โลกในมุมมองของ Value Investor 20 มกราคม 2567 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในช่วงนี้ผมเริ่มมองหาการลงทุนแบบ “Semi-Active” ที่จะลงทุนแบบเลือกตลาดหุ้นและหุ้นหรือกลุ่มหุ้นที่จะลงทุนแล้วสามารถถือหุ้นไปได้ยาวนานเป็นปี ๆ  และจะปรับเปลี่ยนต่อเมื่อเห็นว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ในตอนนั้นที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปจากแนวคิดเดิมอย่างชัดเจนแล้ว และประเทศหรือตลาดหุ้นที่ผมกำลังพิจารณาอยู่มี 2 แห่ง  นั่นก็คือ  จีนที่ตลาดหุ้นฮ่องกง  และตลาดหุ้นเวียดนาม  เหตุผลใหญ่อยู่ที่ขนาดของประเทศและเศรษฐกิจที่คึกคักและแข่งขันได้ในระดับโลกและอยู่ได้ในระยะยาว  เพราะคุณภาพของประชากรที่โดดเด่น ตลาดหุ้นจีนนั้น  มีจุดเด่นมากก็คือ  ดัชนีหุ้นตกต่ำต่อเนื่องมานานและราคาหุ้นถูกมาก  ดัชนีฮั่งเส็งวันศุกร์ที่ 19 มกราคม 67 อยู่ที่ 15,309  จุด และต่ำกว่าจุดสูงสุดที่ 32,887 จุดที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2018 หรือ 6 ปีมาแล้วถึง 53%  นอกจากนั้น  ยังเป็นจุดที่ต่ำกว่าดัชนีเมื่อ 23 ปีมาแล้ว  พูดง่าย ๆ  คนที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกงในช่วงปลายปี 2000 และถือมาจนถึงวันนี้แทบจะไม่ได้ผลตอบแทนอะไรเลย  ยิ่งไปกว่านั้น  ปีที่แล้วดัชนีติดลบไป  “มากที่สุดในโลก” กว่า 20% และนับจากต้นปีนี้ก็ติดลบไปอีก 9% แล้ว ตลาดหุ้นเวียดนามนั้น  จุดเด่นอยู่ที่การเติบโตของเศรษฐกิจที่สูงต่อเนื่องยาวนานและแม้แต่ปัญหาโควิด 19 ก็กระทบกับอัตราการเติบโตน้อยและสั้นมาก  และดัชนีตลาดหุ้นก็สะท้อนกับภาวะเศรษฐกิจแบบนั้นมาตลอด เริ่มที่ปี 2019...
ขอขอบคุณเพื่อนนักลงทุนท่านที่มาร่วมงานVVI New Year Networking Party 2024 ขอบคุณ Special guestดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กล่าวคำอวยพรรปีใหม่-รับตรุษจีน-ตรุษญวน 🐲 ขอบคุณ วิทยากรแชร์ไอเดีย ประสบการณ์หุ้น “เจ๊ง เจ๊า เจ๋ง”หุ้นไทยP’เชาว์ เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญP’หลิน วีระพงษ์ ธัมP’วัฒน์ วัฒนา หุ่นทรงธรรม หุ้นเวียดนาม & จีนP’ มี่ ทิวา ชินธาดาพงศ์P’เจ้กกี้ สุธน สิงหสิทธางกูรK’เดียร์ ขวัญฤทัย เตชะวิบูลย์K.เอิร์ธ ศิวกร มิตรสันติสุข หุ้นฟิลิปปินส์ & อินโดนีเซีย & จีนK.Pon Gancanapol Van CompernolleK.Ryan AlbertK.Jeffrey Towson หุ้นอเมริกาP’โต กิตติศักดิ์ โควินท์ทวีวัฒน์P’มิกกี้ ยศพนธ์ สุธารัตนชัยพรP’แดม ชนาเมธ เฟื่องวรรธนะ Session พิเศษ เอาไงดี ภาษีหุ้นนอก?K.ฮุง ภัชรธิดา จูระมงคลK.ต่าย อรกานต์ เลาหรัชตนันท์ หวังว่าบรรยากาศสังสรรค์แบบอบอุ่น สไตล์งานเลี้ยงรุ่น แบบเพื่อนเล่าให้ฟัง วันนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนนักลงทุนทุกท่าน ขอให้ทุกคนมีความสุข...
โลกในมุมมองของ Value Investor         13 มกราคม 2567 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในระยะหลัง ๆ  ผมสนใจเรื่องของการ “เติบโต” หรือถ้าจะพูดให้ถูกก็คือ  การ “ถดถอย”หรือการ  “ลดลง” ของจำนวนประชากรของประเทศต่าง ๆ  เฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย  เหตุผลก็เพราะผมพบว่า  การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ  นั้น  ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะอิงกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นของประเทศ  จริงอยู่ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น  นอกจากเรื่องของจำนวนประชากรแล้ว  ก็ยังขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของคนที่อาจจะสามารถผลิตได้มากขึ้นหรือการเพิ่ม “ผลิตภาพ” ของประชากรด้วย  แต่ประเด็นก็คือ  การเพิ่มผลิตภาพนั้น  เป็นเรื่องที่ทำได้ยากกว่าการเพิ่มคนมากในทางปฏิบัติ ย้อนหลังไปประมาณ 55 ปี คือปี 2511 เมื่อตอนผมอายุ 15 ปีและกำลังเข้าเรียนมัธยมปลายและเริ่มจะเข้าใจโลกมากขึ้นแล้ว ประเทศไทยในช่วงเวลานั้นกำลัง “เจริญ” ขึ้นอย่างรวดเร็ว  ถนนหนทางเริ่มมีมากขึ้น  ถนนเพชรบุรีเพิ่งจะ “ตัดใหม่” และเป็นแหล่ง “อาบอบนวด” ที่คนหนุ่มที่เริ่มทำงานที่มีมากขึ้นและเริ่มจะมีเงินมาเที่ยวในยามค่ำคืน  ถนนสีลมเริ่มเป็นแหล่งที่มีธุรกิจมาสร้างอาคารสำนักงานเป็นย่านธุรกิจใหม่  “เซ็นทรัลสีลม” กลายเป็นห้างทันสมัยโดดเด่นและ “คนรวย” เริ่มมาซื้อของ  อย่างไรก็ตาม  ถนนสาธรก็ยังดูเป็นธรรมชาติ  มีคลองดินอยู่กลางสาธรเหนือและใต้  ข้างคลองเรียงรายด้วยต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น...
โลกในมุมมองของ  Value Investor     6 มกราคม 2567 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ปี 2567 เพิ่งจะเริ่มต้น  แต่ความรู้สึกของผมก็คือ  ปีนี้อาจจะเป็นปีที่ผมอาจจะต้องปรับเปลี่ยนกลยุทธ์และแนวทางการลงทุนที่เคยทำมายาวนานหลายสิบปีและแทบจะไม่เคยเปลี่ยนเลย  การที่ผมคิดอย่างนั้นก็เพราะว่า “น่านน้ำของการลงทุน” หรือสภาพแวดล้อมของการลงทุนที่ผมคุ้นชินมานาน “เกิดการเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ” เฉพาะอย่างยิ่งก็คือประเด็นของภาษีที่นักลงทุนส่วนบุคคลจะต้องถูกเก็บถ้านำเงินไปลงทุนในตลาดต่างประเทศที่สูงได้ถึง 35% ของกำไรจากการลงทุนเมื่อนำเงินกลับประเทศไทย สำหรับผมแล้ว  อัตราภาษีในระดับนั้น  เป็นสิ่งที่ยอมรับไม่ได้ในการลงทุนหุ้น  ถ้าเราจะต้องเสียภาษีในระดับนั้น   โอกาสที่จะลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนหลังภาษีที่ดีพอก็แทบจะเป็นไปไม่ได้เมื่อเทียบกับการลงทุนในประเทศซึ่งไม่เสียภาษีกำไรจากการลงทุน จริงอยู่  มีวิธีที่จะหลีกเลี่ยงภาษีหลายทางเช่น  ไม่นำเงินกลับประเทศไทยเลย  