รองประธานหอการค้าเผย เป้าการค้า 8.2 แสนล้านบาท ภายในปี 2025 ในเดือน ธันวาคม 2021 ที่ผ่านมา สมาคมนักธุรกิจไทยในเวียดนาม หรือThai Business (Vietnam) Association ได้มีการอัพเกรดเป็น สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมไทยในเวียดนาม (Thai Chamber of Commerce and Industry in Vietnam) โดย สภาหอการค้าและอุตสาหกรรมไทยในเวียดนาม ตั้งเป้าหมายที่จะเป็นตัวแทนของนักธุรกิจและผู้ประกอบการไทยที่ทำธุรกิจในเวียดนาม และ มีพันธกิจ ส่งเสริมและเพิ่มพูนการค้าและการลงทุนระหว่างไทย-เวียดนาม ผ่านการให้คำปรึกษา แลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร จัดสัมมนา และ กิจกรรมต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนธรุกิจของทั้งสองประเทศ คุณ ธาราบดี ซึ้งอดิชัยวิทย์ รองประธานสภาหอการค้าและอุตสาหกรรมไทยในเวียดนาม ได้กล่าวถึงความสนใจและตอกย้ำความมั่นใจของนักลงทุนไทยในการเข้ามาลงทุนในประเทศเวียดนาม อีกทั้งยังชื่นชมรัฐบาลเวียดนามสำหรับความเปิดกว้างในการต้อนรับนักลงทุนไทย รวมถึงพัฒนาการทางด้านกฎหมายและกฎเกณฑ์ต่าง ๆ โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการถือครองและสิทธิในการใช้ประโยชน์อสังหาริมทรัพย์ในประเทศเวียดนามของชาวต่างชาติ ปัจจุบัน ประเทศไทยคือคู่ค้าที่ใหญ่ที่สุดของเวียดนามในภูมิภาคอาเซียน และ เวียดนามยังเป็นตลาดส่งออกที่ใหญ่ที่สุดอันดับ 4 ของไทยด้วย สำหรับประเทศเวียดนามนั้น ปริมาณการลงทุนทั้งหมดของนักลงทุนชาวไทยนั้นมากเป็นอันดับ 9 จาก 141 ชาติที่เข้าไปลงทุนในเวียดนาม ผ่านโครงการลงทุนราว 370 โครงการ คิดเป็นเม็ดเงินลงทุนกว่า 4.3...
โลกในมุมมองของ Value Investor      5 มกราคม 65 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2565 หุ้น Meta เจ้าของ Facebook เว็บสื่อสังคมที่ใหญ่ที่สุดในโลกตกลงมาถึงประมาณ 26% คิดเป็นมูลค่าของหุ้นที่หายไปประมาณ 7 ล้านล้านบาทซึ่งเป็นการลดลงวันเดียวที่มากที่สุดในประวัติศาสตร์ของโลก  เหตุผลที่หุ้นตกลงมานั้นเป็นเพราะมีการประกาศผลการดำเนินงานไตรมาสสุดท้ายของปี 2564 ที่ดูเหมือนว่าการเติบโตของบริษัทจะเริ่มถดถอยลง  เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ  จำนวนคนใช้เฟซบุคในแต่ละวันเริ่มลดลง “เล็กน้อย”  เป็นครั้งแรกเนื่องจากคู่แข่งอย่างเช่น  “ติ๊กต็อก” และอื่น ๆ  กำลังเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาดมากขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของคนรุ่นใหม่ที่เห็นว่าเฟซบุคนั้นเริ่ม “ตกยุค” นอกจากนั้นก็อาจจะเป็นเรื่องของกฎ “ความเป็นส่วนตัว” ของผู้ใช้โทรศัพท์ที่อาจจะทำให้การโฆษณาที่เป็นรายได้หลักของเฟซบุคถูกกระทบและมีผลต่อผลประกอบการในอนาคตของบริษัทด้วย อย่างไรก็ตาม  รายได้และกำไรของบริษัททั้งปี 2564 ก็ยังเพิ่มขึ้นถึง 37% และ 35% ตามลำดับ  และนี่ก็เป็นเรื่องน่าตกใจมากที่หุ้นเท็ค “แห่งอนาคต” ที่ประกาศจะสร้าง “เมตาเวอร์ส” หรือ “โลกเสมือน” ที่คนทั้งโลกอาจจะเข้าไปใช้ชีวิตได้  มีราคาหุ้นตกลงมาราวกับว่าบริษัทกำลังเผชิญกับ “วิกฤติ” อย่างกระทันหัน  หรือนี่จะเป็นสัญญาณเตือนว่าเป็นการ “จบรอบ” หุ้นเท็คยักษ์ใหญ่ที่มีราคาเพิ่มขึ้นมากมายจนแทบจะครองตลาดหุ้นอเมริกา  เพราะหุ้นเท็คที่ใหญ่ที่สุด 5 ตัวคือ ...
