PNJ บันทึกรายได้และกำไรสุทธิลดลงอย่างมากในเดือนมกราคม 2024  สาเหตุหลักมาจาก: พฤติกรรมการจับจ่ายของผู้บริโภคขึ้นอยู่กับวันเทศกาลตรุษเวียดนาม (ตรงกับวันที่ 1 เดือน 1 ตามปฏิทินจันทรคติ) แต่ปีนี้ตรุษเวียดนามมาช้าตกอยู่ในเดือนกุมภาพันธ์ กำลังซื้อของผู้บริโภคยังไม่ฟื้นตัว รายละเอียด: รายได้สุทธิของ PNJ ในเดือนมกราคม 2567 อยู่ที่ 5.5 พันล้านบาท (3,829 พันล้านด่อง) ลดลงมากกว่า 7% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว กำไรหลังหักภาษีลดลง19% เป็น 350 ล้านบาท (245 พันล้านด่อง)รายได้จากการขายปลีกเครื่องประดับลดลง 6%รายได้ทอง 24K ลดลง 16%รายได้จากการขายส่งเครื่องประดับเพิ่มขึ้น 33% เนื่องจากการสั่งซื้อที่เพิ่มขึ้นเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับเทศกาลตรุษเวียดนาม สรุปผลประกอบการ PNJ เดือนมกราคม 2567 โครงสร้างรายได้: ค้าปลีก: 52% ทอง 24K: 36% ขายส่ง: 11% และ อื่นๆ: 1%อัตรากำไรขั้นต้น: 17.2% (ลดลงจาก 18.2% ในปี 2566)ต้นทุนการดำเนินงาน: ลดลงเกือบ 4%อัตราส่วนต้นทุนการดำเนินงาน/LNG: เพิ่มขึ้นจาก 47.5% เป็น 52.1%จำนวนร้าน PNJ: 402 แห่ง...
VN-Index  เพิ่มขึ้นกว่า 130 จุด (+12%) ในช่วง 2 เดือนแรกของปี 2567 มูลค่าหลักทรัพย์ของ HOSE เพิ่มขึ้นประมาณ 2.3 หมื่นล้านดอลลาร์ (550,000 พันล้านด่อง) เมื่อรวมทั้งตลาดหลักทรัพย์สามแห่งแล้วมีมูลค่าเพิ่มขึ้นประมาณ 2.75 หมื่นล้านดอลลาร์ (660,000 พันล้านด่อง)  แรงขับเคลื่อนหลัก มาจากผลประกอบการที่แข็งแกร่งของบริษัทจดทะเบียน  จากข้อมูลของ VNDirect  กำไรสุทธิในไตรมาสที่ 4 ปี 2566 ของธุรกิจ 1,128 แห่ง คาดว่าจะเพิ่มขึ้น 30% YoY เนื่องจากการฟื้นตัวของบริษัทต่างๆ และฐานต่ำของไตรมาส 4/2565 กราฟ: รายได้-กำไร 1,128 หุ้นในตลาดเวียดนาม ตั้งแต่ Q1/19-Q4/2023 กลุ่มธนาคาร เป็นกลุ่มที่ผลการดำเนินงานโดดเด่น กำไรสุทธิในไตรมาส 4/66 เพิ่มขึ้น 22.5% เนื่องจากการเติบโตของสินเชื่อที่เร่งตัว  รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ย (ค่าธรรมเนียม  ค่าแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ) เพิ่มขึ้น ทั้งอุตสาหกรรม +20%  อีกทั้งต้นทุนการสำรองลดลง 5%  กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ ไม่ได้ชะลอตัวนัก กำไรสุทธิ Q4/2566...