และหวังว่าเงินนั้นจะอยู่และถูกนำไปใช้ในต่างประเทศ “ตลอดกาล” ซึ่งสำหรับหลายคนแล้วก็คิดว่าเป็นไปได้เช่น  “เก็บเอาไว้ใช้เวลาลูกต้องเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยต่างประเทศ” หรือ  “เงินก้อนนี้จะไม่จำเป็นต้องใช้เลยในประเทศไทย  เพราะมีเงินรายได้และการลงทุนในประเทศไทยเพียงพออยู่แล้ว” หรือ  “ถ้าปีไหนจะนำเงินกลับเข้าไทย  ก็ไปอยู่ต่างประเทศชั่วคราวซึ่งทำให้อยู่ในไทยไม่เกิน 180 วัน  ซึ่งจะทำให้ไม่ต้องเสียภาษี”  เป็นต้น แต่สำหรับผมแล้ว  นั่นเป็นวิธีที่ไม่แน่นอนและมีโอกาสที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงไปได้สูง  บางทีอาจจะแค่ภายใน 2-3 ปี  เกณฑ์ก็อาจจะเปลี่ยนไปเป็นว่า  ต่อไปนี้  หุ้นต่างประเทศหรือพอร์ตหุ้นต่างประเทศที่มีกำไร  ไม่ว่าจะนำเงินกลับไทยหรือไม่ก็จะต้องเสียภาษีเป็นรายปี  เหตุผลก็อาจจะเป็นเพราะว่าตั้งแต่ปี 2567 เป็นต้นไป  ข้อมูลทางการเงินและการลงทุนของเราที่เกิดขึ้นในต่างประเทศจะถูกรายงานถึงทางการไทยตลอดเวลาจาก  “ความร่วมมือระดับนานาชาติ”  ดังนั้น  รัฐไทยจึงสามารถ  เก็บภาษีรายได้จากคนไทยทุกคนไม่ว่าจะเกิดขึ้นที่ไหน  และไทยก็พร้อมจะเก็บภาษี “คนรวย”...
โลกในมุมมองของ Value Investor      23 ธ.ค. 66 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เมื่อ 2-3 วันก่อนมีคนกดออดเข้ามาพบผมที่บ้านแล้วเล่าว่าเป็นแฟนคลับและสมาชิกการลงทุนในไลน์และคุยกับผมมาตลอดเกือบทุกวัน  ที่มาก็เพื่อที่จะมาพบ “ตัวจริง ๆ”  เพื่อ “เติมเต็มความมั่นใจ” ว่า  จะยอมจ่ายเงิน  “ค่าปรับ” ให้กับหน่วยงานตลาดหุ้นของฮ่องกงจำนวนประมาณ 2 ล้านบาท  เพื่อที่จะสามารถถอนเงินจากพอร์ตหุ้นตลาดฮ่องกงของตนเองที่ตอนนี้เพิ่มขึ้นมามหาศาลจากเงินต้นที่ทยอยลงไปรวมกันประมาณ 5 ล้านบาท กลายเป็นประมาณ 300 ล้านบาทเข้าไปแล้ว เธอหรือต่อไปนี้จะเรียกว่าคุณดาว  เล่าว่า  ได้เข้าร่วมกลุ่มไลน์แนะนำการลงทุนของ “ดร.นิเวศน์” ซึ่งปัจจุบันที่เห็นก็มีสมาชิกประมาณ 40-50 คน ลดลงจากอดีตบ้าง   โดยที่เธอเข้าไปลงทุนผ่าน “แอ็ปของกลุ่ม”  ซึ่งจะนำเงินไปลงทุนในตลาดฮ่องกง  โดยได้รับการแนะนำจากดร.และผู้ช่วยตลอดเวลาในการเลือกหุ้นซึ่งจะมีหุ้นใหม่ ๆ  แทบจะ “วันละตัว”  รวมถึงการใช้เครื่องมือการเงินที่ซับซ้อนอย่างเรื่อง “เลเวอเรจ” ที่จะทำให้กำไรมหาศาลเป็นต้น ดาวเริ่มลงทุนโดยการทยอยขายสลากออมสินและสลากธกส. ที่เคยได้รับผลตอบแทนที่ดีในอดีตที่เธออาจจะยัง “ไม่มีความรู้เกี่ยวกับการลงทุน” และเป็นช่วงที่ยังทำงานประจำ  แต่ตอนนี้เธอเกษียณแล้ว   จึงถึงเวลาที่จะต้องลงทุนเพื่อเก็บเงินใว้ใช้ในบั้นปลายของชีวิต  นอกจากสลากแล้ว  เธอก็จำนำทองแท่งที่เคยซื้อเก็บไว้เพื่อนำเงินมาลงทุนในหุ้นฮ่องกงด้วย  ทั้งหมดนั้นรวมแล้วน่าจะประมาณ 5 ล้านบาท ดาวไม่เคยถอนเงินลงทุนเลย  เหตุผลก็เพราะว่า “กำไรที่เห็น”...