จากการพยากรณ์ของ บริษัท Boeing การเดินทางโดยเครื่องบิน หลังจากยุคโควิด จะเริ่มใช้งานเครื่องบิน Single-Aisle เป็นหลัก เครื่องบิน Single-Aisle คือ เครื่องบินพาณิชย์ลำเล็ก ลำตัวแคบ ที่มีทางเดินตรงกลางแถวเดียว เล็กกว่า จุผู้โดยสาร สัมภาระได้น้อยกว่า ประหยัดน้ำมันกว่า ในอนาคต การสั่งซื้อเครื่องบินหลักๆ และ Traffic อันดับหนึ่งในอนาคต อยู่ในประเทศจีน และพยากรณ์การใช้เครื่องบินทั่วโลก ระยะยาวถึงปี 2040 อัตราการเติบโตการใช้งานเครื่อง Single-aisle มีอัตราการเติบโตมากกว่า เครื่องบิน Wide-body (มีทางเดิน 2 แถว เครื่องลำใหญ่) เพราะความต้องการการเดินทางในประเทศกลุ่ม Emerging และการเติบโตของสายการบินต้นทุนต่ำอย่างมีนัยยะ ที่อเมริกา การนั่งเครื่องบินข้ามเมืองกันเป็นเรื่องปกติมากกว่า 20 ปีแล้ว เนื่องจากอเมริกาเป็นทวีปใหญ่ เดินทางจากตะวันออกไปตะวันตกราวๆ 5 ชม. ใช้เวลาเท่ากับบินจากไทยไปเกาหลี คนอเมริกันจึงเรียก การนั่งเครื่องบินชั้นประหยัดว่า Coach คล้ายกับการนั่งรถ Coach ราคาถูกข้ามเมือง เป็นเรื่องปกติ ภายในอาเซียนที่ด้วยกันที่ไกลที่สุดอย่าง อินโดนีเซีย หรือเมืองในประเทศจีนใกล้ๆ ใช้เวลาบินประมาณ 3 ชั่วโมง หรือถนนหนทางที่ยากลำบาก จากเวียดนามทางเหนือไปใต้ ชั่วโมงบิน 1 ชั่วโมงครึ่ง...
MCH บริษัท ผลิตน้ำปลาธรรมดา ที่ไม่ธรรมดา! MCH ผู้ผลิต เครื่องปรุง เครื่องดื่ม และอาหารกึ่งสำเร็จรูป จากปัจจัย สัดส่วนสังคม วัยเด็ก วัยรุ่น และ วัยทำงานที่กำลังเติบโตอาหาร เครื่องดื่ม เป็นปัจจัยสี่ที่มีโอกาสเป็นเมกะเทรนด์ เฉพาะตัวของเวียดนาม เวียดนามเป็นแชมป์การบริโภคหลายๆ ด้านอันดับ 1 บริโภคเบียร์ และน้ำปลาในอาเซียนอันดับ 5 บริโภคบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ของโลก บริษัทอาหาร จากต่างชาติ ไม่สามารถเข้ามาตีตลาดได้ง่ายๆ (อ้างอิง https://www.longtunman.com/30289)ยิ่งโดยเฉพาะ น้ำปลา ที่มีกลิ่น รส เฉพาะตัว ยากที่คนต่างชาติจะเข้าใจหรือบะหมี่กึ่งสำเร็จรูป ที่ผงปรุงรสต้องรสชาติถูกปาก Motto ของบริษัท คือ“Source of life – Sauce is a staple most of dish in Vietnam.A Vietnamese meal without particular sauce is considered incomplete”“จุดเริ่มต้นของชีวิต - ซอสเป็นส่วนหลักในอาหารเวียดนามอาหารเวียดนามที่ปราศจากซอสที่ยอดเยี่ยม ถือว่าไม่ใช่อาหารเวียดนามที่สมบูรณ์” อารมณ์คล้ายไทยเรา คือ...
