โลกในมุมมองของ Value Investor       12 ตุลาคม 62 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ดวงลงทุน ​จากประสบการณ์กว่า 20 ปีในตลาดหุ้น  ผมเองคิดว่าตนเองนั้น  “โชคดีมาก” ที่เข้าตลาดเริ่มลงทุนอย่างจริงจังและ  “เพื่อชีวิต”  นั่นคือทุ่มเทเงินทุกบาทลงทุนในหุ้น  ในเวลาที่ถูกต้องและด้วยกลยุทธ์ที่ถูกต้องนั่นคือ  ลงทุนแบบ “VI” ในยามที่ตลาดหุ้นเกิดวิกฤติ  ราคาหุ้นตกลงมาอย่างหนักและแทบไม่มีใครสนใจจะลงทุนหรือพูดถึงตลาดหุ้นเลย  ปริมาณการซื้อขายหุ้นต่อวันเพียงไม่เกิน 3-4 พันล้านบาท  ผลที่ได้รับหลังจากเวลาผ่านไปกว่า 2 ทศวรรษก็คือ  ชีวิตที่เปลี่ยนไปอย่างมาก  ผลตอบแทนการลงทุนที่สูงจนแทบไม่น่าเชื่อทำให้กลายเป็นคนที่มีความมั่งคั่งสูงจากคนชั้นกลางกินเงินเดือนที่กำลังตกงานและไม่รู้ว่าอนาคตจะต้องย้ายลูกจากโรงเรียนอินเตอร์ออกมาเรียนโรงเรียนไทยหรือไม่  ทั้งหมดนั้น  เป็นสิ่งที่ไม่ได้คาดคิด  ไม่ได้เกิดจากการวางแผนรวยจากตลาดหุ้น  ว่าที่จริงในยุคนั้น  มีแต่ตัวอย่างของคน “จนจากตลาดหุ้น” จนคิดฆ่าตัวตาย  คนอาจจะคิดหลังจากที่ผมประสบความสำเร็จแล้วว่าผมน่าจะเป็นคนที่มีวิสัยทัศน์ยาวไกล  มองขาดว่าตลาดหุ้นจะฟื้นตัวและเติบโตขึ้นมากจนทำให้กล้าลงทุนและรวยไปเลย   ​ความเป็นจริงก็คือ  ผมไม่ได้คิดว่าจะรวย  ผมแค่คิดไปตามสถานการณ์ว่าหุ้นในขณะนั้นมีราคาถูกมาก  หุ้นระดับที่น่าจะเป็น “ซุปเปอร์สต็อก” ในความหมายปัจจุบันที่มีราคาแพงลิ่วค่า PE 30-40 เท่าขึ้นไปนั้น  ในตอนนั้นมีค่า PE แค่ 10 เท่า  บางตัวจ่ายปันผลเกือบ 10% ต่อปี  แต่ก็ไม่มีคนสนใจที่จะซื้อ  เหตุผลก็เพราะว่าคนส่วนใหญ่ที่ “กล้าเสี่ยง” มากกว่าการฝากเงินในธนาคารหรือซื้อพันธบัตรรัฐบาลซึ่งจำนวนมากก็คือนักธุรกิจ  ต่างก็ไม่มีเงินสดและจำนวนมากติดหนี้สินรุงรัง  ส่วนคนกินเงินเดือนนั้น  ส่วนมากก็ยังต้องผ่อนบ้านและรถ  และคนที่มีเงินเก็บเป็นเงินสดนั้น  น้อยคนที่จะกล้า “เล่นหุ้น” ที่เป็นกิจกรรมที่เสี่ยงที่สุดอย่างหนึ่งรองจากการเล่นม้าหรือเล่นการพนันในบ่อน  และผมเองก็เป็นคนหนึ่งในนั้น  ผมโชคดีที่ไม่ได้ซื้อทรัพย์สินใหญ่โตที่ต้องทำให้ผ่อนจนไม่มีเงินเหลือเก็บ  ผมไม่เคยมีบ้านแต่อาศัยบ้านทางฝ่ายภรรยาอยู่  ผมไม่มีรถส่วนตัวแต่มีรถประจำตำแหน่งใช้  ผมทำงานในธุรกิจที่ให้เงินเดือนดีคือธุรกิจหลักทรัพย์  ผมเป็นคนประหยัดอดออมตั้งแต่เด็ก  ดังนั้น  แม้ว่าเงินเก็บจะไม่ได้มากเมื่อคำนึงถึงอายุที่สี่สิบกว่าปีแล้ว  ผมก็มีเงินเก็บในระดับที่ใช้ได้  และนี่ก็คือความโชคดีข้อที่สอง ​เหตุผลที่ผมกล้าที่จะเข้าลงทุนในยามที่ตลาดเลวร้ายที่สุดนั้นเป็นเพราะว่ามัน  “จำเป็น”  และผมดูแล้วว่าความเสี่ยงยอมรับได้ถ้าทำแบบ “VI”  นั่นคือ  “ลงทุนในหุ้นให้คิดและทำเหมือนลงทุนในธุรกิจ”  เลือกธุรกิจที่ดี  นั่นคือมีความสามารถในการแข่งขันหรือมียี่ห้อที่แข็งแกร่ง  มีกำไรที่ดีและมั่นคง  มีการจ่ายปันผล  มีผู้บริหารที่ดีและไว้ใจได้ในความซื่อสัตย์...
โลกในมุมมองของ Value Investor      6 ตุลาคม 62 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในยามที่ตลาดหุ้นไม่ค่อยดีและเป็นตลาดหุ้น Sideway มานานนั้น  หุ้นที่น่าสนใจกลุ่มหนึ่งก็คือหุ้น Holding Company หรือหุ้นที่ถือหุ้นของบริษัทอื่นเป็นหลักหรือถือหุ้นบริษัทอื่นคิดเป็นมูลค่าจำนวนมากเมื่อเทียบกับกิจการที่บริษัททำ  ถ้าเป็น  Pure Holding Company อย่างบริษัทเบิร์กไชร์ของ วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้น  บริษัทจะไม่ทำกิจการอะไรเองเลยแต่จะเป็นแค่ผู้ถือหุ้นในบริษัทอื่น ๆ   ในตลาดหุ้นไทยเองนั้นเท่าที่เห็นก็น่าจะมีหุ้นของ Intuch ที่ถือแต่หุ้นบริษัทอื่นเฉพาะอย่างยิ่งก็คือหุ้น Advanc เป็นหลัก  เหตุผลก็คือ  หุ้น Holding นั้นมักจะมีราคาหรือ Market Cap. ถูกกว่ามูลค่าของหุ้นที่บริษัทถืออยู่รวมกัน  หรือเรียกว่ามี “Discount” ประมาณ 20-30%  ดังนั้น  ถ้าเราสนใจหุ้นของบริษัท “ลูก” เราก็ควรที่จะซื้อหุ้นบริษัท “แม่” แทน  เพราะเราจะได้ส่วนลดถึง 25% เป็นต้น             ในตลาดหุ้นไทยนั้น  บริษัทที่ตั้งขึ้นมาเพื่อเป็น Holding Company ตั้งแต่แรกเลยนั้น  น่าจะไม่มี  ส่วนใหญ่แล้วก็จะเป็นว่าบริษัทจดทะเบียนตั้งบริษัทใหม่ขึ้นมาเพื่อทำธุรกิจใหม่ที่ใกล้เคียงกันด้วยเหตุผลบางอย่าง  หรือบางทีก็แตกต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง  แต่หลังจากเวลาผ่านไป  บริษัทลูกกลับเติบโตขึ้นเร็วกว่าบริษัทแม่และต้องการเงินลงทุนจำนวนมากซึ่งทำให้บริษัทแม่นำบริษัทลูกเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นด้วย  ต่อมามูลค่าของกิจการของบริษัทลูกก็เติบโตขึ้นเรื่อย ๆ  จนบางทีโตกว่าบริษัทแม่ก็มี  สุดท้ายแล้วก็กลายเป็นว่ามูลค่าหุ้นของบริษัทลูกที่บริษัทแม่ถืออยู่นั้น  สูงกว่า...