งานสังสรรค์ปีใหม่ VVI 2024 ส่งท้ายตลาดหมี สวัสดีปีมังกร VVI New Year Networking Party 2024 เสาร์ 20 ม.ค. 2024 l 16.00-21.30 น. สมาคมนิสิตเก่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยปิดห้องคุย แชร์ข้อมูลแบบไม่มีกั๊ก และเป็นกันเอง แชร์หุ้น เจ๊ง-เจ๊า-เจ๋ง ตลาดเวียดนาม อเมริกา จีน ไทย ฯลฯ ปีหน้าเอาไง หุ้นไหนน่าจะรุ่ง? วางแผนภาษีหุ้นนอกยังไงดี? กับ Special Guest Speakers สมัครได้เลยที่: https://forms.gle/bu7iZ1mgxkZ9QqfY8 ----------------- Agenda เสาร์ 20 ม.ค. 2024 16.00-21.30 น. 16.00-16.30: ลงทะเบียน ทักทาย พูดคุยตามอัธยาศัย มีน้องๆ นักศึกษาเวียดนามมาร่วมคุยถามตอบความเห็นทั่วไปในเวียดนาม 16.30-17.00: Match! เกมส์ กิจกรรม ทำความรู้จักเพื่อนนักลงทุนที่มาร่วมงาน พร้อม Match นลท. สไตล์เดียวกันในงาน 17.00-17.45: หุ้นไทย เจ๊ง เจ๊า เจ๋ง (คนละ 15 นาที) P’เชาว์ เฉลิมเดช...
โลกในมุมมองของ Value Investor       16 ธ.ค. 66 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เคยสงสัยไหมว่าราคาหรือดัชนีตลาดหุ้นของแต่ละประเทศทำไมมีความแตกต่างกันมาก  และการปรับตัวก็แตกต่างกัน  อย่างตลาดหุ้นจีนนั้น  ราคาก็ถูกมากไม่น่าเชื่อ  ค่า PE ของตลาดถ้าเข้าใจไม่ผิดก็อยู่ที่ประมาณ 10 เท่าบวกลบ  แต่พอเราซื้อเข้าไปเพราะคิด “แบบ VI” หรือคิดแบบวิเคราะห์พื้นฐานแล้วคุ้มค่าแน่นอน  ราคาและดัชนีหุ้นกลับลดลงไปอีกมาก ส่วนหุ้นอเมริกานั้น  ค่า PE สูงกว่ามาก และราคาก็ขึ้นมาสูงจนเกือบ “All Time High” ที่ไม่น่าจะถูกเลย  “VI พันธุ์แท้” ก็มักจะรับไม่ได้  แต่นักลงทุนซึ่งรวมถึง “VI รุ่นใหม่” ซื้อ  หุ้นก็วิ่งต่อไปอีกมาก ที่นักลงทุนเจ็บตัวหนักก็คือดัชนีตลาดหุ้นไทยที่ “ปรับตัวลดลงทุกวัน” หุ้นดี ๆ  จำนวนมากตกลงมาต่ำกว่าอดีตมากมายและเราก็ไม่เห็นว่าบริษัทจะแย่ลง  พวกเขาก็ยังอยู่อย่างแข็งแกร่ง  มีกำไรที่ดีและจ่ายปันผลงดงามเมื่อเทียบกับดอกเบี้ยที่ไม่ว่าจะเป็นอย่างไรก็คงไม่สูงไปกว่า 1-4% อย่างที่เห็นในวันนี้  แต่พอเราซื้อไปหลังจากที่มันตกลงมามากและนานแล้ว  ราคาหุ้นก็ไม่ไปไหนนอกจากตกลงต่อไปอีก คำถามสำคัญก็คือ  ตกลงราคาและดัชนีตลาดหุ้นในแต่ละแห่งนั้น  มีความเหมาะสมหรือไม่  มันสะท้อนถึง “คุณค่าที่แท้จริง” ของกิจการโดยเฉลี่ยไหม?  อะไรหรือปัจจัยอะไรเป็นตัวกำหนดราคาและดัชนีตลาดหุ้น มีทฤษฎีสองเรื่องที่พยายามจะอธิบายเรื่องของเศรษฐกิจและตลาดหุ้น  ซึ่งขัดแย้งกันอย่างสิ้นเชิง  และคนที่เป็น “บิดา”  ของทั้งสองทฤษฎีต่างก็ได้รับรางวัลโนเบลทั้งคู่ ทฤษฎีแรกนั้น ...