โลกในมุมมองของ Value Investor   29 ม.ค. 65 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร สองปีที่ผ่านมา  ตั้งแต่เกิดโรคระบาดโควิด-19  การ “เก็งกำไร” ในตลาดสินทรัพย์ที่ซื้อขายเปลี่ยนมือคล่องเช่น  เหรียญคริปโตและหุ้นดูเหมือนว่าจะรุนแรงอย่างที่โลกไม่เคยพบเจอมาก่อน  สาเหตุนั้นน่าจะเป็นเพราะปัจจัยสำคัญหลายอย่างดังต่อไปนี้คือ  ข้อแรก  มีการอัดฉีดเม็ดเงินเข้ามาในระบบมหาศาลเพิ่มจากที่มีมากอยู่แล้วอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน  นั่นคือ  มีการทำ QE ที่ต่อเนื่องมายาวนานตั้งแต่วิกฤติซับไพร์มในปี 2008 ที่ยังค้างอยู่และมีการ “แจกเงิน” มหาศาลให้กับประชาชนโดยรัฐบาลเพื่อบรรเทาผลกระทบจากการปิดเมืองในช่วงโควิด ข้อสอง  เทคโนโลยีโดยเฉพาะทางด้านดิจิทัลถูกนำมาใช้เพื่อแก้ปัญหาของคนที่ต้องกักตัวอยู่กับบ้านเป็นเวลานานมีการเติบโตขึ้นมหาศาล  ทำให้บริษัทที่เกี่ยวข้องมีรายได้และกำไรเติบโตเร็วขึ้นมาก  และมีการคาดการณ์ว่าเมื่อคนใช้แล้วก็จะใช้ต่อไปเหมือนเดิมหลังจากโรคสงบลงแล้ว  และ  ข้อสามก็คือ  การลงทุนในหลักทรัพย์ทางการเงิน   โดยเฉพาะที่เป็นดิจิทัลและหุ้นนั้น  ง่ายและมีต้นทุนต่ำลงมาก “ใกล้ศูนย์”  พูดง่าย ๆ  คนธรรมดาที่มีเงินเพียงหมื่นหรือสองหมื่นบาทก็สามารถลงทุนในเหรียญคริปโตและหุ้นทุกตัวได้โดยค่าคอมมิชชั่นในการซื้อขายต่ำมากผ่านระบบการซื้อขายที่เป็นดิจิทัลเช่นแพลทฟอร์มต่าง ๆ  และผ่านเครื่องมือทางการเงินเช่นอ็อปชั่นของหุ้นเป็นต้น นักลงทุนโดยเฉพาะที่เป็น “รายย่อยรุ่นใหม่” ที่เข้ามาลงทุนในเหรียญคริปโตและตลาดหุ้นนั้นมีจำนวนมากมายอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน  และด้วย Demand หรือความต้องการซื้อเพิ่มขึ้นมากมายอย่าง “กระทันหัน” ในขณะที่ Supply ของสินทรัพย์ที่มีคุณภาพมีจำกัด  ผลก็คือ  ราคาของหลักทรัพย์ทั้งหลายรวมถึงคริปโตต่างก็วิ่งขึ้นกันทั่วหน้า  สถานการณ์ของหุ้นและสินทรัพย์ดิจิทัลโดยเฉพาะที่ได้ประโยชน์จากโควิดหรือ “มีข่าวดี” หรือมี “Story” จำนวนมากถูก “กวาดซื้อ” จนเหมือนถูก “Corner” หรือ...