หุ้น consumer
โลกในมุมมองของ Value Investor           28 กันยายน 62 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร หุ้น Consumer ​ในระยะหลัง ๆ  นี้  หุ้นที่เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เริ่มที่จะมีหุ้นของบริษัทที่ขายสินค้าอุปโภคบริโภคที่มียี่ห้อเป็นที่รู้จักของคนไทยมากขึ้น  หลาย ๆ ยี่ห้อเป็นผู้นำอันดับหนึ่งในตลาด  หุ้นบางตัวมี Market Cap. เกือบแสนล้านบาทหรือเคยมีขนาดเกือบแสนล้านบาทในช่วงสูงสุด  หลายตัวก็ยังเป็นหุ้นตัวเล็กที่มีขนาดแค่หลักพันล้านบาทหรือหมื่นล้านต้น ๆ  ไม่ว่าจะเป็นอย่างไร  นี่คือหุ้นที่นักลงทุนเริ่มสนใจเข้ามาลงทุน  เหตุผลสำคัญส่วนหนึ่งอาจจะเป็นว่าหุ้นเหล่านี้มักจะมีผลกำไรที่ดีและมั่นคงพอสมควรเมื่อเทียบกับหุ้นกลุ่มอื่น  การเติบโตหรือสตอรี่ที่จะเติบโตก็พอจะมีอยู่  ฐานะทางการเงินก็มักจะดีและมีหนี้ไม่มาก  หลายบริษัทไม่มีหนี้เลย  เหตุผลเพราะว่าบริษัทมักจะไม่ต้องลงทุนมากและขายสินค้าเป็นเงินสดหรือได้เงินเร็วในขณะที่จ่ายเงินให้เจ้าหนี้ช้ากว่า และสุดท้ายที่ทำให้หุ้นเหล่านี้บางตัว  “ร้อนแรงมาก” ก็คือ  มันเป็นหุ้นที่“มีเจ้าของ” หรือผู้ถือหุ้นใหญ่ที่เป็นผู้ก่อตั้งที่ต้องการให้หุ้นขึ้น  สิ่งนี้เมื่อนำมาประกอบกับการที่หุ้นมี Free Float หรือหุ้นที่ถือโดยนักลงทุนน้อย  ก็ทำให้หุ้นสามารถถูก Corner หรือต้อนเข้ามุมง่าย  ผลก็คือ  หุ้นขึ้นได้สูงมากและลงได้รุนแรงทำให้คนรวยหรือจนได้อย่างรวดเร็ว ​หุ้นขายสินค้าอุปโภคบริโภคหรือหุ้น Consumer นั้น  มีศักยภาพที่จะเป็น “หุ้น VI” ได้ด้วยเหตุผลที่ว่ามันสามารถที่จะสร้าง Durable Competitive Advantage (DCA) หรือความได้เปรียบที่ยั่งยืนได้ผ่าน  “ยี่ห้อสินค้าที่โดดเด่น”  ซึ่งทำให้ผู้บริโภคเลือกที่จะซื้อมากกว่าหรือยอมจ่ายราคาที่แพงกว่าเพราะติดในยี่ห้อ  คุณภาพหรือภาพพจน์ของสินค้าในใจผู้บริโภคที่เหนือกว่านั้นเป็นสิ่งที่เปลี่ยนยาก  ดังนั้น  บริษัทที่เป็นเจ้าของขายสินค้าเหล่านี้ก็มักจะสบายในการที่จะแข่งขัน  คุณไม่ต้องทำอะไรมาก  แค่รักษาภาพให้ดีผ่านการทำการตลาดมาตรฐาน  ควบคุมการผลิตและการบริการไม่ให้ถดถอยด้อยลง  คุณก็รักษายอดขายไว้ได้แล้ว—โดยเฉพาะใน  “โลกธุรกิจยุคก่อน” ที่ยังไม่มีเรื่องของการ “ปฏิวัติทางเทคโนโลยี” ที่ทำลายธุรกิจเดิมจำนวนมาก  ว่าที่จริงถ้าศึกษาเรื่องการลงทุนแบบ VI แนว วอเร็น บัฟเฟตต์มานานก็จะพบว่า  เขาลงทุนในหุ้น Consumer ชั้นนำจำนวนมาก อาทิเช่น โค๊กและใบมีดโกนยิลเลตที่เขาทำกำไรได้สูงมาก  และซอสมะเขือเทศไฮน์ที่เขาเพิ่งลงทุนไม่นานและดูเหมือนว่าจะไม่ประสบความสำเร็จ  เป็นต้น ​หุ้น Consumer “ระดับโลก” นั้น  เมื่อเร็ว ๆ  นี้ผมคิดว่ามีการเปลี่ยนแปลงไปไม่น้อย  หุ้นอย่างโค๊กหรือยิลเล็ตผมคิดว่ามันก็ยังเป็นบริษัทที่ยังอยู่ได้เช่นเดียวกับหุ้นของแม็คโดนัลด์หรือไนกี้   จริงอยู่  มันอาจจะไม่ถูก Disrupt หรือทำลายด้วยเทคโนโลยีใหม่  แต่การเติบโตของมันก็น่าจะน้อยถึงอิ่มตัวแล้ว  ราคาหุ้นที่จะขึ้นไปหวือหวานั้นคงจะยากหรือแทบเป็นไปไม่ได้  ในขณะเดียวกันหุ้นของบริษัทที่ถูก Disrupt หรือกำลังถูกทำลายด้วยเทคโนโลยีหรือแนวทางการทำธุรกิจแบบใหม่ อย่างเช่นหุ้นที่ขายแผ่นซีดีหรือหนังสือพิมพ์ก็อาจจะล้มละลายในที่สุด  ในทางตรงกันข้าม  หุ้น Consumer รุ่นใหม่ที่เป็น  “ผู้ชนะ” เช่นหุ้นแอ็บเปิลหรืออาลีบาบาที่อิงอยู่กับเทคโนโลยีใหม่ก็จะรุ่งเรืองเป็นซุปเปอร์สต็อกที่ “VI รุ่นใหม่” เสาะแสวงหาต่อไป ​หุ้น Consumer ของไทยนั้น...