โลกในมุมมองของ Value Investor     2 ธันวาคม 2566 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร คำพังเพย  “ฟ้าหลังฝน” นั้น  ผมคิดว่าน่าจะตรงกับสถานการณ์ตลาดหุ้นไทยปีหน้าที่ผมคิดว่าน่าจะดีงามขึ้นหลังจากที่ประสบกับปัญหาใหญ่ที่หุ้นตกแรง  “ที่สุดในโลก” ในปีนี้ที่ถึงวันที่ 1 ธันวาคม 2566 หุ้นตกลงมาจากปลายปีที่แล้วจาก 1669 จุดเหลือเพียง 1380 จุด หรือลดลงถึงกว่า 17% หลังจากที่ปี 2565 ตลาดหุ้นไทยก็แทบไม่ขยับเลยจากปี 2564  หรือผลตอบแทนประมาณ 0% ประสบการณ์ของผมกับตลาดหุ้นไทยในช่วงประมาณ 27 ปี ก็คือ  ดัชนีตลาดหุ้นไทยมักจะขึ้นประมาณ 60% ของปี  และลงประมาณ 40% ซึ่งทำให้การลงทุนในแต่ละปีมีความเสี่ยงค่อนข้างสูง  ในขณะที่ตลาดหุ้นอย่างสหรัฐนั้น  ผมคิดว่าปีที่หุ้นขึ้นน่าจะอย่างน้อย 70% ขึ้นไป  ในขณะที่ปีที่หุ้นลงน่าจะไม่เกิน 30% พฤติกรรมอีกอย่างหนึ่งของตลาดหุ้นไทยก็คือ ถ้าปีไหนตลาดหุ้นไทยขึ้นแรงมาก  ปีต่อไปตลาดก็มักจะตกลงมาแรง  ตัวอย่างก็เช่น  ปี 2542 ดัชนีตลาดปรับตัวขึ้นไป 36% แต่พอถึงปี 2543 ตลาดก็ตกลงไป 44% จริงอยู่คนอาจจะบอกว่าปี 2543 หรือปี...

Struggle

0
โลกในมุมมองของ Value Investor        25 พฤศจิกายน 2566 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนในตลาดหุ้นไทยจำนวนมากในช่วงนี้ถ้าถูกถามว่า “เป็นอย่างไรบ้าง”  ผมอยากจะตอบเป็นภาษาอังกฤษด้วยคำ ๆ เดียวคือ  กำลัง “Struggle” ซึ่งดิกชันนารีของไทยแปลออกมาว่า “ต่อสู้  ดิ้นรน ฝ่าฟัน แข่งขัน ตะเกียกตะกาย” และความหมายในภาษาอังกฤษที่อธิบายคำ ๆ นี้ก็มักจะพูดถึงการต่อสู้ทางการเมือง การทหาร การปฏิวัติ ที่สิ้นหวัง  ขมขื่น  ยากลำบากและยาวนาน  โดยไม่รู้ว่าจะเอาตัวรอดได้ไหม  เป็นต้น  ซึ่งผมเองคิดว่าคนที่ลงทุนในหุ้นไทยอยู่ในช่วงนี้ก็คงมีอาการคล้าย ๆ  กัน  คือกำลัง Struggle เริ่มจากนักลงทุนส่วนบุคคลรายใหญ่ ๆ  ซึ่งมักจะได้ฉายาว่าเป็น  “เซียนหุ้น” ทั้งเก่าและใหม่ที่หุ้นตกรอบนี้  ซึ่งโดยภาพรวมนั้นก็ไม่ถึงกับเป็นภาวะตลาดหุ้นวิกฤติที่หุ้นมักจะตกลงมาแรงในระดับ 30-50% แต่กลุ่มหุ้นที่เคยมีการ “เก็งกำไรร้อนแรง” ทั้งหุ้นดีแนว  ซุปเปอร์สต็อกหรือหุ้นเติบโต  แนวหุ้นปั่นหรือหุ้นที่ถูกคอร์เนอร์  หรือหุ้นที่เป็นทุกอย่างที่กล่าว  ต่างก็ตกลงมาอย่างหนัก ในระดับ  “หายนะ” 30-50% เช่นกัน  ซึ่งทำให้ขาใหญ่หรือเซียนหุ้นที่มักจะถือหรือเล่นหุ้นเหล่านั้น  เจ็บตัวอย่างที่แทบไม่เคยประสบมาก่อนในรอบสิบปีหรือมากกว่านั้น พอร์ตหุ้นที่เคยใหญ่โต  ช่วงหนึ่งบางคนเคยสูงหลายพันล้านบาทจนคนเริ่มจะเรียกว่า “เซียนหุ้นหมื่นล้าน”  ตอนนี้ก็อาจจะตกลงมาเหลือ ...
