หน้าแรก แท็ก บทความ

แท็ก: บทความ

ความเป็นไป(ไม่)ได้ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

0
ความเป็นไป(ไม่)ได้ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร โลกในมุมมองของ Value Investor    นักลงทุนที่ดีนั้น  นอกจากวิชาความรู้ในด้านต่าง ๆ  แล้ว  วิชาความรู้ที่สำคัญมากอย่างหนึ่งก็คือเรื่องของสถิติและความเป็นไปได้หรือ Probability  และความผันแปรหรือ Variation หรือความคลาดเคลื่อนจากสิ่งที่คาดการณ์  หลักทฤษฎีเกี่ยวกับการเงินและการลงทุนนั้น  ต่างก็อาศัยวิชาความรู้นี้เป็นอันมาก  เหตุผลก็เพราะเรื่องของการลงทุนนั้นมักจะเกี่ยวข้องกับการพยากรณ์อนาคตซึ่งมีความไม่แน่นอนสูงและโอกาสที่เหตุการณ์ในอนาคตจะออกมาแตกต่างจากที่คาดการณ์ไว้มีสูงมาก  การใช้หลักการทางสถิติโดยเฉพาะความน่าจะเป็นจะช่วยให้เรารู้ว่าโดยเฉลี่ยถ้าเราทำมันมากพอหรือตรวจสอบย้อนหลังมากพอ ค่าของมันควรจะเป็นเท่าไรและโอกาสที่เหตุการณ์แต่ละครั้งจะแตกต่างกับสิ่งที่คาดการณ์นั้นจะมีมากหรือน้อยแค่ไหน ในฐานะของนักลงทุน  เราคงไม่มานั่งคำนวณโอกาสความเป็นไปได้ของเหตุการณ์ที่จะเกิดขึ้นในอนาคตเป็นตัวเลข  เพราะแม้แต่นักสถิติเองก็มักจะทำไม่ได้แม่นยำ  แต่เราต้องเข้าใจแนวคิดของมันเพื่อที่จะได้ไม่  “ถูกหลอก” ด้วยตัวเลขที่นักวิเคราะห์ทำมาให้เราเชื่อและตัดสินใจลงทุนตามตัวเลขที่อาจจะ  “สวยหรู”  แต่ไม่ได้บอกว่าโอกาสที่จะเกิดขึ้นอาจจะน้อยมากและโอกาสที่จะผิดพลาดอาจจะสูงมาก  ซึ่งนั่นอาจจะทำให้เราขาดทุนมหาศาล  ตัวอย่างเช่น  เขาคาดว่ากำไรของบริษัทปีหน้าจะโตขึ้น 50% คิดเป็นเงิน 600 ล้านบาท จากกำไรปีที่แล้วที่ 400 ล้านบาท โดยไม่ได้บอกว่ามันมีโอกาสที่บริษัทอาจจะไม่ได้กำไรเพิ่มเลยหรืออาจจะขาดทุนก็ได้ นอกจากการคาดการณ์ตัวเลขการเติบโตถึง 50% แล้ว  นักวิเคราะห์ยังได้ให้ Target Price หรือราคาเป้าหมายของหุ้นโดยอิงกับการเติบโตซึ่งมีเซียนหุ้นหลายคนรวมถึง ปีเตอร์ ลินช์ พูดว่าเราสามารถใช้ค่า PEG  ซึ่งก็คือค่า PE หารด้วย Growth เท่ากับ 1 เท่าได้   ดังนั้นค่า PE ที่เหมาะสมของหุ้นก็คือเท่ากับ Growth ที่ 50 เท่า   แต่ว่าก่อนประกาศหรือออกบทวิเคราะห์ หุ้นตัวนั้นมีค่า PE แค่ 25 เท่า ดังนั้น  ราคาหุ้นเป้าหมายก็ปรับขึ้นไปเป็น 1 เท่าตัว  เช่น  จาก 50 บาทก็กลายเป็น 100 บาท นักลงทุนที่เชื่อตัวเลขราคาเป้าหมายของนักวิเคราะห์ก็แห่กันเข้าไปซื้อส่งผลให้หุ้นขึ้นไปแรงมากจากราคา 50 บาทกลายเป็น100 บาท  และด้วยอิทธิพลของแรงเก็งกำไรราคาก็วิ่งต่อไปอีกกลายเป็น 120 บาท  ซึ่งทำให้นักวิเคราะห์ “ตื่นเต้นมาก”  เขาเห็นว่าราคาน่าจะวิ่งต่อไปได้อีกมองจากปริมาณการซื้อขายหุ้นที่เพิ่มขึ้นมหาศาลและคนกล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวางว่าบริษัทจะยิ่งใหญ่ “ระดับโลก” การปรับ Target Price รอบสองก็ตามมา  ตัวเลขกำไรถูกเลื่อนไปใช้ตัวเลขของปีหน้าจากกำไรต่อหุ้น 2 บาทโต 50% กลายเป็น 3 บาท และเมื่อคูณด้วยตัวเลข PE ที่ 50 เท่า  ราคาเป้าหมายก็เลยกลายเป็น 150 บาท  คำแนะนำก็คือ  “ซื้อ”  เพราะราคาปัจจุบันเท่ากับ 120 บาท  มีโอกาสทำกำไรได้ประมาณ 30 บาทต่อหุ้นหรือประมาณ 25%  นักลงทุนจึงซื้อหุ้นต่อทั้ง ๆ ที่ราคาเกินเป้าหมายแรกที่ 100 บาทไปแล้ว  และถ้าเราเชื่อตัวเลขเหล่านั้น  เราก็อาจจะเข้าไปซื้อ  เพราะดูเหมือนว่าหุ้นกำลังวิ่งขึ้นไปเรื่อย ๆ   แต่ทั้งหมดที่เขาพูดมานั้น  เขาไม่ได้พูดว่าโอกาสเกิดขึ้นมากน้อยแค่ไหน  เขาพูดราวกับว่ามันจะเกิดขึ้นแน่นอนหรือไม่ก็สูงมาก  และที่ยิ่งสำคัญก็คือ  เขาไม่พูดถึงโอกาสความเป็นไปได้ที่ตัวเลขจะต่ำกว่านั้นมาก  เช่น  กำไรอาจจะไม่โตเลยหรือลดลงได้ทั้ง ๆ  ที่ถ้ามองย้อนหลังไปในอดีตหลายปี  กำไรของบริษัทก็ไม่ได้โตหรือโตน้อยแค่ปีละไม่เกิน 10% เมื่อเวลาผ่านไป  ผลการดำเนินงานของบริษัทไม่ได้ออกมาตามที่คาด  มันต่ำกว่าที่คาดมาก  แต่มันใกล้เคียงกับผลการดำเนินงานในอดีตมากกว่า   นั่นก็คือ  มันโตช้าแค่ 5-10%  ต่อปี  นักลงทุนเริ่มตกใจและขายหุ้น  ราคาหุ้นร่วงมาแรงมากกว่า 50% จากจุดสูงสุดและค่า PE ก็ยังสูงเกิน 25 เท่าที่เป็นค่า PE ของหุ้นก่อนที่จะมีการคาดการณ์กำไรของบริษัทว่าจะเพิ่มขึ้น 50% ใน “ปีหน้า”  นักลงทุนที่เข้าไปซื้อหุ้นในราคาที่สูงลิ่วขาดทุนหนักเพราะไม่ได้คำนึงถึง Probability หรือโอกาสที่กำไรจะเพิ่ม50% ว่ามันมีมากน้อยแค่ไหน  บางทีอาจจะน้อยมากแค่ 10% ก็เป็นได้ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องที่ “ไม่น่าจะเกิดขึ้น” และผลก็คือ  มันก็ไม่เกิดขึ้นจริง ๆ   นอกจากไม่เกิดขึ้นแล้ว  สิ่งที่เกิดขึ้นยังแตกต่างหรือผันแปรไปจากค่าที่คาดหวังมาก  คือจากการเติบโต50% กลายเป็นแค่ 10%  ซึ่งในแวดวงของนักลงทุนไทยแล้ว  เราไม่ถือว่ามันเป็นหุ้นเติบโต  ดังนั้น  คนที่เล่นหุ้น Growth ก็ขายหุ้นแบบถล่มทลาย ธรรมชาติของตัวเลขผลประกอบการของแต่ละอุตสาหกรรมและแต่ละบริษัทนั้น  เราต้องเข้าใจว่ามันสามารถคาดการณ์ด้วยความแม่นยำและมีความผันผวนต่างกัน  จำนวนและขนาดของลูกค้ารวมถึงความผันผวนของราคาสินค้ามีส่วนอยู่มาก  ถ้าลูกค้าเป็นรายย่อยและมีจำนวนมากเป็นล้าน ๆ คน  การคาดการณ์โดยทั่วไปก็จะมีความแม่นยำและโอกาสที่ผลประกอบการจะแตกต่างจากตัวเลขคาดการณ์มากก็จะน้อย  ในกรณีแบบนี้  ความเสี่ยงของการลงทุนก็จะต่ำกว่า  เรามักจะไม่ค่อยเจอวิกฤติด้านของการลงทุนรุนแรงในหุ้นประเภทนี้  เช่นเดียวกัน  โอกาสที่หุ้นจะกระโดดขึ้นไปรุนแรงในเวลาอันสั้นก็จะน้อยกว่ามากเพราะการคาดการณ์อนาคตของผลประกอบการของหุ้นปีต่อปีก็มักจะไม่ก้าวกระโดดที่จะส่งผลให้หุ้นมีราคาปรับตัวขึ้นไปเร็วมากได้  อย่างไรก็ตาม  