เมื่อไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา เกษตรกรผู้เลี้ยงไก่ในเวียดนามได้ประสบปัญหาราคาไก่เลี้ยงตกต่ำ จนเหลือราคาราว 13,000 ดอง(56เซนต์)ต่อกิโลกรัม ซึ่ง Le Van Quyet รองประธานสมาคมเพาะพันธุ์ปศุสัตว์ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ให้เหตุผลว่า เพราะการเลี้ยงสุกรเกิดปัญหาโรคไข้หวัดหมูแอฟริกันระบาด ที่พบการระบาดตั้งแต่เดือนก.พ.ที่ผ่านมาและได้ระบาดไปทั่วทุกพื้นที่ของประเทศ ซึ่งในตอนแรกนั้นส่งผลให้ราคาไก่สูงขึ้นถึง 40,000ดอง(1.73ดอลล่าร์ฯ) ด้วยจึงเป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรจำนวนมากหันมาเลี้ยงไก่แทนสุกร ตามรายงานของเดือนนี้จำนวนไก่เลี้ยงในจ. Dang Nai เพิ่มขึ้น 24.8 ล้านตัว สูงขึ้น 16.8%จากเดือนเม.ย.ที่พบว่ามีสุกรติดโรคระบาดในจังหวัดนี้ Tran Van Quang หัวหน้าฝ่ายของ Livestock Breeding and Veterinary Department ของ จ.Dong Nai กล่าวว่ามีจำนวนสัตว์ปีกเพิ่มขึ้นเป็นหลักล้านในเดือนก่อนและมีฟาร์มไก่จำนวนหนึ่งที่ขยายตัว หากยังมีแนวโน้มเช่นนี้ต่อไปอาจทำให้บางธุรกิจต้องขาดทุนย่อยยับ ...
สัมมนา
"วันรวมพลคนลงทุนหุ้นเวียดนาม 62 " รวมพลส่งท้ายปีเก่า ต้อนรับตลาดหุ้นเวียดนามปีใหม่ วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม เวลา 9.00-17.00 น. (เริ่มลงทะเบียน 8.30 น.) ณ. โรงแรมเอเชีย (ติดรถไฟฟ้า BTS ราชเทวี) 1 ปีมีเพียงคร้งเดียวเท่านั้น. พลาดแล้วต้องรออีก 1 ปี งานนี้เหมาะสำหรับนักลงทุนทั้งเริ่มต้นและนักลงทุนที่ลงทุนมานานแล้วแต่ควรเป็นนักลงทุนระยะยาว ท่านจะพบกับกูรูผู้เชี่ยวชาญการลงทุนทั้งจากไทยและเวียดนาม โดยเฉพาะมุมมองต่อหุ้นเวียดนามที่โบรกเกอร์เวียดนามชอบ. แล้วมาฟังรายละเอียดเจาะลึกเป็นรายตัวจากนักลงทุนหุ้นเวียดนามไทย ท่านจะได้พบกับ อ.ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากรAdministrator เพจ vvinvestor และทีมงานคุณภาคย์ภูมิ ศิริหงษ์ทอง คุณณัฐกิติ์ สุนทรบุระ บริษัทหลักทรัพย์-นักวิเคราะห์ทั้งจากไทยและเวียดนาม เป็นต้นกองทุนที่น่าสนใจที่ลงทุนตรงในเวียดนาม พร้อมรับอาหารเที่ยงแบบบุฟเฟต์ร่วมกันและ 2 เบรคระหว่างสัมมนา. รายละเอียดการสัมมนา และ ค่าสมัครสัมมนา. จะแจ้งให้ทราบในวันที่ 10 ตุลาคม 2562 นี้ รับจำนวนจำกัด
หุ้นปีหน้า
