากมายในตลาดหุ้นไทยเข้ามา “ร่วมวงเล่น”  ผลก็คือ  หุ้น “วิ่งทะลุฟ้า”          ...
โลกในมุมมองของ Value Investor      19 ธันวาคม 63 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในช่วง 2-3 ปีมานี้ประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงอย่างหนึ่งที่รวดเร็วมากจนทำให้หลายคน  “งง” ไปหมด  นั่นคือการที่ “เด็ก” ที่มักจะไม่ได้มีบทบาทอะไรในสังคมไทย  ออกมาเป็น  “ผู้นำ” ในหลาย ๆ  ด้าน  ไม่ว่าจะเป็นพิธีกร  นักแสดงนักกีฬา  ผู้ประกอบการในธุรกิจรุ่นใหม่บางอย่างที่ท้าทายและหลายครั้งเอาชนะคนรุ่นเก่าที่ “สูงอายุ” และมีบทบาทนำในสังคมมาช้านาน  และสิ่งหนึ่งที่น่าทึ่งที่สุดก็คือการที่ “เด็ก” ออกมาเป็นผู้นำในการประท้วงทางการเมืองระดับชาติจนหลายคนเกรงว่าจะ “เปลี่ยนประเทศ” ไปในทางที่เด็กต้องการแต่คนรุ่นเก่าเห็นว่าเป็นภัยใหญ่หลวงและต้องป้องกันทุกวิถีทางซึ่งอาจจะเกิดการปะทะกันและกระทบต่อการปกครองและสถานะของประเทศในสายตาของประชาคมโลก ผมเองคิดว่าปรากฏการนี้  เราไม่ควรเรียกว่าเป็นเรื่องของ  “เด็ก” เพราะที่จริงแล้วพวกเขาเป็นผู้ใหญ่แล้วทั้งทางร่างกายและจิตใจ  ส่วนใหญ่บรรลุนิติภาวะแล้ว  เพียงแต่พวกเขาอายุยังน้อยกว่าคนส่วนใหญ่ของประเทศ  แต่นั่นก็อาจจะชดเชยได้ด้วยความรู้ที่ก้าวหน้าและแตกต่างจากคนรุ่นเก่าที่มักจะถูกจำกัดด้วยเทคโนโลยีและอำนาจของรัฐ   พวกเขาไม่ใช่เด็ก   แต่เป็นคนที่นักสังคมวิทยาเรียกว่าเป็นคน “Gen Y” ดังนั้น  เราควรมาวิเคราะห์ดูว่าปรากฏการครั้งนี้ในที่สุดจะดำเนินต่อไปอย่างไร  อนาคตของเศรษฐกิจ  สังคมและการเมืองของไทยจะไปทางไหน  แต่ก่อนอื่น เราจะต้องเข้าใจเรื่องและธรรมชาติของคนแต่ละกลุ่มหรือแต่ละเจนก่อน Generation แรกก็คือ “Baby Boomer” นี่คือคนที่เกิดที่เกิดปี 1946-1964 หรืออายุตอนนี้ 56-74 ปี เป็นคนที่เกิดหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่จำนวนคนในโลกเกิดเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และนี่คือโลกในยุคอุตสาหกรรมที่มีการผลิตสินค้าที่ใช้ในชีวิตประจำวันเช่นเครื่องใช้ไฟฟ้าและรถยนต์เพิ่มขึ้นมาก  เช่นเดียวกับการพัฒนาสาธารณูปโภคพื้นฐานต่าง ๆ เช่น  ถนนหนทาง  ไฟฟ้าและน้ำประปาเป็นต้น  ในทางการเมืองเองนั้น  นี่คือยุคของ “สงครามเย็น” ที่มีการต่อสู้ทางความคิดระหว่างคอมมิวนิสต์กับทุนนิยมอย่างรุนแรง  ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างหนึ่งก็คือ  มีการ “โฆษณาชวนเชื่อ” อย่างรุนแรงระดับ  “ล้างสมอง” ของคนทั้งประเทศเพื่อที่จะเอาชนะคอมมิวนิสต์  ผลก็คือ  ความคิดของคนที่เกิดในยุคนี้มีความคล้ายคลึงกันมากและมักจะเป็นคนที่มีความเป็น “อนุรักษ์นิยม” สูงมาก ยุคที่สองก็คือคน  Gen X  นี่คือคนที่เกิดในปี 1965-1980 หรืออายุระหว่าง 40-55 ปีในวันนี้  นี่คือคนกลุ่มที่ไม่ได้อยู่กับพ่อแม่เมื่อตอนเป็นเด็กเพราะพ่อแม่ต่างก็ไปทำงานกันทั้งคู่  อย่างไรก็ตาม  พวกเขาก็มีชีวิตอยู่ในครอบครัวที่เริ่มจะรวยและมักใช้ชีวิตสมดุลกว่าคนยุคเบบี้บูมที่ทำงานหนักกว่า   คนเจนนี้มักจะมีความคิดเป็นอิสระ  ไม่ค่อยยึดถือกรอบประเพณีแบบดั้งเดิม  เป็นกลุ่มคนที่มีความคิดแบบผู้ประกอบการ  แต่ถ้าจะพูดว่าคุณกลุ่มนี้มีแนวคิดที่เป็นจุดเด่นแบบไหนก็อาจจะบอกชัดเจนได้ยาก  ดังนั้น  พวกเขาจึงถูกตั้งชื่อว่าเป็น เจน “X”  คือยุคที่ไม่รู้ว่าควรจะเป็นอย่างไร  แต่มีความคิดที่แปลกและผิดเพี้ยนไปจากคนกลุ่มเบบี้บูม  บางคนบอกว่าพวกเจน X มีแนวคิด “ปฏิวัติ” อย่างเช่นในอังกฤษที่คนรุ่นนี้มักไม่สนใจหรือมองสถาบันกษัตริย์ในมุมที่แตกต่างจากคนรุ่นก่อน เป็นต้น ยุคที่สามคือคน Gen Y นี่คือคนที่เป็นลูกของคนยุคเบบี้บูมและพวกเจน X ตอนต้น พวกเขาเกิดในช่วงปี 1981-1996 ตอนนี้ก็อายุ 24-39 ปี นี่คือคนยุคแรกที่ใช้คอมพิวเตอร์และโทรศัพท์มือถือ  ใช้กูเกิลค้นหาข้อมูล และติดต่อสื่อสารด้วยสื่อสังคมสมัยใหม่  พวกเขาถูกเรียกว่าเป็น  “Digital Native” คือ “เกิดในโลกยุคดิจิตอล”  ดังนั้น  จึงคุ้นเคยกับการใช้เทคโนโลยีดิจิตอลมาก  อย่างไรก็ตาม  พวกเขาต้องเจอกับวิกฤติเศรษฐกิจหลายครั้งซึ่งก่อให้เกิดการตกงานหรือประสบความยากลำบากจากภาวะเศรษฐกิจ  เพราะเวลาเกิดปัญหา  คนหนุ่มสาวมักจะไม่มีงานทำหรือตกงานมากกว่าคนที่สูงอายุกว่า  อีกอย่างหนึ่งที่ไม่เหมือนคนยุคก่อนก็คือ  คนเจน Y นั้น  มักจะไม่สนใจทำงานกับสถาบันหรือบริษัทขนาดใหญ่และชอบที่จะทำงานเป็นอิสระอานิสงค์จากความก้าวหน้าของเทคโนโลยีดิจิตอลที่ทำให้พวกเขาสามารถทำงานอิสระหรือทำธุรกิจเองได้ง่าย ในด้านของสังคมเองนั้น คนเจน Y มักจะมีความเชื่อมั่นในตัวเองสูง  กล้ายืนยันในความคิดของตนเอง ผมคงไม่พูดถึงคน Gen Z ที่มีอายุ 8-23 ปีในวันนี้ซึ่งส่วนใหญ่ก็ยังเป็นเด็กอยู่ เพราะพวกที่โตพอถึงอายุ 18 ปีแล้วก็จะมีแนวความคิดคล้ายคน Gen Y ในขณะนี้  เพียงแต่จะแรงกว่าเนื่องจากเกิดมาก็เจอกับโลกของดิจิตอลที่สมบูรณ์แล้ว ในประเทศไทยเองนั้น  ตัวเลขประชากรบอกเราว่าในปัจจุบัน  เรามีคนรุ่นเบบี้บูมประมาณ 11.8 ล้านคน  โดยคนที่อายุน้อยที่สุดที่ 