โลกในมุมมองของ Value Investor       22 มกราคม 65 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ประเทศที่กำลังพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วเช่นเวียดนาม  หรือว่าที่จริงทุกประเทศที่เติบโตเร็วมากนั้น  สิ่งหนึ่งที่มักจะขาดแคลนมากที่สุดในระบบเศรษฐกิจก็คือ  “สาธารณูปโภค” ทั้งหลายเช่น  ไฟฟ้า  น้ำประปา  ถนนหนทางและสนามบิน  ทั้งนี้เพราะว่ากิจกรรมทางเศรษฐกิจทั้งหลายต่างก็ต้องใช้บริการจากสาธารณูปโภคเหล่านั้นและต้องการใช้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว  แต่ประเด็นก็คือ  สาธารณูปโภคเหล่านั้นคนที่สามารถจะสร้างได้มีเพียงรายเดียวคือรัฐบาลซึ่งต้องอาศัยเงินงบประมาณที่มักจะไม่เพียงพอ  ดังนั้น  วิธีที่จะทำเพิ่มให้เร็วพอที่จะรับกับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจได้ก็คือการให้สัมปทานและให้เอกชนเข้ามารับภาระแทนพร้อมกับการให้ “ผลตอบแทนที่เหมาะสม” กับภาระและความเสี่ยงของเงินลงทุนในขณะนั้น รัฐบาลเวียดนามใช้หลักการให้สัมปทานและ/หรือให้เอกชนเข้ามาสร้างสาธารณูปโภคค่อนข้างมากและทำมานานพอสมควรโดยเฉพาะในด้านของไฟฟ้าที่มีความต้องการเพิ่มมากและเร็วที่สุด  น้ำใช้ในอุตสาหกรรมและน้ำประปา  ทางด่วนเก็บเงินและสนามบินซึ่งเพิ่งจะ “โอนเป็นเอกชน” และนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เมื่อไม่กี่ปีมานี้  อย่างไรก็ตาม  การขยายตัวของสารสาธารณูปโภคก็ดูเหมือนว่าจะยังไม่พอและความต้องการน่าจะยังโตต่อไปอีกมากเมื่อคำนึงถึงการเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศ  การย้ายถิ่นฐานเข้าเมืองของคนที่เคยทำงานอยู่ในชนบท  และการเติบโตของคนชั้นกลางที่มีรายได้มากขึ้นที่ต้องการสิ่งอำนวยความสะดวกเช่น  เครื่องใช้ไฟฟ้าและรถยนต์ซึ่งต้องอาศัยพลังงานไฟฟ้าและถนนหนทางมากขึ้นอย่างรวดเร็ว  ดังนั้น  สาธารณูปโภคจึงน่าจะเป็นอุตสาหกรรมที่เติบโตเร็วและยาวนานที่สุดอย่างหนึ่งในระบบเศรษฐกิจเวียดนามนับจากวันนี้ไปอีกอย่างน้อย 10 ปีข้างหน้า  พูดง่าย ๆ  เป็น  “เมกาเทรนด์”  ข้อจำกัดของธุรกิจสาธารณูปโภคก็คือ  มันเป็นธุรกิจที่มักจะถูกควบคุมอย่างใกล้ชิดจากรัฐโดยเฉพาะในด้านของการกำหนดราคาขายที่ไม่สามารถทำกำไร “เกินกว่าปกติ” ได้  แต่ในขณะเดียวกัน  มันก็มีข้อดีที่ว่ารัฐมักจะ  “การันตีผลตอบแทน” ที่จะได้รับในระดับหนึ่งที่เหมาะสมกับการลงทุนหรือต้นทุนของคนที่นำเงินมาลงทุน  ตัวอย่างเช่น  ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามแผน  สามารถขายบริการได้ตามเป้าหมายบวกลบไม่เกิน 20% คนที่ลงทุนก็จะได้ผลตอบแทน 12-15% ต่อปีเป็นเวลา 25 ปี  เป็นต้น  และนั่นก็เป็นสิ่งที่กิจการสาธารณูปโภคในตลาดหลักทรัพย์ทำหลาย...