โลกในมุมมองของ Value Investor       21 กันยายน 62 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ปัจจัยกำหนดทิศทางตลาดหุ้นปีหน้า ​ช่วงเวลาใกล้สิ้นปีในแต่ละปี  นักลงทุน  “มืออาชีพ” ในตลาดหุ้นส่วนใหญ่แล้วก็มักจะพยายามคาดการณ์ทิศทางของตลาดหุ้นในปีหน้าว่าจะเป็นอย่างไรเพื่อที่จะกำหนดกลยุทธ์การลงทุนของตนเองว่าจะทำอย่างไรเพื่อที่จะได้ผลตอบแทนที่ดีในปีหน้า  สื่อต่าง ๆ  เกี่ยวกับการลงทุนก็มักจะถาม  “กูรู” เพื่อที่จะเป็นแนวทางให้นักลงทุนทั่วไปในตลาดใช้สำหรับการลงทุน  ส่วนใหญ่แล้วนักวิเคราะห์ก็จะบอกว่าปีหน้าดัชนีตลาดหุ้นน่าจะขึ้น  ขึ้นมากหรือน้อยเป็นอีกเรื่องหนึ่ง  เพราะนักวิเคราะห์รวมถึงกูรูทั้งหลายนั้นต่างก็มักจะเป็นคนที่  “มองโลกในแง่ดี”  และอาจจะมีแรงจูงใจที่จะชวนให้คนเข้าซื้อหุ้นผ่านบริษัทของตนหรืออยากให้คนมาซื้อหุ้นซึ่งทำให้หุ้นปรับตัวขึ้นเป็นผลดีต่อทุกคนที่อยู่ในแวดวงตลาดหุ้น  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  ถ้ามองยาว ๆ  ย้อนไปในประวัติศาสตร์ก็จะพบว่าหุ้นมีแนวโน้มปรับตัวขึ้นไปเรื่อย ๆ  และให้ผลตอบแทนซึ่งส่วนใหญ่มาจากราคาหุ้นเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยถึงประมาณ 10% ต่อปีแบบทบต้น  ดังนั้น  การคาดว่าหุ้นปีหน้าจะขึ้นจึงเป็นการคาดการณ์ที่น่าจะมีโอกาสถูกมากกว่าผิด ​ผมเองก็เคยถูกถามเสมอ  และก็ต้องตอบทั้ง ๆ ที่ไม่ค่อยมั่นใจว่าจะถูก  เพราะหลาย ๆ  ปัจจัยที่ผมใช้ในการคาดการณ์นั้น  อิงกับทฤษฎีพื้นฐานของกิจการ  “แนว VI”  แต่ก็ยังมีอีกหลายปัจจัยที่ดูคล้าย ๆ  กับ“แนวเทคนิค”  เหนือสิ่งอื่นใดก็คือ  มันไม่ได้มาจากการทำวิจัยที่ต้องใช้ข้อมูลจำนวนมากแต่มาจากการสังเกตในช่วงประมาณ 20 ปีที่อยู่ในตลาดหุ้นไทย  และต่อไปนี้ก็คือ  ปัจจัยที่กำหนดผลตอบแทนของตลาดหุ้นในปีหน้าหรือผลตอบแทนของการลงทุนที่เราจะได้รับในอนาคต  ซึ่งก็จะเป็นการตอบคำถามที่ว่าตลาดหุ้นไทยน่าลงทุนไหมในภาวะปัจจุบัน  ลงทุนแล้วเราจะได้รับผลตอบแทนที่ดีในอีกหนึ่งปีข้างหน้าหรืออาจจะอีก 2-3 ปีข้างหน้าหรือไม่ ​ปัจจัยแรกที่ผมคิดว่าสำคัญที่สุดที่จะบอกว่าตลาดหุ้นในตอนสิ้นปีน่าลงทุนไหม  ปีหน้าหุ้นจะขึ้นดีไหมก็คือ  ค่า PE ของตลาด  เฉพาะอย่างยิ่งก็คือ  ถ้าสิ้นปีค่า PE ของตลาดหุ้นต่ำหรือต่ำมาก  เช่น ค่า PE ไม่ถึง 10 เท่า หรือถ้ายิ่งต่ำกว่านั้นเช่นแค่ 6-7 เท่า  แบบนี้ผมคิดว่าการลงทุนซื้อหุ้นในตลาดหรือลงทุนในดัชนีตลาดหุ้นน่าจะให้ผลตอบแทนที่ดีเยี่ยมแบบ  “ปิดประตูแพ้” ปีหน้าเราจะได้รับผลตอบแทนที่ดี  แต่ถ้าปีหน้ายังไม่ดี  ปีต่อไปอีกไม่เกิน 1-2 ปีก็จะต้องดีแน่  ดัชนีจะขึ้นไปมากและทำให้ผลตอบแทนโดยเฉลี่ยต่อปีที่เราถือหุ้นอยู่สูงจนน่าประทับใจ สถานการณ์ที่ตลาดหุ้นมักจะเป็นแบบนั้นก็คือ  เกิดภาวะวิกฤตตลาดหุ้นที่ทำให้ราคาหรือดัชนีตลาดหุ้นตกลงมาหนักมาก...