56 ปีมีประมาณ 9 แสนคน และคนอายุสูงที่สุดที่ 74 ปีมีประมาณ 3 แสนคน  และคนทั้งหมดนี้ผมตั้งสมมุติฐานว่ายังคง Active และทำงานในระดับหนึ่ง  ที่สำคัญยังมีบทบาทสูงมากในแทบทุกวงการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในทางการเมืองและสิ่งที่เกี่ยวข้องและการเป็นผู้นำสูงสุดทางด้านธุรกิจจำนวนมาก คนรุ่น เจน X นั้นเป็นรุ่นที่เด็กเกิดในแต่ละปีสูงสุดถึงปีละประมาณ 1 ล้านคน ทำให้มีคนที่เป็นเจน X ถึง 16.4 ล้านคนและในช่วงเวลานี้น่าจะเป็นคนที่มีรายได้สูงสุดและใช้จ่ายมากที่สุด  อย่างไรก็ตาม  บทบาทของคนเจน X ที่โดดเด่นกลับดูเหมือนว่าจะเป็นรองคนยุคเบบี้บูมอยู่มาก  นอกจากนั้น  ความคิดของคนเจน X เองก็ดูไม่ชัดเจนว่าพวกเขามีแนวคิดแบบไหน  ดูเหมือนว่าน่าจะผสมผสานระหว่างการเป็นเสรีนิยมกับอนุรักษ์นิยม  อานิสงค์สำคัญจากการที่สงครามเย็นสงบลงและแนวคิดแบบเสรีนิยมและกระแสของการปกครองระบอบประชาธิปไตยเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลก คนเจน Y ที่เกิดในแต่ละปีนั้น  ยังมีจำนวนสูงเกือบ 1 ล้านคนน้อยกว่าเจน X เล็กน้อย  ดังนั้น  พวกเขาก็มีจำนวนพอ ๆกับเจน X คือประมาณ 15.2 ล้านคน  อย่างไรก็ตาม  คนเจน Z ตอนต้น  คือคนที่มีอายุตั้งแต่ 18 จนถึง 23 ปี นั้น ผมคิดว่าพวกเขาก็มีแนวความคิดและความเชื่อคล้ายกับคนเจน Y มาก  อานิสงค์จากอิทธิพลของอินเตอร์เน็ตและสื่อสังคมรุ่นใหม่ที่เปิดโอกาสให้พวกเขาได้เรียนรู้โลกอย่างเสรีอย่างเต็มที่  โดยที่คนในกลุ่มนี้มีรวมกันประมาณ 5.3 ล้านคน เมื่อรวมกับคนเจน Y ก็ทำให้คนกลุ่มนี้มีเพิ่มขึ้นเป็นประมาณ 20.5 ล้านคน  กลายเป็นกลุ่มคนขนาดใหญ่ที่สุดและมากกว่ากลุ่มเบบี้บูมกว่า 73%  และนี่ก็อาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้คนเจน Y มีบทบาทที่เติบโตแบบก้าวกระโดดในช่วงเร็ว ๆ นี้ ถ้าเรามองไปข้างหน้าและตั้งสมมุติฐานว่าคนในแต่ละเจนนั้น  มีมุมมองและความคิดแบบเดิมตามที่เป็นอยู่ในขณะนี้ แล้วปล่อยให้เวลาเดินไปอะไรจะเกิดขึ้น?   ในเวลาอีก 2 ปีข้างหน้าประเทศไทยก็น่าจะมีการเลือกตั้งซึ่งจะบ่งชี้ว่ารัฐบาลจะมีแนวโน้มไปทางไหนถ้าสมมุติว่าผู้ชนะการเลือกตั้งสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ตามเสียงของผู้แทนราษฎร  เราก็จะพบว่าจำนวนของเบบี้บูมก็จะเหลือเพียง 11.1 ล้านคนเพราะคนรุ่นเบบี้บูมจะ “หายไป” เนื่องจากการตายหรือหมดความสามารถหรือไม่อยากที่จะไปเลือกตั้งแล้วประมาณ 6.5 แสนคน  ในทางตรงกันข้าม  คนเจน Y และ Z ที่มีอายุครบ 