โลกในมุมมองของ Value Investor       18 พฤศจิกายน 66 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ช่วงเร็ว ๆ  นี้  ผู้กำกับหรือหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องหรือมีหน้าที่ดูแลและพัฒนาตลาดทุนหรือตลาดหุ้น  อาทิเช่น  ตลาดหลักทรัพย์และ กลต. ต่างก็ถูกโจมตีจากนักเล่นหุ้นว่าไม่ได้ทำอะไรที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนที่เข้าไปเล่นหุ้นที่กำลังขาดทุนอย่างหนักเพราะตลาดหุ้น “ตกเอา ๆ”  อันเนื่องจากการที่ตลาดปล่อยให้มีการทำชอร์ตเซลโดยเฉพาะแบบที่คนทำไม่ได้มีหุ้นหรือที่เรียกว่า “Naked Short”  หรือมีการปล่อยให้นักลงทุนบางกลุ่มทำการซื้อขายหุ้นโดยหุ่นยนต์ที่เรียกว่า “Robot Trading” ที่สามารถทำการซื้อขายอย่างรวดเร็วด้วยต้นทุนการซื้อขายที่ถูกมาก  ซึ่งทำให้ได้เปรียบนักลงทุนส่วนบุคคลทั่วไป ดูเหมือนว่าทั้งผู้บริหารตลาดหลักทรัพย์และกลต. ต่างก็แถลงแก้ว่าได้ตรวจสอบดูข้อมูลอย่างละเอียดแล้วพบว่า  ไม่มีการทำ Naked Short และการทำชอร์ตเซลที่ต้องยืมหุ้นก็มีระดับปกติ  เช่นเดียวกับ Robot Trade ซึ่งก็ทำมานานแล้วก่อนที่ตลาดหุ้นจะตกลงมาแรงในช่วงนี้  ส่วนกลต. เองก็มองว่า ชอร์ตเซลเป็นเครื่องมือที่ดีสำหรับการลงทุนและก็ได้กำหนดแนวทางต่าง ๆ  ที่เหมาะสมเพื่อควบคุมการทำชอร์ตเซลไม่ให้ตลาดหุ้นผันผวนเกินไปรวมถึงการที่จะต้องเปิดเผยข้อมูลให้นักลงทุนทราบ เช่นเดียวกัน  การซื้อขายด้วย AI หรือหุ่นยนต์เองนั้นก็เป็นวิวัฒนาการที่ตลาดหุ้นที่พัฒนาแล้วใช้มานานแล้วและเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ  จนถึงตอนนี้มีปริมาณการซื้อขายมากกว่าที่ทำโดยคนไปแล้ว  ถ้าไปห้ามก็คงทำให้ตลาดหุ้นไม่พัฒนา  ส่วนเรื่องว่าเป็นการเอาเปรียบผู้ถือหุ้นโดยเฉพาะรายย่อยอื่นนั้น  แม้กลต.จะไม่ได้พูดถึง  แต่ก็ได้พูดว่านักลงทุนแต่ละกลุ่มเองนั้นก็มีมุมมองไม่เหมือนกัน  นัยยะก็อาจจะเป็นว่า  คนที่ลงทุนระยะยาวก็อาจจะไม่ได้คิดว่าการเทรดที่เร็วกว่าโดยหุ่นยนต์เป็นเรื่องที่ทำให้ตนเองเสียเปรียบ  พวกเขาอาจจะชอบด้วยซ้ำถ้าทำให้หุ้นมีสภาพคล่องที่ดี  เวลาขายจะได้มีคนมารับ  เป็นต้น ผมเองคงไม่ถกเถียงว่าใครผิดหรือถูก  เพราะเรื่องนี้น่าจะเป็นเรื่อง “ชั่วคราว” ระยะสั้นที่จะผ่านไปในไม่ช้า โดยเฉพาะถ้าหุ้นเริ่มปรับตัวดีขึ้นมาก ...

MOST POPULAR