ลงทุนในเวียดนาม
โลกในมุมมองของ Value Investor     14 กันยายน 62 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ​ผมมีเพื่อนนักลงทุนที่บริหารเฮดจ์ฟันด์คนหนึ่งชื่อ Petri  Deryngหรือที่ผมและเพื่อนนักลงทุน VI ไทยกลุ่มหนึ่งเรียกว่าเพตทรี  เขาบริหารกองทุนชื่อ PYN ELITE ซึ่งจดทะเบียนที่ฟินแลนด์ประเทศบ้านเกิดของเขา  แต่กองทุนอีลิทฟันด์นั้น  ตั้งแต่ตั้งกองทุนในปี 1999 ก็ลงทุนในต่างประเทศเป็นหลัก  เริ่มจากตลาดหุ้นไทยที่ลงทุนนานถึงประมาณ 13-14 ปี และตามมาด้วยจีนและเวียตนามและล่าสุดเหลือแต่ที่เวียตนามซึ่งเขาลงทุนมา 6-7 ปีแล้ว  ปีนี้เป็นปีครบรอบ 20 ปีของการก่อตั้งกองทุน  และก็เป็นปีแห่งการ “เฉลิมฉลอง” ความสำเร็จในระดับต้น ๆ ของกองทุนอีลิทเทียบกับกองทุนในฟินแลนด์และยุโรป  ผลงานการลงทุนนั้นสามารถทำได้ถึงประมาณ 18.2% ต่อปีแบบทบต้น หรือเท่ากับเงินลงทุนเริ่มต้นโตขึ้นถึงประมาณ 28 เท่าในเวลา 20 ปี ซึ่งน่าจะถือว่าเป็นสถิติ  “สุดยอด” กองทุนหนึ่ง  ว่าที่จริงตัวเลข 18% นั้นคือหลังหักค่าใช้จ่ายและค่าบริหารกองทุนที่มี Profit Sharing หรือผู้บริหารได้รับส่วนแบ่งถ้ากองทุนทำผลตอบแทนได้เหนือกว่าเกณฑ์ที่กำหนด  ผลตอบแทนที่เพตทรีทำได้ต่อปีจากการลงทุนจริง ๆน่าจะประมาณ 21% แบบทบต้น  ​การเริ่มลงทุนในตลาดต่างประเทศซึ่งก็คือประเทศไทยในปี 1999 นั้นเป็นเรื่องที่ถูกกำหนดตั้งแต่แรก  เพราะในเวลานั้น  ตลาดหุ้นไทยตกลงมาหนักมากเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 1997  ดัชนีหุ้นไทยที่เคยสูงสุดถึงกว่า 1,750 จุดในช่วง 4-5 ปีก่อนหน้านั้นลดลงเหลือเพียง363 จุดในวันที่เขาเริ่มลงทุน  ซึ่งเขาตั้งเป้าว่าตลาดหุ้นจะปรับขึ้นไปถึง 1,200 จุด ในเวลาอาจจะแค่ 3-4 ปี ซึ่งต่อมาเขาได้ปรับขึ้นเป็น 1400 จุดเมื่อเศรษฐกิจฟื้นตัวและดีขึ้นมาก   และนี่ก็น่าจะเป็น  “กฎข้อที่หนึ่ง” ของเขาที่ว่า  เขาจะหาตลาดหุ้นที่ถูกมากซึ่งอาจจะเกิดจากภาวะวิกฤติที่ทำให้หุ้นตกลงมาอย่างหนักและเขาเชื่อว่ามันจะต้องฟื้นตัวในหลายปีข้างหน้า   เขาจะเข้าซื้อหุ้นที่เป็น Value Stock ที่มีราคาถูกมากวัดจากค่าPE และ PB ที่ต่ำเช่นไม่เกิน 10 เท่าและ 1 เท่าตามลำดับ  ถือไว้จนราคาหุ้นขึ้นไปถึงเป้าหมายแล้วก็จะขายทิ้ง เพตทรีเป็นนักลงทุนแนว  “VI พันธุ์แท้”  ที่มีวินัยสูง...