นี่ไม่ได้แปลว่าการลงทุนในหุ้นแบบนี้ไม่น่าสนใจ  เพราะจริงอยู่ว่าการลงทุนในหุ้นแบบนี้อาจจะไม่ทำให้รู้สึกว่ารวยเร็ว  แต่ในระยะยาวแล้ว  มันอาจจะให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าการเล่นหุ้นที่หวือหวาแต่คาดการณ์ได้ยากและมีโอกาสสูงที่มันอาจจะตกต่ำลงอย่างแรงในบางช่วง  และการตกต่ำลงแรงนั้นมันทำลายความมั่งคั่งได้รุนแรงมากกว่าการขึ้นที่รุนแรงในระดับเดียวกัน ตัวเลขภาพใหญ่เช่น  ตัวเลขเกี่ยวกับการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการปรับตัวของดัชนีหุ้นเองนั้นก็มีความแตกต่างกันมากในแง่ของความสามารถในการคาดการณ์และความผันผวนของตัวเลข  โดยที่ตัวเลข GDP นั้นเนื่องจากผูกติดอยู่กับประชาชนทั้งประเทศและกิจกรรมที่เขาทำ  การคาดการณ์ปีต่อปีจึงค่อนข้างแม่นยำพอสมควรและความผันผวนก็ค่อนข้างต่ำ เช่น ถ้าเราคาดว่าเศรษฐกิจไทยปีหน้าจะโต 4% และความผันผวนก็คือไม่ต่ำกว่า 3.5% ในด้านที่แย่และไม่เกิน 4.5% ในด้านที่ดี  โอกาสที่เราจะทำนายพลาดก็น้อย  ดังนั้น  เราจึงไม่ต้องกังวลมากนักว่าบริษัทที่เราลงทุนจะ  “เจ๊ง” เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไม่เอื้ออำนวย  อย่างมากเราก็ไม่ค่อยดีหรือดีเท่านั้น แต่ตัวเลขดัชนีหุ้นนั้นการคาดการณ์น่าจะยากถึงยากมากและความผิดพลาดจากที่ทำนายก็อาจจะมหาศาล  หุ้นอาจจะเป็นวิกฤติได้เสมอเนื่องจากมันอิงกับปัจจัยทั่วโลกซึ่งแน่นอนรวมถึงปัจจัยในประเทศที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ถูกต้องหรือแม้แต่ใกล้เคียง  เช่นเดียวกัน  หุ้นก็อาจจะดี  ดัชนีหุ้นวิ่งขึ้น “หักปากกาเซียน”  ได้เสมอแม้ว่าคนส่วนใหญ่จะบอกว่าปีนี้เล่นหุ้นยากมาก  ดังนั้น  เราไม่ควรจะหวังอะไรกับดัชนีหุ้นถ้าเราลงทุนระยะยาว   เราอาจจะต้องระวังมากขึ้นบ้างในกรณีที่มีสถานการณ์บางอย่างที่ประวัติศาสตร์บอกว่า  “น่ากลัว”  เช่นในยามที่หุ้นปรับตัวเป็นกระทิงและดัชนีมีราคาแพงมากซึ่งในที่สุดก็มักจะต้องปรับตัวลงแรงจนบางครั้งเป็นวิกฤติ  เป็นต้น ทั้งหมดนั้นก็คือตัวอย่างของตัวเลขที่เราอาจจะต้องคาดการณ์เพื่อที่จะวิเคราะห์หุ้น  หน้าที่ของเราก็คือการวิเคราะห์ตัวเลขแต่ละตัวว่ามันน่าจะเป็นอย่างไรในปีหน้าและในอนาคต  เราจะต้องรู้ปัจจัยสำคัญต่าง ๆ  ในการที่จะกำหนดตัวเลขเหล่านั้นและความผันผวนของมัน  ในกรณีจำนวนมากนั้นผมพบว่ามันไม่สามารถกำหนดได้แม่นยำและความผันผวนสูงมาก  ซึ่งในกรณีแบบนั้นบ่อยครั้งผมจะไม่ลงทุนเลย  ผมชอบลงทุนเฉพาะในหุ้นที่ผมคาดการณ์ตัวเลขได้ค่อนข้างดีและความผันผวนหรือโอกาสแตกต่างจากที่คาดการณ์มีน้อย  เพราะด้วยการลงทุนในหุ้นแบบนี้  โอกาสผิดพลาดหรือเรา “แพ้” มีต่ำ  ผมชอบลงทุนในสิ่งที่มีโอกาสขาดทุนน้อยแม้ว่าบางทีกำไรก็อาจจะไม่สูง  เพราะผมเชื่อในกฎสำคัญของการลงทุนในระยะยาวที่ว่า  “อย่าขาดทุน”