ผลประกอบการ หุ้นใหญ่ใน VN 30 (ไม่รวมธุรกิจทางการเงิน) ไตรมาส 4 ปี 2566 มีเซอร์ไพรส์ Hoa Phat (HPG-หุ้นเหล็ก) ฟื้นตัวอย่างโดดเด่น "ราชาเหล็ก" ฟื้นตัวอย่างโดดเด่น ทิ้งห่างคู่แข่งในอุตสาหกรรมอื่นๆ Hoa Phat สร้างเซอร์ไพรส์คว้าอันดับหนึ่งในเกมการแข่งขันทำกำไรไตรมาสที่ 4 จากโครงการลงทุนภาครัฐ เช่น การสร้างสนามบิน Long Thanh ทางด่วนเหนือ-ใต้ ฯลฯ Vingroup (VIC - Holding Company) ร่วงจากบัลลังก์ ในทางตรงกันข้าม Vingroup กลับเผชิญผลประกอบการที่ย่ำแย่ ขาดทุนในไตรมาสที่ 4 ส่วน Vinhomes (VHM-หุ้นอสังหา) อดีตราชาแห่งผลกำไร ไตรมาสนี้กำไรลดลงอย่างเห็นได้ชัด ร่วงไปอยู่อันดับที่ 9 หุ้นที่เป็นไปตามคาด ได้แก่ - หุ้นพลังงานก๊าซ GAS ติดอันดับ 2 ด้านกำไร- หุ้นนม Vinamilk  หรือ "แดรี่ควีน" ของเวียดนามขึ้นแท่นอันดับ 3 ด้านกำไร ดาวรุ่งพุ่งแรง: - Becamex (BCM-หุ้นนิคม) :...
โลกในมุมมองของ Value Investor 17 กุมภาพันธ์ 2567 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร หลังจากที่เปลี่ยนแนวทางการลงทุนในตลาดหุ้นจากที่เน้นเฉพาะในตลาดไทยไปเป็นการลงทุนในตลาดหุ้น “ทั่วโลก” และจากการลงทุนเลือกหุ้นเป็นรายตัวเป็นหลัก  เป็นการลงทุนผสมผสานระหว่างรายตัวกับการลงทุนใน  “กองทุน” ของประเทศหรือกองทุนของกลุ่มบริษัทที่น่าสนใจตามอุตสาหกรรมหรือตามเทคโนโลยีที่เป็นหุ้นแห่งอนาคต เป็นต้น  ผมก็เริ่มศึกษาว่าประเทศหรือเศรษฐกิจไหนที่น่าสนใจ—ในเอเชีย เริ่มจากการมองดูผลการดำเนินงานของดัชนีตลาดหุ้นในระยะ 10 ปีที่ผ่านมา เริ่มจากทางตะวันตกคืออินเดียและเคลื่อนไปทางตะวันออกสุดที่ญี่ปุ่น  ดูเฉพาะประเทศหลัก ๆ  ที่มีตลาดหุ้นที่ใช้การได้เช่นเดียวกับระบบการเมืองและเศรษฐกิจที่มีเสถียรภาพมานานพอ สิบปีที่ตลาดหุ้นอินเดียนั้น  ดูแบบหยาบ ๆ  ก็คือ  เป็น  “ยุคทอง” ของตลาดหุ้น  ซึ่งเหตุผลก็คงเป็นว่าเศรษฐกิจอินเดียกำลังดีขึ้นทุกด้าน  เช่นเดียวกับสังคมและการเมืองทั้งในและต่างประเทศที่กำลังดู “สูงส่ง” ขึ้นทุกวัน  อินเดียกำลังกลายเป็นเศรษฐกิจใหญ่เป็นอันดับ 3 ของโลกภายในเวลาไม่กี่ปี  นอกจากนั้น อินเดียเป็นมิตรกับทุกประเทศและทุกคนเกรงใจ  อยากเป็นเพื่อนด้วยทั้งจีนและอเมริกา และนั่นคงเป็นเหตุให้ 10 ปีที่ผ่านมา  ดัชนีตลาดหุ้นอินเดียเติบโตขึ้น 240% หรือให้ผลตอบแทนทบต้นถึงปีละ 13% ซึ่งถ้ารวมปันผลก็อาจจะประมาณ 16% ต่อปี  โดยที่ดัชนีปรับตัวขึ้นอย่างสม่ำเสมอและมีความเสี่ยงที่จะขาดทุนน้อยมาก  อย่างไรก็ตาม  คนที่จะไปลงทุนในตลาดหุ้นอินเดียตั้งแต่เมื่อ 10 ปีที่แล้วน่าจะน้อยมาก  เพราะในเวลานั้น  ตลาดหุ้นอินเดียยังแทบจะเป็นตลาดที่  “ลงทุนไม่ได้” สำหรับคนจำนวนมากรวมทั้งผมที่คิดว่า  อินเดียยัง “ยากจนเกินไป” จากอินเดียผมขอมาที่มาเลเซียก่อน ...