โลกในมุมมองของ Value Investor    15 ม.ค. 65 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร การเก็บ “ภาษี” จากการซื้อ-ขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์หรือการซื้อขายหลักทรัพย์อย่างอื่นเช่นตราสารหนี้  หุ้นกู้หรือพันธบัตรนั้น  เป็นสิ่งที่นักลงทุนต่างก็หวั่นเกรงกันมาตลอดคิดเป็นเวลาก็หลายสิบปีมาแล้ว  ครั้งหนึ่งประมาณ 15 ปีมาแล้ว  ผมยังจำได้ว่ารัฐมนตรีคลังในยุคนั้นได้ประกาศเก็บ “เงินสำรอง” หรือก็คือ  “ภาษี”  30% สำหรับนักลงทุนที่นำเงินดอลลาร์เข้ามาลงทุนในประเทศไทย  โดยเหตุผลที่ทำก็เพื่อที่จะขจัดการเก็งกำไรค่าเงินบาทที่กำลังแข็งตัวขึ้นอย่างรวดเร็ว  เหตุเพราะว่านักลงทุนเหล่านั้นนำเงินดอลลาร์จำนวนมากเข้ามาซื้อตราสารหนี้ระยะสั้นซึ่งทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น  และก็อาจจะถอนเงินกลับอย่างรวดเร็ว  ซึ่งเป็นการ “เก็งกำไร” ที่จะส่งผลเสียหายต่อเศรษฐกิจและการเงินของไทย  อย่างไรก็ตาม  เงินที่จะเข้ามานั้น  ไม่มีใครรู้ว่าจะเข้ามาลงทุนอะไรบ้างมากน้อยแค่ไหน  จำนวนหนึ่งก็น่าจะต้องเข้ามาลงทุนในตลาดหุ้นอย่างแน่นอน  การ  “ควบคุมเงินตรา” ทางอ้อมโดยการเก็บภาษี 30% คงจะ “ทำลายตลาดหุ้น” อย่างแน่นอน  เพราะนักลงทุนต่างประเทศที่ลงทุนในตลาดหุ้นนั้นมีมากถึงกว่า 30% ของตลาด  ดังนั้น  ทันทีที่ประกาศ ราคาหุ้นจึง “ทิ้งดิ่ง” ช่วงแรกถึงพื้นหรือฟลอร์ที่ 10% ซึ่งทำให้ต้องปิดตลาดเป็นเวลา 30 นาทีตามระบบ “เซอร์กิตเบรกเกอร์”   พอตลาดเปิดใหม่อีกครั้ง หุ้นก็ตกลงไปอีกจนถึงเกือบ 20% ซึ่งจะทำให้ต้องปิดตลาดอีกครั้ง  แต่แล้วมันก็หยุดตกและปรับตัวขึ้นมาบ้างและปิดตลาดวันนั้นที่ 622 จุด ตกลงไป...