บทเรียนการลงทุนจากปี 2561 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

0
บทเรียนการลงทุนจากปี 2561 ดร. นิเวศน์เหมวชิรวรากร ในสงครามนั้นมีคำพูดสำคัญข้อหนึ่งก็คือ  “สงครามยังไม่จบอย่าเพิ่งนับศพทหาร”  เรื่องหุ้นเองนั้นบ่อยครั้งก็มีการเปรียบเทียบกับสงครามเนื่องจากการลงทุนนั้นเป็น “กิจกรรมแห่งการต่อสู้” ที่รุนแรงคล้ายๆกับสงครามดังนั้นในแวดวงหุ้นเองคนก็มักจะพูดว่าตราบใดที่คุณยังลงทุนอยู่เช่นยังถือพอร์ตลงทุนหุ้นจำนวนมากไว้หรือถือหุ้นบางตัวไว้ก็จงอย่าคิดว่าคุณประสบความสำเร็จทำเงินมากมายแล้วเหตุผลก็เพราะว่าพอร์ตและ/หรือหุ้นที่มีกำไรมหาศาลนั้นอาจจะตกลงมาอย่างแรงจนกำไรหดหายหรือกลายเป็นขาดทุนได้ดังนั้นจงอย่าชะล่าใจและเปิดตัวเองให้อยู่ในความเสี่ยงที่สูงกว่าที่ควรจะเป็นการลงทุนในหุ้นนั้นเราควรที่จะ  “ถ่อมตน”  อยู่เสมอตราบที่เรายังคงลงทุนอยู่และนี่ก็คือบทเรียนแรกที่ผมคิดว่าเราน่าจะได้จากการลงทุนในช่วงปี 2561 ที่ VI จำนวนมากรวมถึง  “เซียนหุ้น”  ขาดทุนหรือมูลค่าพอร์ตลดลงมามากแทบจะเป็น  “หายนะ” ในการลงทุนนั้นผมคิดว่ามันเป็นกิจกรรมระยะยาวหรือแม้แต่ตลอดชีวิตแม้แต่คนที่  “เล่นสั้น” ซื้อขายหุ้นรายวันแต่ถ้าเขาก็ทำแบบนั้นเป็นเวลาต่อเนื่องยาวนานหรือ “ตลอดชีวิต”  มันก็คือเกมระยะยาวเช่นเดียวกันเหนือสิ่งอื่นใดก็คือหากเราเป็นคนที่มีเงินเหลือเก็บจากการทำงานใช้แรงงานเงินที่เหลือเก็บนั้นโดยนิยามก็คือเงิน “ลงทุน”  เพราะคงไม่มีใครเก็บเป็นเงินสดที่เป็นธนบัตรมันจะต้องถูกนำไปฝากธนาคารหรือซื้อตราสารทางการเงินหรือนำไปซื้อทรัพย์สินเพื่อการลงทุนซึ่งรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ดังนั้นโดยนิยามแล้วทุกคนที่มีเงินเหลือเก็บก็เป็นคนที่ต้องลงทุนหรือเป็นนักลงทุนและเป็นนักลงทุนระยะยาวตลอดชีวิตผลตอบแทนที่เราได้รับจากการลงทุนนั้นในบางช่วงก็ดีเลิศหรือดีบางช่วงก็แย่หรือแย่มากถ้า“บังเอิญ” ว่าเราทำผลตอบแทนได้ดีเยี่ยมมายาวอาจจะเป็น 10 ปีก็จงอย่าคิดว่าเรา “เก่งมาก” หรือเป็น “เซียน”  แม้ว่าจะมีคนอื่นยกย่องชื่นชมเราเพราะเป็นไปได้ว่าวันหนึ่งเช่นในปี 2561 เราอาจจะ “แพ้”  กำไรที่เคยทำมาได้หายหมดหรือลดลงมากจนทำให้ผลตอบแทนเฉลี่ยแบบทบต้นนั้นไม่ได้สูงกว่าปกติเท่าไรนักและนี่ก็คือสิ่งที่มักจะเกิดขึ้นตลอดเวลาและเกิดขึ้นกับ “เซียน” ระดับโลกด้วย ปี 2561 นั้นผมคิดว่ามันเป็นปีที่  “หมดรอบ” ในหลายๆเรื่องความหมายก็คือสิ่งต่างๆที่มักเคลื่อนไหวเป็นวัฏจักรดี-ร้ายนั้นหมุนมา “ครบรอบ” เช่นแรงเก็งกำไรในหุ้นแบบต่างๆที่ทำให้หุ้นขึ้นไปแรงมากเป็นเวลาหลายปีพอถึงปี 2561 มันก็ถึงจุดสุดยอดและก็เริ่มปรับตัวลงแรงและดูจะไม่สามารถดีดตัวขึ้นในระยะสั้นอย่างที่เคยเป็นอีกดังนั้นผมคิดว่ามันน่าจะ  “จบรอบ”  หรือ  “อวสาน”  และต้องรอเวลาอีกนานพอสมควรกว่าที่จะกลับมาเป็นขาขึ้นรอบใหม่และการที่มันจบรอบหรือ  “สงครามสงบ” แม้ว่ามันจะเป็นเรื่อง “ชั่วคราว”  นี้เองผมจึงคิดว่าเราน่าจะมาทบทวนดูว่าเราได้รับบทเรียนอะไรบ้าง จากประสบการณ์ของผมเองนั้นผลงานการลงทุนที่ดีนั้นมักจะเกิดขึ้นเพราะหุ้นบางตัวที่มีขนาดใหญ่สามารถสร้างผลงานที่โดดเด่นต่อเนื่องยาวนานซึ่งนั่นช่วยทำให้ผลตอบแทนโดยรวมของพอร์ตเติบโตหรือต้านทานภาวะเลวร้ายของตลาดได้ถ้าจะพูดภาษาสงครามหน่อยก็อาจจะบอกว่าเรามี “เรือธง” ที่ยิ่งใหญ่ที่คอยค้ำจุนหรือปกป้องน่านน้ำหรือเขตสงครามที่ทำให้กองทัพประสบความสำเร็จและยืนหยัดอยู่ได้เรือธงนั้นเองก็ “ถูกถล่ม” เช่นเดียวกันแต่มันไม่จมและมันพร้อมที่จะกลับมาสู้รบอย่างห้าวหาญต่อไปอย่างไรก็ตามมีโอกาสเสมอที่มันอาจจะถูกถล่มจนจมลงแบบเดียวกับที่เรือบิสมาร์กที่ยิ่งใหญ่ของเยอรมันถูกรุมล่าจนจมลงมาแล้วในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 บทเรียนที่ว่าเราต้องมีเรือธงหรือหุ้นที่ยิ่งใหญ่หรือหุ้นที่ในช่วงเวลายาวนานระดับหนึ่งสร้างผลงานที่น่าประทับใจจนทำให้ผลงานโดยรวมของเราดีต่อเนื่องยาวนานนี้ผมคิดว่ามันเป็นบทเรียนที่ปีเตอร์ลินช์พูดไว้ในหนังสือเรื่อง One Up On Wall Street ที่เขาเล่าว่าการเติบโตหรือผลตอบแทนของหุ้นจำนวนมากหรือส่วนใหญ่ของเขานั้นก็ไม่ได้สูงผิดปกติอะไรมัน“ธรรมดา” มากเหตุผลก็อาจจะเป็นว่าเขาถือหุ้นเป็นพันตัวซึ่งมันยากมากที่จะมีผลงานดีทุกตัวแต่หุ้นที่ทำให้พอร์ตเขาดูดีมากก็คือหุ้นบางตัวที่เขาถือไว้จำนวนมากตั้งแต่ราคายังต่ำและบริษัทที่อาจจะเพิ่ง “Turnaround” หรือเติบโตนั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆทุกปีในอัตราที่สูงและกลายเป็น “หุ้น 10 เด้ง”  และนี่คือหุ้นที่เขาถือยาวนานติดต่อกันหลายปีผลก็คือผลตอบแทนระยะยาวที่ดีมากของเขาส่วนสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการลงทุนในหุ้นแบบนี้ บทเรียนสำคัญต่อมาก็คือการ “หลีกเลี่ยงหายนะ” จากหุ้นที่เราลงทุนนี่ก็คือจะต้องประเมินความเสี่ยงของหุ้นทุกตัวว่ามันเป็นอย่างไรความเสี่ยงสูงแค่ไหนและต้องเป็นความเสี่ยงทุกด้านรวมถึงความเสี่ยงที่เราใช้ Leverage หรือการกู้ยืมเงินมาลงทุนหรือการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีการเพิ่มอัตราความเสี่ยงขึ้นไปสูงมากเช่นการใช้บล็อกเทรดเป็นต้นและนอกจากความเสี่ยงของตัวกิจการและตัวหลักทรัพย์เองแล้วเราก็ยังต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่อาจจะเกิด Fraud หรือการโกงและการหลอกลวงในเรื่องต่างๆรวมถึงระบบบัญชีของบริษัทโดยเฉพาะเวลาที่เราดูแล้วมัน  “Too good to be true” หรือมันดูดีจนไม่น่าเป็นไปได้ในช่วงปี 2561 และก่อนหน้านั้น 2-3 ปีดูเหมือนว่าเราจะพบหุ้นประเภทนี้ค่อนข้างมาก บทเรียนอีกเรื่องหนึ่งที่ควรจะจดจำก็คือหุ้นที่มี “คนเชียร์กันอื้ออึง” นั้นก็เป็นไปตามที่บัฟเฟตต์เคยพูดไว้ว่าเรามักจะต้องจ่ายเงินซื้อแพงเกินไปและทำให้เรา  “เสียเงิน”  ช่วงก่อนหน้านี้เราได้เห็นว่ามีหุ้นขนาดกลางและเล็กจำนวนไม่น้อยที่ถูกเชียร์กันอย่างกว้างขวางว่าจะเติบโตยิ่งใหญ่เหมือนอย่างหุ้นที่ยิ่งใหญ่ในต่างประเทศโดยนักลงทุนนักวิเคราะห์ผู้บริหารบริษัทและสื่อต่างๆซึ่งทำให้ราคาหุ้นถูกไล่ขึ้นไปสูงมากแต่แล้วเมื่อตัวเลขผลประกอบการที่ทยอยออกมาไม่รองรับราคาหุ้นก็ปรับลดลงมาหนักมากซึ่งทำให้คนที่ตื่นเต้นกับเสียงเชียร์และเข้ามาซื้อหุ้นขาดทุนจำนวนมาก อีกบทเรียนหนึ่งที่ปี 2561 ตอกย้ำก็คือการคาดการณ์ภาวะตลาดหุ้นนั้นเป็นเรื่องที่มีประโยชน์น้อยในการลงทุนส่วนใหญ่แล้วโอกาสที่จะถูกหรือผิดนั้นเท่าๆกันและบ่อยครั้งถึงคาดถูกก็ไม่มีประโยชน์เพราะเราเป็นนักลงทุนที่เลือกลงทุนเองไม่ใช่คนที่ซื้อกองทุนรวมอิงดัชนีปี 2561 นั้นคนส่วนใหญ่น่าจะคาดในช่วงต้นปีว่าจะเป็นปีที่ดีเพราะดัชนีหุ้นก็เพิ่มขึ้นอย่างไรก็ตามเมื่อหมดปีผลปรากฏว่าดัชนีก็ตกลงมา  “แรง”  คือประมาณ 11%  แต่ถ้ามองจากประวัติศาสตร์การตกแค่นี้ก็ถือว่า  “ธรรมดา”  เป็นแค่  Correction หรือการ “ปรับตัว” ของตลาดหุ้นอย่างไรก็ตามถ้ามองในภาพเล็กลงมาและในสายตาของนักลงทุนส่วนบุคคลจำนวนมากแล้วปี 2561 น่าจะถือว่าเป็นปี  “วิกฤติ”...