โลกในมุมมองของ Value Investor      10 กุมภาพันธ์ 2567 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ถ้าจะหาตลาดหุ้นที่มีโอกาสเติบโตระยะยาวเป็น 10 ปี ขึ้นไป  นอกจากตลาดหุ้นเวียดนามที่ผมพูดและลงทุนมานานแล้วก็คือ  ตลาดหุ้นอินเดีย เพราะประเทศอินเดียนั้น  มีองค์ประกอบทุกอย่างที่จะทำให้ตลาดหุ้นเติบโตระยะยาว   เรื่องแรกก็คือ  อินเดียมีขนาดเศรษฐกิจที่ ใหญ่มาก  คือเป็นอันดับ 5 รองจากสหรัฐอเมริกา  จีน เยอรมัน   ญี่ปุ่น  และดังนั้น  จึงมีบริษัทขนาดใหญ่จำนวนมากที่จะมีความสามารถและมีความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างน้อยก็ในประเทศ  ซึ่งทำให้เราสามารถเลือกลงทุนในบริษัทเหล่านั้นได้ ข้อสอง  เศรษฐกิจอินเดียกำลังเติบโตขึ้นอย่างรวดเร็วและก็เติบโตมานานเป็นสิบ ๆ  ปีแล้วและก็จะเติบโตต่อไปอีกเป็นสิบ ๆ ปี  เหตุก็เพราะว่าอินเดียมีปัจจัยหรือทรัพยากรในการเติบโตที่ครบถ้วนและจะอยู่ต่อไปอย่างน้อยสิบปีขึ้นไปนั่นก็คือ 1 อินเดียมีประชากรมากเป็นอันดับหนึ่งของโลก  และการเพิ่มของประชากรก็ยังค่อนข้างจะสูงมาก  และคนอินเดียโดยเฉลี่ยก็ยังอายุน้อยมาก  ดังนั้น  กำลังแรงงานของอินเดียที่จะเป็นคนทำงานเพิ่มการผลิตหรือเพิ่ม GDP  ก็จะสูงมาก  ว่าที่จริงถ้ามองย้อนหลังไป 20 ปี  เศรษฐกิจอินเดียเติบโตโดยเฉลี่ยประมาณปีละ 6.4% ซึ่งรวมถึงปีซับไพร์มและช่วงปีโควิด 19 แล้ว 2 แม้ว่าคุณภาพของคนอินเดียโดยเฉลี่ยนน่าจะเป็นรองประเทศในย่านเอเซียตะวันออกอย่างจีนเกาหลีและญี่ปุ่น แต่การเพิ่มผลิตภาพหรือความสามารถในการทำงานโดยเฉพาะในช่วงที่รายได้ต่อหัวของคนยังน้อยก็น่าจะทำได้ดี  เฉพาะอย่างยิ่งโดยการเพิ่ม  “ทุน” เช่นเครื่องจักรและอุปกรณ์เข้าไปในการผลิตก็จะสามารถเพิ่ม Productivity หรือผลิตภาพของคนได้อย่างรวดเร็ว  ดังนั้น  การเติบโตของ GDP ก็จะเป็น...