18 ปีขึ้นไป กลับมีมากขึ้นอีก 1.6 ล้านคนทำให้มีจำนวนคนที่มีสิทธิเลือกตั้งถึง 22.1 ล้านคน หรือประมาณ 2 เท่าของกลุ่มเบบี้บูม ซึ่งถ้าผู้แทนสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ก็จะทำให้ประเทศเปลี่ยนแปลงไปตามแนวคิดของเจน Y เร็วขึ้น มองไปข้างหน้าที่ไกลไปกว่านั้น  ในอีก 5 ปีข้างหน้า  คนรุ่นเบบี้บูมที่ยังมีกำลังวังชาพอที่จะมีบทบาทในด้านต่าง ๆ  ก็จะลดลงไปประมาณ 2.4 ล้านคนเหลือแค่ 9.4 ล้านคน  ในขณะที่คนเจน Y และ Z ที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในวันนี้จะเพิ่มขึ้นถึงเกือบ 4 ล้านคนกลายเป็น 24.5 ล้านคน  บทบาทในทางเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองของคนเจน Y+Z กลุ่มนี้ จะสูงกว่าคนรุ่นเบบี้บูมอย่างเทียบกันไม่ได้เลย แต่ถ้าบอกว่าอนาคตระยะยาวของประเทศไทยอีก 10 ปีข้างหน้าล่ะ ประเทศไทยจะมีหน้าตาอย่างไร?  คนรุ่นเบบี้บูมในวันนี้จะลดลงไปถึง 5 ล้านคนหรือเกือบครึ่งหนึ่ง  เหลือเพียง 6.8 ล้านคน  ในทางตรงกันข้าม  คนเจน Y+Zที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไปในวันนี้จะมีคนเพิ่มขึ้นถึง 7.9 ล้านคน ทำให้คนกลุ่มนี้มีมากถึง 28.4 ล้านคน  หรือเป็น 4 เท่าของคนรุ่นเบบี้บูม ถึงวันนั้น  อิทธิพล  แนวความคิดและ “วัฒนธรรม” ที่เป็นของคนรุ่นเบบี้บูมในวันนี้ที่อยู่กับสังคมไทยมานานหลายสิบปีก็คงจะหมดไปถ้าเราตั้งสมมุติฐานว่าคนรุ่นเจน X นั้นไม่ได้มีอะไรที่เปลี่ยนแปลงไปจากการที่เป็นเจนที่มีจุดยืนกลางๆ  ที่ไม่ “ซ้ายหรือขวา” คือไม่ติดยึดอะไรมากและพร้อมที่จะปรับตัวไปกับกระแสใหม่ ๆ  ของไทยและโลก ความรู้สึกลึก ๆ ของผมก็คือ  ภายใน 10 ปีข้างหน้า  ประเทศไทยอาจจะเปลี่ยนไปแบบจำแทบไม่ได้            
เพื่อนๆ คิดว่าปีนี้ ดัชนีหุ้นตลาดไหนให้ผลตอบแทนดีที่สุดในโลกคะ ? หลายๆ คนอาจคิดว่าเป็น ดัชนี Nasdaq ที่รวมหุ้นเทคฯ อเมริกา หรือไม่ก็ดัชนี ChiNext ที่รวมหุ้นเทคฯ จีน แต่ที่ถูก..กลับเป็นม้านอกสายตาอย่าง ดัชนี Hanoi (HNX-Index) ของเวียดนามซึ่งให้ผลตอบแทนจากต้นปีสูงถึง +63.76% ขณะที่ผลตอบแทนจากต้นปี (YTD) ของดัชนีเช่นNasdaq = +38.64%ChiNext = +53.43%VN = +10.70% (ดัชนีหุ้น Ho Chi Minh City หรือ VN-Index ของเวียดนาม )SET = -1.71% (SET Index ของไทย) และที่น่าสนใจคือ P/E ของดัชนีหุ้นเวียดนามทั้ง 2 ตลาดก็ยังต่ำกว่าที่อื่นHanoi = 13.36 เท่าNasdaq = 74.48 เท่าChiNext = 64.73 เท่าVN = 16.91 เท่าSET= 25.14 เท่า เหตุผลหนึ่งที่ดัชนี...