อาชีพน่าเบื่อกับ VI ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร

0
โลกในมุมมองของ Value Investor        5 มกราคม 2562 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร อาชีพน่าเบื่อกับ VI   ​ทุกสิ้นปีหรือต้นปีใหม่ของทุกปีผมจะต้อง  “ทบทวน” ผลงานและกิจกรรมทางการลงทุนของผมว่าเป็นอย่างไร  เหตุผลนั้น  นอกจากจะต้องทำบันทึกเพื่อเอาไว้เขียนหนังสือแล้ว  ยังเป็นการดูว่าเราได้ทำอะไรไปบ้างและมันถูกต้องหรือผิดพลาดอย่างไรเพื่อเก็บไว้เป็น  “บทเรียน” สำหรับอนาคต ​ปี 2561 นั้นน่าจะเป็นปีแรกในช่วงเวลา 22 ปี ที่ผมลงทุนเต็มที่ร้อยเปอร์เซ็นต์ของเงินเก็บทั้งหมดในฐานะของ “VI” ที่ผม “ไม่ได้ทำอะไรเลย” นั่นก็คือ  ผมไม่ได้ซื้อหรือขายหุ้นแม้แต่ตัวเดียว  ผมรู้สึกว่าไม่มีหุ้นที่น่าสนใจพอที่จะซื้อเพื่อถือระยะยาวแบบ VI เพราะมันไม่มี Margin of Safety หรือส่วนต่างเพื่อความปลอดภัยเพียงพอ  หุ้นที่ดีเป็นซุปเปอร์สต็อกก็มักจะมีราคาแพงค่า PE สูงตั้งแต่ 30 เท่าขึ้นไปซึ่งผมคิดว่าบางตัวราคาก็อาจจะยังพอยอมรับได้ว่าสมเหตุผล  แต่ในสภาวะของเศรษฐกิจสังคมการเมืองของไทยมันก็อาจจะยังมีความเสี่ยง  โอกาสขาดทุนในระยะยาวก็เป็นไปได้ไม่ต้องพูดถึงระยะสั้นที่อาจจะขาดทุนได้ง่าย ๆ  ...

ซื้อหุ้น Room เต็ม ได้ไงที่นี้มีคำตอบ

0
ซื้อหุ้น Room เต็ม ได้ไงที่นี้มีคำตอบ ห่างหายกันไปเป็นอาทิตย์ หวังว่ายังไม่ลืมหน้ากันนะคะ ช่วงนี้แอดไม่ได้หนีไปไหนแต่ทำการบ้านมากขึ้นและ ในระยะแรก: ทยอยเก็บหุ้นที่ชอบ ต่อมาหุ้นยังตกอีก เลยไม่อยากเอามือไปรับมีด (แถมเงินสดก็ไมก็เหลือน้อย55) แอดเลยหาอย่างอื่นทำเลยค่ะ อย่างช่วงนี้ แอดเพิ่งเริ่มเรียนภาษาเวียดนาม วางแผนเที่ยว สมัครงานวิ่ง และหันมาออกกำลังกายอีกครั้งจะได้ 55+ ส่วนตัวแอดก็ยังคิดบวก และมั่นใจในการเติบโตของหุ้นเวียดนามในระยะยาว แต่ระยะสั้นมีหลายเหตุการณ์ที่ต้องระมัดระวังมากขึ้น เพราะการลงทุนยังไงก็มีความเสี่ยง ต้องเผื่อใจไว้บ้าง ก่อนที่จะออกนอกเรื่องไปมากกว่านี้ แอดขอทำตามสัญญา หลังจากโพสต์หุ้นยอดฮิตแต่ Room สำหรับชาวต่างชาติ เต็มอย่าง MWG ครบ 100...

อวสานของเซียนหุ้น: ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร 

0
อวสานของเซียนหุ้น ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ตลาดหุ้นไทยในช่วงเกือบ 20 ปี และโดยเฉพาะอย่างยิ่งประมาณ 10 ปีที่ผ่านมานั้น  ต้องถือว่าเป็น “ยุคทอง” ของนักลงทุนโดยเฉพาะนักลงทุนส่วนบุคคลที่เรียกตนเองว่าเป็น Value Investor หรือ “VI”  เพราะพวกเขาจำนวนมากนั้นสามารถสร้างผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูงลิ่วแบบที่  “เหนือจินตนาการ” ผลตอบแทนทบต้นต่อปีในระดับ 20-30% ขึ้นไปเป็นเวลา 5-10 ปีนั้นเป็นสิ่งที่กลายเป็นเรื่องปกติ  ผลตอบแทนในปีที่ดีนั้นบางทีเป็นร้อยหรือหลายร้อยเปอร์เซ็นต์ก็มีโดยเฉพาะในกรณีที่พอร์ตการลงทุนยังไม่ใหญ่นัก  จริงอยู่ส่วนใหญ่คนที่ทำได้ก็มักอาศัยการ...