เสือร้องไห้

0
โลกในมุมมองของ Value Investor 3 กุมภาพันธ์ 2567 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร การปิดกองทุน “เฮดจ์ฟันด์” ซึ่งน่าจะเป็นกองแรก ๆ  ของไทยซึ่งนักลงทุนจำนวนมากก็อาจจะ “เพิ่งรู้จัก” ตอนที่ประกาศปิด  คือ “กองทุนต้นโพธิ์”  ทำให้ผมระลึกถึงกองทุน  “เฮดจ์ฟันด์” กองแรก ๆ  ของโลกคือกองทุน  “Tiger Fund” ของ Julian Robertson นักลงทุน “ในตำนาน” ของเฮดจ์ฟันด์ซึ่งเพิ่งจะเสียชีวิตในวัย 90 ปี เมื่อ 2 ปีก่อน ข้อแรกก็คือ  ไทเกอร์ฟันด์ก่อตั้งขึ้นในปี 1980 ที่คนก็ยังแทบไม่รู้จักเฮดจ์ฟันด์  โดยช่วงที่ก่อตั้งนั้นใช้เงินของครอบครัวบวกกับญาติและมิตรสหายแค่ 8 ล้านดอลลาร์   แต่พอถึงปี 1998 ก่อนปิดกองทุนในปี 2000-01  พอร์ตก็ขึ้นถึงจุดสูงสุดและมีมูลค่ากว่า 7 พันล้านเหรียญ  กลายเป็นเฮดจ์ฟันด์ที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก  ให้ผลตอบแทนทบต้นต่อปีถึง 32% หลังหักค่าธรรมเนียม ในเวลายาวนานถึง 18 ปี เท่าที่ผมทราบอย่างไม่เป็นทางการ  กองทุนต้นโพธิ์เปิดในปี 2548...
โลกในมุมมองของ Value Investor     27 มกราคม 2567 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร เซียนหุ้นเกือบทุกคนน่าจะต้องมี  “เคล็ดลับ” ในการลงทุนที่ทำให้ประสบความสำเร็จ  อย่างน้อยก็ในช่วงเวลาหนึ่งซึ่งก็จะต้องเป็นเวลาอย่างน้อยก็หลายปี  บางทีก็เป็น 10 ปี  ซึ่งก็ทำให้คนรับรู้และยอมรับว่าเป็น  “เซียน”  และสิ่งที่คนทั่วไปสนใจก็คือ  พวกเขามี  “เคล็ดลับ” อะไรในการลงทุนที่คนไม่รู้และอยากจะรู้เพื่อที่จะได้ไปทำตามบ้าง  เพราะนั่นอาจจะทำให้รวยได้ “เซียน” ส่วนใหญ่ก็จะบอกว่าอะไรคือ “เคล็ดลับ” ของตนเอง  และมักจะมีความซับซ้อนน่าทึ่งแต่ก็เป็นสิ่งที่น่าจะทำได้ถ้าฝึกฝนให้ดี  ทุ่มเทกับมัน  ให้เวลากับมัน  มีวินัยสูง  แล้วคุณก็จะ ทำได้  “ผมรวยและประสบความสำเร็จอย่างสูงได้  คุณก็ทำได้”   แต่หลายสิ่งหลายอย่างที่ “เซียน” ทำและอาจจะเป็นเหตุผลสำคัญที่เซียนประสบความสำเร็จอย่างสูงกว่าคนอื่นนั้น  เซียนก็อาจจะไม่ได้บอกหมด  ตัวอย่างเช่น  การใช้ข้อมูลภายในที่ได้รับรู้มาจากคนในบริษัท  หรือการ “ปั่นหุ้น” โดยการปล่อยข่าวหรือการสร้างเรื่องที่ไม่จริงหรือไม่ถูกต้องให้กับคนที่มีความรู้และความเข้าใจน้อยให้เข้ามาลงทุนซื้อหุ้นที่ถูก “ลากขึ้นไป” โชว์  เป็นต้น  และนั่นก็เป็น “เคล็ดลับจริง” ที่บอกไม่ได้ หน้าที่ของคนที่พยายามหา “เคล็ดลับ” ของ “เซียน” จึงต้องวิเคราะห์ให้ดีว่า  เซียนคนไหนใช้เคล็ดลับอะไรที่ทำให้เขาประสบความสำเร็จ  เป็นเคล็ดลับที่เขาใช้จริงหรือไม่  และเขาบอกหมดหรือเปล่า  จากประสบการณ์ของผม  “เซียนตัวจริง” ที่เน้นลงทุนระยะยาวและอยู่ในตลาดมานานมากอย่าง วอเร็น บัฟเฟตต์ นั้น ...