ACV
ปรากฎการณ์ ACV ตก กับ อุ๋ย 100 จุด ความเหมือนและความแตกต่าง สักครู่มี inbox ถามแอดมินว่าทำไมหุ้นสนามบินเวียดนาม ACV ตกหนัก (ร่วงกว่า 12%) .. น่ากลัวขนาดนี้? เลยขอยกมุมมองจากเพื่อนที่ทำงานในตลาดหลักทรัพย์เวียดนามมาเล่าสู่กันฟังดังนี้ค่ะ "จากข่าวลือว่า : รัฐบาลจะซื้อหุ้นจากนักลงทุนต่างชาติคืนทั้งหมด" มุมมองแรก : ข่าวลือเป็นจริง รัฐบาลจะซื้อหุ้นคืนจากนักลงทุนต่างชาติ ในราคาเฉลี่ย 60 วัน เค้ามองว่า Dragon Capital นักลงทุนต่างชาติใหญ่สุดใน ACV ที่ซื้อหุ้นมาตั้งแต่ IPO ทำกำไรแล้วหลายเด้ง น่าจะเห็นความผันผวนไม่แน่นอนของนโยบายแล้วอาจจะขายหุ้น และมี นลท. อื่นๆ ขายตามด้วยตามข่าวลือ มุมมองที่สอง : รัฐบาลไม่มีวันถอยหลังเข้าคลองแบบนั้น เพราะที่ผ่านมาเงินค่าบำรุงรักษารันเวย์ยังไม่ค่อยมี แล้วจะเอาเงินที่ไหนไปซื้อหุ้นคืน อีกทั้งตอนนี้ยังไม่มีรายงานที่ได้รับการยืนยัน แต่ที่สำคัญที่สุดคือหากรัฐบาลทำจริงมันเหมือนการไล่นักลงทุนต่างชาติ (ที่ปัจจุบันถือหุ้น 3.62% ) ออกไปไม่ใช่เฉพาะจาก ACV แต่มันจะดูเหมือนการไล่ออกจากเวียดนามด้วย ดังนั้นคิดว่าข่าวลือนี้จะไม่เป็นจริง แอดมินคิดว่านักลงทุนหลายๆ ท่านจะชอบ หุ้นสนามบินเวียดนาม ACV มาก และการบินเวียดนามก็โตกระฉูดในช่วงที่ผ่านมา แต่ความแน่นอน คือ ความไม่แน่นอน …การกระจายความเสี่ยงจึงมีความสำคัญค่ะ ส่วนอุ๋ยร้อยจุด...
ลงทุนในเวียดนาม
โลกในมุมมองของ Value Investor       7 กันยายน 62 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เล่นหุ้นกระจุก VS ลงทุนกระจาย ​คำถามสำคัญข้อหนึ่งที่นักลงทุนทุกคนจะต้องตอบให้ได้ ก่อนที่จะเริ่มต้นเข้ามาลงทุนอย่างจริงจังก็คือ  เราจะลงทุนในทรัพย์สินประเภทไหน และอย่างละประมาณเท่าไร?  นี่คือคำถามสำคัญ ข้อแรกที่จะบอกว่าเราจะมีความเสี่ยงแค่ไหน   ​โดยหลักการแล้ว  ถ้าเราลงทุนในทรัพย์สินเพียงอย่างเดียวหรือน้อยอย่าง  เช่น  ลงทุนในหุ้นเพียงอย่างเดียว  ความเสี่ยงก็จะสูงกว่าการลงทุนในหุ้นบวกกับพันธบัตร  เป็นต้น  แต่ในขณะเดียวกัน โอกาสที่จะได้รับผลตอบแทนก็อาจจะสูงกว่าด้วย  สำหรับผมซึ่งเติบโตมาด้วยหุ้นและคิดว่าสามารถเลือกหุ้นลงทุนที่ปลอดภัยพอสมควร  ผมเลือกที่จะลงทุนในหุ้นแทบจะอย่างเดียว  ทรัพย์สินอื่นที่มีรวมทั้งหมดน่าจะไม่เกิน 5% ของความมั่งคั่งทั้งหมด  นี่ไม่นับเงินสดที่บางครั้งก็มีมาก  บางครั้งเป็นสิบหรือหลายสิบเปอร์เซ็นต์ แต่ก็ถือเพื่อรอซื้อหุ้นเท่านั้น  แต่สำหรับคนทั่วไปแล้ว  การกระจายการถือทรัพย์สินหลาย ๆ  อย่างซึ่งมักจะรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ด้วยนั้น  จะช่วยลดความเสี่ยงได้ดี  อย่างไรก็ตาม  ผลตอบแทนการลงทุนโดยรวมก็จะไม่สูงมาก  การที่จะหวัง “รวยจากการลงทุน” อย่างรวดเร็วก็เป็นไปได้ยาก  เขาควรจะหวังว่าจะ “รวยจากการทำงาน” มากกว่า ​สำหรับคนที่เลือกลงทุนในหุ้นอย่างมีนัยสำคัญนั้น  คำถามสำคัญก็คือ  เราจะเลือกลงทุนในหุ้นกี่ตัวในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง?  