Mike Lynch- มุมมองการเทรดหุ้นของนักลงทุนเวียดนาม

0
Mike Lynch- มุมมองการเทรดหุ้นของนักลงทุนเวียดนาม ทริป VVI Hanoi 2018. ที่ผ่านมานี้มี speaker เก่งๆ หลายท่านค่ะ หนึ่งในนั้นคือคุณ Mike Lynch  ซึ่งปัจจุบันเป็น Managing Director, Co-Head Institutional Brokerage อยู่ที่ Saigon Securities Inc (SSI)...

เวียดนาม….ลูกเสือตัวที่ 5 ที่จะกลายเป็นแม่เสือ

0
เวียดนาม....ลูกเสือตัวที่ 5 ที่จะกลายเป็นแม่เสือ ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เวียดนามถือเป็นประเทศหนึ่งที่ถูกกล่าวถึงเป็นอย่างมากทั้งในเวทีโลกและบนหน้าสื่อต่างๆ จากพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่มีอัตราการเติบโตแบบก้าวกระโดด หลายท่านจึงเกิดคำถามว่าการเติบโตดังกล่าวจะสามารถยืนระยะต่อไปหรือไม่ ต่อไปนี้คือเหตุผลที่ทำให้เรามองว่าเวียดนามจะยังสามารถรักษาโมเมนตัมทางเศรษฐกิจและคงความโดดเด่นต่อไปได้ #1 รูปแบบของประชากรศาสตร์ที่เอื้อต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ... Continue Reading

Consumer Finance ในเวียดนาม

0
ธุรกิจ Consumer Finance ในเวียดนาม หน้าตาเป็นอย่างไร วันนี้เราจะมาทำความรู้จักกันค่ะ เวลาที่คนเวียดนามช๊อตเงิน หรืออยากจะได้เงินไปจับจ่าย  เค้าไปหาจากที่ไหนกันนะ ... คำตอบง่ายๆคือไม่แตกต่างจากบ้านเราเท่าไรเลยค่ะ   ทั้งยืมเงินเพื่อน เล่นแชร์ เข้าโรงรับจำนำ หรือว่า กู้นอกระบบ  ทำให้หลายฝ่ายหันมาสนใจธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลกันมาขึ้นค่ะ เมื่อการกู้นอกระบบเป็นสิ่งผิดกฎหมาย แถมยังเสียดอกเบี้ยแพงมหาศาล  ที่เวียดนามก็มีเล่นแชร์กันด้วยในหมู่เพื่อนด้วยค่ะ (ในภาษาเวียดนามเรียกว่า chơi hụi  หรือ chơi họ...

ดร.นิเวศน์ ยันเลือกลงทุนเวียดนามถูก

0
ดร.นิเวศน์ ยันเลือกลงทุนเวียดนามถูก อาจารย์ ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ได้กล่าวในงานสัมมนาวันรวมพลคนลงทุนหุ้นเวียดนาม จัดโดย วีวีไอ กรุ๊ป เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2561 โดยพิธีกรได้ถามถึงว่าโลกโซเชียลได้มีการพูดกันว่าอาจารย์บอกว่า "ไม่อยากไปเวียดนามแล้ว อยากเอากลับ ยังติดอยู่" เป็นอย่างไร? ได้รับคำตอบและยืนยันว่าความรู้สึกว่ายังมั่นใจว่า "หุ้นเวียดนามคือตลาดแห่งอนาคต และเป็นตลาดที่จะสร้างความมั่งคั่งได้เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยที่ผ่านมา 10-20 ปีที่แล้ว ถ้าคุณยังมีแรงเป็นหนุ่มสาวพร้อมมาลุยทุ่มเทกับมัน น่าจะดีกว่าเมืองไทยซึ่งเศรษฐกิจอิ่มตัวที่หุ้นดีๆ ก็ถูกลากมาจนราคาแพง หาหุ้นโตยาว10-20...

Funds talk: หุ้นเวียดนามผันผวนวิกฤตหรือโอกาส?

0
Funds talk: หุ้นเวียดนามผันผวนวิกฤตหรือโอกาส? พร้อมเจาะลึกกองทุนไทยที่ลงทุนหุ้นเวียดนาม จากสัมมนา “วันรวมพลคนลงทุนหุ้นเวียดนาม” 16 กันยายน 2561 โดย เพจหุ้นเวียดนาม (VVI group) วิทยากร 1. คุณ วิน พรหมแพทย์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัยพ์จัดการกองทุน CIMB-Principle ซึ่งได้เปิดกองทุนหุ้นเวียดนามไปเมื่อตค 60 คือ CIMB-VNEQ-A 2. คุณ พิกุล พิทยาอิสรกุล ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล...

MOST POPULAR