โลกในมุมมองของ Value Investor 20 มกราคม 2567 ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในช่วงนี้ผมเริ่มมองหาการลงทุนแบบ “Semi-Active” ที่จะลงทุนแบบเลือกตลาดหุ้นและหุ้นหรือกลุ่มหุ้นที่จะลงทุนแล้วสามารถถือหุ้นไปได้ยาวนานเป็นปี ๆ  และจะปรับเปลี่ยนต่อเมื่อเห็นว่าเหมาะสมกับสถานการณ์ในตอนนั้นที่อาจจะเปลี่ยนแปลงไปจากแนวคิดเดิมอย่างชัดเจนแล้ว และประเทศหรือตลาดหุ้นที่ผมกำลังพิจารณาอยู่มี 2 แห่ง  นั่นก็คือ  จีนที่ตลาดหุ้นฮ่องกง  และตลาดหุ้นเวียดนาม  เหตุผลใหญ่อยู่ที่ขนาดของประเทศและเศรษฐกิจที่คึกคักและแข่งขันได้ในระดับโลกและอยู่ได้ในระยะยาว  เพราะคุณภาพของประชากรที่โดดเด่น ตลาดหุ้นจีนนั้น  มีจุดเด่นมากก็คือ  ดัชนีหุ้นตกต่ำต่อเนื่องมานานและราคาหุ้นถูกมาก  ดัชนีฮั่งเส็งวันศุกร์ที่ 19 มกราคม 67 อยู่ที่ 15,309  จุด และต่ำกว่าจุดสูงสุดที่ 32,887 จุดที่เกิดขึ้นในช่วงต้นปี 2018 หรือ 6 ปีมาแล้วถึง 53%  นอกจากนั้น  ยังเป็นจุดที่ต่ำกว่าดัชนีเมื่อ 23 ปีมาแล้ว  พูดง่าย ๆ  คนที่เข้าไปลงทุนในตลาดหุ้นฮ่องกงในช่วงปลายปี 2000 และถือมาจนถึงวันนี้แทบจะไม่ได้ผลตอบแทนอะไรเลย  ยิ่งไปกว่านั้น  ปีที่แล้วดัชนีติดลบไป  “มากที่สุดในโลก” กว่า 20% และนับจากต้นปีนี้ก็ติดลบไปอีก 9% แล้ว ตลาดหุ้นเวียดนามนั้น  จุดเด่นอยู่ที่การเติบโตของเศรษฐกิจที่สูงต่อเนื่องยาวนานและแม้แต่ปัญหาโควิด 19 ก็กระทบกับอัตราการเติบโตน้อยและสั้นมาก  และดัชนีตลาดหุ้นก็สะท้อนกับภาวะเศรษฐกิจแบบนั้นมาตลอด เริ่มที่ปี 2019...