ยิ่งลงทุนในหุ้นน้อยตัวเช่น  ถือหุ้นตัวเดียวหรือบางทีเรียกว่าเล่นหุ้นทีละตัว  เราก็มีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนสูงขึ้นและอาจจะรวยไปเลยถ้าเราเลือกหุ้นถูกตัว   นี่ก็คล้ายกับเจ้าของบริษัท ที่เอาหุ้นเข้าตลาดที่เหมือนกับถือหุ้นเพียงตัวเดียวในพอร์ต  ถ้ากิจการหรือหุ้นดีมาก  เจ้าของก็รวยเป็น  “เศรษฐีหุ้น”  แต่ถ้ากิจการไม่ดีหรือเลือกหุ้นผิดตัว  ก็อาจจะขาดทุนหรือเจ๊งได้เหมือนกัน  ดังนั้น  ความเสี่ยงก็จะสูง ​ตรงกันข้าม  ถ้าลงทุนแบบกระจายการถือหุ้นหลาย ๆ  ตัวหรือซื้อหุ้นทั้งตลาดผ่านการถือกองทุนรวมอิงดัชนี  โอกาสที่พอร์ตจะได้ผลตอบแทนสูงลิ่วก็มักจะลดลงและลดลงเรื่อย ๆ  ตามจำนวนหุ้นที่ถือ  อย่างไรก็ตาม  โอกาสที่จะขาดทุนจากหุ้นมาก ๆ  หรือเจ๊งเลยนั้นก็มักจะต่ำมาก  เหตุผลก็เพราะเมื่อมีหุ้นมากขึ้น  ผลตอบแทนของแต่ละตัวก็มักจะเฉลี่ยหรือหักกลบลบกันไป  โอกาสที่ทุกตัวจะดีพร้อมกันหรือแย่พร้อมกันก็มีน้อย  ผลลัพธ์ก็คือ  เราก็มักจะได้ผลตอบแทนดีพอใช้...
ทำความรู้จักหุ้นในดัชนี VN30 ที่ DR “E1VFVN3001” ไปอ้างอิง ผ่านการลงทุนใน ETF E1VFVN30 โดยนักลงทุนสามารถซื้อได้ในตลาดหุ้นไทย ชื่อหุ้นคือ E1VFVN3001 เลย กันดีกว่าค่ะว่าประกอบไปด้วยหุ้นอะไรบ้าง…ที่น่าสนใจคือในดัชนี VN30 ประกอบไปด้วยกลุ่มอุตสาหกรรมถึง 11 กลุ่ม! ทำให้เราสามารถกระจายการลงทุนได้มากจริงๆ ค่ะ 1. Consumer Staples VNM : Vietnam Dairy Products Joint Stock Companyประกอบธุรกิจผลิตนม นมข้นหวาน นมผง โยเกิร์ต ไอศกรีมชีส และน้ำ-ดื่มบรรจุขวดVNM ถูกจัดเป็นบริษัทที่ใหญ่ที่สุดในกลุ่ม Consumer Staples โดยบริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดมากกว่า 50%บริษัทจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์นม และเครื่องดื่มให้ทั้งลูกค้าในประเทศและต่างประเทศ โดยรายได้ในประเทศถือเป็นสัดส่วน 85.4% ของรายได้รวมทั้งหมด MSN: Masan Group Corporation ให้บริการธุรกิจอาหาร และเครื่องดื่ม รวมถึงผลิตและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ด้านการเกษตรรายได้จากธุรกิจผลิตและจำหน่ายเนื้อสัตว์มีสัดส่วนถึง 70% ของรายได้ทั้งหมดและมีบริษัทอื่น ๆ ในเครือประกอบธุรกิจธนาคาร และขุดเจาะเหมืองแร่ SAB: Saigon Beer Alcohol Beverage Corporation ประกอบธุรกิจผลิตและจำหน่ายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เช่น เบียร์ สุรา โซดา...

MOST POPULAR