นับตั้งแต่เริ่มเปิดทำการซื้อขายเมื่อปี 2000 ตลาดหลักทรัพย์ HOSE ก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จวบจนวันนี้ มีบริษัทเข้ามาจดทะเบียนแล้วหลายร้อยบริษัท แต่บริษัทบิ๊กเบิ้มที่ยังครองตำแหน่งมูลค่าบริษัทสูงสุด และมีน้ำหนักมากในดัชนี ก็ยังคงเป็นบริษัทเดิม ๆ ที่นักลงทุนคุ้นหูกันดี อย่าง คู่หูดูโอ้ตระกูลวิน อย่าง Vingroup (VIC) และ Vinhomes (VHM) ธนาคารยักษ์ใหญ่อย่าง Vietcombank (VCB) และ VietinBank (CTG) บริษัทพลังงานแห่งชาติ Petrovietnam Gas (GAS) หรือแม้กระทั่งบริษัทผลิตนม ที่แม้แต่เด็กเล็ก เด็กน้อยชาวญวน ต่างก็ต้องคุ้นเคยกับผลิตภัณฑ์ของเขาอย่าง Vinamilk (VNM) แม้จะมีการสลับตำแหน่งกันบ้างตามราคาหุ้นที่ขึ้นลง แต่ในปีที่ผ่านมา 6 บริษัทดังกล่าว ยังคงสามารถยืนหยัดอยู่ใน 10 อันดับบริษัทที่มีมูลค่าสูงสุดได้อย่างแข็งแกร่ง โดย Vingroup (VIC) ยังคงครองแชมป์อันดับ 1 แม้มูลค่าบริษัทจะลดลงมากว่า 4,103 พันล้านดอง แต่ความมั่งคั่งของ ตระกูลวิน คงไม่ได้ถดถอยลงมาก เพราะ มูลค่าของอีกบริษัทในเครืออย่าง Vinhomes (VHM) นั้นได้เพิ่มขึ้นมา 57,277 พันล้านดอง ขึ้นแซงหน้า ธนาคารอันดับ 1...
แล้ว MoMo ที่พูดถึงคืออะไร? ในเวียดนาม ตามไปดูกันเลย. MoMo ย่อมาจาก Mobile Moneyแอพ MoMo คือ แอพ E-Wallet หรือ กระเป๋าเงินดิจิทัลที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามแอพ MoMo ก่อตั้งโดย บริษัท M-Service JSC ในปี 2007แอพ MoMo มีผู้ใช้งานกว่า 25 ล้านคน (ถือเป็น 25% หรือ 1ใน4) จากประชากรทั้งประเทศแอพ MoMo มี Market Share มากกว่า 50% ของตลาดการจ่ายเงินผ่านมือถือแอพ MoMo มี Partner เป็นร้านค้า ธุรกิจ และแบรนด์ต่างๆ กว่า 30,000 รายแอพ MoMo มีจุดรับชำระเงินกว่า 12,000 จุดแอพ MoMo มีนักลงทุนรายใหญ่จากญี่ปุ่น คือ Mizuho Bank ร่วมลงทุนในการระดมทุนรอบล่าสุดแอพ MoMo ติด 1...
ศาสตราจารย์ Aswath Damodaran ฉายา Dean of Valuation อยากรู้เรื่อง Valuation ลองลงเรียน Online กับท่าน(ปกติท่านเป็นอาจารย์ประจำที่ STERN ของ NYU และมีเผยแพร่คอร์สฟรีด้วย เนื้อหาเรื่อง Valuation เข้มข้น จุกๆ กว่า 30 Session เรียนผ่าน Youtube ฟรีๆ ไปเลย!) อาจารย์ยกกรณีตัวอย่างหุ้นเทคจีน มาสามตัว Tencent BABA Didi มองในแง่มุมลักษณะรัฐบาลจีนที่เกื้อหนุนการเติบโตของหุ้นเทคมาโดยตลอด 10 ปีหลัง บวกกับการ Disruption โดยเทคโนโลยีเอง จนหุ้นดังกล่าว เติบโต อย่างมั่นคง แต่หลังจากต้นปี 2021 เป็นต้นมา สำหรับหุ้น BABA เราได้ข่าวทางลบรายเดือน ไล่ตั้งแต่การหายตัวของ แจ็ค หม่า , เตะสกัดการ IPO ของ ANT Group, การบังคับโดยอ้อมให้บริษัทยักษ์ใหญ่บริจาคเงิน เพื่อพัฒนาสังคม, ปรับเงินจากการทำผิดกฎ ดังนั้นในระบบการปกครองแบบสังคมนิยม คล้ายๆ เวียดนาม เราควรคำนึงถึงความเสี่ยงทางด้านนี้เพียงใด? ยกตัวอย่าง เช่น สมมติหุ้นสนามบิน...

MOST POPULAR