ขอขอบคุณเพื่อนนักลงทุนท่านที่มาร่วมงานVVI New Year Networking Party 2024 ขอบคุณ Special guestดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กล่าวคำอวยพรรปีใหม่-รับตรุษจีน-ตรุษญวน 🐲 ขอบคุณ วิทยากรแชร์ไอเดีย ประสบการณ์หุ้น “เจ๊ง เจ๊า เจ๋ง”หุ้นไทยP’เชาว์ เฉลิมเดช ลีวงศ์เจริญP’หลิน วีระพงษ์ ธัมP’วัฒน์ วัฒนา หุ่นทรงธรรม หุ้นเวียดนาม & จีนP’ มี่ ทิวา ชินธาดาพงศ์P’เจ้กกี้ สุธน สิงหสิทธางกูรK’เดียร์ ขวัญฤทัย เตชะวิบูลย์K.เอิร์ธ ศิวกร มิตรสันติสุข หุ้นฟิลิปปินส์ & อินโดนีเซีย & จีนK.Pon Gancanapol Van CompernolleK.Ryan AlbertK.Jeffrey Towson หุ้นอเมริกาP’โต กิตติศักดิ์ โควินท์ทวีวัฒน์P’มิกกี้ ยศพนธ์ สุธารัตนชัยพรP’แดม ชนาเมธ เฟื่องวรรธนะ Session พิเศษ เอาไงดี ภาษีหุ้นนอก?K.ฮุง ภัชรธิดา จูระมงคลK.ต่าย อรกานต์ เลาหรัชตนันท์ หวังว่าบรรยากาศสังสรรค์แบบอบอุ่น สไตล์งานเลี้ยงรุ่น แบบเพื่อนเล่าให้ฟัง วันนี้จะเป็นประโยชน์กับเพื่อนนักลงทุนทุกท่าน ขอให้ทุกคนมีความสุข...
โลกในมุมมองของ Value Investor         13 มกราคม 2567 ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ในระยะหลัง ๆ  ผมสนใจเรื่องของการ “เติบโต” หรือถ้าจะพูดให้ถูกก็คือ  การ “ถดถอย”หรือการ  “ลดลง” ของจำนวนประชากรของประเทศต่าง ๆ  เฉพาะอย่างยิ่งของประเทศไทย  เหตุผลก็เพราะผมพบว่า  การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่าง ๆ  นั้น  ส่วนใหญ่แล้วก็มักจะอิงกับจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นของประเทศ  จริงอยู่ว่าการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจนั้น  นอกจากเรื่องของจำนวนประชากรแล้ว  ก็ยังขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพของคนที่อาจจะสามารถผลิตได้มากขึ้นหรือการเพิ่ม “ผลิตภาพ” ของประชากรด้วย  แต่ประเด็นก็คือ  การเพิ่มผลิตภาพนั้น  เป็นเรื่องที่ทำได้ยากกว่าการเพิ่มคนมากในทางปฏิบัติ ย้อนหลังไปประมาณ 55 ปี คือปี 2511 เมื่อตอนผมอายุ 15 ปีและกำลังเข้าเรียนมัธยมปลายและเริ่มจะเข้าใจโลกมากขึ้นแล้ว ประเทศไทยในช่วงเวลานั้นกำลัง “เจริญ” ขึ้นอย่างรวดเร็ว  ถนนหนทางเริ่มมีมากขึ้น  ถนนเพชรบุรีเพิ่งจะ “ตัดใหม่” และเป็นแหล่ง “อาบอบนวด” ที่คนหนุ่มที่เริ่มทำงานที่มีมากขึ้นและเริ่มจะมีเงินมาเที่ยวในยามค่ำคืน  ถนนสีลมเริ่มเป็นแหล่งที่มีธุรกิจมาสร้างอาคารสำนักงานเป็นย่านธุรกิจใหม่  “เซ็นทรัลสีลม” กลายเป็นห้างทันสมัยโดดเด่นและ “คนรวย” เริ่มมาซื้อของ  อย่างไรก็ตาม  ถนนสาธรก็ยังดูเป็นธรรมชาติ  มีคลองดินอยู่กลางสาธรเหนือและใต้  ข้างคลองเรียงรายด้วยต้นไม้ใหญ่ร่มรื่น...

MOST POPULAR