(The “Intrinsic Value” Growth vs Your Required Rate of Return) ในแง่ของการลงทุนของคุณนั้นการเติบโตปีต่อปีของ “มูลค่าที่แท้จริง” (intrinsic value) ของธุรกิจจะ “ไม่” เท่ากับอัตราการเติบโตของกำไรของธุรกิจ (หรือที่เหมาะสมกว่าคือการเติบโตของ กระแสเงินสด)…การเติบโตของมูลค่าที่แท้จริงนี้จะเท่ากับอัตราการคิดลด(discount rate) ของ “คุณ” เอง หลังจากที่ได้พูดคุยกับเพื่อนสมาชิกในเพจเราในช่วงสองสามวันที่ผ่านมา มันค่อนข้างชัดเจนแล้วว่าพวกเค้ายังสับสนอยู่เกี่ยวกับ 1.อะไรคือมูลค่าที่แท้จริง หรือ intrinsic value ของธุรกิจ? 2.มูลค่าที่แท้จริงนี้จะเติบโตปีต่อปีได้อย่างไร? 3.มูลค่าที่แท้จริงมีความสัมพันธ์กับราคาที่เราจ่ายเพื่อซื้อหุ้นอย่างไร? 4.ผลตอบแทนที่เราคาดหวัง (expected investment return) มีความสัมพันธ์กับสามข้อข้างบนอย่างไร? ผมจะลองอธิบายแนวคิดเหล่านี้โดยใช้คำถามที่เพื่อนคนหนึ่งตั้งถามในเพจ Investment Group ของพวกเรา (Investment Forum by Moneywisesmart)ในวันก่อน “สมมติว่าธุรกิจนั้นซื้อขายกันที่ราคา $100 โดยมีมูลค่าที่แท้จริงอยู่ที่ $80 ธุรกิจถูกคาดหวังว่าจะโต (ในแง่ของกำไร)ด้วยอัตราการเติบโตทบต้น (CAGR) ที่ 30% ในอนาคตอันใกล้ และสมมติให้ต้นทุนค่าเสียโอกาส (opportunity cost of capital) เป็น 24%” ข้อมูลแรกที่ผมจะใช้คือ มูลค่าที่แท้จริงของธุรกิจ (intrinsic value of a business)...
โลกในมุมมองของ Value Investor     12 ธันวาคม 63 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ช่วงที่ตลาดหุ้นร้อนแรงสุด ๆ อย่างในช่วงเร็ว ๆ นี้ วัดจากปริมาณการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นหลักแสนล้านบาทต่อวัน  เราก็ได้เห็นหุ้นขนาดกลาง ๆ หลายตัว  ถูกนักลงทุนเข้ามาซื้อขายเก็งกำไรหรือถูกใครบางคนเข้ามากวาดซื้อหุ้นของบริษัทเหล่านั้นในจำนวนที่มากจน “หุ้นหมด” ส่งผลให้ราคาหุ้นวิ่งขึ้นอย่างรวดเร็วทะลุ “เพดาน”  ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นไปหลายเท่าตัวภายในเวลาไม่กี่เดือน  ลักษณะอาการของหุ้นเหล่านี้ผมเรียกว่าเป็นหุ้นที่ถูก “Corner” หรือถูก “ต้อนเข้ามุม”  ราคาจะวิ่งขึ้นไปได้มากจน  “เป็นไปไม่ได้”  และตราบใดที่คนอื่นที่ถือหุ้นอยู่ยังไม่ขายออกมาเป็นเรื่องเป็นราวเนื่องจากเหตุผลบางอย่างรวมถึงการที่พวกเขาคิดว่าหุ้นก็จะยังคงวิ่งต่อไป  ราคาหุ้นที่สูงเสียดฟ้าก็จะยังคงสูงอยู่อย่างนั้น  บางทีก็นานเป็นปี ๆ   หุ้นที่ถูกคอร์เนอร์ในอดีตนั้น  มักจะเป็นหุ้นขนาดเล็กที่มีหุ้นหมุนเวียนในตลาดน้อย  ดังนั้นจึงง่ายที่นักเล่นหุ้นรายใหญ่ บางทีก็แค่รายเดียว  สามารถซื้อหุ้นจนเหลือน้อยและดันราคาขึ้นไปมหาศาลในเวลาอันสั้น  หลังจากนั้นซักระยะหนึ่งเขาก็จะ “ออกของ” หรือทยอยขายหุ้นทิ้งโดยพยายามที่จะไม่ทำให้ราคาตกลงมาเร็วมากจนทำให้ขาดทุนกำไรไปมากหรือถึงกับขาดทุน  และนั่นก็คือการ  “จบเกม”  ซึ่งโดยปกติคนที่เข้าไปเล่นหุ้นตัวนั้นเพราะเห็นราคาวิ่งขึ้นไปมากก็มักจะขาดทุนหนัก  ส่วนคนที่กำไรมหาศาลก็คือคนที่เข้าไปคอร์เนอร์หุ้น  ทั้งโดยตั้งใจหรือเข้าไปร่วมซื้อตั้งแต่ตอนแรก  อย่างไรก็ตาม  อานิสงค์ของขนาดของเม็ดเงินที่เพิ่มขึ้นมากของนักเก็งกำไรและนักลงทุนรายใหญ่ในตลาดหุ้นในช่วงเร็ว ๆ  นี้ได้ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงที่น่าจับตามองมากนั่นก็คือ  ขนาดของหุ้นที่ถูกคอร์เนอร์ขยับขึ้นเป็นหุ้นขนาดกลางที่มี Market Cap. เป็นหมื่นหรือหลายหมื่นล้านบาทที่ถูกต้อนเข้ามุมและดันราคาจนมีมูลค่าหุ้นเป็นหลักแสนล้านหรือหลายแสนล้านบาท  ลองมาดูตัวอย่างว่ามีมากน้อยแค่ไหน ชุดแรกที่มีความร้อนแรงมากนั้น  เป็นหุ้นแนวสินค้าโภคภัณฑ์  ตัวแรกเป็นสินค้าทางการเกษตรอุตสาหกรรมและตัวที่สองเป็นสินค้าที่เป็นชิ้นส่วนหรืออุปกรณ์อิเลกโทรนิกส์  ทั้งคู่มีราคาวิ่งขึ้นไปเฉลี่ยน่าจะในระดับ 10 เท่าตัวในเวลาอันสั้นไม่กี่เดือนโดยมีสตอรี่ว่าสินค้าขายดีและมีราคาเพิ่มขึ้นมากอานิสงค์จากโควิด-19  มูลค่าของหุ้นหรือ...
พบกับ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากรณ์ และกูรูหุ้นเวียดนาม อเมริกา จีน ได้แล้ววันนี้! ใน Facebook กลุ่มปิด! ปรับทัพลงทุนหุ้นเวียดนาม อเมริกา จีนพิเศษสำหรับผู้สมัครสัมมนาชมย้อนหลัง- คลิป VDO สัมมนาคนลงทุนหุ้นเวียดนาม 62 และปีก่อนที่ไม่เคยเผยแพร่มาก่อน- บทความ/คลิปไอเดียลงทุนของวิทยากรสุดว้าว- ไลฟ์ชวนคุยกับกูรูทั้งในและต่างประเทศ เริ่มศึกษาเรียนรู้ได้ทันทีเดี๋ยวนี้ใน Facebook กลุ่มปิด! ปรับทัพลงทุนหุ้นเวียดนาม อเมริกา จีน เท่านั้น สมัครดูสัมมนาย้อนหลังได้ที่: https://bit.ly/316AyPX สอบถามเพิ่มเติม line: @vietnamvi หรือ Inbox มาที่ facebook.com/vvinvestor

MOST POPULAR